คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการดำเนินการให้ความช่วยเหลือของกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2548 จนถึงปัจจุบัน (วันที่ 26 ธันวาคม 2548)
1. การแจ้งเตือนภัย
กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธาณภัย ได้มีวิทยุแจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศฝนตกหนักและคลื่นลมแรงจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่จังหวัดจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมทั้งศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 3 ปราจีนบุรี เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 12 สงขลา ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2548 แล้ว โดยให้จังหวัดแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ระมัดระวังภัยจากภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด
2. สถานการณ์อุทกภัยภาพรวม (ระหว่างวันที่ 14 — 26 ธันวาคม 2548)
2.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 8 จังหวัด 94 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 582 ตำบล 3,179 หมู่บ้าน ได้แก่จังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช ปัตตานี พัทลุง ตรัง ยะลา สตูล และนราธิวาส
2.2 ความเสียหาย
1) ด้านชีวิต ประชาชนเดือดร้อน 368,505 ครัวเรือน 1,616,942 คน มีผู้เสียชีวิต 26 ราย (จังหวัดสงขลา 13 ราย ตรัง 2 ราย ปัตตานี 1 ราย พัทลุง 4 ราย ยะลา 4 ราย นครศรีธรรมราช 1 ราย และสตูล 1 ราย) สูญหาย 1 ราย (จังหวัดยะลา)
2) ด้านทรัพย์สิน ในเบื้องต้นได้รับรายงาน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 47 หลัง เสียหายบางส่วน 788 หลัง ถนน 2,189 สาย สะพาน 289 แห่ง ทำนบ-ฝาย 68 แห่ง ท่าระบายน้ำ 227 แห่ง พื้นที่การเกษตร 506,360 ไร่ ปศุสัตว์ 220,219 ตัว บ่อปลา 10,393 บ่อ
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 596,214,571 บาท
3. สถานการณ์อุทกภัยในปัจจุบัน
3.1 พื้นที่ที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส และสตูล
3.2 พื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์ รวม 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ตรัง พัทลุง ปัตตานี และยะลา
1) จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ประสบภัย รวม 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหาดใหญ่ สทิงพระ ระโนด เทพา สิงหนคร กระแสสินธุ์ บางกล่ำ ควนเนียง สะบ้าย้อย นาทวี นาหม่อม จะนะ คลอง หอยโข่ง เมืองฯ และรัตภูมิ
สถานการณ์ปัจจุบัน ยังมีน้ำท่วมขัง จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสทิงพระ (ตำบลคูขุด ท่าหิน และคลองรี) ในที่ลุ่มยังมีระดับน้ำสูง 0.30 เมตร อำเภอระโนด มีน้ำท่วมขังในที่ลุ่มทุกตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.70-0.90 เมตร ประชาชนได้อพยพสัตว์เลี้ยงไว้บนถนน สำหรับถนนหน้าที่ว่าการอำเภอ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20 เมตร อำเภอสิงหนคร (ตำบลทำนบ ป่าขาด ปากรอ ชะแล้ บางเขียด และรำแดง) ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ริมทะเลสาบ เนื่องจากน้ำทะเลหนุน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50 — 0.80 เมตร อำเภอกระแสสินธุ์ (ตำบลโรง เชิงแส เกาะใหญ่ และกระแสสินธุ์) ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่ม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60 — 0.80 เมตร สำหรับถนนหน้าที่ว่าการอำเภอ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10 — 0.15 เมตร รถเล็กผ่านได้
การให้ความช่วยเหลือ
(1) จังหวัดและกองเรือภาค 2 จัดส่งเรือท้องแบน 50 ลำ ไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย
(2) จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมูลนิธิเพื่อการกุศล มอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวน 121,766 ชุด
(3) สำนักงานชลประทานที่ 16 ได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือในพื้นที่น้ำท่วมรวมทั้งสิ้น 52 เครื่อง
2) จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ประสบภัย รวม 21 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอนาบอน ฉวาง บางขัน หัวไทร ร่อนพิบูลย์ สิชล พระพรหม เมือง ขนอม พิปูน เฉลิมพระเกียรติ ทุ่งสง ถ้ำพรรณรา ชะอวด ท่าศาลา ทุ่งใหญ่ ปากพนัง พรหมคีรี จุฬาภรณ์ ลานสกา เชียรใหญ่ กิ่งอำเภอช้างกลาง และกิ่งอำเภอนบพิตำ
สถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่ม จำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชะอวด (ตำบลเคร็ง) อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (ตำบลสวนหลวง ทางพูน เชียรเขา) อำเภอเชียรใหญ่ (ตำบลบ้านเนิน การะเกด แม่เจ้าอยู่หัว) อำเภอหัวไทร (ตำบลแหลม ควรชะลิก) และอำเภอปากพนัง (ตำบลบางตะพง บางพระ) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80 — 1.00 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ
