คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานนโยบาย
การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กองทุนละ 1 ล้านบาท ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน (ข้อมูล ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2544)
รายการ ผลการดำเนินงาน ร้อยละ
1. จำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 71,364 ***
2. จำนวนหมู่บ้านที่ขอขึ้นทะเบียนกองทุน 49,528 69.39
3. จำนวนกองทุนที่ได้รับการจัดสรรและโอนเงิน
3.1 งวดที่ 1 9,293 13.02
3.2 งวดที่ 2 19,235 26.95
รวม 28,528 39.98
4. กองทุนที่จัดสรรเงินให้สมาชิกแล้ว
4.1 จำนวนกองทุน 1,258 ***
4.2 จำนวนเงิน (ล้านบาท) 872.97 ***
สำหรับการจัดสรรและโอนเงินในงวดที่ 2 จะจัดให้มีพิธีการจัดสรรและโอนเงิน ในวันที่ 30 สิงหาคม 2544 ณ ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่
2. การดำเนินงานของกองทุนชุมชนเมือง
2.1 กทบ. ได้เห็นชอบแนวทางในการกำหนดชุมชนเมือง ตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการ
กำหนดชุมชนเมือง เมื่อคราวประชุม ครั้งที่ 5 / 2544 วันที่ 20 สิงหาคม 2544 ดังนี้
1) ชุมชนเมืองใน กรุงเทพมหานคร (กทม.) และภูมิภาค ให้ใช้บัญชีรายชื่อพื้นฐานจากชุมชนซึ่ง กทม.
และกระทรวงมหาดไทย ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นจุดเริ่มการจัดทำรายชื่อ ชุมชนเมือง
2) รายชื่อชุมชน ในส่วนของหน่วยงานอื่น เช่น การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ให้พิจารณาร่วมกับ กทม.
เพื่อเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
3) เกณฑ์ด้านจำนวนหลังคาเรือน ให้ยึด จำนวน 100 หลังคาเรือนขึ้นไปจึงนับเป็นชุมชนเมือง ส่วนชุมชน
ที่จำนวนหลังคาเรือนน้อยกว่า 100 หลังคาเรือน ให้สามารถรวมกันให้ได้จำนวนหลังคาเรือนเกิน 100 หลังคาเรือน แล้วจัดตั้งเป็นเครือข่าย
ชุมชนได้ ทั้งนี้ ชุมชนที่รวมกันจะต้องอยู่ในเขตปกครองเดียวกัน ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันทั้งชุมชนใน กทม. และภูมิภาค
4) กรณีชุมชนที่อยู่ในหมู่บ้านบริเวณชานเมือง กทม. ให้ถือเป็นชุมชนเมือง ทั้งนี้ เนื่องจากหมู่บ้านในชาน กทม.
จะต้องถูกยกเลิกภายในปี 2547 จึงสมควรพิจารณาเป็นชุมชนเมืองเสียตั้งแต่แรกเพื่อจะได้มิต้องแก้ไขในอนาคต
5) ให้ กทม. และกระทรวงมหาดไทย สรุปจำนวนและรายชื่อชุมชนพร้อมกับทำแบบแผนที่เพื่อ
ยืนยันว่าไม่มีชุมชนซ้ำซ้อน และเสนอให้ประธานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ทราบ
6) บ้านจัดสรรไม่นับเป็นชุมชนเมือง และในเขตใดของ กทม. ที่มีหมู่บ้านและไม่มีชุมชน จะส่งเข้ารับกองทุนในส่วน
ของกองทุนหมู่บ้าน
2.2 จากแนวทางการกำหนดชุมชนเมืองดังกล่าว กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และ กทม.
