คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมสัมมนาเรื่อง "ระบบความปลอดภัยด้านอาหารแห่งชาติ" ตามที่ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดให้มีการประชุมสัมมนาระหว่างกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหารในเรื่อง "ระบบความปลอดภัยด้านอาหารแห่งชาติ" เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 ผลการประชุมสรุปได้ ดังนี้
ที่ประชุมเน้นว่ามาตรฐานอาหารที่คนไทยบริโภคต้องเป็นมาตรฐานเดียวกับที่นานาชาติใช้ วิธีการทำงานมุ่งป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหารที่เกิดขึ้นในทุก ๆ ช่วงให้ครบวงจรตลอดทั้งห่วงโซ่อาหาร (foodchain) การดูแลตลอดทั้งห่วงโซ่อาหารมากกว่าที่จะตรวจสอบเพียงผลิตภัณฑ์สำเร็จที่ปลายทางนี้เป็นแนวทางที่หลายประเทศเริ่มนำมาใช้ในปัจจุบันเนื่องจากอันตรายในอาหารหลาย ๆ อย่างไม่สามารถกำจัดจากอาหารได้ในขั้นท้ายของห่วงโซ่แต่จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นเท่านั้น ที่ประชุมเห็นชอบให้ทุกหน่วยงานจะต้องประสานงานกันตั้งแต่หารือเรื่องแก้ไขกฎหมายใด ๆ ที่ซ้ำซ้อนเป็นอุปสรรค ทำงานร่วมกันอย่างสอดคล้องเป็นระบบ และหากปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหารเกิดขึ้นในช่วงใดของห่วงโซ่อาหาร หน่วยงานที่ดูแลหลักในช่วงนั้น ๆ ก็จะต้องรับผิดชอบดูแลอย่างเต็มที่ โดยมีความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ๆ เข้ามาร่วมให้ครบวงจร
- ในการดำเนินการร่วมกันนี้ให้ใช้กลไก "อนุกรรมการความปลอดภัยด้านอาหารแห่งชาติ" ภายใต้"คณะกรรมการแห่งชาติด้านอาหาร" ซึ่งแต่งตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี และที่มีองค์ประกอบเป็นหน่วยงานต่าง ๆ ที่อยู่ในแต่ละช่วงของห่วงโซ่อาหารอยู่แล้ว
- ที่ประชุมเห็นชอบให้ร่วมมือกันทำโครงการความปลอดภัยของอาหารครบวงจรที่เป็นปัญหาเร่งด่วนรวม7 โครงการ โดยมอบหมายหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลัก (Project Manager) ของแต่ละโครงการ ได้แก่
1. โครงการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยจากสารซาลบูทามอล สารบอแรกซ์ ยาสัตว์ตกค้าง และจุลินทรีย์อาหารเป็นพิษในเนื้อหมู มีกรมปศุสัตว์เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. โครงการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง จากสารกำจัดศัตรูพืชในผัก มีกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
3. โครงการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยจากยาสัตว์ตกค้างและจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษในเนื้อไก่ มีกรมควบคุมโรคติดต่อเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
4. โครงการแก้ไขปัญหาสารตกค้างจากยาต้านจุลชีพและความเสี่ยงอื่น ๆ ในกุ้งเลี้ยง มีกรมประมงเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
5. โครงการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยจากสารกลุ่ม 3-MCPD ที่เกิดจากกระบวนการผลิตซอสปรุงรสจากถั่วเหลือง มีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
6. โครงการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหารที่ปรุงและจำหน่ายในร้านอาหาร (Clean Food GoodTaste) มีกรมอนามัยเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
7. โครงการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหารที่จำหน่ายในตลาดสด (Safe Food Good Health)มีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
ทั้งนี้ ผู้รับผิดชอบหลัก (Project Manager) นั้นมิได้หมายถึง "เจ้าของเรื่อง" แต่เพียงผู้เดียว เนื่องจากทุกโครงการจะต้องดำเนินการโดยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อาหารให้ครบวงจร แต่จะหมายถึงหน่วยงานผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานหลัก ประสานการทำงาน งบประมาณ รวบรวมผล รายงานเป็นภาพรวมของประเทศแล้วนำเสนอคณะอนุกรรมการความปลอดภัยด้านอาหารแห่งชาติ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการด้านอาหารแห่งชาติต่อไป
