ทำเนียบรัฐบาล--26 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
1. เรื่อง การแก้ไขปัญหาซาอุดิอาระเบียห้ามนำเข้าปลาทูนากระป๋องจากไทยและสถานภาพการได้รับสิทธิ GSP
ของไทยจากระบบ GSP หลัก
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบความก้าวหน้าของการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาซาอุดิอาระเบียห้ามนำเข้าปลาทูนากระป๋องจากไทยและสถานภาพการได้รับสิทธิ GSP ของไทยจากระบบ GSP หลัก โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การแก้ไขปัญหาซาอุดิอาระเบียห้ามนำเข้าปลาทูนากระป๋องจากไทย กระทรวงพาณิชย์ซาอุดิ-อาระเบียได้ประกาศห้ามนำเข้าปลาทูนากระป๋องในน้ำมันถั่วเหลืองจากไทยเมื่อเดือนมีนาคม 2543 โดยอ้างความปลอดภัยของผู้บริโภคจากสาเหตุน้ำมันถั่วเหลืองของไทยผลิตจากถั่วเหลืองที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) แต่ในทางปฏิบัติทางการซาอุดิอาระเบียได้ห้ามนำเข้าปลาทูนากระป๋องจากไทยทุกชนิด
สถานะล่าสุด
1. ผลจากการเจรจาในทุกระดับ และการเร่งรัดติดตามโดยความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทุก ๆ ฝ่ายทางการซาอุดิอาระเบียจึงได้ประกาศยกเลิกการห้ามนำเข้าปลาทูนากระป๋องจากไทย เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2543
2. กรมการค้าต่างประเทศได้ประสานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ออกใบรับรองปลอด GMOs ให้กับผู้ส่งออกที่สินค้าตกค้างอยู่ที่ซาอุดิอาระเบีย และที่จะส่งมอบต่อไป เพื่อให้ทางการซาอุดิอาระเบียเร่งรับมอบสินค้า และเพื่อให้ภาคเอกชนของทั้งสองฝ่ายสามารถซื้อขายสินค้าจำนวนใหม่ต่อไปได้
2. สถานภาพการได้รับสิทธิ GDP ของไทยจากระบบ GSP หลัก
2.1 ระบบ GSP ของสหภาพยุโรป มาตรการตัดสิทธิ GSP เป็นรายกลุ่มสินค้าของบางประเทศ (Sector/Country) ภายใต้โครงการ GSP ปัจจุบันของสหภาพยุโรป ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2538 ถึง 31 ธันวาคม 2547 ทำให้สินค้าไทยถูกตัดสิทธิ GSP 9 กลุ่มสินค้า เป็นสินค้าอุตสาหกรรม 6 กลุ่ม ถูกตัดสิทธิ GSP ทั้งหมดตั้งแต่ปี 2541 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์พลาสติกและยางผลิตภัณฑ์หนัง เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและดอกไม้ประดิษฐ์ เครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์ของเด็กเล่น และเบ็ดเตล็ด และสินค้าเกษตร 3 กลุ่ม ถูกตัดสิทธิ GSP ทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2542 ได้แก่ สินค้าประมง พืชผักและผลไม้ และผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่
สถานะล่าสุด
คณะกรรมาธิการยุโรปยังไม่ติดสินใจเป็นทางการว่าจะดำเนินการตามกลไกตัดสิทธิอย่างไรคาดว่าตัวเลข GNP per capita ที่จะนำมาใช้ในการคำนวณตัดสิทธิ จะเป็นตัวเลขล่าสุดที่คณะกรรมาธิการฯ หาได้
2.2 ระบบ GSP ของสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีสินค้าไทยถูกระงับสิทธิ GSP ภายใต้กฎว่าด้วยความจำเป็นด้านการแข่งขัน (Competitive Need Limits : CNL) เนื่องจากมูลค่าส่งออกไปสหรัฐฯ สูงเกิน CNL รวม 11 รายการ ได้แก่ ของประกอบด้วยไข่มุกแท้ ของประกอบด้วยอัญมณีมีค่า และกึ่งมีค่า (2 รายการ) ชุดไฟตกแต่งต้นคริสต์มาส กระเบื้องปูพื้นและผนัง ชุดสายไฟรถยนต์ ปลาทูนาและปลาสคิปแจ๊คปรุงแต่ง เครื่องถ่ายสำเนา เครื่องรูปพรรณทำด้วยเงิน เตาอบไมโครเวฟ เครื่องรับโทรทัศน์สีพร้อมวีดีโอ มีขนาดเส้นทะแยงมุม 33.02 - 35.26 และเครื่องรูปพรรณทำด้วยเงิน
