ทำเนียบรัฐบาล--7 มี.ค.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการและรายละเอียดข้อเสนอโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด รุ่นที่ 2 (ปีงบประมาณ 2544) ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ดังนี้
1. ให้คณะกรรมการโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามโครงการฯ โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) กำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อเป็นแนวทางสำหรับให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ
2) พิจารณาให้ความเห็นชอบให้ข้าราชการเข้าร่วมโครงการฯ ปีงบประมาณ 2544
3) ควบคุม กำกับ ติดตามเพื่อให้สามารถจ่ายเงินแก่ผู้ออกจากราชการตามโครงการฯ ได้ภายในเดือนตุลาคม 2543
4) กำกับติดตามเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการฯ ในการนี้ให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการโครงการฯ มีหน้าที่ กำกับ ดูแล ตรวจสอบ แนะนำและชี้แจงให้กระทรวง ทบวง กรม ปฏิบัติการตามโครงการฯ และให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากส่วนราชการ ข้าราชการ หรือให้ผู้แทนส่วนราชการหรือข้าราชการมาชี้แจงข้อเท็จจริง และให้มีอำนาจสั่งให้กระทรวง ทบวง กรม รายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามโครงการ
2. ให้กระทรวงการคลังดำเนินการ
1) ยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ พ.ศ. 2542 เพื่อให้ข้าราชการทหารผู้มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ
2) ยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2535 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ไม่ต้องชดใช้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
3) ออกระเบียบหรือแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ทุกส่วนราชการจ่ายเงินให้แก่ผู้ออกจากราชการตามโครงการฯ ภายในเดือนตุลาคม 2543
3. ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณและออกระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
4. ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโครงการฯ นี้ต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากสำนักงาน ก.พ. เสนอว่า ก.พ. ได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน ก.พ. เรื่อง โครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด ปีงบประมาณ 2544 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2543 แล้วมีมติเห็นชอบในหลักการและมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ. รับความเห็นและข้อสังเกตของ ก.พ. เกี่ยวกับชื่อโครงการ การกำหนดวันเริ่มประชาสัมพันธ์ วันเปิด และวันปิดรับสมัครผู้เข้าโครงการ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย และการบรรจุกลับเป็นข้าราชการหรือพนักงานประจำในหน่วยงานของรัฐไปปรึกษาหารือกับคณะกรรมการโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด ได้ผลประการใดให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
นอกจากนี้ คณะกรรมการโครงการฯ ซึ่งมีผู้แทนสำนักงาน ก.พ. ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนัก-งบประมาณ และผู้แทนคณะกรรมการข้าราชการประเภทต่าง ๆ เป็นกรรมการ ได้ประชุมพิจารณาข้อเสนอโครงการฯ ตลอดจนความเห็นและข้อสังเกตของ ก.พ. แล้ว มีมติให้คงวัตถุประสงค์และหลักการของโครงการฯ โดยปรับปรุงรายละเอียดบางส่วนของโครงการฯ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการรุ่นที่ 1
สำหรับโครงการฯ รุ่นที่ 2 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ เพื่อปรับสัดส่วนและลดขนาดกำลังคนภาครัฐให้มีขนาดเล็ก กระทัดรัด แต่มีประสิทธิภาพสูง โดยจูงใจให้ข้าราชการออกจากราชการก่อนการเกษียณ
2. หลักการและเป้าหมาย เป็นความสมัครใจและความประสงค์ร่วมกันของข้าราชการและราชการ และเป็นสิทธิของทางราชการที่จะพิจารณาให้ข้าราชการเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการและไม่ทำให้งานในราชการเสียหาย โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ ประมาณ 30,000 คน ในกรณีที่มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ เกินกว่า 30,000 คน ให้คณะกรรมการโครงการฯ มีอำนาจพิจารณาให้ความเห็นชอบเพิ่มเติมได้ แต่เมื่อรวมกับจำนวนผู้ออกจากราชการตามโครงการฯ รุ่นที่ 1 แล้ว ต้องไม่เกิน 60,000 คน (รุ่นที่ 1 มีจำนวน 23,216 คน)
3. คุณสมบัติ ผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