(1) เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2548 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้ไปตรวจสถานการณ์อุทกภัย พร้อมมอบถุงยังชีพ จำนวน 3,500 ชุด แก่ผู้ประสบภัยที่อำเภอปากพนัง
(2) จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดส่งเรือท้องแบนจำนวน 61 ลำ เครื่องสูบน้ำ 10 เครื่อง รถตู้คอนเทนเนอร์ อาหารสัตว์เลี้ยง อาหารสำเร็จรูป ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว
3) จังหวัดปัตตานี มีพื้นที่ประสบภัย รวม 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ แม่ลาน ทุ่งยางแดง ไม้แก่น หนองจิก มายอ ยะรัง โคกโพธิ์ ยะหริ่ง กะพ้อ สายบุรี และ ปะนาเระ
สถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่ม จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองที่ตำบลตะลุโบะ ปะกาฮะกัง บาราเฮาะ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ติดกับริมแม่น้ำลำคลอง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50 เมตร อำเภอแม่ลาน (ตำบลม่วงเตี้ย) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30 เมตร อำเภอหนองจิก (ตำบลดอนรัก บ่อทอง คอลอตันหยง) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80 เมตร อำเภอยะรัง (ตำบลคลองใหม่ ประจันทร์) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ
(1) จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดส่งเรือท้องแบน เครื่องสูบน้ำ ถุงยังชีพ เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว
(2) สาธารณสุขจังหวัดได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยใน ด้านสาธารณสุขต่าง ๆ เช่น โรคตาแดง ไข้หวัด น้ำกัดเท้า ฯลฯ
(3) ปศุสัตว์จังหวัดเร่งดำเนินการให้การช่วยเหลือสัตว์ที่ป่วยในพื้นที่
4) จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ประสบภัย รวม 10 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้อำเภอเมืองฯ ควนขนุน กงหรา เขาชัยสน ตะโหนด ป่าบอน บางแก้ว ปากพะยูน ป่าพยอม ศรีบรรพต และกิ่งอำเภอศรีนครินทร์
สถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเขาชัยสน (ต.จองถนน ต.เขาชัยสน) อำเภอ บางแก้ว (ต.ท่ามะเดือ ต.นาปะขอ ) อำเภอปากพะยูน (ต.เกาะนางคำ ต. ฝาละมี ต.เกาะหมาก ต.ดอนประดู่) อำเภอควนขนุน (ต.มะกอกเหนือ ต.พะนางตุง ต.ทะเลน้อย) เนื่องจากเป็นพื้นที่ติดทะเลสาบและน้ำทะเลหนุน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40 —0.70 เมตร สำหรับอำเภอเมือง ยังคงมีน้ำท่วมขังบางพื้นที่ของตำบลลำป่า พญาขัน ชัยบุรี ควนมะพร้าว ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้น ดังนี้
(1) เรือท้องแบนจำนวน 64 ลำ แจกจ่ายถุงยังชีพ จำนวน 100,000 ชุด น้ำดื่ม จำนวน 57,744 ลิตร ยาเวชภัณฑ์ จำนวน 1,010 ชุด กระสอบทรายกั้นน้ำ จำนวน 7,000 ถุง ผ้าห่มกันหนาว 1,490 ผืน รถยนต์บรรทุก 40 คัน รถเครน 6 คัน
(2) หน่วยทหารช่าง 401,402 และหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 43 สร้างห้องน้ำ จำนวน 10 ห้อง และปรับยกพื้นศูนย์อพยพบ้านแหลมไก่ผู้ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน
5) จังหวัดยะลา มีพื้นที่ประสบภัย รวม 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ รามัน ยะหา กาบัง กรงปินัง บันนังสตา ธารโต และเบตง
สถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่ม จำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง (ตำบลตาเซะ ยุโป) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30 เมตร อำเภอรามัน (ตำบลอาช่อง) ซึ่งเป็นพื้นลุ่มมีน้ำท่วมขังเป็นประจำ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40 — 0.50 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดฟื้นฟูถนน/สะพาน ที่ชำรุดโดยเร็ว
(2) จังหวัดร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ สภากาชาดไทย และองค์กรการกุศล ได้มอบถุงยังชีพ จำนวน 97,633 ชุด น้ำดื่ม 200,000 ขวด อาหารสำเร็จรูป 138,218 ชุด ยาเวชภัณฑ์ 673 ชุด หญ้าสด 13 ตัน หญ้าแห้ง 1,808 ฟ่อน ให้แก่ผู้ประสบภัย เรือท้องแบน 13 ลำ
(3) กรมชลประทานส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือ 14 เครื่อง
6) จังหวัดตรัง พื้นที่ประสบภัย 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ ห้วยยอด กันตัง รัษฎา ย่านตาขาว วังวิเศษ นาโยง ปะเหลียน และสิเกา
สถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีน้ำท่วมขัง จำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง (ตำบลหนองตรุด ตำบลนาโต๊ะ หมิง บางรัก นาท่ามเหนือ) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ติดกับแม่น้ำตรัง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30 — 0.50 เมตร อำเภอกันตัง (ตำบลควนธานี ควนปริง โคกยาง ย่านซื่อ และบางเป้า) ในที่ลุ่มบริเวณพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำตรังยังคงมีน้ำท่วมขังสูงประมาณ 0.50-0.60 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ
