ทำเนียบรัฐบาล--3 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้รายงานการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงาน บริษัท ไทยเกรียงสิ่งทอ จำกัด (มหาชน) จังหวัดสมุทรปราการ ว่า ตามที่ลูกจ้างนัดหยุดงานปิดกั้นประตูโรงงานจนเป็นเหตุให้มีการเลิกจ้างลูกจ้าง จำนวน 390 คน และมีการฟ้องร้องทั้งคดีแพ่ง และอาญาต่อกัน ทำให้ข้อพิพาทแรงงานยืดเยื้อ และลูกจ้างได้ย้ายมาชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล นั้น กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงานรายนี้อย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์) ได้ติดต่อและประสานงานเจรจากับผู้บริหารของบริษัทฯ โดยตรง แต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ ประเด็นที่สำคัญคือ การเลิกจ้างลูกจ้างจำนวน 390 คน และการขออนุญาตศาลแรงงานกลาง เพื่อเลิกจ้างคณะกรรมการลูกจ้าง 15 คน โดยนายจ้างมีข้อเสนอในการยุติปัญหาข้อพิพาทแรงงานดังนี้ คือ
1. บริษัทฯ จะจ่ายเงินช่วยเหลือให้ลูกจ้าง จำนวน 79 คน ที่ไม่ประสงค์เข้าทำงาน และลูกจ้าง จำนวน 111 คน ที่บริษัทฯ ไม่รับกลับเข้าทำงาน เป็นเงินจำนวน 3 เดือน ส่วนเงินที่เหลือให้เจรจากัน และบริษัทฯ จะรับลูกจ้าง จำนวน 200 คน กลับเข้าทำงาน ตามวันที่บริษัทฯ กำหนด โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
1.1 ให้ลูกจ้างถอนแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษกับผู้แทนบริษัทฯ
1.2 ให้กรรมการลูกจ้าง 15 คน ลาออกจากบริษัทฯ
1.3 บริษัทฯ จะไม่จัดหอพักให้กับลูกจ้างที่รับกลับเข้าทำงาน
2. ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ให้อยู่ในดุลยพินิจของบริษัทฯ ในการพิจารณา
3. ให้สหภาพแรงงานฯ ตัดสินใจรับเงื่อนไขข้างต้นภายในวันที่ 25 กันยายน 2543 ถ้าไม่รับ ถือว่ายกเลิก
4. กำหนดการจ่ายเงินช่วยเหลือ และวันรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน บริษัทฯ จะแจ้งหลังจากสหภาพแรงงานฯ รับเงื่อนไขข้างต้น
5. ทั้งสองฝ่ายตกลงจะยุติทุกเรื่อง ทั้งคดีอาญา คดีแพ่ง และคดีแรงงานต่อกันกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง ฝ่ายบริหาร ที่ปรึกษา ทนายความ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การยื่นข้อเรียกร้อง ข้อพิพาทแรงงาน หรือเลิกจ้าง ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2543 เป็นต้นมา
6. การรับเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น ทั้งสองฝ่ายจะยุติกัน ณ ศาลแรงงานกลาง
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ส่งข้อเสนอของนายจ้างให้ฝ่ายลูกจ้างทราบแล้วฝ่ายลูกจ้างมีข้อเสนอ ดังนี้
1. ให้บริษัทฯ รับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และยังประสงค์จะกลับเข้าทำงาน จำนวน 67 คน
2. กรณีบริษัทฯ ฟ้องเลิกจ้างคณะกรรมการลูกจ้างให้เป็นไปตามกระบวนการพิจารณาของศาล
3. ให้บริษัทฯ จัดหอพักเช่นเดิม การยกเลิกให้เป็นไปตามกระบวนการเจรจาต่อรองตามระบบแรงงานสัมพันธ์
4. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม หรือคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยข้อพิพาทแรงงาน
ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้พยายามติดต่อเจรจากับฝ่ายนายจ้างให้ลดเงื่อนไขลง แต่บริษัทฯ ยังยืนยันในข้อเสนอเดิม แต่ยินดีที่จะขยายเวลาสำหรับการตัดสินใจของสหภาพแรงงาน จากวันที่ 25 กันยายน 2543 เป็นวันที่ 30 กันยายน 2543
นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ติดต่อทั้งสองฝ่ายไปร่วมเจรจาที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 25 กันยายน 2543 ซึ่งฝ่ายนายจ้างมี นายมังกร ธนสุกาญจน์ กรรมการผู้มีอำนาจ เข้าร่วมเจรจา แต่การเจรจาไม่สามารถหาข้อยุติได้ ทั้งสองฝ่ายยังยืนยันข้อเสนอเดิม โดยเฉพาะฝ่ายลูกจ้างได้มีตัวแทนเข้าเจรจาจำนวน 17 คน ทำให้ไม่สามารถกำหนดเนื้อหาและประเด็นในการเจรจา เพื่อการหาข้อยุติได้ นายกรัฐมนตรี จึงได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมนัดหมายให้มีการเจรจาร่วมกันในวันที่ 27 กันยายน 2543 ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยให้ผู้แทนในการเจรจาเป็นกลุ่มเล็ก แต่มีอำนาจในการตัดสินใจเข้าเจรจา ซึ่งในการเจรจาในวันดังกล่าวมีนายอำนวย ปะติเส รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง เป็นประธานในการเจรจา ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า ทั้งสองฝ่ายควรพิจารณาข้อเสนอและเงื่อนไขของแต่ละฝ่ายร่วมกัน และให้ลดประเด็นย่อย เพื่อให้เกิดหลักการที่ใกล้เคียงกัน เป็นแนวทางในการยุติปัญหา แต่ก็ไม่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งประเด็นหลักที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ คือ ฝ่ายลูกจ้างต้องการให้บริษัทฯ รับลูกจ้าง 67 คน กลับเข้าทำงาน และให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ส่วนฝ่ายนายจ้างต้องการให้คณะกรรมการลูกจ้าง 15 คน ลาออกจากบริษัท
ต่อมาในวันที่ 2 ตุลาคม 2543 สหภาพแรงงานฯ ได้มีหนังสือถึงกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แจ้งว่าไม่สามารถรับข้อเสนอบริษัทฯ ได้ และยืนยันข้อเสนอเดิมข้างต้น ซึ่งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จะได้พยายามเจรจากับทั้งสองฝ่ายให้พิจารณาเงื่อนไขใหม่ โดยลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคในการยุติปัญหาลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ตุลาคม 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้รายงานการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงาน บริษัท ไทยเกรียงสิ่งทอ จำกัด (มหาชน) จังหวัดสมุทรปราการ ว่า ตามที่ลูกจ้างนัดหยุดงานปิดกั้นประตูโรงงานจนเป็นเหตุให้มีการเลิกจ้างลูกจ้าง จำนวน 390 คน และมีการฟ้องร้องทั้งคดีแพ่ง และอาญาต่อกัน ทำให้ข้อพิพาทแรงงานยืดเยื้อ และลูกจ้างได้ย้ายมาชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล นั้น กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงานรายนี้อย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์) ได้ติดต่อและประสานงานเจรจากับผู้บริหารของบริษัทฯ โดยตรง แต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ ประเด็นที่สำคัญคือ การเลิกจ้างลูกจ้างจำนวน 390 คน และการขออนุญาตศาลแรงงานกลาง เพื่อเลิกจ้างคณะกรรมการลูกจ้าง 15 คน โดยนายจ้างมีข้อเสนอในการยุติปัญหาข้อพิพาทแรงงานดังนี้ คือ
1. บริษัทฯ จะจ่ายเงินช่วยเหลือให้ลูกจ้าง จำนวน 79 คน ที่ไม่ประสงค์เข้าทำงาน และลูกจ้าง จำนวน 111 คน ที่บริษัทฯ ไม่รับกลับเข้าทำงาน เป็นเงินจำนวน 3 เดือน ส่วนเงินที่เหลือให้เจรจากัน และบริษัทฯ จะรับลูกจ้าง จำนวน 200 คน กลับเข้าทำงาน ตามวันที่บริษัทฯ กำหนด โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
1.1 ให้ลูกจ้างถอนแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษกับผู้แทนบริษัทฯ
1.2 ให้กรรมการลูกจ้าง 15 คน ลาออกจากบริษัทฯ
1.3 บริษัทฯ จะไม่จัดหอพักให้กับลูกจ้างที่รับกลับเข้าทำงาน
2. ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ให้อยู่ในดุลยพินิจของบริษัทฯ ในการพิจารณา
3. ให้สหภาพแรงงานฯ ตัดสินใจรับเงื่อนไขข้างต้นภายในวันที่ 25 กันยายน 2543 ถ้าไม่รับ ถือว่ายกเลิก
