ทำเนียบรัฐบาล--22 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจญ์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และเห็นควรให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป เพื่อให้การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ของชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลามได้รับการส่งเสริมอย่างสมบูรณ์ทั้งในด้านศาสนาความสะดวกปลอดภัย มีหลักประกันในการเดินทาง และป้องกันการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนและช่วยเหลือกิจการฮัจญ์นั้น ให้กระทรวงศึกษาธิการเสนอโครงการตามความจำเป็น เพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป
สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ มีดังนี้
1. กำหนดให้มีการจัดกิจการฮัจญ์ ซึ่งหมายความว่า การจัดบริการ การอำนวยความสะดวก หรือความปลอดภัยก่อนการเดินทาง ระหว่างเดินทาง ระหว่างประกอบพิธีฮัจญ์ หรือการเดินทางกลับถึงภูมิลำเนา รวมทั้งกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางของชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลาม เพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
2. กำหนดให้ผู้มีสิทธิขอรับใบอนุญาตเป็นผู้จัดกิจการฮัจญ์ ต้องเป็นนิติบุคคล และกำหนดกิจการที่ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
3. ให้จุฬาราชมนตรีเป็นอะมีรุ้ลฮัจญ์ หรือ รออิสบิซาติลฮัจญ์ หรือ รออิสบิซาติลฮัจญ์ อัลรัสมียะห์ (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจญ์ทางการ) ให้จุฬาราชมนตรีเสนอชื่อบุคคลที่เห็นสมควรจำนวนสามคนต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นอะมีรุ้ลฮัจญ์ หรือ รออิสบิซาติลฮัจญ์ อัลรัสมียะห์ (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจญ์ทางการ) จำนวนหนึ่งคน
4. ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานกรรมการมีหน้าที่กำหนดระเบียบ ข้อบังคับ เงื่อนไข หรือมาตรการใดๆ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในอันที่จะให้ความคุ้มครองผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ให้ได้รับความสะดวกปลอดภัยและมีหลักประกัน และในการควบคุมกิจการซึ่งต้องได้รับอนุญาต และการบริหารกองทุน
5. กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่ดำเนินกิจการฮัจญ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจญ์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และเห็นควรให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป เพื่อให้การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ของชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลามได้รับการส่งเสริมอย่างสมบูรณ์ทั้งในด้านศาสนาความสะดวกปลอดภัย มีหลักประกันในการเดินทาง และป้องกันการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนและช่วยเหลือกิจการฮัจญ์นั้น ให้กระทรวงศึกษาธิการเสนอโครงการตามความจำเป็น เพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป
สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ มีดังนี้
1. กำหนดให้มีการจัดกิจการฮัจญ์ ซึ่งหมายความว่า การจัดบริการ การอำนวยความสะดวก หรือความปลอดภัยก่อนการเดินทาง ระหว่างเดินทาง ระหว่างประกอบพิธีฮัจญ์ หรือการเดินทางกลับถึงภูมิลำเนา รวมทั้งกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางของชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลาม เพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
2. กำหนดให้ผู้มีสิทธิขอรับใบอนุญาตเป็นผู้จัดกิจการฮัจญ์ ต้องเป็นนิติบุคคล และกำหนดกิจการที่ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
3. ให้จุฬาราชมนตรีเป็นอะมีรุ้ลฮัจญ์ หรือ รออิสบิซาติลฮัจญ์ หรือ รออิสบิซาติลฮัจญ์ อัลรัสมียะห์ (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจญ์ทางการ) ให้จุฬาราชมนตรีเสนอชื่อบุคคลที่เห็นสมควรจำนวนสามคนต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นอะมีรุ้ลฮัจญ์ หรือ รออิสบิซาติลฮัจญ์ อัลรัสมียะห์ (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจญ์ทางการ) จำนวนหนึ่งคน
4. ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานกรรมการมีหน้าที่กำหนดระเบียบ ข้อบังคับ เงื่อนไข หรือมาตรการใดๆ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในอันที่จะให้ความคุ้มครองผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ให้ได้รับความสะดวกปลอดภัยและมีหลักประกัน และในการควบคุมกิจการซึ่งต้องได้รับอนุญาต และการบริหารกองทุน
5. กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่ดำเนินกิจการฮัจญ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2543--