- เป็นข้าราชการประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังนี้ 1) ข้าราชการพลเรือนสามัญ 2) ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย 3) ข้าราชการครู 4) ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ 5) ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ 6) ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ 7) ข้าราชการตำรวจ 8) ข้าราชการทหาร และข้าราชการประเภทอื่นที่ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนตามที่ คณะรัฐมนตรีกำหนด
- เป็นผู้มีอายุหรือเวลาราชการ ดังนี้
1) มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป สำหรับข้าราชการฝ่ายพลเรือน (นับถึงวันที่ 30 กันยายน 2543) และมีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป สำหรับข้าราชการทหาร (ในการนี้ให้กระทรวงการคลังยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ พ.ศ. 2542) หรือมีเวลาราชการตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป (นับถึงวันที่ 30 กันยายน 2543) โดยไม่รวมเวลาทวีคูณ
2) มีเวลาราชการที่เหลือไม่น้อยกว่า 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543
3) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสอบสวนหรือสอบหาข้อเท็จจริงทางวินัย หรือพิจารณาโทษทางวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น ๆ หรือเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา ซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
4) ไม่เป็นผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใด ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น ๆ
ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่ยังอยู่ระหว่างปฏิบัติราชการชดใช้ตามที่ได้เคยทำสัญยากับส่วนราชการในการไปศึกษา ฝึกอบรมหรือปฏิบัติการวิจัย จะต้องชดใช้เงินตามสัญญาผูกพันด้วย
4. สิ่งจูงใจ ให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับเงินและสิทธิประโยชน์ ดังนี้
4.1 ส่วนที่เป็นตัวเงิน
1) เงินขวัญถุง เป็นจำนวนเงินเท่ากับ เงินเดือนเดือนสุดท้าย x 7 โดยแบ่งจ่าย 2 งวด ปีละงวดเป็นจำนวนเงินเท่า ๆ กัน
2) เงินเพิ่มหรือเงินช่วยเหลือรายเดือนผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ร.บ.) เท่ากับ
ช.ร.บ. = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการที่เหลือ (ปี)
50
ทั้งนี้ ช.ร.บ. จะต้องไม่สูงกว่าร้อยละ 20 ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย และเมื่อรวมกับบำนาญแล้วต้องไม่เกินเงินเดือนเดือนสุดท้าย
4.2 สิทธิประโยชน์อื่น
1) มีสิทธิได้รับพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี
2) ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในส่วนของเงินที่ได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ เป็นสมาชิก กบข.
3) ได้รับสิทธิประโยชน์ไม่ต้องชดใช้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2535 กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติ และให้จ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาต่อไป ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ กู้เงินตามโครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคารอาคารสงเคราะห์
นอกจากนี้ เห็นควรให้ผู้ออกจากราชการตามโครงการฯ รุ่นที่ 1 ชำระดอกเบี้ยในอัตราเดิมก่อนออกจากราชการ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543 ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลังยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการดังกล่าว
4) มีสิทธิได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
5. หลักเกณฑ์และวิธีการ
5.1 ให้สำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลัง ออกระเบียบหรือแนวทางปฏิบัติ และเร่งรัดให้ทุกส่วนราชการจ่ายเงินให้แก่ผู้ออกจากราชการตามโครงการฯ ภายในเดือนตุลาคม 2543
5.2 ให้ส่วนราชการยุบเลิกตำแหน่งไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนตำแหน่งที่ว่างลงจากโครงการฯสำหรับตำแหน่งที่เหลือร้อยละ 20 ให้นำมารวมกัน แล้วมอบให้คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) พิจารณาจัดสรรให้ส่วนราชการที่มีความจำเป็น หากจัดสรรไม่หมดให้ยุบเลิก
5.3 ไม่ให้ผู้ออกจากราชการตามโครงการฯ กลับเข้ามาเป็นข้าราชการหรือพนักงานประจำของหน่วยงานของรัฐ
6. กำหนดการรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 3 - 31 กรกฎาคม 2543 ทั้งนี้ หากผู้สมัครรายใดต้องการถอนใบสมัคร ให้ผู้นั้นยื่นหนังสือต่อส่วนราชการภายในวันที่ 1 - 15 สิงหาคม 2543