นอกจากนี้ ปัญหายืดเยื้อตั้งแต่ปี 2534 เกี่ยวกับ AFL และ CIO (American Federation Labour และ The Congress of Industrial Organization) ได้ฟ้องร้องให้เพิกถอนสิทธิ GSP ประเทศไทย กรณีละเมิดสิทธิแรงงานนั้น ประเทศไทยได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้ว โดยเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2543 สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2543 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2543
สถานะล่าสุด
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2543 ผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ (USIR) ได้ประกาศยกเลิกคำฟ้องของ AEL-CIO ที่ให้เกิกถอนสิทธิ GSP ประเทศไทย กรณีการละเมิดสิทธิแรงงานของไทย
2.3 ระบบ GSP ของญี่ปุ่น ระบบ GSP โครงการปัจจุบันเริ่มตั้งแต่ 1 เมษายน 2534 ถึง 31 มีนาคม2544 ให้สิทธิ GSP สินค้าเกษตรโดยไม่จำกัดปริมาณหรือมูลค่านำเข้า แต่ได้กำหนดปริมาณหรือมูลค่านำเข้าแบบเพดานรวม (Ceiling) สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม 125 กลุ่ม หากญี่ปุ่นนำเข้าจากทุกประเทศเกินเพดานรวม ก็จะระงับสิทธิสินค้านั้น หรือนำเข้าจากประเทศใดเกิน 1 ใน 4 ของเพดานรวม ก็จะระงับสิทธิเฉพาะสินค้าจากประเทศนั้น ซึ่งเป็นการกำหนดมูลค่านำเข้าขั้นสูง (Maximum Country Amount - MCA) อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ถูกระงับสิทธิทั้ง 2 กรณี จะได้รับคืนสิทธิโดยอัตโนมัติในปีถัดไป
สถานะล่าสุด
ประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการตัดสิทธิดังกล่าว เนื่องจากมูลค่านำเข้าญี่ปุ่นรวมจากทุกประเทศสูงเกินเพดานรวม เช่น เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์หนัง ไม้อัด เป็นต้น ซึ่งเป็นการถูกระงับสิทธิพร้อมประเทศอื่น และญี่ปุ่นนำเข้าจากไทยเกิน 1 ใน 4 ของเพดานรวม ได้แก่ เครื่องรัดทรง ถุงมือ ถุงน่อง ซึ่งเป็นการระงับสิทธิเฉพาะประเทศไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ก.ค. 2543--
-สส-
1. เรื่อง การแก้ไขปัญหาซาอุดิอาระเบียห้ามนำเข้าปลาทูนากระป๋องจากไทยและสถานภาพการได้รับสิทธิ GSP
ของไทยจากระบบ GSP หลัก
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบความก้าวหน้าของการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาซาอุดิอาระเบียห้ามนำเข้าปลาทูนากระป๋องจากไทยและสถานภาพการได้รับสิทธิ GSP ของไทยจากระบบ GSP หลัก โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การแก้ไขปัญหาซาอุดิอาระเบียห้ามนำเข้าปลาทูนากระป๋องจากไทย กระทรวงพาณิชย์ซาอุดิ-อาระเบียได้ประกาศห้ามนำเข้าปลาทูนากระป๋องในน้ำมันถั่วเหลืองจากไทยเมื่อเดือนมีนาคม 2543 โดยอ้างความปลอดภัยของผู้บริโภคจากสาเหตุน้ำมันถั่วเหลืองของไทยผลิตจากถั่วเหลืองที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) แต่ในทางปฏิบัติทางการซาอุดิอาระเบียได้ห้ามนำเข้าปลาทูนากระป๋องจากไทยทุกชนิด
สถานะล่าสุด
1. ผลจากการเจรจาในทุกระดับ และการเร่งรัดติดตามโดยความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทุก ๆ ฝ่ายทางการซาอุดิอาระเบียจึงได้ประกาศยกเลิกการห้ามนำเข้าปลาทูนากระป๋องจากไทย เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2543
2. กรมการค้าต่างประเทศได้ประสานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ออกใบรับรองปลอด GMOs ให้กับผู้ส่งออกที่สินค้าตกค้างอยู่ที่ซาอุดิอาระเบีย และที่จะส่งมอบต่อไป เพื่อให้ทางการซาอุดิอาระเบียเร่งรับมอบสินค้า และเพื่อให้ภาคเอกชนของทั้งสองฝ่ายสามารถซื้อขายสินค้าจำนวนใหม่ต่อไปได้
2. สถานภาพการได้รับสิทธิ GDP ของไทยจากระบบ GSP หลัก
