ทำเนียบรัฐบาล--3 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) รับทราบความเห็นของภาคเอกชนในภาพรวมภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่สองและแนวโน้มปี 2543 สรุปได้ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่สองของปี 2543
1.1 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2543 ขยายตัวร้อยละ 6.6 เป็นการปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 และเป็นการขยายตัวมากกว่าไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.5 ปัจจัยหลักที่สนับสนุนการขยายตัว คือ การส่งออก และการใช้จ่ายภาครัฐส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในช่วงครี่งแรกของปี 2543 ขยายตัวร้อยละ 5.9 สูงกว่าร้อยละ 1.3 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
1.2 ด้านการผลิต ขยายตัวสูงกว่าไตรมาสที่สองของปีที่แล้ว ทั้งการผลิตในการเกษตร คือ พืชผลและการประมง และการผลิตภาคอุตสาหกรรมและบริการ ส่วนสาขาการผลิตที่ชะลอตัวลง คือ การก่อสร้างภาครัฐและการเงินการธนาคาร
1.3 ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายของครัวเรือนเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง ขณะที่การใช้จ่ายของภาครัฐยังคงขยายตัวในอัตราสูง สำหรับการลงทุนยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะการลงทุนของภาคเอกชน ส่วนการส่งออกสินค้าและบริการยังคงขยายตัวค่อนข้างสูง
2. แนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังของปี 2543
2.1 ดัชนีและเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม แสดงให้เห็นว่าการผลิตและการใช้จ่ายยังมีการขยายตัว แต่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงแรกของปี การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนแม้จะปรับตัวดีต่อเนื่อง แต่เป็นการปรับตัวที่ไม่กระจายทั่วถึงทุกกลุ่มผู้บริโภคในขณะที่การส่งออกยังขยายตัวในอัตราที่สูง เนื่องจากค่าเงินที่อ่อนตัวและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าขยายตัวต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีตามไปด้วย มีการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับกำลังการผลิตที่ขยายตัว นอกจากนี้จำนวนนักท่องเที่ยวก็ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
2.2 แนวโน้มครี่งหลังของปี คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวช้าลงกว่าครึ่งแรกของปี โดยมีปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ราคาพืชผลที่ยังคงตกต่ำต่อเนื่อง การซบเซาของตลาดหลักทรัพย์ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง และระบบสถาบันการเงินยังไม่ดำเนินการได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม ก็มีปัจจัยบวกที่จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดีขึ้น ได้แก่ เศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวอยู่ น่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชน อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้รัฐบาลได้มีมาตรการเเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีอีกจำนวน 5,433 ล้านบาท
กล่าวโดยสรุปได้ว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีจะมีการขยายตัวคล้ายคลึงกับครึ่งแรกของปี คือ เป็นการขยายตัวที่พึ่งพาการส่งออก การใช้จ่ายภาครัฐและการบริโภคอุปโภคภาคเอกชน
2.3 แนวโน้มเศรษฐกิจของทั้งปี 2543 เมื่อรวมกับการที่เศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกของปีที่ขยายตัวร้อยละ 6 ทำให้คาดว่าโดยรวมตลอดปี 2543 เศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.0 ทั้งนี้โดยมีสมมุติฐานของราคาน้ำมันในตลาดโลก (โอมาน) เฉลี่ยตลอดทั้งปีเท่ากับ 27.00 ดอลลาร์ต่อบาเรล (ราคาเฉลี่ย 8 เดือนแรกเท่ากับ 25.71 ดอลลาร์ต่อบาเรล และเฉลี่ย 4 เดือนสุดท้ายเท่ากับ 29.00 ดอลลาร์ต่อบาเรล) และอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 39.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. (อัตราเฉลี่ย 8 เดือนแรกเท่ากับ 38.75 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และเฉลี่ย 4 เดือนสุดท้ายเท่ากับ 41.00 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.) โดยคาดว่า การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภครวมขยายตัวร้อยละ 5.7 เป็นการขยายตัวของภาคเอกชนร้อยละ 4.5 และภาครัฐร้อยละ 10.7 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.3 เป็นการขยายตัวของภาคเอกชนร้อยละ 10.0 และภาครัฐร้อยละ 5.0 การส่งออกทั้งปีมีมูลค่า 64.