(1) จังหวัดร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ สภากาชาดไทย และองค์กรการกุศล ได้มอบถุงยังชีพ จำนวน 97,633 ชุด น้ำดื่ม 200,000 ขวด อาหารสำเร็จรูป 138,218 ชุด ยาเวชภัณฑ์ 673 ชุด หญ้าสด 13 ตัน หญ้าแห้ง 1,808 ฟ่อน เรือท้องแบน 13 ลำ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
(2) จังหวัดร่วมกับชลประทานจังหวัดได้เจาะพนังกั้นน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำตรังที่หมู่ที่ 6 ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมือง และได้รับประสานกับกองพันทหารช่างค่ายเทพสตรีศรีสุนทรติดตั้งสะพานแบร์ลีย์เพื่อการสัญจรของประชาชนชั่วคราว
(3) ชลประทานจังหวัดได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 20 เครื่องเพื่อเร่งระบายน้ำในพื้นที่ที่มี น้ำท่วมขังลงสู่แม่น้ำตรัง
4. การดำเนินการช่วยเหลือของกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.1 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยจัดส่งเรือท้องแบน 134 ลำ เครื่องสูบน้ำ 18 เครื่อง รถบรรทุกขนาดเล็ก/ใหญ่ 8 คัน รถกู้ภัย 2 คัน รถตู้คอนเทนเนอร์ 2 คัน รถเครน 15 คัน รถผลิตน้ำดื่ม 1 คัน รถขุดไฮดรอริค 2 คัน รถไฟฟ้าส่องสว่าง 2 คัน รถบรรทุกเรือ 2 คัน สะพานเบลีย์ ขนาด 63 เมตร 4 แห่ง น้ำดื่ม 6,000 ขวด ถุงยังชีพ 25,000 ชุด และอาหารกระป๋อง (ฮาราล) 400,000 กระป๋อง
4.2 กองทัพอากาศสนับสนุนรถบรรทุกขนาดใหญ่ 3 คัน กำลังพล 84 นาย คณะแพทย์ ทอ. 22 คน ชุดฟื้นฟูจิตใจ 8 คน เรืองท้องแบน 40 ลำ เฮลิคอปเตอร์ (UH-IH) เรือขนาด 16 ฟุต 8 ลำ น้ำดื่ม 350 โหล กระสอบทราย 4,000 ถุง เวชภัณฑ์ 12 กล่อง ถุงยังชีพ 620 ชุด
4.3 กองทัพเรือภาคที่ 2 สนับสนุน เรือท้องแบน 12 ลำ อาหาร, เครื่องดื่ม 1,000 ขวด
4.4 กองทัพบก สนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ เรือท้องแบน 60 ลำ เครื่องทำน้ำประปา 5 ชุด
4.5 กองอำนวยการ สสส.จชต. สนับสนุนกำลังพล 40 นาย เรือยาง 9 ลำ เรือท้องแบน 42 ลำ รถบรรทุก 12 คัน เครื่องทำน้ำประปา 6 เครื่อง
4.6 กรมปศุสัตว์ สนับสนุนอาหารสัตว์ 1,817,900 กก.
4.7 กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนเวชภัณฑ์ 299,400 ชุด
4.8 สภากาชาดไทย สนับสนุนอาหารและเครื่องดื่ม 15,000 ขวด ถุงยังชีพ 3,000 ชุด อาหารสำเร็จรูป มูลค่า 20,000 บาท
4.9 มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) สนับสนุนอาหารและเครื่องดื่ม ขวดเปล่าสำหรับใส่น้ำดื่ม 33,800 ขวด น้ำดื่ม 11,590 ขวด อาหารพร้อมเครื่องดื่ม 14,000 ชุด ถุงยังชีพ 1,390 ชุด
4.10 มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ สนับสนุนนม และน้ำดื่ม 10,000 ชุด อาหารสำเร็จรูปมูลค่า 298,702 บาท เครื่องอุปโภคบริโภค มูลค่า 1,750,000 บาท
4.11 มูลนิธิป่อเต็กตึ้ง สนับสนุนเจ้าหน้าที่ 15 นาย รถกู้ภัย 15 คัน รถพยาบาล 2 คัน เรือท้องแบน 3 ลำ อาหารและเครื่องดื่ม 2,050 ชุด ถุงยังชีพ 600 ชุด
4.12 มูลนิธิรัฐบุรุษพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สนับสนุนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า 1,000 หีบ นมพร้อมดื่ม 600 หีบ (มอบผ่านศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 12 สงขลา)
4.13 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้เปิดบัญชีรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ชื่อบัญชี “สมทบทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” ประเภทเผื่อเรียก ธนาคารออมสิน สาขามหาดไทย หมายเลขบัญชี 00-0006-20-014496-3
5. การตรวจพื้นที่ประสบภัยของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2548 นายกรัฐมนตรี (พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร) พร้อมด้วยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) และคณะได้เดินทางไปประชุมผู้ว่าราชการจังหวัด 8 จังหวัดที่ประสบภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสงขลา ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้รับฟังบรรยายสรุปสถารการณ์อุทกภัยจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 8 จังหวัด โดยนายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการ ดังนี้
5.1 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วน
5.2 เมื่อสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลายให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน สะพาน ให้ประชาชนสามารถสัญจรได้สะดวก
5.3 ให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดช่วยเหลือด้านอาหารสัตว์ สำหรับโค กระบือ ที่เป็นภาระแก่เจ้าของ ให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับซื้อเพื่อมอบให้แก่เกษตรกรที่ยากจนในราคายุติธรรม
5.4 ให้กระทรวงสาธารณสุขดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชน
5.5 ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุนผ้าห่มกันหนาวสำหรับประชาชนที่ประสบอุทกภัย
5.6 ให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ประสานการจัดส่งอาหารฮาราล โดยให้กองทัพอากาศสนับสนุนเครื่องบิน c 130
5.7 เร่งรัดซ่อมแซมบ้านพักอาศัยที่เสียหาย และจ่ายเงินชดเชยด้วยความรวดเร็ว
ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางไป อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เพื่อตรวจสถานการณ์อุทกภัย และมอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัย บ้าน กม.26 หมู่ที่ 2 ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ และบ้านควนยาง ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี และเดินทางไปตรวจการก่อสร้างทางระบายน้ำชั่วคราวบ้านดินลาน ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โดยได้มอบนโยบายให้ก่อสร้างทางระบายน้ำแบบถาวรต่อไป
6. การตรวจพื้นที่ประสบภัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา) ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่า-การกระทรวงมหาดไทยเดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัย ดังนี้
6.1 ในวันที่ 20 ธันวาคม 2548 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และคณะได้เดินทางไปที่อำเภอปากพนังและชะอวด เพื่อเยี่ยมผู้ประสบภัยและแจกถุงยังชีพ จำนวน 800 ชุด
6.2 ในวันที่ 21 ธันวาคม 2548 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมด้วยรองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายพงศ์เผ่า เกษทอง) ได้เดินทางไปตรวจพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างแก้มลิง ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ และตรวจสถานการณ์อุทกภัยพร้อมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัย ที่ตำบลคูเต่า และตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
6.3 ในวันที่ 22 ธันวาคม 2548 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมด้วยรองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายพงศ์เผ่า เกษทอง) ได้ตรวจติดตามสถานการณ์อุกทภัย ดังนี้
- ช่วงเช้า เดินทางไปที่ศาลากลางจังหวัดปัตตานี เพื่อรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์อุทกภัยตรวจจุดสูบน้ำในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี และตรวจสภาพระดับน้ำที่ท่วมขัง รวมทั้งแจกถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยที่ตำบลคลองขุด อำเภอหนองจิก จำนวน 500 ชุด
- ช่วงบ่าย เดินทางไปบ้านเกาะแลหนัง ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เพื่อเยี่ยมเยียนราษฎรที่ประสบอุทกภัย และแจกถุงยังชีพ จำนวน 300 ชุด จากนั้นเดินทางไปที่บ้านน้ำเค็ม ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เพื่อเยี่ยมเยียนราษฎรและแจกถุงยังชีพ จำนวน 300 ชุด
6.4 ในวันที่ 22 ธันวาคม 2548 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมชาย สุนทรวัฒน์) พร้อมด้วยรองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายฉัตรชัย พรหมเลิศ) พร้อมคณะ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมราษฎรที่อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยได้เดินทางไปที่ศาลาเจ้าแม่อุบล ตำบลทะเลน้อย เพื่อเยี่ยมเยียนราษฎรหมู่ 3, 4, 5, 6, 8, 9, 10 ตำบลทะเลน้อย และแจกถุงยังชีพ จำนวน 1,000 ชุด จากนั้นเดินทางไปที่ศาลาแดงริมทะเลน้อย ตำบลทะเลน้อย เพื่อเยี่ยมเยียนราษฎร หมู่ 1, 2, ตำบลทะเลน้อย และหมู่ที่ 1, 2, 13 ตำบลพนางตุง และแจกถุงยังชีพ จำนวน 1,000 ชุด น้ำดื่ม 15,000 ขวด
อนึ่ง เนื่องจากในระยะนี้ ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ประสบภัยหนาวในหลายพื้นที่ ซึ่งเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา) พร้อมด้วยปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายสุจริต ปัจฉิมนันท์) และรองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายฉัตรชัย พรหมเลิศ) ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมประชาชนที่สบภัยหนาว ดังนี้
- ช่วงเช้า ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมประชาชนที่ประสบภัยหนาวและมอบผ้าห่มกันหนาว จำนวน 3,000 ผืน ให้แก่ประชาชนในเขตอำเภอเมือง อำเภอโนนไทย และกิ่งอำเภอพระทองคำ ที่โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา
- ช่วงบ่าย ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมประชาชนที่ประสบภัยหนาวและมอบผ้าห่มกันหนาว จำนวน 1,000 ผืน ให้แก่ประชาชนในเขตอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
7. อุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2548 — 1 ธันวาคม 2549 ดังนี้
- ในช่วงวันที่ 26-28 ธันวาคม คลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนจากทะเลอันดามันพาดภาคเหนือ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และลมตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกในระยะนี้ และภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ต่อจากนั้นคลื่นกระแสลมตะวันตกจะอ่อนกำลังลง ทำให้ฝนลดลง
- ในช่วงวันที่ 29 ธันวาคม 2548 — 1 มกราคม 2549 ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นและลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีหมอกเพิ่มมากขึ้นโดยทั่วไป สำหรับภาคใต้มีฝนเป็นแห่ง ๆ ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีความสูง 1 — 2 เมตร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--