2.1 ระบบ GSP ของสหภาพยุโรป มาตรการตัดสิทธิ GSP เป็นรายกลุ่มสินค้าของบางประเทศ (Sector/Country) ภายใต้โครงการ GSP ปัจจุบันของสหภาพยุโรป ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2538 ถึง 31 ธันวาคม 2547 ทำให้สินค้าไทยถูกตัดสิทธิ GSP 9 กลุ่มสินค้า เป็นสินค้าอุตสาหกรรม 6 กลุ่ม ถูกตัดสิทธิ GSP ทั้งหมดตั้งแต่ปี 2541 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์พลาสติกและยางผลิตภัณฑ์หนัง เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและดอกไม้ประดิษฐ์ เครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์ของเด็กเล่น และเบ็ดเตล็ด และสินค้าเกษตร 3 กลุ่ม ถูกตัดสิทธิ GSP ทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2542 ได้แก่ สินค้าประมง พืชผักและผลไม้ และผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่
สถานะล่าสุด
คณะกรรมาธิการยุโรปยังไม่ติดสินใจเป็นทางการว่าจะดำเนินการตามกลไกตัดสิทธิอย่างไรคาดว่าตัวเลข GNP per capita ที่จะนำมาใช้ในการคำนวณตัดสิทธิ จะเป็นตัวเลขล่าสุดที่คณะกรรมาธิการฯ หาได้
2.2 ระบบ GSP ของสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีสินค้าไทยถูกระงับสิทธิ GSP ภายใต้กฎว่าด้วยความจำเป็นด้านการแข่งขัน (Competitive Need Limits : CNL) เนื่องจากมูลค่าส่งออกไปสหรัฐฯ สูงเกิน CNL รวม 11 รายการ ได้แก่ ของประกอบด้วยไข่มุกแท้ ของประกอบด้วยอัญมณีมีค่า และกึ่งมีค่า (2 รายการ) ชุดไฟตกแต่งต้นคริสต์มาส กระเบื้องปูพื้นและผนัง ชุดสายไฟรถยนต์ ปลาทูนาและปลาสคิปแจ๊คปรุงแต่ง เครื่องถ่ายสำเนา เครื่องรูปพรรณทำด้วยเงิน เตาอบไมโครเวฟ เครื่องรับโทรทัศน์สีพร้อมวีดีโอ มีขนาดเส้นทะแยงมุม 33.02 - 35.26 และเครื่องรูปพรรณทำด้วยเงิน
นอกจากนี้ ปัญหายืดเยื้อตั้งแต่ปี 2534 เกี่ยวกับ AFL และ CIO (American Federation Labour และ The Congress of Industrial Organization) ได้ฟ้องร้องให้เพิกถอนสิทธิ GSP ประเทศไทย กรณีละเมิดสิทธิแรงงานนั้น ประเทศไทยได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้ว โดยเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2543 สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2543 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2543
สถานะล่าสุด
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2543 ผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ (USIR) ได้ประกาศยกเลิกคำฟ้องของ AEL-CIO ที่ให้เกิกถอนสิทธิ GSP ประเทศไทย กรณีการละเมิดสิทธิแรงงานของไทย
2.3 ระบบ GSP ของญี่ปุ่น ระบบ GSP โครงการปัจจุบันเริ่มตั้งแต่ 1 เมษายน 2534 ถึง 31 มีนาคม2544 ให้สิทธิ GSP สินค้าเกษตรโดยไม่จำกัดปริมาณหรือมูลค่านำเข้า แต่ได้กำหนดปริมาณหรือมูลค่านำเข้าแบบเพดานรวม (Ceiling) สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม 125 กลุ่ม หากญี่ปุ่นนำเข้าจากทุกประเทศเกินเพดานรวม ก็จะระงับสิทธิสินค้านั้น หรือนำเข้าจากประเทศใดเกิน 1 ใน 4 ของเพดานรวม ก็จะระงับสิทธิเฉพาะสินค้าจากประเทศนั้น ซึ่งเป็นการกำหนดมูลค่านำเข้าขั้นสูง (Maximum Country Amount - MCA) อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ถูกระงับสิทธิทั้ง 2 กรณี จะได้รับคืนสิทธิโดยอัตโนมัติในปีถัดไป
สถานะล่าสุด
ประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการตัดสิทธิดังกล่าว เนื่องจากมูลค่านำเข้าญี่ปุ่นรวมจากทุกประเทศสูงเกินเพดานรวม เช่น เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์หนัง ไม้อัด เป็นต้น ซึ่งเป็นการถูกระงับสิทธิพร้อมประเทศอื่น และญี่ปุ่นนำเข้าจากไทยเกิน 1 ใน 4 ของเพดานรวม ได้แก่ เครื่องรัดทรง ถุงมือ ถุงน่อง ซึ่งเป็นการระงับสิทธิเฉพาะประเทศไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ก.ค. 2543--
-สส-