ทำเนียบรัฐบาล--4 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมเจรจาการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียนและขตการค้าเสรีออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์ (AFTA - CER) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ทั้งนี้เนื่องจากในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) กับรัฐมนตรีเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์ (CER) ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2542 ณ ประเทศสิงคโปร์ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง AFTA - CER Free Trade Arca ภายในปี 2010 โดยให้มีความยืดหยุ่นด้านเวลาแก้ประเทศสมาชิกใหม่ และให้จัดตั้งคณะทำงานด้านการเชื่อมโยงเขตการค้าเสรีอาเซียนกับเขตการค้าเสีออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์ (High Level Task Force on the AFTA - CER FTA) โดยให้เสนอผลการศึกษาดังกล่าวต่อที่ประชุม AEM ครั้งที่ 32 ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2543 ณ ประเทศไทย กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้ศึกษาวิเคราะห์เรื่อง การจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA - CER โดยใช้ข้อเสนอของคณะทำงานด้านการเชื่อมโยงเขตการค้าเสรีอาเซียนกับเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์ และข้อเสนอของออสเตรเลียเป็นฐานในการศึกษา รวมทั้งได้จัดประชุมหารือระหว่างภาคราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2543 เพื่อพิจารณาผลประโยชน์และท่าทีไทยในการดำเนินการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี AFTA - CER ซึ่งผลการศึกษาจัดทำเขตการค้าเสรี สรุปได้ดังนี้
1. การเปิดเสรีการค้าของ AFTA - CER ไทยและอาเซียนได้ประโยชน์ด้าน Static น้อย เนื่องจากการค้าระหว่าง CER กับไทยและอาเซียนอื่น ๆ มีมูลค่าน้อย และอาเซียนอาจจะไม่ให้รับประโยชน์จากการลดภาษีของ CER มากนัก เพราะขณะนี้ภาษีทีออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เก็บจริงมีอัตราต่ำมาก (อัตราภาษีทั่วไปเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5) ซึ่งแตกต่างจากอัตราภาษีเมื่อมีเขตการค้าเสรีแล้วไม่มากนัก แต่การทำเขตการค้าเสรีดังกล่าวจะมี Dynamic gains สูง ทั้งในด้านการลงทุน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยและการสร้างอำนาจต่อรองในเวทีการค้าโลก
2. อาเซียนควรสนับสนุนข้อเสนอแนะของคณะทำงานฯ ที่เสนอให้การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่าง AFTA - CER คำนึงถึงความสมดุลของผลประโยชน์ระหว่างประเทศสมาชิก และระดับการพัฒนา รวมทั้งเห็นด้วยในหลักการที่จะขยายสมาชิกภาพเพิ่มเติมในภายหลังนอกเหนือจาก AFTA - CER เพื่อขยายประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้า
3. ไทยจะได้ประโยชน์ในด้านการขยายตลาดสินค้าอุตสาหกรรมจากการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA - CER แต่ควรระมัดระวังในการเปิดเสรีสินค้าเกษตร เพราะ CER มีความสามารถในการผลิตและการส่งออกสูง ในขณะที่อาเซียนและไทยจะมีปัญหาประสิทธิภาพการผลิตต่ำ และการขยายตลาดใน CER มีปัญหามาตรการที่ไม่ใช่ภาษี จึงอาจทำให้สินค้าเกษตรของไทยบางรายการได้รับผลกระทบ
