ทำเนียบรัฐบาล--19 ก.พ.--นิวส์สแตนด์
วันนี้ เมื่อเวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี อาคารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
ต่อมาเวลา 13.30 น. ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมฯ ดร. วิษณุ เครืองาม เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมฯ ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร โดยสรุปผลการประชุมฯ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการประชุมฯ ด้วยการต้อนรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ พร้อมกล่าวขอบคุณทุกคนที่ได้ร่วมมือกันจัดตั้งคณะรัฐมนตรีเพื่อมาบริหารราชการแผ่นดิน จากนั้นได้ให้แนวทางในการดำเนินงานว่า แม้คณะรัฐมนตรีชุดนี้จะมีจำนวนน้อยกว่าในอดีต คือลดจากจำนวน 49 คน ลงมาเหลือ 36 คน ขอให้ทุกคนทำงานอย่างเต็มความสามารถ สิ่งที่ควรให้ความสำคัญคือ เรื่องของคุณภาพมากกว่าปริมาณ ที่ทุกคนจะต้องเสียสละทำงานกันอย่างจริงจังมีความสามัคคี มีความซื่อสัตย์สุจริต และรู้จักนำเอาเทคโนโลยีใหม่มาช่วยในการทำงาน ซึ่งเชื่อว่าการทำงานในแบบดังกล่าวนี้ คณะรัฐมนตรีทุกคนจะสามารถบริหารราชการแผ่นดินไปได้อย่างราบรื่น เทคนิคสำคัญที่นายกรัฐมนตรีแนะนำก็คือ ขอให้ทุกคนมีผู้ช่วยในการทำงาน ซึ่งประกอบด้วยผู้มีความรู้ ทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติในทางการเมือง มาช่วยกันเป็นคณะทำงานให้กับคณะรัฐมนตรีแต่ละคน ในแต่ละกระทรวง
พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีได้ให้แนวทางในการบริหารฯ ว่า รัฐบาลชุดนี้จะพยายามบริหารโดยใช้เวลาให้น้อย ใช้กระดาษให้น้อย ใช้เอกสารให้น้อย สิ่งที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นจริงได้ก็คือ จะพยายามกระจายอำนาจให้กับรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีต่าง ๆ รับผิดชอบให้มากขึ้น และย้ำว่าอยากให้มีการยึดหลักคาถา 4 ข้อ ซึ่งเป็นคำสอนของพุทธทาสคือ สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันติ ซึ่งสุทธิ หมายถึง การยึดหลักความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง ส่วนปัญญาคือ การมีความรู้ ความรอบรู้ รู้เท่าทันเหตุการณ์ รู้เท่าทันตัวบุคคล รู้ความประสงค์ของประชาชน คำว่าเมตตานั้นคือ การรู้จักการให้อภัย การเปิดใจกว้าง และที่สำคัญคือ ขันติ ที่จะต้องมีความอดทน อดกลั้น ซึ่งถ้าหากทุกคนยึดหลักเดียวกันนี้ ก็เชื่อว่าคณะรัฐมนตรีทุกคนจะสามารถบริหารประเทศไปได้อย่างราบรื่น
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้ขอให้คณะรัฐมนตรีทุกคนได้ทำงานในลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ใครจะมาจากพรรคไหน หรือกลุ่มใด ภาคใด หรือมีความคิดเห็นดั้งเดิมเป็นอย่างใดก็ตาม เมื่อมารวมอยู่ในคณะรัฐมนตรีในชุดที่ 54 แล้ว ขอให้หล่อหลอมเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีพรรค ไม่มีพวก ขอให้ทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะคณะรัฐมนตรีชุดนี้มีทั้งบุคคลที่เคยเป็นรัฐบมนตรีเก่า และยังไม่เคยเป็นรัฐมนตรี ก็ขอให้รัฐมนตรีเก่าได้ช่วยทำหน้าที่พี่เลี้ยงให้กับรัฐมนตรีใหม่ในการทำงานในกระทรวง และประสานงานกับทางสภาผู้แทนราษฎร ถ้าหากร่วมมือร่วมใจกันได้อย่างนี้ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย และสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด นายกรัฐมนตรีได้ขอให้รัฐมนตรีทุกคนยึดประเทศเป็นอันดับแรก