แท็ก
รัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--28 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่คณะกรรมการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (กปพ.) รายงานสรุปมติคณะกรรมการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2543 วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2543 โดยมีมติสรุปได้ ดังนี้
1. การพัฒนาระบบชี้วัดขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย คณะกรรมการ กปพ.ได้พิจารณาว่าสถาบันจัดอันดับการแข่งขันระหว่งประเทศได้แก่ International Institution for Managemet Development (IMD) และ World Economic Forum (WEF) ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบและจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยขาดฐานข้อมูลที่มีคุณภาพและดัชนีวัดที่สามารถนำไปใช้เปรียบเทียบ เนื่องจากข้อมูลและดัชนีที่วัดที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งกระจัดกระจายอยู่ตามแหล่งต่าง ๆ นั้น นับว่ายังขาดความสมบูรณ์และขาดความหลากหลาย เมื่อเทียบกับดัชนีที่ทั้งสองสถาบันดังกล่าวใช้ในการวิเคราะห์ จึงมีความเห็นดังต่อไปนี้
1.1 การจัดทำดัชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยยังขาดกรอบแนวคิดร่วมกัน และระบบการประสานเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลด้านทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการบริหารการจัดการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะในระยะยาวจึงควรพิจารณาแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อให้มีการรวบรวมข้อมูลและจัดทำดัชนีชี้วัดดที่มีมาตรฐานของประเทศไทยเพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเปรียบเทียบระหว่างประเทศ และใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดนโยบาย วางแผนติดตามและประเมินผลการพัฒนาประเทศ
1.2 เห็นควรให้มีคณะทำงานขึ้นชุดหนึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อศึกษากำหนดกรอบแนวคิดในการจัดให้มีการเตรียมความพร้อมของข้อมูลซึ่งจะนำไปสู่การจัดทำดัชนีชี้วัด เพื่อประเมินศักยภาพของประเทศ โดยมีสำนักงานคณะกรรมกาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการประสานงานโดยมีภารกิจครอบคลุมการจัดทำดัชนีชี้วัดขีดความสามารถในการแข่งขันให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
1.3 เห็นควรให้ความสำคัญในเรื่องข้อมูล 3 กลุ่มที่มีผลโดยตรงต่อการปฎิบัติการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาวคือ ทรัพยากรมนุษย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบริหารการจัดการ โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับไปประสานงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติให้รับผิดชอบดำเนินการศึกษาและประสานการจัดให้มีข้อมูลด้านทรัยพยากรมนุษย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทรโนโลยีแห่งชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทยด้านการบริหารการจัดการ
2. รายงานผลการใช้จ่ายเงินกู้ในโครงการมิยาซาวาที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจและการปรับโครงสร้างที่ประชุมรับใช่จ่ายเงินกู้ในโครงการมิยาซาว่าในระยะที่ผ่านมา ซึ่งบรรลุตามวัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้คือ 86,000 คน และจ้างผู้ใช้แรงงานจำนวนประมาณ 367,000 คน คิดเป็นร้อยละ 91.92 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ 400,000 คน สำหรับโครงการที่มีประโยชน์และทำให้เกิดการลงทุนและการจ้างงานสูง โดยเฉพาะในส่วนของตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลจะมีการจัดสรรเงินงบประมาณประจำปี 2544 ในวงเงินหมู่บ้านละ 100,000 บาท เพื่อให้มีการดำเนินการต่อเนื่องต่อไป โดยสรุปจากผลการสำรวจความพอใจของประชาชนในหมู่บ้านที่มีการดำเนินการโครงสร้าง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 อยากให้มีโครงการในลักษณะดังกล่าวต่อไป อย่างไรก็ตามที่ประชุมมีข้อสังเกตุว่าการกำหนดเป้าหมายในการจัดสรรเงินให้หมู่บ้านละ 100,000 บาท โดยกำหนดหลักเกรณ์การใช้เงินไว้นั้นอาจจะไม่สอดคล้องกับความต้องการซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ ซี่งจะทำให้งบประมาณไม่สามารถเกิดประโยชน์สูงสุดได้
3. รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบภาระหนี้สาธารณะที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ที่ประชุมรับทราบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบภาระหนี้สาธารณะที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของหน่วยงานรับผิดชอบ 2 หน่วยงานได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลัง โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้รายงานให้ทราบถึงภาพรวมสถานะหนี้ต่างประเทศของไทย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2543 ซึ่งประกอบไปด้วยหนี้ภาคเอกชน (ภาคธนาคารและภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร) จำนวน 56.1 พันล้านดอลล์ล่าร์สหรัฐ ซึ่งลดลงจากจำนวน 91.9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ณ สิ้นปี 2539 และหนี้ภาคทางการ (รวมธนาคารแห่งประเทศไทย) จำนวน 36.2 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 12.1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ จากสิ้นปี 2540 ทำให้หนี้โดยรวมของประเทศมีจำนวน 92.3 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ลดลงจากสิ้นปี 2540 ถึง 170 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ นอกจากนี้สัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์ประชาชาติ ลดลงมาจากร้อยละ 93.5 ณ สิ้นปี 2541 เป็นร้อยละ 77.2 ณ สิ้นปี 2542 ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้รายงานให้ทราบถึงยอดหนี้สาธารณะคงค้างตามขอบเขต หนี้ของภาครัฐ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2543 รวม 2,613,336 ล้านบาท ซึ่งประกอบไปด้วยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 1,000,949 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 827,098 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน จำนวน 779,289 ล้านบาท โดยหนี้ภาครัฐต่อ GDP อยู่ในระดับร้อยละ 51.86 ภาระหนี้ต่องบประมาณซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.5 ของงบประมาณประจำปี 2543 และภาระค่าดอกเบี้ยต่องบประมาณที่ร้อยละ 6.7 ซึ่งอยู่ในระดับไม่ส่งผลกระทบจนเกินขีดความสามารถในการบริหารจัดการ และต่อความเชื่อมั่นที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 ส.ค. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่คณะกรรมการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (กปพ.) รายงานสรุปมติคณะกรรมการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2543 วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2543 โดยมีมติสรุปได้ ดังนี้
1. การพัฒนาระบบชี้วัดขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย คณะกรรมการ กปพ.ได้พิจารณาว่าสถาบันจัดอันดับการแข่งขันระหว่งประเทศได้แก่ International Institution for Managemet Development (IMD) และ World Economic Forum (WEF) ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบและจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยขาดฐานข้อมูลที่มีคุณภาพและดัชนีวัดที่สามารถนำไปใช้เปรียบเทียบ เนื่องจากข้อมูลและดัชนีที่วัดที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งกระจัดกระจายอยู่ตามแหล่งต่าง ๆ นั้น นับว่ายังขาดความสมบูรณ์และขาดความหลากหลาย เมื่อเทียบกับดัชนีที่ทั้งสองสถาบันดังกล่าวใช้ในการวิเคราะห์ จึงมีความเห็นดังต่อไปนี้
1.1 การจัดทำดัชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยยังขาดกรอบแนวคิดร่วมกัน และระบบการประสานเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลด้านทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการบริหารการจัดการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะในระยะยาวจึงควรพิจารณาแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อให้มีการรวบรวมข้อมูลและจัดทำดัชนีชี้วัดดที่มีมาตรฐานของประเทศไทยเพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเปรียบเทียบระหว่างประเทศ และใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดนโยบาย วางแผนติดตามและประเมินผลการพัฒนาประเทศ
1.2 เห็นควรให้มีคณะทำงานขึ้นชุดหนึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อศึกษากำหนดกรอบแนวคิดในการจัดให้มีการเตรียมความพร้อมของข้อมูลซึ่งจะนำไปสู่การจัดทำดัชนีชี้วัด เพื่อประเมินศักยภาพของประเทศ โดยมีสำนักงานคณะกรรมกาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการประสานงานโดยมีภารกิจครอบคลุมการจัดทำดัชนีชี้วัดขีดความสามารถในการแข่งขันให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
