ทำเนียบรัฐบาล--25 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2541 - 2544) จำนวน 10,000 หมู่บ้าน วงเงิน 2,924.80 ล้านบาท ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ตามความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยให้กระทรวงมหาดไทย (กรมการพัฒนาชุมชน) รับความเห็นเพิ่มเติมของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปดำเนินการด้วย สำหรับวงเงิน 2,924.80 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการนั้น ให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายโอกาสให้คนยากจนระดับครัวเรือนในหมู่บ้านมีเงินทุนในการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายให้ดีขึ้นตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน ซึ่งใช้เงินกู้จากต่างประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,924.80 ล้านบาท โดยแบ่งการเบิกจ่ายออกเป็นปีละ 1,462.40 ล้านบาท เพื่อดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละปี ดังนี้
1. ฝึกอบรมเตรียมความพร้อมองค์กร/ประชาชน 50.00 ล้านบาท
2. เงินทุนสำหรับหมู่บ้าน/ครัวเรือน 1,400.00 ล้านบาท
3. ค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการ 12.40 ล้านบาท
สำหรับความเห็นเพิ่มเติมของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีดังนี้
1. การกำหนดเกณฑ์ชี้วัดครัวเรือนที่ยากจนโดยใช้รายได้ 15,000 บาท/คน/ปี ซึ่งกระทรวงมหาดไทยใช้เป็นเกณฑ์ชี้วัดคัดเลือกครัวเรือนที่ยากจนในปี 2543 โดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยได้ปรับเกณฑ์การคัดเลือกมาโดยลำดับจากระดับรายได้ 5,000 บาท/คน/ปี ในปี 2536 เพิ่มเป็น 15,000 บาท/คน/ปี ในปี 2543 นั้น แตกต่างจากเกณฑ์การวัดความยากจนของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดังนั้น ในการปรับปรุงเกณฑ์การคัดเลือกครัวเรือนที่ยากจนในครั้งต่อไป ควรนำเสนอคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนภ.) พิจารณา เพื่อให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานกลางของประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ในการคัดเลือกครัวเรือนที่ยากจนควรจะพิจารณาเกณฑ์ชี้วัดอื่น ๆ ทางสังคมประกอบด้วย ไม่ควรใช้รายได้เป็นตัวชี้วัดเพียงอย่างเดียว เพื่อช่วยให้การแก้ไขปัญหาความยากจนดำเนินการได้ตรงกลุ่มเป้าหมายยิ่งขึ้น
2. เพื่อให้การจัดสรรเงินทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนสามารถสร้างกลไกต่อเนื่องในการขจัดความยากจนได้อย่างยั่งยืน เห็นควรให้กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ประสานกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) หรือหน่วยงานวิจัยอื่น ๆ ทำการศึกษาวิจัยหารูปแบบวิธีการดำเนินการที่ประสบผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความยากจนในหมู่บ้านประเภทต่าง ๆ ที่ดำเนินการไปแล้ว รวมทั้งสาเหตุของการดำเนินการที่ไม่ประสบความสำเร็จ โดยศึกษาวิจัยจากรูปแบบการพัฒนาที่มีอยู่หลากหลายในปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งรูปแบบการใช้เงิน และใช้ทุนทางสังคมโดยไม่ต้องใช้เงินในการดำเนินการ เช่น โครงการลงทุนเพื่อสังคม (SIP) กลุ่มออมทรัพย์ ที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ที่จังหวัดตราด ฯลฯ เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนในระยะต่อไป
3. ในการแก้ปัญหาความยากจนนั้นมีข้อสังเกตว่า การให้โอกาสและความรู้ต่าง ๆ ในการดำรงชีพและเพิ่มศักยภาพของตนเอง โดยเฉพาะความรู้ในการบริหารจัดการตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การบริหารจัดการชุมชน มีความสำคัญอย่างยิ่งในการขจัดความยากจนอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง มีความเห็นดังนี้
1. เห็นควรสนับสนุนให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป
2. คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศได้ประชุมพิจารณา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2543 แล้วเห็นว่า โดยที่เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (SAL) ที่กระทรวงการคลังได้กู้มาแล้วยังมียอดเงินกู้คงเหลือสามารถจัดสรรให้กับโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ระยะที่ 2 ได้ จึงเห็นควรให้ใช้เงินกู้ดังกล่าว จำนวน 2,924.80 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใชัจ่ายในการดำเนินงานของโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กข.