ท้ายที่สุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขขอให้หน่วยงานต่าง ๆ พิจารณาดำเนินการโครงการตามที่เห็นชอบในครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 พ.ย. 44--
-สส-
ที่ประชุมเน้นว่ามาตรฐานอาหารที่คนไทยบริโภคต้องเป็นมาตรฐานเดียวกับที่นานาชาติใช้ วิธีการทำงานมุ่งป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหารที่เกิดขึ้นในทุก ๆ ช่วงให้ครบวงจรตลอดทั้งห่วงโซ่อาหาร (foodchain) การดูแลตลอดทั้งห่วงโซ่อาหารมากกว่าที่จะตรวจสอบเพียงผลิตภัณฑ์สำเร็จที่ปลายทางนี้เป็นแนวทางที่หลายประเทศเริ่มนำมาใช้ในปัจจุบันเนื่องจากอันตรายในอาหารหลาย ๆ อย่างไม่สามารถกำจัดจากอาหารได้ในขั้นท้ายของห่วงโซ่แต่จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นเท่านั้น ที่ประชุมเห็นชอบให้ทุกหน่วยงานจะต้องประสานงานกันตั้งแต่หารือเรื่องแก้ไขกฎหมายใด ๆ ที่ซ้ำซ้อนเป็นอุปสรรค ทำงานร่วมกันอย่างสอดคล้องเป็นระบบ และหากปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหารเกิดขึ้นในช่วงใดของห่วงโซ่อาหาร หน่วยงานที่ดูแลหลักในช่วงนั้น ๆ ก็จะต้องรับผิดชอบดูแลอย่างเต็มที่ โดยมีความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ๆ เข้ามาร่วมให้ครบวงจร
- ในการดำเนินการร่วมกันนี้ให้ใช้กลไก "อนุกรรมการความปลอดภัยด้านอาหารแห่งชาติ" ภายใต้"คณะกรรมการแห่งชาติด้านอาหาร" ซึ่งแต่งตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี และที่มีองค์ประกอบเป็นหน่วยงานต่าง ๆ ที่อยู่ในแต่ละช่วงของห่วงโซ่อาหารอยู่แล้ว
- ที่ประชุมเห็นชอบให้ร่วมมือกันทำโครงการความปลอดภัยของอาหารครบวงจรที่เป็นปัญหาเร่งด่วนรวม7 โครงการ โดยมอบหมายหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลัก (Project Manager) ของแต่ละโครงการ ได้แก่
1. โครงการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยจากสารซาลบูทามอล สารบอแรกซ์ ยาสัตว์ตกค้าง และจุลินทรีย์อาหารเป็นพิษในเนื้อหมู มีกรมปศุสัตว์เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. โครงการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง จากสารกำจัดศัตรูพืชในผัก มีกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
3. โครงการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยจากยาสัตว์ตกค้างและจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษในเนื้อไก่ มีกรมควบคุมโรคติดต่อเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
4. โครงการแก้ไขปัญหาสารตกค้างจากยาต้านจุลชีพและความเสี่ยงอื่น ๆ ในกุ้งเลี้ยง มีกรมประมงเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
5. โครงการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยจากสารกลุ่ม 3-MCPD ที่เกิดจากกระบวนการผลิตซอสปรุงรสจากถั่วเหลือง มีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
6. โครงการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหารที่ปรุงและจำหน่ายในร้านอาหาร (Clean Food GoodTaste) มีกรมอนามัยเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
7. โครงการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหารที่จำหน่ายในตลาดสด (Safe Food Good Health)มีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
ทั้งนี้ ผู้รับผิดชอบหลัก (Project Manager) นั้นมิได้หมายถึง "เจ้าของเรื่อง" แต่เพียงผู้เดียว เนื่องจากทุกโครงการจะต้องดำเนินการโดยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อาหารให้ครบวงจร แต่จะหมายถึงหน่วยงานผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานหลัก ประสานการทำงาน งบประมาณ รวบรวมผล รายงานเป็นภาพรวมของประเทศแล้วนำเสนอคณะอนุกรรมการความปลอดภัยด้านอาหารแห่งชาติ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการด้านอาหารแห่งชาติต่อไป
ท้ายที่สุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขขอให้หน่วยงานต่าง ๆ พิจารณาดำเนินการโครงการตามที่เห็นชอบในครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 พ.ย. 44--
-สส-