คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานสรุปสถานการณ์เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2544 พร้อมทั้งปัญหาอุปสรรคและแนวทางดำเนินการในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 และปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น สรุปได้ดังนี้
1. ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2544 ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายเงินงบประมาณแล้วทั้งสิ้น 454,344ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 50 ของวงเงินงบประมาณ (910,000 ล้านบาท) ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราการเบิกจ่ายในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อน (ร้อยละ 50.23) โดยในจำนวนเงินที่เบิกจ่ายแล้วนี้เป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน66,577 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29.97 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุน (222,158 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 จำนวน 11,130 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.01
การดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตามแผนถือเป็นเรื่องที่ส่วนราชการได้ตกลงกับรัฐสภาแล้ว จึงควรเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของส่วนราชการที่จะเร่งรัดการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด
แต่เนื่องจากในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสำคัญที่ต้องการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อเป็นกลไกในการกระตุ้นเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้กรมบัญชีกลางติดตาม วิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหา และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับส่วนราชการ เพื่อผลักดันให้เม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว โดยได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับผลการใช้จ่ายเงินของหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบลงทุนสูงเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 32 หน่วยงาน
2. จากการติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานดังกล่าว ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนเมษายน 2544 โครงการส่วนใหญ่ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 และในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณ โดยปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงิน สรุปได้ดังนี้
2.1 ปัญหาของโครงการปกติ
1) ความไม่พร้อมของหน่วยงาน เนื่องจากยังไม่มีการออกแบบแปลนสำหรับการก่อสร้างหรือยังออกแบบไม่แล้วเสร็จ
2) หน่วยงานบางแห่งยังไม่มีความพร้อมในการจัดหาพื้นที่ที่จะใช้ในการดำเนินการ รวมทั้งมีปัญหาเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน
3) การประกวดราคาของหน่วยงานบางแห่งต้องยกเลิก และต้องจัดให้มีการประกวดราคาใหม่เนื่องจากวงเงินที่ผู้รับจ้างเสนอเกินกว่าวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
4) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 เรื่องมาตรการปรับลดราคากลางสิ่งก่อสร้างของหน่วยงานภาครัฐลงร้อยละ 10 แม้ว่าจะมีผลให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในภาพรวมได้ แต่ในบางกรณีมีผลทำให้ขั้นตอนในการจัดซื้อจัดจ้างต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น
ปัญหาดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้ส่วนราชการไม่สามารถเริ่มดำเนินงานได้ทันทีตั้งแต่ต้นปีงบประมาณและในขณะนี้หลายหน่วยงานอยู่ระหว่างการขอเปลี่ยนแปลงรูปแบบรายการและราคากลางกับสำนักงบประมาณ จึงยังไม่สามารถเบิกจ่ายเงินได้
2.2 ปัญหาของโครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1) การจัดสรรงบประมาณยังไม่สอดคล้องกับศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณโดยเฉพาะงบลงทุนมีจำนวนน้อยมาก กล่าวคือ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2544 มีการเบิกจ่ายงบลงทุนเพียง 787.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.94 ของวงเงินงบประมาณโครงการถ่ายโอนฯ (19,997.0 ล้านบาท)
2) ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2538 ซึ่งการดำเนินการแต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลาดำเนินการนาน รวมทั้งมีขั้นตอนการขออนุมัติเบิกจ่ายเงินจากองค์การบริหารส่วนตำบลถึงปลัดจังหวัดก่อนวางฎีกาเบิกเงินนานประมาณ 1 - 2 เดือน
3) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 เรื่องมาตรการปรับลดราคากลางสิ่งก่อสร้างของหน่วยงานภาครัฐลงร้อยละ 10 แม้ว่าจะมีผลให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในภาพรวมได้ แต่ในบางกรณีมีผลทำให้ขั้นตอนในการจัดซื้อจัดจ้างต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น
4) บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังขาดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับขั้นตอนและการปฏิบัติตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง รวมทั้งยังขาดความชำนาญในด้านช่าง
5) การเปลี่ยนแปลงพื้นที่เนื่องจากปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดิน พื้นที่ดำเนินงานไม่เหมาะสม น้ำท่วม ฯลฯ ทำให้ต้องมีการออกแบบแปลนใหม่ ส่งผลให้ต้องใช้เวลาในการดำเนินงานมากขึ้น
3. มาตรการที่กระทรวงการคลังได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการแล้ว ได้แก่ การให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงกำชับหัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดเร่งรัดการดำเนินงานตามโครงการต่าง ๆ โดยเร็ว โดยเฉพาะโครงการที่ยังไม่ก่อหนี้ผูกพัน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดติดตามเร่งรัดการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาครวมทั้งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้สำนักงบประมาณรับไปพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับความสามารถในการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการ ซึ่งในเรื่องนี้เห็นควรผลักดันให้มีผลในทางปฏิบัติต่อไป
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการเพิ่มเติมเพื่อเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณในปีงบประมาณพ.ศ. 2544 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. โครงการปกติ
มาตรการระยะสั้น
1) เห็นควรให้แต่ละกระทรวงสำรวจโครงการงบลงทุนในส่วนที่เป็นโครงการใหม่ซึ่งใช้เงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ของส่วนราชการในสังกัดที่ยังไม่ได้ดำเนินการก่อหนี้ผูกพัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและความพร้อมของโครงการ หากผลปรากฏว่าโครงการใดไม่มีความพร้อมหรือยังไม่มีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน ให้พิจารณาทบทวนหรือยกเลิกโครงการดังกล่าวโดยเร็ว
2) เห็นควรให้แต่ละกระทรวงกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบลงทุนให้มีอัตราการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 และใช้อัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเป็นเกณฑ์ในการวัดประสิทธิภาพในการดำเนินงานของหน่วยงานในแต่ละปีงบประมาณด้วย
3) กระทรวงการคลังจะกำหนดมาตรการการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีที่เข้มงวดขึ้น โดยเฉพาะโครงการที่ยังไม่มีหนี้ผูกพัน และส่วนราชการดำเนินงานล่าช้าโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เพื่อให้ส่วนราชการตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการเร่งรัดการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ เพื่อรักษาวินัยทางการคลังอย่างเคร่งครัด
มาตรการระยะต่อไป
เห็นควรให้สำนักงบประมาณเร่งรัดการปฏิรูประบบงบประมาณไปสู่ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานโดยเร็ว เพื่อกระจายอำนาจและความรับผิดชอบให้กับหัวหน้าส่วนราชการให้มีอิสระในการบริหารจัดการงบประมาณเพิ่มขึ้น และใช้ผลสำเร็จของงานเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน
2. โครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มาตรการระยะสั้น
1) เห็นควรให้กระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเร่งรัดการดำเนินการของหน่วยงานระดับอำเภอและจังหวัดตามขั้นตอนในการจัดซื้อจัดจ้างและการขออนุมัติเบิกจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้รวดเร็วขึ้น
2) กรณีที่ท้องถิ่นไม่มีความพร้อมในการดำเนินโครงการ เห็นควรให้กระทรวงมหาดไทยเร่งประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อส่งคืนโครงการให้ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณดำเนินงานแทน ทั้งนี้การส่งคืนโครงการควรดำเนินการอย่างช้าภายในเดือนมิถุนายน 2544 เพื่อให้ส่วนราชการสามารถดำเนินงานได้ทันภายในปีงบประมาณและไม่ให้มีปัญหาในการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี
มาตรการระยะต่อไป
เห็นควรให้สำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจทบทวนหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณโครงการถ่ายโอนฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 และปีต่อไป โดยให้คำนึงถึงศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภท
ทั้งนี้ หากมีการดำเนินการตามมาตรการที่กระทรวงการคลังเสนอดังกล่าวอย่างจริงจัง คาดว่าจะส่งผลให้อัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ในภาพรวมเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนจากร้อยละ88.47 เป็นร้อยละ 91 โดยอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนจะเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนจากร้อยละ 64.31 เป็นร้อยละ 70 ซึ่งคิดเป็นรายจ่ายงบลงทุนที่จะเบิกจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จำนวน 155,511 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 15 พ.ค.2544
