คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนโดยการส่งเสริมการผลิตเครื่องดื่มหมัก เครื่องดื่มผสม และผลิตภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตรที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกินสิบห้าดีกรี
ทั้งนี้ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเรื่องการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนโดยการส่งเสริมการผลิตเครื่องดื่มหมัก เครื่องดื่มผสม และผลิตภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตรที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกินสิบห้าดีกรี เมื่อวันที่4 กันยายน 2544 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และแจ้งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทราบ และโดยที่มติดังกล่าวเป็นเรื่องที่สำคัญ เกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง จึงควรมีการพิจารณาทบทวนและนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งมีข้อสังเกตบางประการ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมติดังกล่าวในหลายประเด็นที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ทำการศึกษา วิจัยเรื่องการทำเครื่องดื่มหมัก (ไวน์) เครื่องดื่มผสมและผลิตภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตรที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกินสิบห้าดีกรี เพื่อควบคุมความสะอาดและเพื่อให้ได้รสชาดที่ดีตรงกับรสนิยมผู้บริโภค แล้วอบรมถ่ายทอดให้ผู้สนใจทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร นำไปทำการผลิตเพื่อเป็นการค้าทำให้เกิดรายได้เป็นจำนวนมาก
2. ควบคุมจำนวนผู้ผลิตและผู้ประกอบการให้เหมาะสม โดยดำเนินการรับจดทะเบียนสหกรณ์ใหม่ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มหมัก เครื่องดื่มผสม จำนวน 76 สหกรณ์ และสหกรณ์การเกษตรที่ขอเพิ่มเติมวัตถุประสงค์หลักเพื่อการผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มหมักและเครื่องดื่มผสม จำนวน 73 สหกรณ์ ขณะนี้มีสหกรณ์การเกษตรได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโรงงานผลิตสุราแช่พื้นเมืองแล้วจำนวน 14 สหกรณ์ และอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุญาตอีก 5 สหกรณ์
3. นอกจากนี้จำนวนผู้ขออนุญาตผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มหมัก เครื่องดื่มผสมที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกินสิบห้าดีกรี ซึ่งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2544 กำหนดไว้จำนวน 9 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 15 คน ยังสอดคล้องกับคณะผู้ประกอบการหรือคณะผู้จัดตั้งวิสาหกิจชุมชน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนหมวดที่ 1มาตรา 7 ซึ่งกำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 10 คน ตามข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2544
4. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นด้วยกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขออนุญาตผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มหมัก เครื่องดื่มผสม และผลิตภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตรที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกินสิบห้าดีกรีตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2544 เพราะจะเป็นผลดีต่อชุมชน ทำให้การประกอบอาชีพของประชาชนเกี่ยวกับการผลิตและการจำหน่ายเครื่องดื่มหมัก เครื่องดื่มผสม ฯลฯ มีเสรีภาพมากขึ้น ซึ่งจะเป็นอาชีพทางเลือกใหม่ของเกษตรกรที่จะช่วยเพิ่มรายได้ต่อครัวเรือนให้สูงขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 พ.ย. 44--
-สส-
ทั้งนี้ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเรื่องการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนโดยการส่งเสริมการผลิตเครื่องดื่มหมัก เครื่องดื่มผสม และผลิตภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตรที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกินสิบห้าดีกรี เมื่อวันที่4 กันยายน 2544 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และแจ้งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทราบ และโดยที่มติดังกล่าวเป็นเรื่องที่สำคัญ เกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง จึงควรมีการพิจารณาทบทวนและนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งมีข้อสังเกตบางประการ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมติดังกล่าวในหลายประเด็นที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ทำการศึกษา วิจัยเรื่องการทำเครื่องดื่มหมัก (ไวน์) เครื่องดื่มผสมและผลิตภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตรที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกินสิบห้าดีกรี เพื่อควบคุมความสะอาดและเพื่อให้ได้รสชาดที่ดีตรงกับรสนิยมผู้บริโภค แล้วอบรมถ่ายทอดให้ผู้สนใจทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร นำไปทำการผลิตเพื่อเป็นการค้าทำให้เกิดรายได้เป็นจำนวนมาก
2. ควบคุมจำนวนผู้ผลิตและผู้ประกอบการให้เหมาะสม โดยดำเนินการรับจดทะเบียนสหกรณ์ใหม่ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มหมัก เครื่องดื่มผสม จำนวน 76 สหกรณ์ และสหกรณ์การเกษตรที่ขอเพิ่มเติมวัตถุประสงค์หลักเพื่อการผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มหมักและเครื่องดื่มผสม จำนวน 73 สหกรณ์ ขณะนี้มีสหกรณ์การเกษตรได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโรงงานผลิตสุราแช่พื้นเมืองแล้วจำนวน 14 สหกรณ์ และอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุญาตอีก 5 สหกรณ์
3. นอกจากนี้จำนวนผู้ขออนุญาตผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มหมัก เครื่องดื่มผสมที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกินสิบห้าดีกรี ซึ่งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2544 กำหนดไว้จำนวน 9 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 15 คน ยังสอดคล้องกับคณะผู้ประกอบการหรือคณะผู้จัดตั้งวิสาหกิจชุมชน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนหมวดที่ 1มาตรา 7 ซึ่งกำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 10 คน ตามข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2544
4. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นด้วยกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขออนุญาตผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มหมัก เครื่องดื่มผสม และผลิตภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตรที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกินสิบห้าดีกรีตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2544 เพราะจะเป็นผลดีต่อชุมชน ทำให้การประกอบอาชีพของประชาชนเกี่ยวกับการผลิตและการจำหน่ายเครื่องดื่มหมัก เครื่องดื่มผสม ฯลฯ มีเสรีภาพมากขึ้น ซึ่งจะเป็นอาชีพทางเลือกใหม่ของเกษตรกรที่จะช่วยเพิ่มรายได้ต่อครัวเรือนให้สูงขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 พ.ย. 44--
-สส-