ทำเนียบรัฐบาล--28 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รายงายผลการดำเนินงานตามมาตรการส่งเสริมรายได้จากการท่องเที่ยว ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม - มิถุนายน 2542 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
การดำเนินการตามมาตรการเร่งด่วน 7 มาตรการ และมาตรการที่กำหนดจะดำเนินการในระยะต่อไป 5 มาตรการได้แก่
1. มาตรการเร่งด่วน 7 มาตรการ มีดังนี้
1. การดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว ได้ดำเนินการจัดระเบียบและควบคุมการเล่นทางน้ำ การจัดตั้งศูนย์อำนวยการร่วมในการให้ความคุ้มครองและรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวและประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวทราบถึงพฤติกรรมกลุ่มมิจฉาชีพ
2. การป้องกันการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยวได้ดำเนินการควบคุมบริษัทนำเที่ยว และมัคคุเทศก์นอกระบบ รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวระมัดระวังในการซื้อสินค้า และจัดทำประวัติบริษัทนำเที่ยวที่มีพฤติกรรมฉ้อฉล ดำเนินการตามพระราชบัญญิติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ดำเนินคดีกับธุรกิจนำเที่ยวที่ไม่ตรงตามใบอนุญาต เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวเลือกใช้บริการนำเที่ยวที่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวฯ และจัดทำเอกสารแสดงข้อมูลบริษัทน้ำเที่ยวและมัคคุเทศก์ที่ดำเนินการถูกต้องตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวฯ เผยแพร่ไปยังกลุ่มเป้าหมายทั่วไป
3. การป้องกันแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม ดำเนินการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสีย จัดระบบบริหารจัดการ ดำเนินมาตรการทางกฎหมายกับผู้บุกรุก จัดภูมิทัศน์และระเบียบร้านค้าบริเวณแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนสำรวจแหล่งท่องเที่ยวที่มีความพร้อมและได้มาตรฐาน
4. การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการจับจ่ายซื้อของ (Shopping Center) ดำเนินการพัฒนาสินค้าในแหล่งช้อปปิ้ง ให้มีมาตรฐานทั้งทางด้านราคาและคุณภาพ เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งช็อปปิ้งที่อยู่บริเวณใกล้เคียงเข้าด้วยกัน (Shopping State) และจัดภูมิทัศน์ให้สวยงาม จัดให้มีร้านค้าปลอดภาษีอากรในเมืองท่องเที่ยวและระบบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่นักท่องเที่ยว และพัฒนาข้อมูลแหล่งสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านในพื้นที่ให้เป็นปัจจุบันเพื่อใช้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
5. การส่งเสริมนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจพิเศษ (Special Interest) ดำเนินการจัดทำคู่มือการท่องเที่ยวเฉพาะด้านส่งเสริมการตลาดไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเฉพาะด้าน และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเฉพาะด้าน จัดทำคู่มือแนะนำนักท่องเที่ยว จัดพิมพ์แผนที่ภาคเหนือวงรอบล้านนาเชื่อมโยงภาคเหนือตอนบน จัดทำประชุมชี้แจงให้คำปรึกษา เผยแพร่แก่ชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลและหน่วยงานต่าง ๆ และดำเนินการติดตั้งทุ่นจอดเรือ และทุ่นหมายแนวเขตปะการังบริเวณเกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต และบริเวณหมู่เกาะจังหวัดตรัง
6. การกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์การส่งเสริมการสนับสนุนปี Amazing Thailand 1998-1999 โดยการใช้โอกาสเป็นเจ้าภาพเอเชี่ยนเกมส์ ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมและเผยแพร่สินค้าทางการท่องเที่ยวและเผยกิจกรรมงานประเพณีต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเดินทางมาท่องเที่ยวภานในจังหวัดให้มากขึ้น
7. การจัดตั้งองค์กรในรูปคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวในระดับจังหวัดและระดับพื้นที่โดยร่วมกับจังหวัดต่าง ๆ
2. มาตรการระยะต่อไป 5 มาตรการมีดังนี้
1. การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว ดำเนินการให้จังหวัดเป็นแกนกลางในการประสานงานเพื่อให้มีการใช้กฎระเบียบควบคุมสภาพแวดล้อมอย่างเคร่งครัด รณรงค์ให้มีความรู้ สร้างทัศนคติ และจัดสาธิตในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กระจายอำนาจให้หน่วยงานภูมิภาคและท้องถิ่นร่วมกันฟื้นฟูอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว และจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อฟื้นฟูและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว จัดเตรียมหลักสูตรในการฝึกอบรมมัคคุเทศก์เฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดอบรมให้มีความรู้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล สนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทของอุทยานแห่งชาติผาแต้มของกราป่าไม้ และสนับสนุนการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของหน่วยงานต่าง ๆ
2. การพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยวดำเนินการพัฒนาสถาบันศึกษาอบรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยการจัดหาเงินทุนและบุคลากรสนับสนุน ประสานงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาร่วมกันระหว่างสถาบันภาครัฐและเอกชนอย่างจริงจัง เพื่อยกระดับมาตรฐานบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ทัดเทียมนานาชาติ
3. การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น ดำเนินการอำนวยความสะดวกและจัดระบบการเข้า - ออกประเทศ/ท่าอากาศยาน/เมืองท่องเที่ยว และขยายเครือข่ายการสื่อสารให้ครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ จัดพิมพ์เอกสาร แผ่นพับ และประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งแผนที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวได้สอบถามข้อมูลการท่องเที่ยว "1155 "เบอร์เดียวเที่ยวทั่วไทย เพื่อเป็นข้อมูลให้นักท่องเที่ยวได้สอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวและรับเรื่องร้องเรียนในกรณีเกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว
4. การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการจัดประชุม การจัดนิทรรศการ และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (MICE) ดำเนินการสนับสนุนให้เอกชนลงทุนก่อสร้างศูนย์การประชุมและจัดนิทรรศการในเมืองท่องเที่ยวหลัก และปรับปรุงกฎระเบียบขั้นตอนศุลกากรในการนำวัสดุอุปกรณ์ที่เอามาใช้ในการจัดประชุมและนิทรรศการดำเนินการจัดงาน Presentation แก่ MICE ที่มาร่วมงาน EIBTM (Europe Incentive and Business Travel Market) ที่กรุงเจนีวา สมาพันธ์รัฐสวิส มอบให้บริษัทที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้จัดทำคู่มือบริการศุลกากรในการเข้าวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการจัดประชุมการจัดท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและการแสดงนิทรรศการนานาชาติ
5. การส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ประเทศไทยเป็นประตูสู่ภูมิภาค ดำเนินการให้ความร่วมมืออำนวยความสะดวกด้านการเดินทางและความปลอดภัยแก่คณะคาราวานจากประเทศมาเลเซีย ในโอกาสที่จัดขบวนการท่องเที่ยวทางรถยนต์มาประเทศไทย และสหภาพพม่า ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนผลักดันให้มีการเปิดจุดผ่านแดนด่านเจดีย์สามองค์ ด่านบ้องตี้และด่านแม่สะมี่ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเป็นจุดผ่านสู่สหภาพพม่า และร่วมกับจังหวัด ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี และนครสวรรค์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ประเทศไทยเป็นประตูสู่ภูมิภาค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 ส.ค. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รายงายผลการดำเนินงานตามมาตรการส่งเสริมรายได้จากการท่องเที่ยว ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม - มิถุนายน 2542 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
การดำเนินการตามมาตรการเร่งด่วน 7 มาตรการ และมาตรการที่กำหนดจะดำเนินการในระยะต่อไป 5 มาตรการได้แก่
1. มาตรการเร่งด่วน 7 มาตรการ มีดังนี้
1. การดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว ได้ดำเนินการจัดระเบียบและควบคุมการเล่นทางน้ำ การจัดตั้งศูนย์อำนวยการร่วมในการให้ความคุ้มครองและรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวและประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวทราบถึงพฤติกรรมกลุ่มมิจฉาชีพ
2. การป้องกันการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยวได้ดำเนินการควบคุมบริษัทนำเที่ยว และมัคคุเทศก์นอกระบบ รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวระมัดระวังในการซื้อสินค้า และจัดทำประวัติบริษัทนำเที่ยวที่มีพฤติกรรมฉ้อฉล ดำเนินการตามพระราชบัญญิติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ดำเนินคดีกับธุรกิจนำเที่ยวที่ไม่ตรงตามใบอนุญาต เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวเลือกใช้บริการนำเที่ยวที่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวฯ และจัดทำเอกสารแสดงข้อมูลบริษัทน้ำเที่ยวและมัคคุเทศก์ที่ดำเนินการถูกต้องตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวฯ เผยแพร่ไปยังกลุ่มเป้าหมายทั่วไป
3. การป้องกันแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม ดำเนินการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสีย จัดระบบบริหารจัดการ ดำเนินมาตรการทางกฎหมายกับผู้บุกรุก จัดภูมิทัศน์และระเบียบร้านค้าบริเวณแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนสำรวจแหล่งท่องเที่ยวที่มีความพร้อมและได้มาตรฐาน
4. การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการจับจ่ายซื้อของ (Shopping Center) ดำเนินการพัฒนาสินค้าในแหล่งช้อปปิ้ง ให้มีมาตรฐานทั้งทางด้านราคาและคุณภาพ เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งช็อปปิ้งที่อยู่บริเวณใกล้เคียงเข้าด้วยกัน (Shopping State) และจัดภูมิทัศน์ให้สวยงาม จัดให้มีร้านค้าปลอดภาษีอากรในเมืองท่องเที่ยวและระบบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่นักท่องเที่ยว และพัฒนาข้อมูลแหล่งสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านในพื้นที่ให้เป็นปัจจุบันเพื่อใช้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