รองลงมาคือผลประโยชน์ของรัฐบาล และคำนึงถึงผลประโยชน์ของกระทรวงเป็นข้อสุดท้าย อย่าเอาผลประโยชน์ของกระทรวงเป็นที่ตั้งเพราะบางครั้งเมื่อเข้ากระทรวงไปแล้ว เมื่อมีการปรึกษาหารือกับข้าราชการประจำ ก็มักจะผลักดันงานของกระทรวงตามใจชอบ โดยเอาผลประโยชน์ของกระทรวงเป็นใหญ่ ซึ่งอาจจะขัดกับนโยบายของรัฐบาล และสวนทางกับกระแสความรู้สึกของประชาชน จึงขอให้เอาผลประโยชน์ประชาชนหรือประเทศชาติเป็นที่ตั้ง รองลงมาจึงเป็นเรื่องของรัฐบาลและเรื่องของ กระทรวง ส่วนประโยชน์ส่วนตนนั้น ให้ตัดทิ้ง ไม่ต้องนำมาพูดถึงอย่างเด็ดขาด
นอกจากนี้ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ทางสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีได้รับทราบคือ
1. เรื่องการยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน ซึ่งรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ยื่นภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่รับหน้าที่ โดยนับตั้งแต่วันที่เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นวันที่ 1 จนถึงวันที่19 มีนาคม 2544 โดยคณะรัฐมนตรีทุกคนสามารถยื่นบัญชีฯ ด้วยตนเองที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ภายในเวลาที่กำหนด ส่วนการยื่นในครั้งต่อ ๆ ไป ทางสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
2. การแจ้งบัญชีรายชื่อร่างพระราชบัญญัติที่ค้างการพิจารณา ซึ่งประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ. ที่ค้างอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 58 ฉบับ และค้างอยู่ที่วุฒิสภาฯ 23 ฉบับ เพื่อให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงหารือกับข้าราชการประจำเพื่อตรวจสอบว่า พ.ร.บ. จำนวนดังกล่าวมีความสำคัญอย่างไร สมควรที่จะดำเนินตามขั้นตอนต่อไปหรือติดขัดอย่างไร แล้วรายงานกลับมายังคณะรัฐมนตรีโดยเร็วที่สุด โดยให้เวลาถึงกลางเดือนมีนาคม 2544 เพื่อจะได้มีเวลาเหลือไว้สำหรับประสานต่อสภาฯ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กำชับว่าร่าง พ.ร.บ. แต่ละฉบับมีกระทรวงเป็นเจ้าของเรื่อง ทางกระทรวงก็จะต้องดูแล สำหรับในส่วนร่างกฎหมายของสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจากยังไม่มีการแบ่งงาน เกรงว่าจะมีปัญหาภายหลังนายกรัฐมนตรีจึงได้มอบหมายให้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี และนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ดูแลในส่วนนี้ ส่วนร่างกฎหมายขององค์กรอิสระ เช่น ศาลยุติธรรม คณะกรรมการการเลือกตั้งมีบางฉบับที่ค้างอยู่ในสภาฯ นั้น ได้มอบหมายให้ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ดูแลให้ในส่วนนี้
3. เรื่องการชี้แจงถึงรูปแบบจัดประชุมคณะรัฐมนตรีแบบใหม่ หรือการจัดประชุมแบบลดเอกสาร โดยจะมีการดำเนินการเป็น 3 ระยะ ๆ ละ 3 เดือน ซึ่งได้เริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยวาระเพื่อทราบจะทำในรูปของแผ่น CD ส่วนวาระพิจารณายังคงจัดทำในรูปของเอกสารเหมือนเดิม เป็นเวลา 3 เดือน ระยะที่ 2 จะปรับเปลี่ยนวาระเพื่อพิจารณา จะทำในรูปของแผ่น CD จากนั้นระยะที่ 3 รัฐมนตรีทุกคนจะสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการเรียกข้อมูลต่าง ๆ ได้
สำหรับวาระเพื่อพิจารณา มีดังนี้
1. เรื่องการจัดประชุมคณะรัฐมนตรี ได้กำหนดให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีทุกวันอังคาร ตั้งแต่เวลา08.30 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