4. ปัญหามาตรการที่ไม่ใช่ภาษีของ CER ที่เข้มงวดกว่าปกติ หากไม่มีการแก้ไขก็อาจทำให้เขตการค้าเสรี AFTA - CER ไม่บรรลุวัตถุประสงค์เท่าที่ควร จึงควรมีการทบทวนมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีทั้งสองฝ่ายโดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่มีปัญหาคุณภาพและสุขอนามัยของสินค้า ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวสามารถทำได้ในกรอบการเจรจาเวทีอื่น ๆ แต่หากมีการทำความตกลงเขตการค้าเสี AFTA - CER การเจรจาแก้ไขปัญหามาตรการสุขอนามัยอาจจะทำได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันอาเซียนอาจใช้การจัดทำเขตการค้าเสรีเป็นเครื่องมือในการผลักดันให้ CER ผ่อนคลายมาตรการสุขอนามัยให้เข้มงวดน้อยลง
5. การกำหนดระยะเวลาของการเปิดเสรีเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณา เพื่อให้อาเซียนและไทยได้ประโยชน์สูงสุด และเพื่อให้ Sector ที่แข่งขันไม่ได้ มีเวลาปรับตัว นอกจากนั้น ยังมีประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ข้อเสนอของออสเตรเลียซึ่งเสนอให้ทำเขตการค้าเสรี AFTA - CER ภายในปี 2010 ซึ่งทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จะต้องลดภาษีของตนลงภายใต้กรอบเอเปค ประเทศไทยและอาเซียนจะได้ประโยชน์ในส่วนนี้อยู่แล้ว แม้ว่าจะไม่มีการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA - CER ในขณะที่อาเซียนจะต้องลดภาษีลงภายใต้กรอบเอเปคภายในปี 2020 ดังนั้น กรอบเวลาที่ออสเตรเลียเสนออาเซียนอาจจะเสียเปรียบเพราะต้องเร่งลดภาษีให้ CER เร็วขึ้นถึง 10 ปี ไทยจึงควรเห็นชอบกับข้อเสนอของคณะทำงานฯ ที่เสนอให้ CER ขยายสิทธิประโยชน์ของตนให้แก่อาเซียนในทันที และให้อาเซียนให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรแก่ CER ภายในปี 2010 สำหรับสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และปี 2015 สำหรับสมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ ซึ่งจะทำให้อาเซียนได้รับประโยชน์เร็วขึ้นกว่าข้อเสนอของออสเตรเลีย รวมทั้งมีความยืดหยุ่นในรายการสินค้าเกษตรบางรายการที่เป็นสินค้าอ่อนไหวภายใต้ CEPT ด้วย
6. อาเซียนและไทยควรศึกษาผลดีผลเสียของการเปิดเสรีอย่างชัดเจน ไม่ควรรับร้อนทำเขตการค้าเสรีหากยังไม่พร้อม โดยเฉพาะสาขาที่แข่งขันไม่ได้และจะได้รับผลกระทบ ทั้งนี้อาจมีบางสาขาที่ไทยได้ประโยชน์เพราะวัตถุดิบที่นำเข้าจาก CER จะมีต้นทุนต่ำลง ทำให้แข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้น
7. อาเซียนควรมีการทบทวน (review) รายการสินค้าใน CEPT ก่อนที่จะทำเขตการค้าเสรีหากยังไม่พร้อม โดยเฉพาะสาขาที่แข่งขันไม่ได้และจะได้รับผลกระทบ ทั้งนี้อาจมีบางสาขาที่ไทยได้ประโยชน์เพราะวัตถุดิบที่นำเข้าจาก CER จะมีต้นทุนต่ำลง ทำให้แข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้น
8. การจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA - CER หน่วยงานในทางปฏิบัติ เช่น กรมศุลกากร อาจมีปัญหาในการดำเนินงาน โดยเฉพาะ Rules of Origin ที่จะต้องปรับให้มีความสอดคล้องกันระหว่าง AFTA และ CER
9. การเปิดเสรีด้านการลงทุนและการค้าบริการ ซึ่งเป็นส่วนที่อาเซียนและไทยเสียเปรียบเมื่อเทียบกับ CER จึงควรจะมีความตกลงแยกต่างหาก โดยอาจใช้วิธีเดียวกับการเปิดเสรีการลงทุนและการค้าบริการภายใต้กรอบ WTO สำหรับหลักเกณฑ์การเปิดเสรีการลงทุนควรกำหนดเป็นกรอบอย่างกว้าง ๆ และเป็นกลาง ส่วนการค้าบริการควรเปิดเสรี เฉพาะสาขามีพร้อมโดยใช้วิธีการ Positive List Approach เช่นเดียวกับการเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน
10. การดำเนินการ (Modality) จัดทำเขตการค้าเสรี AFTA - CER ต่อ WTO ภายใต้ Enabling Clause จะเป็นประโยชน์กับอาเซียนและสะดวกในการดำเนินการ แต่คาดว่า CER รวมทั้งสมาชิก WTO อื่น ๆ คงไม่เห็นด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าขณะนี้ AFTA ยังไม่ได้แจ้งการเปิดเสรีภายใต้มาตรา 24 (แต่มีการแจ้งภายใต้ Enabling Clause) แต่หากจำเป็นต้องแจ้งภายใต้ GATT มาตรา 24 อาเซียนก็สามารถดำเนินการได้เพราะการดำเนินการภาจใต้ CEPT สอดคล้องกับมาตรา 24 เนื่องจากหลักการของการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA - CER ไม่ได้เพิ่มอุปสรรคทางการค้ากับประเทศนอกกลุ่ม มีการลดเลิกภาษีและข้อจำกัดทางการค้ามากกว่าร้อยละ 90 และมีกรอบเวลาในการดำเนินการ 10 ปี เพียงแต่การแจ้งภายใต้มาตรา 24 มีความยุ่งยากในการดำเนินการมากกว่าภายใต้ Enabling Clause
ทั้งนี้ หากมีการเปิดเสรี AFTA - CER ภาจใต้มาตรา 24 วรรค 8 (b) อาจไม่สามารถเปิดเสรีแบบ Sectoral Approach เนื่องจากไม่มี Substantial Trade จึงควรเปิดเสรีแบบ Comprehensive Approch โดยให้มีความยือหยุ่นด้านเวลาสำหรับ Sector ที่ไม่พร้อม
11. ควรมีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำเขตการค้าเสี AFTA - CER ให้หย่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทราบ รวมถึงการทำประชาพิจารณ์เพื่อทราบข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยทั่วไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ย. 2543--
-กม/สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมเจรจาการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียนและขตการค้าเสรีออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์ (AFTA - CER) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ทั้งนี้เนื่องจากในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) กับรัฐมนตรีเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์ (CER) ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2542 ณ ประเทศสิงคโปร์ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง AFTA - CER Free Trade Arca ภายในปี 2010 โดยให้มีความยืดหยุ่นด้านเวลาแก้ประเทศสมาชิกใหม่ และให้จัดตั้งคณะทำงานด้านการเชื่อมโยงเขตการค้าเสรีอาเซียนกับเขตการค้าเสีออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์ (High Level Task Force on the AFTA - CER FTA) โดยให้เสนอผลการศึกษาดังกล่าวต่อที่ประชุม AEM ครั้งที่ 32 ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2543 ณ ประเทศไทย กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้ศึกษาวิเคราะห์เรื่อง การจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA - CER โดยใช้ข้อเสนอของคณะทำงานด้านการเชื่อมโยงเขตการค้าเสรีอาเซียนกับเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์ และข้อเสนอของออสเตรเลียเป็นฐานในการศึกษา รวมทั้งได้จัดประชุมหารือระหว่างภาคราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2543 เพื่อพิจารณาผลประโยชน์และท่าทีไทยในการดำเนินการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี AFTA - CER ซึ่งผลการศึกษาจัดทำเขตการค้าเสรี สรุปได้ดังนี้
