คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาสหพันธ์เกษตรภาคเหนือ ของคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาของสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ และได้ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาของสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือแล้ว
ข้อเรียกร้อง
1. การแก้ไขปัญหาป่าไม้และที่ดินในเขตป่า
(1) การแก้ไขในระดับนโยบาย
(2) กรณีปัญหาที่ดินจังหวัดลำพูน ราษฎรจะขอที่ดินรกร้างว่างเปล่าและขอเร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาแนวทางช่วยเหลือ รวมทั้งขอให้ชะลอการจับกุมราษฎรในพื้นที่ที่ยังมีปัญหา
ผลการแก้ไขปัญหา
(1) ให้จัดโครงการนำร่อง โดยดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการเตรียมความพร้อมจัดทำแผนจังหวะเวลาและจัดระดับกลุ่มในการแก้ไขปัญหาคณะอนุกรรมการกำลังดำเนินการจัดโครงการนำร่อง
(2) ได้ขอให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เข้าไปแก้ไขปัญหาและในเรื่องชะลอการจับกุมได้มีการประสานไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อขอความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา
หมายเหตุ
คณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือได้มีคำสั่งที่ 1/2544 ลงวันที่12 มิถุนายน 2544 เรื่องแต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขปัญหาป่าไม้และที่ดินในเขตป่า
ข้อเรียกร้อง
2. การแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดิน
ผลการแก้ไขปัญหา
- ให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาสหพันธ์ ทำการศึกษากำหนดแผนงานให้ชัดเจนว่าจะนำที่ดินที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ซึ่งมีประมาณ 10 ล้านไร่มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร
หมายเหตุ
คำสั่งที่ 2/2544 เรื่อง แต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดิน
ข้อเรียกร้อง
3. การแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำ
ผลการแก้ไข
- ให้มีการศึกษาโดยประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำ มีการพัฒนาให้ครอบคลุมทุกด้านโดยไม่มีการเก็บค่าน้ำจากเกษตรกร หมายเหตุ
คำสั่งที่ 3/2544 เรื่องแต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำ
ข้อเรียกร้อง
4. การแก้ไขปัญหาราคาพืชผล
- กรณีการแก้ไขปัญหาราคาหอมแดงตกต่ำ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เกษตรกรเรียกร้องขอเงินชดเชยราคาหอมแดง จำนวน 1,672,263 บาท
ผลการแก้ไข
- ประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ และเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือ ได้ทำหนังสือขออนุมัติเงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เพื่อชดเชยให้เกษตรกรจำนวน 1,672,263 บาท แต่คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรไม่อนุมัติ หมายเหตุ
คำสั่งที่ 4/2544 เรื่องแต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขปัญหาพืชผล
ข้อเรียกร้อง
5. การแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร
ผลการแก้ไข
- เตรียมการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยมีประเด็นหลักคือ ข้อมูลผู้เดือดร้อนจากปัญหาหนี้สิน สรุปสาเหตุการเป็นหนี้ของเกษตรกร ประเมินโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อย และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร การแก้ไขปัญหาหนี้สินต้องเริ่มจัดที่ตัวเองก่อนตามพระราชดำริ คือเศรษฐกิจแบบพอเพียง การดำเนินการของรัฐบาลต้องทำพร้อมกันคือระดับนโยบาย
หมายเหตุ
คำสั่งที่ 5/2544 เรื่องแต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร
ข้อเรียกร้อง
6. การแก้ไขปัญหาชนเผ่าและชาติพันธุ์
- ค.ร.ม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2544 ผ่อนผันให้บุคคลบนพื้นที่สูงพิสูจน์สถานะของตนเองอีก 1 ปี
- ประธานคณะกรรมการฯ ได้มีหนังสือขอให้กระทรวงมหาดไทยเร่งดำเนินการในการจัดทำทะเบียนประวัติหมายเหตุ
คำสั่งที่ 6/2544 เรื่องแต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขปัญหาชนเผ่าและชาติพันธุ์
ข้อเรียกร้อง
7. การแก้ไขปัญหาเหล้าพื้นบ้าน
ผลการแก้ไข
- คณะอนุกรรมการฯ ได้ศึกษาความเป็นมาสภาพปัญหาและความเคลื่อนไหวของชาวบ้านในพื้นที่ต่าง ๆ ข้อเสนอในเชิงรูปธรรม และร่าง พ.ร.บ. จดแจ้งและจำหน่ายเหล้าพื้นบ้าน และมีข้อสังเกตคือการผลิตเหล้าโดยชาวบ้านอาจจะเป็นเครื่องมือของนายทุนควรจะมีเรื่องสิทธิบัติชุมชนไปด้วย- มีการประสานไปยังกรมสรรพสามิตขอให้ผ่อนผันการจับกุมกับเกษตรกรที่ผลิตเหล้าพื้นบ้าน
หมายเหตุ
คำสั่งที่ 7/2544 เรื่องแต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขปัญหาเหล้าพื้นบ้าน