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 การนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 58.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 โดยดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลประมาณ 9.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นร้อยละ 6.4 ของ GDP และมีอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 2.0
นอกจากนี้ คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบข้อเสนอแนะมาตรการที่ภาครัฐและเอกชนควรร่วมกันดำเนินการเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง ดังนี้
1. ติดตามและเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนภายใต้กรอบมาตรการ 10 สิงหาคม 2543 โดยเฉพาะในเรื่องการสนับสนุนด้านสภาพคล่องเพื่อกระตุ้นการลงทุนของวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม และการแก้ไขปัญหาอุปทานส่วนเกินในภาคอสังหาริมทรัพย์ให้มีผลในทางปฎิบัติ
2. เร่งรัดการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์และการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้โดยเฉพาะของธนาคารของรัฐที่ดำเนินการไปได้ช้า
3. รณรงค์การประหยัดพลังงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้เร็วขี้น มาตรการของรัฐบาลเพื่อลดผลกระทบนั้นเป็นมาตรการชั่วคราว ที่จะต้องค่อยๆ ยกเลิกไปและปล่อยให้กลไกลตลาดทำงานและลดความบิดเบือนของราคาในที่สุด
4. กระตุ้นจิตสำนึกและรณรงค์ให้ลดการใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยโดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือยนำเข้า ดังจะเห็นได้จากเครื่องชี้ด้านการใช้จ่ายภาคเอกชนแสดงว่าในขณะที่ภาพโดยรวมของการฟื้นตัววของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังเปราะบาง แต่มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงอาจจะมีส่วนทำให้การเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) รับทราบความเห็นของภาคเอกชนในภาพรวมภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่สองและแนวโน้มปี 2543 สรุปได้ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่สองของปี 2543
1.1 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2543 ขยายตัวร้อยละ 6.6 เป็นการปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 และเป็นการขยายตัวมากกว่าไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.5 ปัจจัยหลักที่สนับสนุนการขยายตัว คือ การส่งออก และการใช้จ่ายภาครัฐส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในช่วงครี่งแรกของปี 2543 ขยายตัวร้อยละ 5.9 สูงกว่าร้อยละ 1.3 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
1.2 ด้านการผลิต ขยายตัวสูงกว่าไตรมาสที่สองของปีที่แล้ว ทั้งการผลิตในการเกษตร คือ พืชผลและการประมง และการผลิตภาคอุตสาหกรรมและบริการ ส่วนสาขาการผลิตที่ชะลอตัวลง คือ การก่อสร้างภาครัฐและการเงินการธนาคาร
1.3 ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายของครัวเรือนเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง ขณะที่การใช้จ่ายของภาครัฐยังคงขยายตัวในอัตราสูง สำหรับการลงทุนยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะการลงทุนของภาคเอกชน ส่วนการส่งออกสินค้าและบริการยังคงขยายตัวค่อนข้างสูง
2. แนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังของปี 2543
2.1 ดัชนีและเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม แสดงให้เห็นว่าการผลิตและการใช้จ่ายยังมีการขยายตัว แต่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงแรกของปี การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนแม้จะปรับตัวดีต่อเนื่อง แต่เป็นการปรับตัวที่ไม่กระจายทั่วถึงทุกกลุ่มผู้บริโภคในขณะที่การส่งออกยังขยายตัวในอัตราที่สูง เนื่องจากค่าเงินที่อ่อนตัวและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าขยายตัวต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีตามไปด้วย มีการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับกำลังการผลิตที่ขยายตัว นอกจากนี้จำนวนนักท่องเที่ยวก็ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