1. การเปิดเสรีการค้าของ AFTA - CER ไทยและอาเซียนได้ประโยชน์ด้าน Static น้อย เนื่องจากการค้าระหว่าง CER กับไทยและอาเซียนอื่น ๆ มีมูลค่าน้อย และอาเซียนอาจจะไม่ให้รับประโยชน์จากการลดภาษีของ CER มากนัก เพราะขณะนี้ภาษีทีออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เก็บจริงมีอัตราต่ำมาก (อัตราภาษีทั่วไปเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5) ซึ่งแตกต่างจากอัตราภาษีเมื่อมีเขตการค้าเสรีแล้วไม่มากนัก แต่การทำเขตการค้าเสรีดังกล่าวจะมี Dynamic gains สูง ทั้งในด้านการลงทุน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยและการสร้างอำนาจต่อรองในเวทีการค้าโลก
2. อาเซียนควรสนับสนุนข้อเสนอแนะของคณะทำงานฯ ที่เสนอให้การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่าง AFTA - CER คำนึงถึงความสมดุลของผลประโยชน์ระหว่างประเทศสมาชิก และระดับการพัฒนา รวมทั้งเห็นด้วยในหลักการที่จะขยายสมาชิกภาพเพิ่มเติมในภายหลังนอกเหนือจาก AFTA - CER เพื่อขยายประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้า
3. ไทยจะได้ประโยชน์ในด้านการขยายตลาดสินค้าอุตสาหกรรมจากการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA - CER แต่ควรระมัดระวังในการเปิดเสรีสินค้าเกษตร เพราะ CER มีความสามารถในการผลิตและการส่งออกสูง ในขณะที่อาเซียนและไทยจะมีปัญหาประสิทธิภาพการผลิตต่ำ และการขยายตลาดใน CER มีปัญหามาตรการที่ไม่ใช่ภาษี จึงอาจทำให้สินค้าเกษตรของไทยบางรายการได้รับผลกระทบ
4. ปัญหามาตรการที่ไม่ใช่ภาษีของ CER ที่เข้มงวดกว่าปกติ หากไม่มีการแก้ไขก็อาจทำให้เขตการค้าเสรี AFTA - CER ไม่บรรลุวัตถุประสงค์เท่าที่ควร จึงควรมีการทบทวนมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีทั้งสองฝ่ายโดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่มีปัญหาคุณภาพและสุขอนามัยของสินค้า ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวสามารถทำได้ในกรอบการเจรจาเวทีอื่น ๆ แต่หากมีการทำความตกลงเขตการค้าเสี AFTA - CER การเจรจาแก้ไขปัญหามาตรการสุขอนามัยอาจจะทำได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันอาเซียนอาจใช้การจัดทำเขตการค้าเสรีเป็นเครื่องมือในการผลักดันให้ CER ผ่อนคลายมาตรการสุขอนามัยให้เข้มงวดน้อยลง
5. การกำหนดระยะเวลาของการเปิดเสรีเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณา เพื่อให้อาเซียนและไทยได้ประโยชน์สูงสุด และเพื่อให้ Sector ที่แข่งขันไม่ได้ มีเวลาปรับตัว นอกจากนั้น ยังมีประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ข้อเสนอของออสเตรเลียซึ่งเสนอให้ทำเขตการค้าเสรี AFTA - CER ภายในปี 2010 ซึ่งทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จะต้องลดภาษีของตนลงภายใต้กรอบเอเปค ประเทศไทยและอาเซียนจะได้ประโยชน์ในส่วนนี้อยู่แล้ว แม้ว่าจะไม่มีการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA - CER ในขณะที่อาเซียนจะต้องลดภาษีลงภายใต้กรอบเอเปคภายในปี 2020 ดังนั้น กรอบเวลาที่ออสเตรเลียเสนออาเซียนอาจจะเสียเปรียบเพราะต้องเร่งลดภาษีให้ CER เร็วขึ้นถึง 10 ปี ไทยจึงควรเห็นชอบกับข้อเสนอของคณะทำงานฯ ที่เสนอให้ CER ขยายสิทธิประโยชน์ของตนให้แก่อาเซียนในทันที และให้อาเซียนให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรแก่ CER ภายในปี 2010 สำหรับสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และปี 2015 สำหรับสมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ ซึ่งจะทำให้อาเซียนได้รับประโยชน์เร็วขึ้นกว่าข้อเสนอของออสเตรเลีย รวมทั้งมีความยืดหยุ่นในรายการสินค้าเกษตรบางรายการที่เป็นสินค้าอ่อนไหวภายใต้ CEPT ด้วย