1. การแจ้งเตือนภัย
กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธาณภัย ได้มีวิทยุแจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศฝนตกหนักและคลื่นลมแรงจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่จังหวัดจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมทั้งศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 3 ปราจีนบุรี เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 12 สงขลา ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2548 แล้ว โดยให้จังหวัดแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ระมัดระวังภัยจากภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด
2. สถานการณ์อุทกภัยภาพรวม (ระหว่างวันที่ 14 — 26 ธันวาคม 2548)
2.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 8 จังหวัด 94 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 582 ตำบล 3,179 หมู่บ้าน ได้แก่จังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช ปัตตานี พัทลุง ตรัง ยะลา สตูล และนราธิวาส
2.2 ความเสียหาย
1) ด้านชีวิต ประชาชนเดือดร้อน 368,505 ครัวเรือน 1,616,942 คน มีผู้เสียชีวิต 26 ราย (จังหวัดสงขลา 13 ราย ตรัง 2 ราย ปัตตานี 1 ราย พัทลุง 4 ราย ยะลา 4 ราย นครศรีธรรมราช 1 ราย และสตูล 1 ราย) สูญหาย 1 ราย (จังหวัดยะลา)
2) ด้านทรัพย์สิน ในเบื้องต้นได้รับรายงาน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 47 หลัง เสียหายบางส่วน 788 หลัง ถนน 2,189 สาย สะพาน 289 แห่ง ทำนบ-ฝาย 68 แห่ง ท่าระบายน้ำ 227 แห่ง พื้นที่การเกษตร 506,360 ไร่ ปศุสัตว์ 220,219 ตัว บ่อปลา 10,393 บ่อ
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 596,214,571 บาท
3. สถานการณ์อุทกภัยในปัจจุบัน
3.1 พื้นที่ที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส และสตูล
3.2 พื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์ รวม 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ตรัง พัทลุง ปัตตานี และยะลา
1) จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ประสบภัย รวม 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหาดใหญ่ สทิงพระ ระโนด เทพา สิงหนคร กระแสสินธุ์ บางกล่ำ ควนเนียง สะบ้าย้อย นาทวี นาหม่อม จะนะ คลอง หอยโข่ง เมืองฯ และรัตภูมิ
สถานการณ์ปัจจุบัน ยังมีน้ำท่วมขัง จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสทิงพระ (ตำบลคูขุด ท่าหิน และคลองรี) ในที่ลุ่มยังมีระดับน้ำสูง 0.30 เมตร อำเภอระโนด มีน้ำท่วมขังในที่ลุ่มทุกตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.70-0.90 เมตร ประชาชนได้อพยพสัตว์เลี้ยงไว้บนถนน สำหรับถนนหน้าที่ว่าการอำเภอ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20 เมตร อำเภอสิงหนคร (ตำบลทำนบ ป่าขาด ปากรอ ชะแล้ บางเขียด และรำแดง) ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ริมทะเลสาบ เนื่องจากน้ำทะเลหนุน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50 — 0.80 เมตร อำเภอกระแสสินธุ์ (ตำบลโรง เชิงแส เกาะใหญ่ และกระแสสินธุ์) ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่ม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60 — 0.80 เมตร สำหรับถนนหน้าที่ว่าการอำเภอ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10 — 0.15 เมตร รถเล็กผ่านได้
การให้ความช่วยเหลือ
(1) จังหวัดและกองเรือภาค 2 จัดส่งเรือท้องแบน 50 ลำ ไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย
(2) จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมูลนิธิเพื่อการกุศล มอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวน 121,766 ชุด
(3) สำนักงานชลประทานที่ 16 ได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือในพื้นที่น้ำท่วมรวมทั้งสิ้น 52 เครื่อง
2) จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ประสบภัย รวม 21 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอนาบอน ฉวาง บางขัน หัวไทร ร่อนพิบูลย์ สิชล พระพรหม เมือง ขนอม พิปูน เฉลิมพระเกียรติ ทุ่งสง ถ้ำพรรณรา ชะอวด ท่าศาลา ทุ่งใหญ่ ปากพนัง พรหมคีรี จุฬาภรณ์ ลานสกา เชียรใหญ่ กิ่งอำเภอช้างกลาง และกิ่งอำเภอนบพิตำ
สถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่ม จำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชะอวด (ตำบลเคร็ง) อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (ตำบลสวนหลวง ทางพูน เชียรเขา) อำเภอเชียรใหญ่ (ตำบลบ้านเนิน การะเกด แม่เจ้าอยู่หัว) อำเภอหัวไทร (ตำบลแหลม ควรชะลิก) และอำเภอปากพนัง (ตำบลบางตะพง บางพระ) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80 — 1.00 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ
(1) เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2548 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้ไปตรวจสถานการณ์อุทกภัย พร้อมมอบถุงยังชีพ จำนวน 3,500 ชุด แก่ผู้ประสบภัยที่อำเภอปากพนัง