คจ. ระยะที่ 2 จำนวน 10,000 หมู่บ้าน ทั้งนี้ เพื่อใช้เงินกู้ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดและไม่ต้องก่อหนี้ใหม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2541 - 2544) จำนวน 10,000 หมู่บ้าน วงเงิน 2,924.80 ล้านบาท ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ตามความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยให้กระทรวงมหาดไทย (กรมการพัฒนาชุมชน) รับความเห็นเพิ่มเติมของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปดำเนินการด้วย สำหรับวงเงิน 2,924.80 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการนั้น ให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายโอกาสให้คนยากจนระดับครัวเรือนในหมู่บ้านมีเงินทุนในการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายให้ดีขึ้นตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน ซึ่งใช้เงินกู้จากต่างประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,924.80 ล้านบาท โดยแบ่งการเบิกจ่ายออกเป็นปีละ 1,462.40 ล้านบาท เพื่อดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละปี ดังนี้
1. ฝึกอบรมเตรียมความพร้อมองค์กร/ประชาชน 50.00 ล้านบาท
2. เงินทุนสำหรับหมู่บ้าน/ครัวเรือน 1,400.00 ล้านบาท
3. ค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการ 12.40 ล้านบาท
สำหรับความเห็นเพิ่มเติมของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีดังนี้
1. การกำหนดเกณฑ์ชี้วัดครัวเรือนที่ยากจนโดยใช้รายได้ 15,000 บาท/คน/ปี ซึ่งกระทรวงมหาดไทยใช้เป็นเกณฑ์ชี้วัดคัดเลือกครัวเรือนที่ยากจนในปี 2543 โดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยได้ปรับเกณฑ์การคัดเลือกมาโดยลำดับจากระดับรายได้ 5,000 บาท/คน/ปี ในปี 2536 เพิ่มเป็น 15,000 บาท/คน/ปี ในปี 2543 นั้น แตกต่างจากเกณฑ์การวัดความยากจนของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดังนั้น ในการปรับปรุงเกณฑ์การคัดเลือกครัวเรือนที่ยากจนในครั้งต่อไป ควรนำเสนอคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนภ.) พิจารณา เพื่อให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานกลางของประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ในการคัดเลือกครัวเรือนที่ยากจนควรจะพิจารณาเกณฑ์ชี้วัดอื่น ๆ ทางสังคมประกอบด้วย ไม่ควรใช้รายได้เป็นตัวชี้วัดเพียงอย่างเดียว เพื่อช่วยให้การแก้ไขปัญหาความยากจนดำเนินการได้ตรงกลุ่มเป้าหมายยิ่งขึ้น
2. เพื่อให้การจัดสรรเงินทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนสามารถสร้างกลไกต่อเนื่องในการขจัดความยากจนได้อย่างยั่งยืน เห็นควรให้กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ประสานกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) หรือหน่วยงานวิจัยอื่น ๆ ทำการศึกษาวิจัยหารูปแบบวิธีการดำเนินการที่ประสบผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความยากจนในหมู่บ้านประเภทต่าง ๆ ที่ดำเนินการไปแล้ว รวมทั้งสาเหตุของการดำเนินการที่ไม่ประสบความสำเร็จ โดยศึกษาวิจัยจากรูปแบบการพัฒนาที่มีอยู่หลากหลายในปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งรูปแบบการใช้เงิน และใช้ทุนทางสังคมโดยไม่ต้องใช้เงินในการดำเนินการ เช่น โครงการลงทุนเพื่อสังคม (SIP) กลุ่มออมทรัพย์ ที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ที่จังหวัดตราด ฯลฯ เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนในระยะต่อไป
3. ในการแก้ปัญหาความยากจนนั้นมีข้อสังเกตว่า การให้โอกาสและความรู้ต่าง ๆ ในการดำรงชีพและเพิ่มศักยภาพของตนเอง โดยเฉพาะความรู้ในการบริหารจัดการตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การบริหารจัดการชุมชน มีความสำคัญอย่างยิ่งในการขจัดความยากจนอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง มีความเห็นดังนี้
1. เห็นควรสนับสนุนให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป
2. คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศได้ประชุมพิจารณา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2543 แล้วเห็นว่า โดยที่เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (SAL) ที่กระทรวงการคลังได้กู้มาแล้วยังมียอดเงินกู้คงเหลือสามารถจัดสรรให้กับโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ระยะที่ 2 ได้ จึงเห็นควรให้ใช้เงินกู้ดังกล่าว จำนวน 2,924.80 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใชัจ่ายในการดำเนินงานของโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กข.คจ. ระยะที่ 2 จำนวน 10,000 หมู่บ้าน ทั้งนี้ เพื่อใช้เงินกู้ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดและไม่ต้องก่อหนี้ใหม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-