ได้พิจารณาแล้วปรากฏว่ามีชุมชนเมืองที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข ทั้งสิ้น 3,517 ชุมชน โดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1) ชุมชนเมืองในเขตเทศบาล และเขตเมืองพัทยา จำนวน 2,472 ชุมชน
2) ชุมชนเมืองในเขต กทม. จำนวน 1,045 ชุมชน
อนึ่ง ชุมชนเมืองดังกล่าว กทบ. ได้ดำเนินการประกาศกำหนดเป็นชุมชนเมืองที่จะดำเนินการ
จัดตั้งกองทุนชุมชนเมืองแล้ว เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2544
3. เพื่อให้ดำเนินงานตามนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล กทบ. จึงได้มีมติให้มีการแต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการติดตามการดำเนินงานในระดับจังหวัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ส.ค.44--
-สส-
การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กองทุนละ 1 ล้านบาท ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน (ข้อมูล ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2544)
รายการ ผลการดำเนินงาน ร้อยละ
1. จำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 71,364 ***
2. จำนวนหมู่บ้านที่ขอขึ้นทะเบียนกองทุน 49,528 69.39
3. จำนวนกองทุนที่ได้รับการจัดสรรและโอนเงิน
3.1 งวดที่ 1 9,293 13.02
3.2 งวดที่ 2 19,235 26.95
รวม 28,528 39.98
4. กองทุนที่จัดสรรเงินให้สมาชิกแล้ว
4.1 จำนวนกองทุน 1,258 ***
4.2 จำนวนเงิน (ล้านบาท) 872.97 ***
สำหรับการจัดสรรและโอนเงินในงวดที่ 2 จะจัดให้มีพิธีการจัดสรรและโอนเงิน ในวันที่ 30 สิงหาคม 2544 ณ ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่
2. การดำเนินงานของกองทุนชุมชนเมือง
2.1 กทบ. ได้เห็นชอบแนวทางในการกำหนดชุมชนเมือง ตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการ
กำหนดชุมชนเมือง เมื่อคราวประชุม ครั้งที่ 5 / 2544 วันที่ 20 สิงหาคม 2544 ดังนี้
1) ชุมชนเมืองใน กรุงเทพมหานคร (กทม.) และภูมิภาค ให้ใช้บัญชีรายชื่อพื้นฐานจากชุมชนซึ่ง กทม.
และกระทรวงมหาดไทย ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นจุดเริ่มการจัดทำรายชื่อ ชุมชนเมือง
2) รายชื่อชุมชน ในส่วนของหน่วยงานอื่น เช่น การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ให้พิจารณาร่วมกับ กทม.
เพื่อเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
3) เกณฑ์ด้านจำนวนหลังคาเรือน ให้ยึด จำนวน 100 หลังคาเรือนขึ้นไปจึงนับเป็นชุมชนเมือง ส่วนชุมชน
ที่จำนวนหลังคาเรือนน้อยกว่า 100 หลังคาเรือน ให้สามารถรวมกันให้ได้จำนวนหลังคาเรือนเกิน 100 หลังคาเรือน แล้วจัดตั้งเป็นเครือข่าย
ชุมชนได้ ทั้งนี้ ชุมชนที่รวมกันจะต้องอยู่ในเขตปกครองเดียวกัน ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันทั้งชุมชนใน กทม. และภูมิภาค
4) กรณีชุมชนที่อยู่ในหมู่บ้านบริเวณชานเมือง กทม. ให้ถือเป็นชุมชนเมือง ทั้งนี้ เนื่องจากหมู่บ้านในชาน กทม.
จะต้องถูกยกเลิกภายในปี 2547 จึงสมควรพิจารณาเป็นชุมชนเมืองเสียตั้งแต่แรกเพื่อจะได้มิต้องแก้ไขในอนาคต
5) ให้ กทม. และกระทรวงมหาดไทย สรุปจำนวนและรายชื่อชุมชนพร้อมกับทำแบบแผนที่เพื่อ
ยืนยันว่าไม่มีชุมชนซ้ำซ้อน และเสนอให้ประธานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ทราบ
6) บ้านจัดสรรไม่นับเป็นชุมชนเมือง และในเขตใดของ กทม. ที่มีหมู่บ้านและไม่มีชุมชน จะส่งเข้ารับกองทุนในส่วน
ของกองทุนหมู่บ้าน
2.2 จากแนวทางการกำหนดชุมชนเมืองดังกล่าว กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และ กทม.
ได้พิจารณาแล้วปรากฏว่ามีชุมชนเมืองที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข ทั้งสิ้น 3,517 ชุมชน โดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1) ชุมชนเมืองในเขตเทศบาล และเขตเมืองพัทยา จำนวน 2,472 ชุมชน
2) ชุมชนเมืองในเขต กทม. จำนวน 1,045 ชุมชน
อนึ่ง ชุมชนเมืองดังกล่าว กทบ. ได้ดำเนินการประกาศกำหนดเป็นชุมชนเมืองที่จะดำเนินการ
จัดตั้งกองทุนชุมชนเมืองแล้ว เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2544
3. เพื่อให้ดำเนินงานตามนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล กทบ. จึงได้มีมติให้มีการแต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการติดตามการดำเนินงานในระดับจังหวัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ส.ค.44--
-สส-