ข้อเรียกร้อง
8. การแก้ไขปัญหาโครงการของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(1) กรณีโรงงานผลิตไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปางโดยขอให้มีการตรวจโรคราษฎรในท้องที่
(2) กรณีโรงงานอบลำไยแห้งระเบิด อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
(3) กรณีอ่างเก็บน้ำแม่มอก จังหวัดลำปาง
- ให้จัดสรรที่ดินทำกินให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบหากไม่มีที่ดินแปลงจัดสรรอพยพให้จ่ายเงินค่าชดเชยพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินอพยพแทน
- ให้จัดทำระบบน้ำประปาให้ชาวบ้านสามารถบริโภค-อุปโภคได้
- ให้จ่ายค่าชดเชยค่าทรัพย์สินที่ยังคงค้างให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ ผลการแก้ไข
(1) ได้ทำหนังสือเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อจัดส่งคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยและอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อดำเนินการตรวจราษฎรในหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบ
(2) ได้ทำหนังสือเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อแก้ไขปัญหาผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์โรงงานอบลำไยระเบิด จำนวน 208 รายจำนวนเงิน 32,291,917 บาท
(3) กรมชลประทานได้รายงานข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาอ่างเก็บน้ำแม่มอก จังหวัดลำปาง ดังนี้
- ราษฎรเข้าทำกินไม่ได้ 63 ราย เนื่องจากผู้ที่ไม่มีสิทธิ์เข้าอยู่อาศัยทำกิน จังหวัดลำปางได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว และกรมชลประทานได้แจ้งดำเนินคดีกับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ และกรมชลประทานได้พิจารณาขออนุมัติหลักการจ่ายเงินชดเชยค่าที่ดินเป็นกรณีพิเศษให้แก่ผู้มีสิทธิ์ และเมื่อได้รับเงินแล้วจะไม่มีสิทธิ์ได้รับการจัดสรรที่ดิน
- การแก้ไขปัญหาระบบประปา ได้รับงบประมาณเพื่อการปรับปรุงระบบประปาแล้ว
- กรมชลประทานชี้แจงว่าไม่สามารถจ่ายค่าทดแทนทรัพย์สินได้ เนื่องจากจังหวัดลำปางขอให้ระงับการจ่ายค่าทดแทนทรัพย์สินไว้ก่อนจนกว่าการแก้ไขปัญหาผู้ยึดแปลงอพยพจะแล้วเสร็จ ในเรื่องนี้กรมชลประทานจะได้นำเสนอจังหวัดลำปางเพื่อพิจารณา และจะได้ประชุมคณะกรรมการพิจารณาการจ่ายเงินค่าทดแทนทรัพย์สินต่อไป
หมายเหตุ
คำสั่งที่ 8/2544 เรื่องแต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 พ.ย. 44--
-สส-
ข้อเรียกร้อง
1. การแก้ไขปัญหาป่าไม้และที่ดินในเขตป่า
(1) การแก้ไขในระดับนโยบาย
(2) กรณีปัญหาที่ดินจังหวัดลำพูน ราษฎรจะขอที่ดินรกร้างว่างเปล่าและขอเร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาแนวทางช่วยเหลือ รวมทั้งขอให้ชะลอการจับกุมราษฎรในพื้นที่ที่ยังมีปัญหา
ผลการแก้ไขปัญหา
(1) ให้จัดโครงการนำร่อง โดยดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการเตรียมความพร้อมจัดทำแผนจังหวะเวลาและจัดระดับกลุ่มในการแก้ไขปัญหาคณะอนุกรรมการกำลังดำเนินการจัดโครงการนำร่อง
(2) ได้ขอให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เข้าไปแก้ไขปัญหาและในเรื่องชะลอการจับกุมได้มีการประสานไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อขอความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา
หมายเหตุ
คณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือได้มีคำสั่งที่ 1/2544 ลงวันที่12 มิถุนายน 2544 เรื่องแต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขปัญหาป่าไม้และที่ดินในเขตป่า
ข้อเรียกร้อง
2. การแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดิน
ผลการแก้ไขปัญหา
- ให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาสหพันธ์ ทำการศึกษากำหนดแผนงานให้ชัดเจนว่าจะนำที่ดินที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ซึ่งมีประมาณ 10 ล้านไร่มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร
หมายเหตุ
คำสั่งที่ 2/2544 เรื่อง แต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดิน
ข้อเรียกร้อง
3. การแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำ
ผลการแก้ไข
- ให้มีการศึกษาโดยประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำ มีการพัฒนาให้ครอบคลุมทุกด้านโดยไม่มีการเก็บค่าน้ำจากเกษตรกร หมายเหตุ
คำสั่งที่ 3/2544 เรื่องแต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำ
ข้อเรียกร้อง
4. การแก้ไขปัญหาราคาพืชผล
- กรณีการแก้ไขปัญหาราคาหอมแดงตกต่ำ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เกษตรกรเรียกร้องขอเงินชดเชยราคาหอมแดง จำนวน 1,672,263 บาท