7. งบประมาณ ซึ่งรัฐจะต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นสุทธิสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ รุ่นที่ 2 จำนวน 30,000 คนเป็นเงิน 562 ล้านบาทในปีแรก และ 481 ล้านบาท ในปีที่สอง และจะคุ้มทุนในปีที่ 3 ของโครงการฯ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
7.1 เงินขวัญถุง ประมาณ 4,082 ล้านบาท แบ่งจ่ายเป็น 2 งวด ปีละงวด เป็นจำนวนเงินเท่า ๆ กันปีละ 2,041 ล้านบาท
7.2 บำเหน็จบำนาญ ประมาณ 4,643 ล้านบาท/ปี และเงินเพิ่มบำนาญ 767 ล้านบาท/ปี รวมเป็นเงิน 5,410 ล้านบาท/ปี ซึ่งจะต้องตั้งเป็นงบกลางเพื่อรองรับรายจ่ายบำเหน็จบำนาญที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ
7.3 ในการนี้ รัฐจะประหยัดรายจ่ายหมวดเงินเดือนของผู้เข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งเงินชดเชย และเงินสมทบในระบบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการในปีแรกเป็นเงิน 7,143 ล้านบาท และในปีที่สอง เป็นเงิน 7,500 ล้านบาท (ตัวเลขก่อนหักรายจ่ายในการคงตำแหน่งในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งในปีแรก เป็นเงิน254 ล้านบาท และในปีที่สองเป็นเงิน 530 ล้านบาท)
8. การประเมินผล โดยให้มีการประเมินผลโครงการฯ หลังเสร็จสิ้นกำหนดเวลาดำเนินการ
9. มาตรการคู่ขนาน ให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลร่วมกับกระทรวงดำเนินการตามแผนปรับบทบาทภารกิจตามมาตรการปรับภาคราชการในสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายลดอัตรากำลังภายในปีงบประมาณ 2544 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ของอัตรากำลังทั้งกระทรวง และให้รายงานผลการดำเนินการต่อคณะกรรมการโครงการฯ
ทั้งนี้ ในการดำเนินการตามโครงการฯ ดังกล่าว ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม เช่นเดียวกับกรณีเกษียณอายุราชการด้วย (โดยไม่มีข้อยกเว้นกับข้าราชการบางประเภท เช่น กรณีข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 มีนาคม 2543--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการและรายละเอียดข้อเสนอโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด รุ่นที่ 2 (ปีงบประมาณ 2544) ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ดังนี้
1. ให้คณะกรรมการโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามโครงการฯ โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) กำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อเป็นแนวทางสำหรับให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ
2) พิจารณาให้ความเห็นชอบให้ข้าราชการเข้าร่วมโครงการฯ ปีงบประมาณ 2544
3) ควบคุม กำกับ ติดตามเพื่อให้สามารถจ่ายเงินแก่ผู้ออกจากราชการตามโครงการฯ ได้ภายในเดือนตุลาคม 2543
4) กำกับติดตามเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการฯ ในการนี้ให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการโครงการฯ มีหน้าที่ กำกับ ดูแล ตรวจสอบ แนะนำและชี้แจงให้กระทรวง ทบวง กรม ปฏิบัติการตามโครงการฯ และให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากส่วนราชการ ข้าราชการ หรือให้ผู้แทนส่วนราชการหรือข้าราชการมาชี้แจงข้อเท็จจริง และให้มีอำนาจสั่งให้กระทรวง ทบวง กรม รายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามโครงการ
2. ให้กระทรวงการคลังดำเนินการ
1) ยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ พ.ศ. 2542 เพื่อให้ข้าราชการทหารผู้มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ
2) ยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2535 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ไม่ต้องชดใช้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
3) ออกระเบียบหรือแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ทุกส่วนราชการจ่ายเงินให้แก่ผู้ออกจากราชการตามโครงการฯ ภายในเดือนตุลาคม 2543
3. ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณและออกระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
4. ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโครงการฯ นี้ต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากสำนักงาน ก.พ. เสนอว่า ก.พ. ได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงาน ก.พ. เรื่อง โครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด ปีงบประมาณ 2544 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2543 แล้วมีมติเห็นชอบในหลักการและมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ. รับความเห็นและข้อสังเกตของ ก.พ. เกี่ยวกับชื่อโครงการ การกำหนดวันเริ่มประชาสัมพันธ์ วันเปิด และวันปิดรับสมัครผู้เข้าโครงการ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย และการบรรจุกลับเป็นข้าราชการหรือพนักงานประจำในหน่วยงานของรัฐไปปรึกษาหารือกับคณะกรรมการโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด ได้ผลประการใดให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