6. อาเซียนและไทยควรศึกษาผลดีผลเสียของการเปิดเสรีอย่างชัดเจน ไม่ควรรับร้อนทำเขตการค้าเสรีหากยังไม่พร้อม โดยเฉพาะสาขาที่แข่งขันไม่ได้และจะได้รับผลกระทบ ทั้งนี้อาจมีบางสาขาที่ไทยได้ประโยชน์เพราะวัตถุดิบที่นำเข้าจาก CER จะมีต้นทุนต่ำลง ทำให้แข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้น
7. อาเซียนควรมีการทบทวน (review) รายการสินค้าใน CEPT ก่อนที่จะทำเขตการค้าเสรีหากยังไม่พร้อม โดยเฉพาะสาขาที่แข่งขันไม่ได้และจะได้รับผลกระทบ ทั้งนี้อาจมีบางสาขาที่ไทยได้ประโยชน์เพราะวัตถุดิบที่นำเข้าจาก CER จะมีต้นทุนต่ำลง ทำให้แข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้น
8. การจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA - CER หน่วยงานในทางปฏิบัติ เช่น กรมศุลกากร อาจมีปัญหาในการดำเนินงาน โดยเฉพาะ Rules of Origin ที่จะต้องปรับให้มีความสอดคล้องกันระหว่าง AFTA และ CER
9. การเปิดเสรีด้านการลงทุนและการค้าบริการ ซึ่งเป็นส่วนที่อาเซียนและไทยเสียเปรียบเมื่อเทียบกับ CER จึงควรจะมีความตกลงแยกต่างหาก โดยอาจใช้วิธีเดียวกับการเปิดเสรีการลงทุนและการค้าบริการภายใต้กรอบ WTO สำหรับหลักเกณฑ์การเปิดเสรีการลงทุนควรกำหนดเป็นกรอบอย่างกว้าง ๆ และเป็นกลาง ส่วนการค้าบริการควรเปิดเสรี เฉพาะสาขามีพร้อมโดยใช้วิธีการ Positive List Approach เช่นเดียวกับการเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน
10. การดำเนินการ (Modality) จัดทำเขตการค้าเสรี AFTA - CER ต่อ WTO ภายใต้ Enabling Clause จะเป็นประโยชน์กับอาเซียนและสะดวกในการดำเนินการ แต่คาดว่า CER รวมทั้งสมาชิก WTO อื่น ๆ คงไม่เห็นด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าขณะนี้ AFTA ยังไม่ได้แจ้งการเปิดเสรีภายใต้มาตรา 24 (แต่มีการแจ้งภายใต้ Enabling Clause) แต่หากจำเป็นต้องแจ้งภายใต้ GATT มาตรา 24 อาเซียนก็สามารถดำเนินการได้เพราะการดำเนินการภาจใต้ CEPT สอดคล้องกับมาตรา 24 เนื่องจากหลักการของการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA - CER ไม่ได้เพิ่มอุปสรรคทางการค้ากับประเทศนอกกลุ่ม มีการลดเลิกภาษีและข้อจำกัดทางการค้ามากกว่าร้อยละ 90 และมีกรอบเวลาในการดำเนินการ 10 ปี เพียงแต่การแจ้งภายใต้มาตรา 24 มีความยุ่งยากในการดำเนินการมากกว่าภายใต้ Enabling Clause
ทั้งนี้ หากมีการเปิดเสรี AFTA - CER ภาจใต้มาตรา 24 วรรค 8 (b) อาจไม่สามารถเปิดเสรีแบบ Sectoral Approach เนื่องจากไม่มี Substantial Trade จึงควรเปิดเสรีแบบ Comprehensive Approch โดยให้มีความยือหยุ่นด้านเวลาสำหรับ Sector ที่ไม่พร้อม
11. ควรมีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำเขตการค้าเสี AFTA - CER ให้หย่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทราบ รวมถึงการทำประชาพิจารณ์เพื่อทราบข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยทั่วไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ย. 2543--
-กม/สส-