ผลการแก้ไข
- ประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ และเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือ ได้ทำหนังสือขออนุมัติเงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เพื่อชดเชยให้เกษตรกรจำนวน 1,672,263 บาท แต่คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรไม่อนุมัติ หมายเหตุ
คำสั่งที่ 4/2544 เรื่องแต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขปัญหาพืชผล
ข้อเรียกร้อง
5. การแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร
ผลการแก้ไข
- เตรียมการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยมีประเด็นหลักคือ ข้อมูลผู้เดือดร้อนจากปัญหาหนี้สิน สรุปสาเหตุการเป็นหนี้ของเกษตรกร ประเมินโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อย และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร การแก้ไขปัญหาหนี้สินต้องเริ่มจัดที่ตัวเองก่อนตามพระราชดำริ คือเศรษฐกิจแบบพอเพียง การดำเนินการของรัฐบาลต้องทำพร้อมกันคือระดับนโยบาย
หมายเหตุ
คำสั่งที่ 5/2544 เรื่องแต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร
ข้อเรียกร้อง
6. การแก้ไขปัญหาชนเผ่าและชาติพันธุ์
- ค.ร.ม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2544 ผ่อนผันให้บุคคลบนพื้นที่สูงพิสูจน์สถานะของตนเองอีก 1 ปี
- ประธานคณะกรรมการฯ ได้มีหนังสือขอให้กระทรวงมหาดไทยเร่งดำเนินการในการจัดทำทะเบียนประวัติหมายเหตุ
คำสั่งที่ 6/2544 เรื่องแต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขปัญหาชนเผ่าและชาติพันธุ์
ข้อเรียกร้อง
7. การแก้ไขปัญหาเหล้าพื้นบ้าน
ผลการแก้ไข
- คณะอนุกรรมการฯ ได้ศึกษาความเป็นมาสภาพปัญหาและความเคลื่อนไหวของชาวบ้านในพื้นที่ต่าง ๆ ข้อเสนอในเชิงรูปธรรม และร่าง พ.ร.บ. จดแจ้งและจำหน่ายเหล้าพื้นบ้าน และมีข้อสังเกตคือการผลิตเหล้าโดยชาวบ้านอาจจะเป็นเครื่องมือของนายทุนควรจะมีเรื่องสิทธิบัติชุมชนไปด้วย- มีการประสานไปยังกรมสรรพสามิตขอให้ผ่อนผันการจับกุมกับเกษตรกรที่ผลิตเหล้าพื้นบ้าน
หมายเหตุ
คำสั่งที่ 7/2544 เรื่องแต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขปัญหาเหล้าพื้นบ้าน
ข้อเรียกร้อง
8. การแก้ไขปัญหาโครงการของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(1) กรณีโรงงานผลิตไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปางโดยขอให้มีการตรวจโรคราษฎรในท้องที่
(2) กรณีโรงงานอบลำไยแห้งระเบิด อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
(3) กรณีอ่างเก็บน้ำแม่มอก จังหวัดลำปาง
- ให้จัดสรรที่ดินทำกินให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบหากไม่มีที่ดินแปลงจัดสรรอพยพให้จ่ายเงินค่าชดเชยพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินอพยพแทน
- ให้จัดทำระบบน้ำประปาให้ชาวบ้านสามารถบริโภค-อุปโภคได้
- ให้จ่ายค่าชดเชยค่าทรัพย์สินที่ยังคงค้างให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ ผลการแก้ไข
(1) ได้ทำหนังสือเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อจัดส่งคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยและอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อดำเนินการตรวจราษฎรในหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบ
(2) ได้ทำหนังสือเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อแก้ไขปัญหาผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์โรงงานอบลำไยระเบิด จำนวน 208 รายจำนวนเงิน 32,291,917 บาท
(3) กรมชลประทานได้รายงานข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาอ่างเก็บน้ำแม่มอก จังหวัดลำปาง ดังนี้
- ราษฎรเข้าทำกินไม่ได้ 63 ราย เนื่องจากผู้ที่ไม่มีสิทธิ์เข้าอยู่อาศัยทำกิน จังหวัดลำปางได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว และกรมชลประทานได้แจ้งดำเนินคดีกับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ และกรมชลประทานได้พิจารณาขออนุมัติหลักการจ่ายเงินชดเชยค่าที่ดินเป็นกรณีพิเศษให้แก่ผู้มีสิทธิ์ และเมื่อได้รับเงินแล้วจะไม่มีสิทธิ์ได้รับการจัดสรรที่ดิน
- การแก้ไขปัญหาระบบประปา ได้รับงบประมาณเพื่อการปรับปรุงระบบประปาแล้ว
- กรมชลประทานชี้แจงว่าไม่สามารถจ่ายค่าทดแทนทรัพย์สินได้ เนื่องจากจังหวัดลำปางขอให้ระงับการจ่ายค่าทดแทนทรัพย์สินไว้ก่อนจนกว่าการแก้ไขปัญหาผู้ยึดแปลงอพยพจะแล้วเสร็จ ในเรื่องนี้กรมชลประทานจะได้นำเสนอจังหวัดลำปางเพื่อพิจารณา และจะได้ประชุมคณะกรรมการพิจารณาการจ่ายเงินค่าทดแทนทรัพย์สินต่อไป
หมายเหตุ
คำสั่งที่ 8/2544 เรื่องแต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 พ.ย. 44--
-สส-