นอกจากนี้ คณะกรรมการโครงการฯ ซึ่งมีผู้แทนสำนักงาน ก.พ. ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนัก-งบประมาณ และผู้แทนคณะกรรมการข้าราชการประเภทต่าง ๆ เป็นกรรมการ ได้ประชุมพิจารณาข้อเสนอโครงการฯ ตลอดจนความเห็นและข้อสังเกตของ ก.พ. แล้ว มีมติให้คงวัตถุประสงค์และหลักการของโครงการฯ โดยปรับปรุงรายละเอียดบางส่วนของโครงการฯ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการรุ่นที่ 1
สำหรับโครงการฯ รุ่นที่ 2 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ เพื่อปรับสัดส่วนและลดขนาดกำลังคนภาครัฐให้มีขนาดเล็ก กระทัดรัด แต่มีประสิทธิภาพสูง โดยจูงใจให้ข้าราชการออกจากราชการก่อนการเกษียณ
2. หลักการและเป้าหมาย เป็นความสมัครใจและความประสงค์ร่วมกันของข้าราชการและราชการ และเป็นสิทธิของทางราชการที่จะพิจารณาให้ข้าราชการเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการและไม่ทำให้งานในราชการเสียหาย โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ ประมาณ 30,000 คน ในกรณีที่มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ เกินกว่า 30,000 คน ให้คณะกรรมการโครงการฯ มีอำนาจพิจารณาให้ความเห็นชอบเพิ่มเติมได้ แต่เมื่อรวมกับจำนวนผู้ออกจากราชการตามโครงการฯ รุ่นที่ 1 แล้ว ต้องไม่เกิน 60,000 คน (รุ่นที่ 1 มีจำนวน 23,216 คน)
3. คุณสมบัติ ผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
- เป็นข้าราชการประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังนี้ 1) ข้าราชการพลเรือนสามัญ 2) ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย 3) ข้าราชการครู 4) ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ 5) ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ 6) ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ 7) ข้าราชการตำรวจ 8) ข้าราชการทหาร และข้าราชการประเภทอื่นที่ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนตามที่ คณะรัฐมนตรีกำหนด
- เป็นผู้มีอายุหรือเวลาราชการ ดังนี้
1) มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป สำหรับข้าราชการฝ่ายพลเรือน (นับถึงวันที่ 30 กันยายน 2543) และมีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป สำหรับข้าราชการทหาร (ในการนี้ให้กระทรวงการคลังยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ พ.ศ. 2542) หรือมีเวลาราชการตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป (นับถึงวันที่ 30 กันยายน 2543) โดยไม่รวมเวลาทวีคูณ
2) มีเวลาราชการที่เหลือไม่น้อยกว่า 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543
3) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสอบสวนหรือสอบหาข้อเท็จจริงทางวินัย หรือพิจารณาโทษทางวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น ๆ หรือเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา ซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
4) ไม่เป็นผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใด ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น ๆ
ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่ยังอยู่ระหว่างปฏิบัติราชการชดใช้ตามที่ได้เคยทำสัญยากับส่วนราชการในการไปศึกษา ฝึกอบรมหรือปฏิบัติการวิจัย จะต้องชดใช้เงินตามสัญญาผูกพันด้วย
4. สิ่งจูงใจ ให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับเงินและสิทธิประโยชน์ ดังนี้
4.1 ส่วนที่เป็นตัวเงิน
1) เงินขวัญถุง เป็นจำนวนเงินเท่ากับ เงินเดือนเดือนสุดท้าย x 7 โดยแบ่งจ่าย 2 งวด ปีละงวดเป็นจำนวนเงินเท่า ๆ กัน
2) เงินเพิ่มหรือเงินช่วยเหลือรายเดือนผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ร.บ.) เท่ากับ
ช.ร.บ. = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการที่เหลือ (ปี)
50
ทั้งนี้ ช.ร.บ. จะต้องไม่สูงกว่าร้อยละ 20 ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย และเมื่อรวมกับบำนาญแล้วต้องไม่เกินเงินเดือนเดือนสุดท้าย
4.2 สิทธิประโยชน์อื่น
1) มีสิทธิได้รับพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี
2) ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในส่วนของเงินที่ได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ เป็นสมาชิก กบข.