5. การส่งเสริมนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจพิเศษ (Special Interest) ดำเนินการจัดทำคู่มือการท่องเที่ยวเฉพาะด้านส่งเสริมการตลาดไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเฉพาะด้าน และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเฉพาะด้าน จัดทำคู่มือแนะนำนักท่องเที่ยว จัดพิมพ์แผนที่ภาคเหนือวงรอบล้านนาเชื่อมโยงภาคเหนือตอนบน จัดทำประชุมชี้แจงให้คำปรึกษา เผยแพร่แก่ชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลและหน่วยงานต่าง ๆ และดำเนินการติดตั้งทุ่นจอดเรือ และทุ่นหมายแนวเขตปะการังบริเวณเกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต และบริเวณหมู่เกาะจังหวัดตรัง
6. การกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์การส่งเสริมการสนับสนุนปี Amazing Thailand 1998-1999 โดยการใช้โอกาสเป็นเจ้าภาพเอเชี่ยนเกมส์ ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมและเผยแพร่สินค้าทางการท่องเที่ยวและเผยกิจกรรมงานประเพณีต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเดินทางมาท่องเที่ยวภานในจังหวัดให้มากขึ้น
7. การจัดตั้งองค์กรในรูปคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวในระดับจังหวัดและระดับพื้นที่โดยร่วมกับจังหวัดต่าง ๆ
2. มาตรการระยะต่อไป 5 มาตรการมีดังนี้
1. การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว ดำเนินการให้จังหวัดเป็นแกนกลางในการประสานงานเพื่อให้มีการใช้กฎระเบียบควบคุมสภาพแวดล้อมอย่างเคร่งครัด รณรงค์ให้มีความรู้ สร้างทัศนคติ และจัดสาธิตในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กระจายอำนาจให้หน่วยงานภูมิภาคและท้องถิ่นร่วมกันฟื้นฟูอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว และจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อฟื้นฟูและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว จัดเตรียมหลักสูตรในการฝึกอบรมมัคคุเทศก์เฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดอบรมให้มีความรู้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล สนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทของอุทยานแห่งชาติผาแต้มของกราป่าไม้ และสนับสนุนการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของหน่วยงานต่าง ๆ
2. การพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยวดำเนินการพัฒนาสถาบันศึกษาอบรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยการจัดหาเงินทุนและบุคลากรสนับสนุน ประสานงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาร่วมกันระหว่างสถาบันภาครัฐและเอกชนอย่างจริงจัง เพื่อยกระดับมาตรฐานบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ทัดเทียมนานาชาติ
3. การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น ดำเนินการอำนวยความสะดวกและจัดระบบการเข้า - ออกประเทศ/ท่าอากาศยาน/เมืองท่องเที่ยว และขยายเครือข่ายการสื่อสารให้ครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ จัดพิมพ์เอกสาร แผ่นพับ และประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งแผนที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวได้สอบถามข้อมูลการท่องเที่ยว "1155 "เบอร์เดียวเที่ยวทั่วไทย เพื่อเป็นข้อมูลให้นักท่องเที่ยวได้สอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวและรับเรื่องร้องเรียนในกรณีเกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว
4. การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการจัดประชุม การจัดนิทรรศการ และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (MICE) ดำเนินการสนับสนุนให้เอกชนลงทุนก่อสร้างศูนย์การประชุมและจัดนิทรรศการในเมืองท่องเที่ยวหลัก และปรับปรุงกฎระเบียบขั้นตอนศุลกากรในการนำวัสดุอุปกรณ์ที่เอามาใช้ในการจัดประชุมและนิทรรศการดำเนินการจัดงาน Presentation แก่ MICE ที่มาร่วมงาน EIBTM (Europe Incentive and Business Travel Market) ที่กรุงเจนีวา สมาพันธ์รัฐสวิส มอบให้บริษัทที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้จัดทำคู่มือบริการศุลกากรในการเข้าวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการจัดประชุมการจัดท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและการแสดงนิทรรศการนานาชาติ
5. การส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ประเทศไทยเป็นประตูสู่ภูมิภาค ดำเนินการให้ความร่วมมืออำนวยความสะดวกด้านการเดินทางและความปลอดภัยแก่คณะคาราวานจากประเทศมาเลเซีย ในโอกาสที่จัดขบวนการท่องเที่ยวทางรถยนต์มาประเทศไทย และสหภาพพม่า ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนผลักดันให้มีการเปิดจุดผ่านแดนด่านเจดีย์สามองค์ ด่านบ้องตี้และด่านแม่สะมี่ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเป็นจุดผ่านสู่สหภาพพม่า และร่วมกับจังหวัด ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี และนครสวรรค์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ประเทศไทยเป็นประตูสู่ภูมิภาค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 ส.ค. 2543--
-สส-