-สส-
1. ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2544 ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายเงินงบประมาณแล้วทั้งสิ้น 454,344ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 50 ของวงเงินงบประมาณ (910,000 ล้านบาท) ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราการเบิกจ่ายในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อน (ร้อยละ 50.23) โดยในจำนวนเงินที่เบิกจ่ายแล้วนี้เป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน66,577 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29.97 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุน (222,158 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 จำนวน 11,130 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.01
การดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตามแผนถือเป็นเรื่องที่ส่วนราชการได้ตกลงกับรัฐสภาแล้ว จึงควรเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของส่วนราชการที่จะเร่งรัดการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด
แต่เนื่องจากในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสำคัญที่ต้องการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อเป็นกลไกในการกระตุ้นเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้กรมบัญชีกลางติดตาม วิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหา และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับส่วนราชการ เพื่อผลักดันให้เม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว โดยได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับผลการใช้จ่ายเงินของหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบลงทุนสูงเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 32 หน่วยงาน
2. จากการติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานดังกล่าว ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนเมษายน 2544 โครงการส่วนใหญ่ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 และในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณ โดยปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงิน สรุปได้ดังนี้
2.1 ปัญหาของโครงการปกติ
1) ความไม่พร้อมของหน่วยงาน เนื่องจากยังไม่มีการออกแบบแปลนสำหรับการก่อสร้างหรือยังออกแบบไม่แล้วเสร็จ
2) หน่วยงานบางแห่งยังไม่มีความพร้อมในการจัดหาพื้นที่ที่จะใช้ในการดำเนินการ รวมทั้งมีปัญหาเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน
3) การประกวดราคาของหน่วยงานบางแห่งต้องยกเลิก และต้องจัดให้มีการประกวดราคาใหม่เนื่องจากวงเงินที่ผู้รับจ้างเสนอเกินกว่าวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
4) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 เรื่องมาตรการปรับลดราคากลางสิ่งก่อสร้างของหน่วยงานภาครัฐลงร้อยละ 10 แม้ว่าจะมีผลให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในภาพรวมได้ แต่ในบางกรณีมีผลทำให้ขั้นตอนในการจัดซื้อจัดจ้างต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น
ปัญหาดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้ส่วนราชการไม่สามารถเริ่มดำเนินงานได้ทันทีตั้งแต่ต้นปีงบประมาณและในขณะนี้หลายหน่วยงานอยู่ระหว่างการขอเปลี่ยนแปลงรูปแบบรายการและราคากลางกับสำนักงบประมาณ จึงยังไม่สามารถเบิกจ่ายเงินได้
2.2 ปัญหาของโครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1) การจัดสรรงบประมาณยังไม่สอดคล้องกับศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณโดยเฉพาะงบลงทุนมีจำนวนน้อยมาก กล่าวคือ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2544 มีการเบิกจ่ายงบลงทุนเพียง 787.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.94 ของวงเงินงบประมาณโครงการถ่ายโอนฯ (19,997.0 ล้านบาท)
2) ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2538 ซึ่งการดำเนินการแต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลาดำเนินการนาน รวมทั้งมีขั้นตอนการขออนุมัติเบิกจ่ายเงินจากองค์การบริหารส่วนตำบลถึงปลัดจังหวัดก่อนวางฎีกาเบิกเงินนานประมาณ 1 - 2 เดือน
3) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 เรื่องมาตรการปรับลดราคากลางสิ่งก่อสร้างของหน่วยงานภาครัฐลงร้อยละ 10 แม้ว่าจะมีผลให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในภาพรวมได้ แต่ในบางกรณีมีผลทำให้ขั้นตอนในการจัดซื้อจัดจ้างต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น
4) บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังขาดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับขั้นตอนและการปฏิบัติตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง รวมทั้งยังขาดความชำนาญในด้านช่าง