2. เรื่องการกำหนดวันแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา ซึ่งรัฐบาลมีความพร้อมที่จะแถลงนโยบายได้ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2 วัน
3. เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ป.ส.ส.) โดยมอบหมายให้ นายปองพลอดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรี ประสานกับ นายเสนาะ เทียนทอง เพื่อหารือในการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ในลักษณะใดรวมทั้งหารือในการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้าไปดำเนินการในคณะกรรมการวิสามัญกิจการวุฒิสภาด้วย
4. เรื่องการหารือเกี่ยวกับคณะกรรมการในชุดต่าง ๆ ที่มีอยู่หลายประเภท อาทิ กรรมการที่จัดตั้งตามกฎหมาย กรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีประมาณ 516 ชุด โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2544 หากถึงกำหนดแล้วกระทรวงใดยังไม่แจ้งหรือรายงานการดำเนินการของคณะกรรมการทั้ง 516 ชุด ที่กระจายอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ มายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายในเวลาที่กำหนด จะถือว่ากรรมการในชุดต่าง ๆ จะต้องยุบหรือเลิกไป หากจะมีการดำเนินการต่อก็จะจัดตั้งขึ้นมาใหม่
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้ง นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตรวจหรือลงนามรับรองมติคณะรัฐมนตรี พร้อมกันนี้ได้แต่งตั้ง นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีจำนวน 2 คน คือ 1) พลเอก พัลลภ ปิ่นมณี และ 2) พลตำรวจเอก ประสานวงศ์ใหญ่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 19 ก.พ.2544--
-สส-
วันนี้ เมื่อเวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี อาคารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
ต่อมาเวลา 13.30 น. ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมฯ ดร. วิษณุ เครืองาม เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมฯ ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร โดยสรุปผลการประชุมฯ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการประชุมฯ ด้วยการต้อนรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ พร้อมกล่าวขอบคุณทุกคนที่ได้ร่วมมือกันจัดตั้งคณะรัฐมนตรีเพื่อมาบริหารราชการแผ่นดิน จากนั้นได้ให้แนวทางในการดำเนินงานว่า แม้คณะรัฐมนตรีชุดนี้จะมีจำนวนน้อยกว่าในอดีต คือลดจากจำนวน 49 คน ลงมาเหลือ 36 คน ขอให้ทุกคนทำงานอย่างเต็มความสามารถ สิ่งที่ควรให้ความสำคัญคือ เรื่องของคุณภาพมากกว่าปริมาณ ที่ทุกคนจะต้องเสียสละทำงานกันอย่างจริงจังมีความสามัคคี มีความซื่อสัตย์สุจริต และรู้จักนำเอาเทคโนโลยีใหม่มาช่วยในการทำงาน ซึ่งเชื่อว่าการทำงานในแบบดังกล่าวนี้ คณะรัฐมนตรีทุกคนจะสามารถบริหารราชการแผ่นดินไปได้อย่างราบรื่น เทคนิคสำคัญที่นายกรัฐมนตรีแนะนำก็คือ ขอให้ทุกคนมีผู้ช่วยในการทำงาน ซึ่งประกอบด้วยผู้มีความรู้ ทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติในทางการเมือง มาช่วยกันเป็นคณะทำงานให้กับคณะรัฐมนตรีแต่ละคน ในแต่ละกระทรวง
พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีได้ให้แนวทางในการบริหารฯ ว่า รัฐบาลชุดนี้จะพยายามบริหารโดยใช้เวลาให้น้อย ใช้กระดาษให้น้อย ใช้เอกสารให้น้อย สิ่งที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นจริงได้ก็คือ จะพยายามกระจายอำนาจให้กับรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีต่าง ๆ รับผิดชอบให้มากขึ้น และย้ำว่าอยากให้มีการยึดหลักคาถา 4 ข้อ ซึ่งเป็นคำสอนของพุทธทาสคือ สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันติ ซึ่งสุทธิ หมายถึง การยึดหลักความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง ส่วนปัญญาคือ การมีความรู้ ความรอบรู้ รู้เท่าทันเหตุการณ์ รู้เท่าทันตัวบุคคล รู้ความประสงค์ของประชาชน คำว่าเมตตานั้นคือ การรู้จักการให้อภัย การเปิดใจกว้าง และที่สำคัญคือ ขันติ ที่จะต้องมีความอดทน อดกลั้น ซึ่งถ้าหากทุกคนยึดหลักเดียวกันนี้ ก็เชื่อว่าคณะรัฐมนตรีทุกคนจะสามารถบริหารประเทศไปได้อย่างราบรื่น
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้ขอให้คณะรัฐมนตรีทุกคนได้ทำงานในลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ใครจะมาจากพรรคไหน หรือกลุ่มใด ภาคใด หรือมีความคิดเห็นดั้งเดิมเป็นอย่างใดก็ตาม เมื่อมารวมอยู่ในคณะรัฐมนตรีในชุดที่ 54 แล้ว ขอให้หล่อหลอมเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีพรรค ไม่มีพวก ขอให้ทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะคณะรัฐมนตรีชุดนี้มีทั้งบุคคลที่เคยเป็นรัฐบมนตรีเก่า และยังไม่เคยเป็นรัฐมนตรี ก็ขอให้รัฐมนตรีเก่าได้ช่วยทำหน้าที่พี่เลี้ยงให้กับรัฐมนตรีใหม่ในการทำงานในกระทรวง และประสานงานกับทางสภาผู้แทนราษฎร ถ้าหากร่วมมือร่วมใจกันได้อย่างนี้ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย และสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด นายกรัฐมนตรีได้ขอให้รัฐมนตรีทุกคนยึดประเทศเป็นอันดับแรก รองลงมาคือผลประโยชน์ของรัฐบาล และคำนึงถึงผลประโยชน์ของกระทรวงเป็นข้อสุดท้าย อย่าเอาผลประโยชน์ของกระทรวงเป็นที่ตั้งเพราะบางครั้งเมื่อเข้ากระทรวงไปแล้ว เมื่อมีการปรึกษาหารือกับข้าราชการประจำ ก็มักจะผลักดันงานของกระทรวงตามใจชอบ โดยเอาผลประโยชน์ของกระทรวงเป็นใหญ่ ซึ่งอาจจะขัดกับนโยบายของรัฐบาล และสวนทางกับกระแสความรู้สึกของประชาชน จึงขอให้เอาผลประโยชน์ประชาชนหรือประเทศชาติเป็นที่ตั้ง รองลงมาจึงเป็นเรื่องของรัฐบาลและเรื่องของ กระทรวง ส่วนประโยชน์ส่วนตนนั้น ให้ตัดทิ้ง ไม่ต้องนำมาพูดถึงอย่างเด็ดขาด
นอกจากนี้ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ทางสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีได้รับทราบคือ
1. เรื่องการยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน ซึ่งรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ยื่นภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่รับหน้าที่ โดยนับตั้งแต่วันที่เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นวันที่ 1 จนถึงวันที่19 มีนาคม 2544 โดยคณะรัฐมนตรีทุกคนสามารถยื่นบัญชีฯ ด้วยตนเองที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ภายในเวลาที่กำหนด ส่วนการยื่นในครั้งต่อ ๆ ไป ทางสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