4. กำหนดการจ่ายเงินช่วยเหลือ และวันรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน บริษัทฯ จะแจ้งหลังจากสหภาพแรงงานฯ รับเงื่อนไขข้างต้น
5. ทั้งสองฝ่ายตกลงจะยุติทุกเรื่อง ทั้งคดีอาญา คดีแพ่ง และคดีแรงงานต่อกันกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง ฝ่ายบริหาร ที่ปรึกษา ทนายความ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การยื่นข้อเรียกร้อง ข้อพิพาทแรงงาน หรือเลิกจ้าง ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2543 เป็นต้นมา
6. การรับเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น ทั้งสองฝ่ายจะยุติกัน ณ ศาลแรงงานกลาง
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ส่งข้อเสนอของนายจ้างให้ฝ่ายลูกจ้างทราบแล้วฝ่ายลูกจ้างมีข้อเสนอ ดังนี้
1. ให้บริษัทฯ รับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และยังประสงค์จะกลับเข้าทำงาน จำนวน 67 คน
2. กรณีบริษัทฯ ฟ้องเลิกจ้างคณะกรรมการลูกจ้างให้เป็นไปตามกระบวนการพิจารณาของศาล
3. ให้บริษัทฯ จัดหอพักเช่นเดิม การยกเลิกให้เป็นไปตามกระบวนการเจรจาต่อรองตามระบบแรงงานสัมพันธ์
4. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม หรือคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยข้อพิพาทแรงงาน
ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้พยายามติดต่อเจรจากับฝ่ายนายจ้างให้ลดเงื่อนไขลง แต่บริษัทฯ ยังยืนยันในข้อเสนอเดิม แต่ยินดีที่จะขยายเวลาสำหรับการตัดสินใจของสหภาพแรงงาน จากวันที่ 25 กันยายน 2543 เป็นวันที่ 30 กันยายน 2543
นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ติดต่อทั้งสองฝ่ายไปร่วมเจรจาที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 25 กันยายน 2543 ซึ่งฝ่ายนายจ้างมี นายมังกร ธนสุกาญจน์ กรรมการผู้มีอำนาจ เข้าร่วมเจรจา แต่การเจรจาไม่สามารถหาข้อยุติได้ ทั้งสองฝ่ายยังยืนยันข้อเสนอเดิม โดยเฉพาะฝ่ายลูกจ้างได้มีตัวแทนเข้าเจรจาจำนวน 17 คน ทำให้ไม่สามารถกำหนดเนื้อหาและประเด็นในการเจรจา เพื่อการหาข้อยุติได้ นายกรัฐมนตรี จึงได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมนัดหมายให้มีการเจรจาร่วมกันในวันที่ 27 กันยายน 2543 ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยให้ผู้แทนในการเจรจาเป็นกลุ่มเล็ก แต่มีอำนาจในการตัดสินใจเข้าเจรจา ซึ่งในการเจรจาในวันดังกล่าวมีนายอำนวย ปะติเส รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง เป็นประธานในการเจรจา ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า ทั้งสองฝ่ายควรพิจารณาข้อเสนอและเงื่อนไขของแต่ละฝ่ายร่วมกัน และให้ลดประเด็นย่อย เพื่อให้เกิดหลักการที่ใกล้เคียงกัน เป็นแนวทางในการยุติปัญหา แต่ก็ไม่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งประเด็นหลักที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ คือ ฝ่ายลูกจ้างต้องการให้บริษัทฯ รับลูกจ้าง 67 คน กลับเข้าทำงาน และให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ส่วนฝ่ายนายจ้างต้องการให้คณะกรรมการลูกจ้าง 15 คน ลาออกจากบริษัท
ต่อมาในวันที่ 2 ตุลาคม 2543 สหภาพแรงงานฯ ได้มีหนังสือถึงกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แจ้งว่าไม่สามารถรับข้อเสนอบริษัทฯ ได้ และยืนยันข้อเสนอเดิมข้างต้น ซึ่งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จะได้พยายามเจรจากับทั้งสองฝ่ายให้พิจารณาเงื่อนไขใหม่ โดยลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคในการยุติปัญหาลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ตุลาคม 2543--
-สส-