5) การเปลี่ยนแปลงพื้นที่เนื่องจากปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดิน พื้นที่ดำเนินงานไม่เหมาะสม น้ำท่วม ฯลฯ ทำให้ต้องมีการออกแบบแปลนใหม่ ส่งผลให้ต้องใช้เวลาในการดำเนินงานมากขึ้น
3. มาตรการที่กระทรวงการคลังได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการแล้ว ได้แก่ การให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงกำชับหัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดเร่งรัดการดำเนินงานตามโครงการต่าง ๆ โดยเร็ว โดยเฉพาะโครงการที่ยังไม่ก่อหนี้ผูกพัน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดติดตามเร่งรัดการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาครวมทั้งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้สำนักงบประมาณรับไปพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับความสามารถในการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการ ซึ่งในเรื่องนี้เห็นควรผลักดันให้มีผลในทางปฏิบัติต่อไป
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการเพิ่มเติมเพื่อเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณในปีงบประมาณพ.ศ. 2544 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. โครงการปกติ
มาตรการระยะสั้น
1) เห็นควรให้แต่ละกระทรวงสำรวจโครงการงบลงทุนในส่วนที่เป็นโครงการใหม่ซึ่งใช้เงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ของส่วนราชการในสังกัดที่ยังไม่ได้ดำเนินการก่อหนี้ผูกพัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและความพร้อมของโครงการ หากผลปรากฏว่าโครงการใดไม่มีความพร้อมหรือยังไม่มีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน ให้พิจารณาทบทวนหรือยกเลิกโครงการดังกล่าวโดยเร็ว
2) เห็นควรให้แต่ละกระทรวงกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบลงทุนให้มีอัตราการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 และใช้อัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเป็นเกณฑ์ในการวัดประสิทธิภาพในการดำเนินงานของหน่วยงานในแต่ละปีงบประมาณด้วย
3) กระทรวงการคลังจะกำหนดมาตรการการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีที่เข้มงวดขึ้น โดยเฉพาะโครงการที่ยังไม่มีหนี้ผูกพัน และส่วนราชการดำเนินงานล่าช้าโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เพื่อให้ส่วนราชการตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการเร่งรัดการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ เพื่อรักษาวินัยทางการคลังอย่างเคร่งครัด
มาตรการระยะต่อไป
เห็นควรให้สำนักงบประมาณเร่งรัดการปฏิรูประบบงบประมาณไปสู่ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานโดยเร็ว เพื่อกระจายอำนาจและความรับผิดชอบให้กับหัวหน้าส่วนราชการให้มีอิสระในการบริหารจัดการงบประมาณเพิ่มขึ้น และใช้ผลสำเร็จของงานเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน
2. โครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มาตรการระยะสั้น
1) เห็นควรให้กระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเร่งรัดการดำเนินการของหน่วยงานระดับอำเภอและจังหวัดตามขั้นตอนในการจัดซื้อจัดจ้างและการขออนุมัติเบิกจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้รวดเร็วขึ้น
2) กรณีที่ท้องถิ่นไม่มีความพร้อมในการดำเนินโครงการ เห็นควรให้กระทรวงมหาดไทยเร่งประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อส่งคืนโครงการให้ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณดำเนินงานแทน ทั้งนี้การส่งคืนโครงการควรดำเนินการอย่างช้าภายในเดือนมิถุนายน 2544 เพื่อให้ส่วนราชการสามารถดำเนินงานได้ทันภายในปีงบประมาณและไม่ให้มีปัญหาในการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี
มาตรการระยะต่อไป
เห็นควรให้สำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจทบทวนหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณโครงการถ่ายโอนฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 และปีต่อไป โดยให้คำนึงถึงศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภท
ทั้งนี้ หากมีการดำเนินการตามมาตรการที่กระทรวงการคลังเสนอดังกล่าวอย่างจริงจัง คาดว่าจะส่งผลให้อัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ในภาพรวมเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนจากร้อยละ88.47 เป็นร้อยละ 91 โดยอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนจะเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนจากร้อยละ 64.31 เป็นร้อยละ 70 ซึ่งคิดเป็นรายจ่ายงบลงทุนที่จะเบิกจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จำนวน 155,511 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 15 พ.ค.2544
-สส-