2.2 แนวโน้มครี่งหลังของปี คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวช้าลงกว่าครึ่งแรกของปี โดยมีปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ราคาพืชผลที่ยังคงตกต่ำต่อเนื่อง การซบเซาของตลาดหลักทรัพย์ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง และระบบสถาบันการเงินยังไม่ดำเนินการได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม ก็มีปัจจัยบวกที่จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดีขึ้น ได้แก่ เศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวอยู่ น่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชน อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้รัฐบาลได้มีมาตรการเเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีอีกจำนวน 5,433 ล้านบาท
กล่าวโดยสรุปได้ว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีจะมีการขยายตัวคล้ายคลึงกับครึ่งแรกของปี คือ เป็นการขยายตัวที่พึ่งพาการส่งออก การใช้จ่ายภาครัฐและการบริโภคอุปโภคภาคเอกชน
2.3 แนวโน้มเศรษฐกิจของทั้งปี 2543 เมื่อรวมกับการที่เศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกของปีที่ขยายตัวร้อยละ 6 ทำให้คาดว่าโดยรวมตลอดปี 2543 เศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.0 ทั้งนี้โดยมีสมมุติฐานของราคาน้ำมันในตลาดโลก (โอมาน) เฉลี่ยตลอดทั้งปีเท่ากับ 27.00 ดอลลาร์ต่อบาเรล (ราคาเฉลี่ย 8 เดือนแรกเท่ากับ 25.71 ดอลลาร์ต่อบาเรล และเฉลี่ย 4 เดือนสุดท้ายเท่ากับ 29.00 ดอลลาร์ต่อบาเรล) และอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 39.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. (อัตราเฉลี่ย 8 เดือนแรกเท่ากับ 38.75 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และเฉลี่ย 4 เดือนสุดท้ายเท่ากับ 41.00 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.) โดยคาดว่า การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภครวมขยายตัวร้อยละ 5.7 เป็นการขยายตัวของภาคเอกชนร้อยละ 4.5 และภาครัฐร้อยละ 10.7 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.3 เป็นการขยายตัวของภาคเอกชนร้อยละ 10.0 และภาครัฐร้อยละ 5.0 การส่งออกทั้งปีมีมูลค่า 64.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 การนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 58.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 โดยดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลประมาณ 9.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นร้อยละ 6.4 ของ GDP และมีอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 2.0
นอกจากนี้ คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบข้อเสนอแนะมาตรการที่ภาครัฐและเอกชนควรร่วมกันดำเนินการเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง ดังนี้
1. ติดตามและเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนภายใต้กรอบมาตรการ 10 สิงหาคม 2543 โดยเฉพาะในเรื่องการสนับสนุนด้านสภาพคล่องเพื่อกระตุ้นการลงทุนของวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม และการแก้ไขปัญหาอุปทานส่วนเกินในภาคอสังหาริมทรัพย์ให้มีผลในทางปฎิบัติ
2. เร่งรัดการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์และการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้โดยเฉพาะของธนาคารของรัฐที่ดำเนินการไปได้ช้า
3. รณรงค์การประหยัดพลังงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้เร็วขี้น มาตรการของรัฐบาลเพื่อลดผลกระทบนั้นเป็นมาตรการชั่วคราว ที่จะต้องค่อยๆ ยกเลิกไปและปล่อยให้กลไกลตลาดทำงานและลดความบิดเบือนของราคาในที่สุด
4. กระตุ้นจิตสำนึกและรณรงค์ให้ลดการใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยโดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือยนำเข้า ดังจะเห็นได้จากเครื่องชี้ด้านการใช้จ่ายภาคเอกชนแสดงว่าในขณะที่ภาพโดยรวมของการฟื้นตัววของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังเปราะบาง แต่มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงอาจจะมีส่วนทำให้การเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 ต.ค. 2543--
-สส-