(2) จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดส่งเรือท้องแบนจำนวน 61 ลำ เครื่องสูบน้ำ 10 เครื่อง รถตู้คอนเทนเนอร์ อาหารสัตว์เลี้ยง อาหารสำเร็จรูป ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว
3) จังหวัดปัตตานี มีพื้นที่ประสบภัย รวม 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ แม่ลาน ทุ่งยางแดง ไม้แก่น หนองจิก มายอ ยะรัง โคกโพธิ์ ยะหริ่ง กะพ้อ สายบุรี และ ปะนาเระ
สถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่ม จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองที่ตำบลตะลุโบะ ปะกาฮะกัง บาราเฮาะ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ติดกับริมแม่น้ำลำคลอง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50 เมตร อำเภอแม่ลาน (ตำบลม่วงเตี้ย) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30 เมตร อำเภอหนองจิก (ตำบลดอนรัก บ่อทอง คอลอตันหยง) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80 เมตร อำเภอยะรัง (ตำบลคลองใหม่ ประจันทร์) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ
(1) จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดส่งเรือท้องแบน เครื่องสูบน้ำ ถุงยังชีพ เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว
(2) สาธารณสุขจังหวัดได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยใน ด้านสาธารณสุขต่าง ๆ เช่น โรคตาแดง ไข้หวัด น้ำกัดเท้า ฯลฯ
(3) ปศุสัตว์จังหวัดเร่งดำเนินการให้การช่วยเหลือสัตว์ที่ป่วยในพื้นที่
4) จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ประสบภัย รวม 10 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้อำเภอเมืองฯ ควนขนุน กงหรา เขาชัยสน ตะโหนด ป่าบอน บางแก้ว ปากพะยูน ป่าพยอม ศรีบรรพต และกิ่งอำเภอศรีนครินทร์
สถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเขาชัยสน (ต.จองถนน ต.เขาชัยสน) อำเภอ บางแก้ว (ต.ท่ามะเดือ ต.นาปะขอ ) อำเภอปากพะยูน (ต.เกาะนางคำ ต. ฝาละมี ต.เกาะหมาก ต.ดอนประดู่) อำเภอควนขนุน (ต.มะกอกเหนือ ต.พะนางตุง ต.ทะเลน้อย) เนื่องจากเป็นพื้นที่ติดทะเลสาบและน้ำทะเลหนุน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40 —0.70 เมตร สำหรับอำเภอเมือง ยังคงมีน้ำท่วมขังบางพื้นที่ของตำบลลำป่า พญาขัน ชัยบุรี ควนมะพร้าว ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้น ดังนี้
(1) เรือท้องแบนจำนวน 64 ลำ แจกจ่ายถุงยังชีพ จำนวน 100,000 ชุด น้ำดื่ม จำนวน 57,744 ลิตร ยาเวชภัณฑ์ จำนวน 1,010 ชุด กระสอบทรายกั้นน้ำ จำนวน 7,000 ถุง ผ้าห่มกันหนาว 1,490 ผืน รถยนต์บรรทุก 40 คัน รถเครน 6 คัน
(2) หน่วยทหารช่าง 401,402 และหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 43 สร้างห้องน้ำ จำนวน 10 ห้อง และปรับยกพื้นศูนย์อพยพบ้านแหลมไก่ผู้ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน
5) จังหวัดยะลา มีพื้นที่ประสบภัย รวม 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ รามัน ยะหา กาบัง กรงปินัง บันนังสตา ธารโต และเบตง
สถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่ม จำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง (ตำบลตาเซะ ยุโป) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30 เมตร อำเภอรามัน (ตำบลอาช่อง) ซึ่งเป็นพื้นลุ่มมีน้ำท่วมขังเป็นประจำ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40 — 0.50 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดฟื้นฟูถนน/สะพาน ที่ชำรุดโดยเร็ว
(2) จังหวัดร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ สภากาชาดไทย และองค์กรการกุศล ได้มอบถุงยังชีพ จำนวน 97,633 ชุด น้ำดื่ม 200,000 ขวด อาหารสำเร็จรูป 138,218 ชุด ยาเวชภัณฑ์ 673 ชุด หญ้าสด 13 ตัน หญ้าแห้ง 1,808 ฟ่อน ให้แก่ผู้ประสบภัย เรือท้องแบน 13 ลำ
(3) กรมชลประทานส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือ 14 เครื่อง
6) จังหวัดตรัง พื้นที่ประสบภัย 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ ห้วยยอด กันตัง รัษฎา ย่านตาขาว วังวิเศษ นาโยง ปะเหลียน และสิเกา
สถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีน้ำท่วมขัง จำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง (ตำบลหนองตรุด ตำบลนาโต๊ะ หมิง บางรัก นาท่ามเหนือ) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ติดกับแม่น้ำตรัง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30 — 0.50 เมตร อำเภอกันตัง (ตำบลควนธานี ควนปริง โคกยาง ย่านซื่อ และบางเป้า) ในที่ลุ่มบริเวณพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำตรังยังคงมีน้ำท่วมขังสูงประมาณ 0.50-0.60 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ
(1) จังหวัดร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ สภากาชาดไทย และองค์กรการกุศล ได้มอบถุงยังชีพ จำนวน 97,633 ชุด น้ำดื่ม 200,000 ขวด อาหารสำเร็จรูป 138,218 ชุด ยาเวชภัณฑ์ 673 ชุด หญ้าสด 13 ตัน หญ้าแห้ง 1,808 ฟ่อน เรือท้องแบน 13 ลำ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
