แท็ก
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงการคลัง
ศุลกากร
คกก.
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 (คกก. 5) และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยรับข้อพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดหลักการไว้เป็นการทั่วไปว่าอธิบดีกรมศุลกากรจะมอบอำนาจให้ข้าราชการศุลกากรและอาจเพิกถอนการมอบอำนาจนั้นเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่กฎหมายว่าด้วยการศุลกากรจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของอธิบดีฯ และกำหนดเรื่องการมอบอำนาจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
2. ปรับปรุงจำนวนเงินอัตราโทษปรับให้สูงขึ้นโดยยกเลิกอัตราโทษเดิมตามกฎหมายศุลกากรฉบับต่าง ๆ และกำหนดอัตราโทษใหม่ขึ้นใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับค่าของเงินในปัจจุบัน
3. ยกเลิกบทบัญญัติเรื่องศาลกงสุลต่างประเทศ เนื่องจากในปัจจุบันไม่มีศาลนี้แล้ว
4. แก้ไขบทบัญญัติเรื่องสิ่งที่ยึดไว้ที่จะตกเป็นของแผ่นดินให้ชัดเจน โดยกำหนดให้สิ่งที่ยึดไว้ตกเป็นของแผ่นดินได้โดยมิพักต้องคำนึงว่าจะมีการฟ้องคดีอาญาหรือไม่
5. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเรื่องช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม หรือข้อจำกัด ให้กว้างขึ้น
6. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเรื่องการริบยานพาหนะ หีบห่อ หรือภาชนะใดที่ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการย้าย ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือที่ต้องจำกัด หรือต้องห้ามให้กว้างขึ้น คลุมถึงของอื่น ๆ อันจะพึงต้องริบตามกฎหมายว่าด้วยการศุลกากร
7. ยกเลิกบทบัญญัติเรื่องการส่งออกข้าวและรำซึ่งต้องบรรจุกระสอบเนื่องจากเป็นบทบัญญัติที่ไม่ยืดหยุ่น และไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางการค้าระหว่างประเทศ
8. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเรื่องการทำลายของสดของเสียซึ่งยังมิได้รับมอบไป ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
9. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเรื่องอำนาจการเปรียบเทียบและงดการฟ้องร้องของคณะกรรมการเปรียบเทียบ และแก้ไขบทบัญญัติที่ให้อำนาจคณะกรรมการระงับคดีสำหรับความผิดที่ระบุไว้สำหรับกรณีของกลางรวมค่าอากรเกินกว่าสี่หมื่นบาทเป็นเกินกว่าสี่แสนบาท นอกจากนี้ได้เปลี่ยนผู้แทนกรมตำรวจเป็นผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
10. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินของโทษปรับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการศุลกากร หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินของราคาของรวมค่าอากรที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการเปรียบเทียบและงดการฟ้องร้องให้สอดคล้องกับค่าเงินที่เป็นจริงได้
11. กำหนดให้การฝ่าฝืนบทบัญญัติเรื่องทางอนุมัติเฉพาะคราวเป็นความผิด และต้องระวางโทษเช่นเดียวกับการฝ่าฝืนบทบัญญัติเรื่องทางอนุมัติ
12. กำหนดให้ชัดเจนว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉะบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 และกำหนดให้กฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉะบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อน จึงจะใช้บังคับได้ เนื่องจากเดิมบัญญัติไว้ไม่ชัดเจน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 มิ.ย.44--
-สส-
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดหลักการไว้เป็นการทั่วไปว่าอธิบดีกรมศุลกากรจะมอบอำนาจให้ข้าราชการศุลกากรและอาจเพิกถอนการมอบอำนาจนั้นเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่กฎหมายว่าด้วยการศุลกากรจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของอธิบดีฯ และกำหนดเรื่องการมอบอำนาจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
2. ปรับปรุงจำนวนเงินอัตราโทษปรับให้สูงขึ้นโดยยกเลิกอัตราโทษเดิมตามกฎหมายศุลกากรฉบับต่าง ๆ และกำหนดอัตราโทษใหม่ขึ้นใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับค่าของเงินในปัจจุบัน
3. ยกเลิกบทบัญญัติเรื่องศาลกงสุลต่างประเทศ เนื่องจากในปัจจุบันไม่มีศาลนี้แล้ว
4. แก้ไขบทบัญญัติเรื่องสิ่งที่ยึดไว้ที่จะตกเป็นของแผ่นดินให้ชัดเจน โดยกำหนดให้สิ่งที่ยึดไว้ตกเป็นของแผ่นดินได้โดยมิพักต้องคำนึงว่าจะมีการฟ้องคดีอาญาหรือไม่
5. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเรื่องช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม หรือข้อจำกัด ให้กว้างขึ้น
6. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเรื่องการริบยานพาหนะ หีบห่อ หรือภาชนะใดที่ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการย้าย ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือที่ต้องจำกัด หรือต้องห้ามให้กว้างขึ้น คลุมถึงของอื่น ๆ อันจะพึงต้องริบตามกฎหมายว่าด้วยการศุลกากร
7. ยกเลิกบทบัญญัติเรื่องการส่งออกข้าวและรำซึ่งต้องบรรจุกระสอบเนื่องจากเป็นบทบัญญัติที่ไม่ยืดหยุ่น และไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางการค้าระหว่างประเทศ
8. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเรื่องการทำลายของสดของเสียซึ่งยังมิได้รับมอบไป ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
9. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเรื่องอำนาจการเปรียบเทียบและงดการฟ้องร้องของคณะกรรมการเปรียบเทียบ และแก้ไขบทบัญญัติที่ให้อำนาจคณะกรรมการระงับคดีสำหรับความผิดที่ระบุไว้สำหรับกรณีของกลางรวมค่าอากรเกินกว่าสี่หมื่นบาทเป็นเกินกว่าสี่แสนบาท นอกจากนี้ได้เปลี่ยนผู้แทนกรมตำรวจเป็นผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
10. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินของโทษปรับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการศุลกากร หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินของราคาของรวมค่าอากรที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการเปรียบเทียบและงดการฟ้องร้องให้สอดคล้องกับค่าเงินที่เป็นจริงได้
11. กำหนดให้การฝ่าฝืนบทบัญญัติเรื่องทางอนุมัติเฉพาะคราวเป็นความผิด และต้องระวางโทษเช่นเดียวกับการฝ่าฝืนบทบัญญัติเรื่องทางอนุมัติ
12. กำหนดให้ชัดเจนว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉะบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 และกำหนดให้กฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉะบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อน จึงจะใช้บังคับได้ เนื่องจากเดิมบัญญัติไว้ไม่ชัดเจน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 มิ.ย.44--
-สส-