3) ได้รับสิทธิประโยชน์ไม่ต้องชดใช้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2535 กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติ และให้จ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาต่อไป ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ กู้เงินตามโครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคารอาคารสงเคราะห์
นอกจากนี้ เห็นควรให้ผู้ออกจากราชการตามโครงการฯ รุ่นที่ 1 ชำระดอกเบี้ยในอัตราเดิมก่อนออกจากราชการ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543 ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลังยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการดังกล่าว
4) มีสิทธิได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
5. หลักเกณฑ์และวิธีการ
5.1 ให้สำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลัง ออกระเบียบหรือแนวทางปฏิบัติ และเร่งรัดให้ทุกส่วนราชการจ่ายเงินให้แก่ผู้ออกจากราชการตามโครงการฯ ภายในเดือนตุลาคม 2543
5.2 ให้ส่วนราชการยุบเลิกตำแหน่งไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนตำแหน่งที่ว่างลงจากโครงการฯสำหรับตำแหน่งที่เหลือร้อยละ 20 ให้นำมารวมกัน แล้วมอบให้คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) พิจารณาจัดสรรให้ส่วนราชการที่มีความจำเป็น หากจัดสรรไม่หมดให้ยุบเลิก
5.3 ไม่ให้ผู้ออกจากราชการตามโครงการฯ กลับเข้ามาเป็นข้าราชการหรือพนักงานประจำของหน่วยงานของรัฐ
6. กำหนดการรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 3 - 31 กรกฎาคม 2543 ทั้งนี้ หากผู้สมัครรายใดต้องการถอนใบสมัคร ให้ผู้นั้นยื่นหนังสือต่อส่วนราชการภายในวันที่ 1 - 15 สิงหาคม 2543
7. งบประมาณ ซึ่งรัฐจะต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นสุทธิสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ รุ่นที่ 2 จำนวน 30,000 คนเป็นเงิน 562 ล้านบาทในปีแรก และ 481 ล้านบาท ในปีที่สอง และจะคุ้มทุนในปีที่ 3 ของโครงการฯ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
7.1 เงินขวัญถุง ประมาณ 4,082 ล้านบาท แบ่งจ่ายเป็น 2 งวด ปีละงวด เป็นจำนวนเงินเท่า ๆ กันปีละ 2,041 ล้านบาท
7.2 บำเหน็จบำนาญ ประมาณ 4,643 ล้านบาท/ปี และเงินเพิ่มบำนาญ 767 ล้านบาท/ปี รวมเป็นเงิน 5,410 ล้านบาท/ปี ซึ่งจะต้องตั้งเป็นงบกลางเพื่อรองรับรายจ่ายบำเหน็จบำนาญที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ
7.3 ในการนี้ รัฐจะประหยัดรายจ่ายหมวดเงินเดือนของผู้เข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งเงินชดเชย และเงินสมทบในระบบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการในปีแรกเป็นเงิน 7,143 ล้านบาท และในปีที่สอง เป็นเงิน 7,500 ล้านบาท (ตัวเลขก่อนหักรายจ่ายในการคงตำแหน่งในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งในปีแรก เป็นเงิน254 ล้านบาท และในปีที่สองเป็นเงิน 530 ล้านบาท)
8. การประเมินผล โดยให้มีการประเมินผลโครงการฯ หลังเสร็จสิ้นกำหนดเวลาดำเนินการ
9. มาตรการคู่ขนาน ให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลร่วมกับกระทรวงดำเนินการตามแผนปรับบทบาทภารกิจตามมาตรการปรับภาคราชการในสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายลดอัตรากำลังภายในปีงบประมาณ 2544 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ของอัตรากำลังทั้งกระทรวง และให้รายงานผลการดำเนินการต่อคณะกรรมการโครงการฯ
ทั้งนี้ ในการดำเนินการตามโครงการฯ ดังกล่าว ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม เช่นเดียวกับกรณีเกษียณอายุราชการด้วย (โดยไม่มีข้อยกเว้นกับข้าราชการบางประเภท เช่น กรณีข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 มีนาคม 2543--