(2) จังหวัดร่วมกับชลประทานจังหวัดได้เจาะพนังกั้นน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำตรังที่หมู่ที่ 6 ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมือง และได้รับประสานกับกองพันทหารช่างค่ายเทพสตรีศรีสุนทรติดตั้งสะพานแบร์ลีย์เพื่อการสัญจรของประชาชนชั่วคราว
(3) ชลประทานจังหวัดได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 20 เครื่องเพื่อเร่งระบายน้ำในพื้นที่ที่มี น้ำท่วมขังลงสู่แม่น้ำตรัง
4. การดำเนินการช่วยเหลือของกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.1 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยจัดส่งเรือท้องแบน 134 ลำ เครื่องสูบน้ำ 18 เครื่อง รถบรรทุกขนาดเล็ก/ใหญ่ 8 คัน รถกู้ภัย 2 คัน รถตู้คอนเทนเนอร์ 2 คัน รถเครน 15 คัน รถผลิตน้ำดื่ม 1 คัน รถขุดไฮดรอริค 2 คัน รถไฟฟ้าส่องสว่าง 2 คัน รถบรรทุกเรือ 2 คัน สะพานเบลีย์ ขนาด 63 เมตร 4 แห่ง น้ำดื่ม 6,000 ขวด ถุงยังชีพ 25,000 ชุด และอาหารกระป๋อง (ฮาราล) 400,000 กระป๋อง
4.2 กองทัพอากาศสนับสนุนรถบรรทุกขนาดใหญ่ 3 คัน กำลังพล 84 นาย คณะแพทย์ ทอ. 22 คน ชุดฟื้นฟูจิตใจ 8 คน เรืองท้องแบน 40 ลำ เฮลิคอปเตอร์ (UH-IH) เรือขนาด 16 ฟุต 8 ลำ น้ำดื่ม 350 โหล กระสอบทราย 4,000 ถุง เวชภัณฑ์ 12 กล่อง ถุงยังชีพ 620 ชุด
4.3 กองทัพเรือภาคที่ 2 สนับสนุน เรือท้องแบน 12 ลำ อาหาร, เครื่องดื่ม 1,000 ขวด
4.4 กองทัพบก สนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ เรือท้องแบน 60 ลำ เครื่องทำน้ำประปา 5 ชุด
4.5 กองอำนวยการ สสส.จชต. สนับสนุนกำลังพล 40 นาย เรือยาง 9 ลำ เรือท้องแบน 42 ลำ รถบรรทุก 12 คัน เครื่องทำน้ำประปา 6 เครื่อง
4.6 กรมปศุสัตว์ สนับสนุนอาหารสัตว์ 1,817,900 กก.
4.7 กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนเวชภัณฑ์ 299,400 ชุด
4.8 สภากาชาดไทย สนับสนุนอาหารและเครื่องดื่ม 15,000 ขวด ถุงยังชีพ 3,000 ชุด อาหารสำเร็จรูป มูลค่า 20,000 บาท
4.9 มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) สนับสนุนอาหารและเครื่องดื่ม ขวดเปล่าสำหรับใส่น้ำดื่ม 33,800 ขวด น้ำดื่ม 11,590 ขวด อาหารพร้อมเครื่องดื่ม 14,000 ชุด ถุงยังชีพ 1,390 ชุด
4.10 มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ สนับสนุนนม และน้ำดื่ม 10,000 ชุด อาหารสำเร็จรูปมูลค่า 298,702 บาท เครื่องอุปโภคบริโภค มูลค่า 1,750,000 บาท
4.11 มูลนิธิป่อเต็กตึ้ง สนับสนุนเจ้าหน้าที่ 15 นาย รถกู้ภัย 15 คัน รถพยาบาล 2 คัน เรือท้องแบน 3 ลำ อาหารและเครื่องดื่ม 2,050 ชุด ถุงยังชีพ 600 ชุด
4.12 มูลนิธิรัฐบุรุษพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สนับสนุนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า 1,000 หีบ นมพร้อมดื่ม 600 หีบ (มอบผ่านศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 12 สงขลา)
4.13 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้เปิดบัญชีรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ชื่อบัญชี “สมทบทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” ประเภทเผื่อเรียก ธนาคารออมสิน สาขามหาดไทย หมายเลขบัญชี 00-0006-20-014496-3
5. การตรวจพื้นที่ประสบภัยของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2548 นายกรัฐมนตรี (พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร) พร้อมด้วยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) และคณะได้เดินทางไปประชุมผู้ว่าราชการจังหวัด 8 จังหวัดที่ประสบภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสงขลา ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้รับฟังบรรยายสรุปสถารการณ์อุทกภัยจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 8 จังหวัด โดยนายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการ ดังนี้
5.1 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วน
5.2 เมื่อสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลายให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน สะพาน ให้ประชาชนสามารถสัญจรได้สะดวก
5.3 ให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดช่วยเหลือด้านอาหารสัตว์ สำหรับโค กระบือ ที่เป็นภาระแก่เจ้าของ ให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับซื้อเพื่อมอบให้แก่เกษตรกรที่ยากจนในราคายุติธรรม
5.4 ให้กระทรวงสาธารณสุขดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชน
5.5 ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุนผ้าห่มกันหนาวสำหรับประชาชนที่ประสบอุทกภัย
5.6 ให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ประสานการจัดส่งอาหารฮาราล โดยให้กองทัพอากาศสนับสนุนเครื่องบิน c 130
5.7 เร่งรัดซ่อมแซมบ้านพักอาศัยที่เสียหาย และจ่ายเงินชดเชยด้วยความรวดเร็ว
ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางไป อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เพื่อตรวจสถานการณ์อุทกภัย และมอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัย บ้าน กม.26 หมู่ที่ 2 ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ และบ้านควนยาง ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี และเดินทางไปตรวจการก่อสร้างทางระบายน้ำชั่วคราวบ้านดินลาน ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โดยได้มอบนโยบายให้ก่อสร้างทางระบายน้ำแบบถาวรต่อไป
6. การตรวจพื้นที่ประสบภัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา) ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่า-การกระทรวงมหาดไทยเดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัย ดังนี้
6.1 ในวันที่ 20 ธันวาคม 2548 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และคณะได้เดินทางไปที่อำเภอปากพนังและชะอวด เพื่อเยี่ยมผู้ประสบภัยและแจกถุงยังชีพ จำนวน 800 ชุด
6.2 ในวันที่ 21 ธันวาคม 2548 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมด้วยรองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายพงศ์เผ่า เกษทอง) ได้เดินทางไปตรวจพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างแก้มลิง ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ และตรวจสถานการณ์อุทกภัยพร้อมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัย ที่ตำบลคูเต่า และตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
6.3 ในวันที่ 22 ธันวาคม 2548 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมด้วยรองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายพงศ์เผ่า เกษทอง) ได้ตรวจติดตามสถานการณ์อุกทภัย ดังนี้
- ช่วงเช้า เดินทางไปที่ศาลากลางจังหวัดปัตตานี เพื่อรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์อุทกภัยตรวจจุดสูบน้ำในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี และตรวจสภาพระดับน้ำที่ท่วมขัง รวมทั้งแจกถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยที่ตำบลคลองขุด อำเภอหนองจิก จำนวน 500 ชุด
- ช่วงบ่าย เดินทางไปบ้านเกาะแลหนัง ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เพื่อเยี่ยมเยียนราษฎรที่ประสบอุทกภัย และแจกถุงยังชีพ จำนวน 300 ชุด จากนั้นเดินทางไปที่บ้านน้ำเค็ม ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เพื่อเยี่ยมเยียนราษฎรและแจกถุงยังชีพ จำนวน 300 ชุด
6.4 ในวันที่ 22 ธันวาคม 2548 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมชาย สุนทรวัฒน์) พร้อมด้วยรองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายฉัตรชัย พรหมเลิศ) พร้อมคณะ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมราษฎรที่อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยได้เดินทางไปที่ศาลาเจ้าแม่อุบล ตำบลทะเลน้อย เพื่อเยี่ยมเยียนราษฎรหมู่ 3, 4, 5, 6, 8, 9, 10 ตำบลทะเลน้อย และแจกถุงยังชีพ จำนวน 1,000 ชุด จากนั้นเดินทางไปที่ศาลาแดงริมทะเลน้อย ตำบลทะเลน้อย เพื่อเยี่ยมเยียนราษฎร หมู่ 1, 2, ตำบลทะเลน้อย และหมู่ที่ 1, 2, 13 ตำบลพนางตุง และแจกถุงยังชีพ จำนวน 1,000 ชุด น้ำดื่ม 15,000 ขวด
อนึ่ง เนื่องจากในระยะนี้ ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ประสบภัยหนาวในหลายพื้นที่ ซึ่งเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา) พร้อมด้วยปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายสุจริต ปัจฉิมนันท์) และรองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายฉัตรชัย พรหมเลิศ) ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมประชาชนที่สบภัยหนาว ดังนี้
- ช่วงเช้า ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมประชาชนที่ประสบภัยหนาวและมอบผ้าห่มกันหนาว จำนวน 3,000 ผืน ให้แก่ประชาชนในเขตอำเภอเมือง อำเภอโนนไทย และกิ่งอำเภอพระทองคำ ที่โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา
- ช่วงบ่าย ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมประชาชนที่ประสบภัยหนาวและมอบผ้าห่มกันหนาว จำนวน 1,000 ผืน ให้แก่ประชาชนในเขตอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
7. อุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2548 — 1 ธันวาคม 2549 ดังนี้
- ในช่วงวันที่ 26-28 ธันวาคม คลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนจากทะเลอันดามันพาดภาคเหนือ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และลมตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกในระยะนี้ และภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ต่อจากนั้นคลื่นกระแสลมตะวันตกจะอ่อนกำลังลง ทำให้ฝนลดลง
- ในช่วงวันที่ 29 ธันวาคม 2548 — 1 มกราคม 2549 ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นและลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีหมอกเพิ่มมากขึ้นโดยทั่วไป สำหรับภาคใต้มีฝนเป็นแห่ง ๆ ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีความสูง 1 — 2 เมตร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--