2. การแจ้งบัญชีรายชื่อร่างพระราชบัญญัติที่ค้างการพิจารณา ซึ่งประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ. ที่ค้างอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 58 ฉบับ และค้างอยู่ที่วุฒิสภาฯ 23 ฉบับ เพื่อให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงหารือกับข้าราชการประจำเพื่อตรวจสอบว่า พ.ร.บ. จำนวนดังกล่าวมีความสำคัญอย่างไร สมควรที่จะดำเนินตามขั้นตอนต่อไปหรือติดขัดอย่างไร แล้วรายงานกลับมายังคณะรัฐมนตรีโดยเร็วที่สุด โดยให้เวลาถึงกลางเดือนมีนาคม 2544 เพื่อจะได้มีเวลาเหลือไว้สำหรับประสานต่อสภาฯ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กำชับว่าร่าง พ.ร.บ. แต่ละฉบับมีกระทรวงเป็นเจ้าของเรื่อง ทางกระทรวงก็จะต้องดูแล สำหรับในส่วนร่างกฎหมายของสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจากยังไม่มีการแบ่งงาน เกรงว่าจะมีปัญหาภายหลังนายกรัฐมนตรีจึงได้มอบหมายให้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี และนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ดูแลในส่วนนี้ ส่วนร่างกฎหมายขององค์กรอิสระ เช่น ศาลยุติธรรม คณะกรรมการการเลือกตั้งมีบางฉบับที่ค้างอยู่ในสภาฯ นั้น ได้มอบหมายให้ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ดูแลให้ในส่วนนี้
3. เรื่องการชี้แจงถึงรูปแบบจัดประชุมคณะรัฐมนตรีแบบใหม่ หรือการจัดประชุมแบบลดเอกสาร โดยจะมีการดำเนินการเป็น 3 ระยะ ๆ ละ 3 เดือน ซึ่งได้เริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยวาระเพื่อทราบจะทำในรูปของแผ่น CD ส่วนวาระพิจารณายังคงจัดทำในรูปของเอกสารเหมือนเดิม เป็นเวลา 3 เดือน ระยะที่ 2 จะปรับเปลี่ยนวาระเพื่อพิจารณา จะทำในรูปของแผ่น CD จากนั้นระยะที่ 3 รัฐมนตรีทุกคนจะสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการเรียกข้อมูลต่าง ๆ ได้
สำหรับวาระเพื่อพิจารณา มีดังนี้
1. เรื่องการจัดประชุมคณะรัฐมนตรี ได้กำหนดให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีทุกวันอังคาร ตั้งแต่เวลา08.30 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
2. เรื่องการกำหนดวันแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา ซึ่งรัฐบาลมีความพร้อมที่จะแถลงนโยบายได้ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2 วัน
3. เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ป.ส.ส.) โดยมอบหมายให้ นายปองพลอดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรี ประสานกับ นายเสนาะ เทียนทอง เพื่อหารือในการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ในลักษณะใดรวมทั้งหารือในการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้าไปดำเนินการในคณะกรรมการวิสามัญกิจการวุฒิสภาด้วย
4. เรื่องการหารือเกี่ยวกับคณะกรรมการในชุดต่าง ๆ ที่มีอยู่หลายประเภท อาทิ กรรมการที่จัดตั้งตามกฎหมาย กรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีประมาณ 516 ชุด โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2544 หากถึงกำหนดแล้วกระทรวงใดยังไม่แจ้งหรือรายงานการดำเนินการของคณะกรรมการทั้ง 516 ชุด ที่กระจายอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ มายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายในเวลาที่กำหนด จะถือว่ากรรมการในชุดต่าง ๆ จะต้องยุบหรือเลิกไป หากจะมีการดำเนินการต่อก็จะจัดตั้งขึ้นมาใหม่
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้ง นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตรวจหรือลงนามรับรองมติคณะรัฐมนตรี พร้อมกันนี้ได้แต่งตั้ง นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีจำนวน 2 คน คือ 1) พลเอก พัลลภ ปิ่นมณี และ 2) พลตำรวจเอก ประสานวงศ์ใหญ่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 19 ก.พ.2544--
-สส-