1.3 เห็นควรให้ความสำคัญในเรื่องข้อมูล 3 กลุ่มที่มีผลโดยตรงต่อการปฎิบัติการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาวคือ ทรัพยากรมนุษย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบริหารการจัดการ โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับไปประสานงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติให้รับผิดชอบดำเนินการศึกษาและประสานการจัดให้มีข้อมูลด้านทรัยพยากรมนุษย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทรโนโลยีแห่งชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทยด้านการบริหารการจัดการ
2. รายงานผลการใช้จ่ายเงินกู้ในโครงการมิยาซาวาที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจและการปรับโครงสร้างที่ประชุมรับใช่จ่ายเงินกู้ในโครงการมิยาซาว่าในระยะที่ผ่านมา ซึ่งบรรลุตามวัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้คือ 86,000 คน และจ้างผู้ใช้แรงงานจำนวนประมาณ 367,000 คน คิดเป็นร้อยละ 91.92 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ 400,000 คน สำหรับโครงการที่มีประโยชน์และทำให้เกิดการลงทุนและการจ้างงานสูง โดยเฉพาะในส่วนของตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลจะมีการจัดสรรเงินงบประมาณประจำปี 2544 ในวงเงินหมู่บ้านละ 100,000 บาท เพื่อให้มีการดำเนินการต่อเนื่องต่อไป โดยสรุปจากผลการสำรวจความพอใจของประชาชนในหมู่บ้านที่มีการดำเนินการโครงสร้าง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 อยากให้มีโครงการในลักษณะดังกล่าวต่อไป อย่างไรก็ตามที่ประชุมมีข้อสังเกตุว่าการกำหนดเป้าหมายในการจัดสรรเงินให้หมู่บ้านละ 100,000 บาท โดยกำหนดหลักเกรณ์การใช้เงินไว้นั้นอาจจะไม่สอดคล้องกับความต้องการซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ ซี่งจะทำให้งบประมาณไม่สามารถเกิดประโยชน์สูงสุดได้
3. รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบภาระหนี้สาธารณะที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ที่ประชุมรับทราบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบภาระหนี้สาธารณะที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของหน่วยงานรับผิดชอบ 2 หน่วยงานได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลัง โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้รายงานให้ทราบถึงภาพรวมสถานะหนี้ต่างประเทศของไทย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2543 ซึ่งประกอบไปด้วยหนี้ภาคเอกชน (ภาคธนาคารและภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร) จำนวน 56.1 พันล้านดอลล์ล่าร์สหรัฐ ซึ่งลดลงจากจำนวน 91.9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ณ สิ้นปี 2539 และหนี้ภาคทางการ (รวมธนาคารแห่งประเทศไทย) จำนวน 36.2 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 12.1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ จากสิ้นปี 2540 ทำให้หนี้โดยรวมของประเทศมีจำนวน 92.3 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ลดลงจากสิ้นปี 2540 ถึง 170 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ นอกจากนี้สัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์ประชาชาติ ลดลงมาจากร้อยละ 93.5 ณ สิ้นปี 2541 เป็นร้อยละ 77.2 ณ สิ้นปี 2542 ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้รายงานให้ทราบถึงยอดหนี้สาธารณะคงค้างตามขอบเขต หนี้ของภาครัฐ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2543 รวม 2,613,336 ล้านบาท ซึ่งประกอบไปด้วยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 1,000,949 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 827,098 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน จำนวน 779,289 ล้านบาท โดยหนี้ภาครัฐต่อ GDP อยู่ในระดับร้อยละ 51.86 ภาระหนี้ต่องบประมาณซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.5 ของงบประมาณประจำปี 2543 และภาระค่าดอกเบี้ยต่องบประมาณที่ร้อยละ 6.7 ซึ่งอยู่ในระดับไม่ส่งผลกระทบจนเกินขีดความสามารถในการบริหารจัดการ และต่อความเชื่อมั่นที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 ส.ค. 2543--
-สส-