ทำเนียบรัฐบาล--27 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานเรื่องนโยบายและยุทธศาสตร์สินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์โลก
1.1 การปลูกพืชตัดต่อสารพันธุกรรมเชิงการค้าได้มีการริเริ่มตั้งแต่ต้นทศวรรษนี้ ปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกพืชตัดแต่งพันธุกรรมขยายตัวเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2542 พื้นที่เพาะปลูกพืชตัดแต่งสารพันธุกรรมมี 249.38 ล้านไร่ โดยมีอัตราการขยายตัวในระยะ 3 ปี เฉลี่ยปีละประมาณ 1 เท่าตัว
1.2 ประเทศผู้ผลิตพืชตัดต่อสารพันธุกรรมเชิงการค้าในปัจจุบันมีจำนวน 12 ประเทศ ประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา แคนาดา มีส่วนแบ่งในพื้นที่เพาะปลูกรวมพืชตัดต่อสารพันธุกรรมของโลก ประมาณร้อยละ 71 ร้อยละ 17 ร้อยละ 10 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส สเปน อาฟริกาใต้ เม็กซิโก โปรตุเกส รูมาเนีย ยูเครน ซึ่งปัจจุบันมีส่วนแบ่งพื้นที่เพาะปลูกประเทศละไม่เกินร้อยละ 1 นอกจากนี้ยังมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกในประเทศบราซิล ประเทศที่คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวสูงในระยะใกล้นี้ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน อาฟริการใต้ เป็นต้น
1.3 ชนิดผลผลิตพืชตัดต่อสารพันธุกรรมที่มีการเพาะปลูกเชิงการค้าในปัจจุบัน ได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฝ้าย คาโนลา พืชน้ำมัน มันฝรั่ง สค๊อตซ มะละกอ มะเขือเทศ โดยพืชสำคัญคือถั่วเหลืองและข้าวโพด ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกรวมกันมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ปลูกพืชตัดต่อสารพันธุกรรมของโลก
2. ประเด็นปัญหา
เนื่องจากได้มีความวิตกกังวลต่อความปลอดภัยของพืชตัดแต่งพันธุกรรม (GMO) ที่มีต่อสภาพแวดล้อมและผู้บริโภค ประเทศพัฒนาแล้วจึงได้มีการออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพและความปลอดภัยทางด้านอาหาร ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งในทางการค้า โดยเฉพาะสหภาพยุโรปกับสหรัฐอเมริกา สำหรับปัญหาของไทยเกี่ยวกับพืชตัดแต่งพันธุกรรมมี ดังนี้
2.1 สถานภาพของไทยในปัจจุบันยังไม่มีการเพาะปลูกพืชตัดต่อสารพันธุกรรม แต่ไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปหลายชนิดที่ต้องพึ่งพาผลผลิตเกษตรตัดต่อสารพันธุกรรมเพื่อนำเข้าเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และอาหารสำเร็จรูปของไทยเพื่อส่งออก เนื่องจากยังขาดศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตภายในประเทศได้พอเพียงความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถั่วเหลืองและข้าวโพด ซึ่งปัจจุบันต้องนำเข้าสูงถึง 1.9 ล้านตันต่อปี โดยแหล่งนำเข้าสำคัญเป็นแหล่งผลิตพืชตัดต่อสารพันธุกรรม กล่าวคือ ร้อยละ 70 ของผลผลิตถั่วเหลืองนำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา และบราซิล และร้อยละ 42 ของผลผลิตข้าวโพดนำเข้ามาจากอาร์เจนตินา สหรัฐอเมริกา และบราซิล การนำเข้าจากแหล่งอื่นยังมีข้อจำกัดทั้งปริมาณที่เพียงพอ สม่ำเสมอ และต้นทุน
2.2 มีแนวโน้มการนำเรื่องผลผลิตเกษตรจากการตัดต่อสารพันธุกรรมมาเป็นเรื่องกีดกันทางการค้าในตลาดส่งออกของไทยหลายตลาด โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดเป้าหมายการส่งออกที่สำคัญตลาดหนึ่งของไทย โดยได้มีการออกกฎระเบียบในการนำเข้าผลผลิตเกษตรจากการตัดแต่งพันธุกรรม รวมทั้งมีการร้องขอจากผู้นำเข้าให้ผู้ส่งออกไทยให้รับรอง (Certify) ซึ่งสินค้าที่สามารถให้การรับรองได้ว่าเป็นสินค้า Non - GMOs จะมีราคาสูงกว่าสินค้า GMOs (แต่ทั้งนี้อาจมีต้นทุนที่สูงกว่าในการจัดหาและรับรองวัตถุดิบปลอด GMOs) นอกจากนั้นผู้บริโภคในตลาดนี้ยังมีความอ่อนไหวในเรื่องการบริโภคสินค้า GMOs
2.3 ขาดความชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลเรื่องกฎระเบียบของประเทศคู่ค้าต่าง ๆ เช่น การเข้าใจว่ามีการห้ามนำเข้าสินค้าเกษตร ตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อจำหน่ายในตลาดสหภาพยุโรป หรือสหภาพยุโรปยังบังคับติดฉลากสินค้าที่ผลิตหรือใช้วัตถุดิบจากผลผลิตเกษตรตัดแต่งพันธุกรรมทุกชนิด เป็นต้น รวมทั้งการไม่ชัดเจนที่จะสามารถแยกแยะระหว่างกฎระเบียบของรัฐ (Regulation) กับรสนิยมผู้บริโภค (Consumer preference)
2.4 กลไกการดำเนินงานที่เหมาะสมของไทยเพื่อรองรับปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการส่งออกของไทย เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีจำนวนมาก ทำให้ไม่ชัดเจนเรื่องบทบาทและระบบการประสานงานที่ดี เช่น หน่วยงานตรวจสอบรับรอง เป็นต้น
2.5 ระดับในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้ของไทย ตลอดจนพื้นฐานความรู้ความเข้าใจของบุคลากรของภาครัฐ เอกชน และสาธารณชนเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังมีอยู่อย่างจำกัด
3. มติคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ)
คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้มีคำสั่งที่ 3/2542 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2542 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการ และมีองค์ประกอบคณะอนุกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่พิจารณาและกำหนดท่าทีกลยุทธ์ของไทยในการเจรจาภายใต้องค์การการค้าโลก รวมทั้งกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติเกี่ยวกับสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งคณะกรรมการ กนศ ได้พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบแนวนโยบายดังกล่าวของคณะอนุกรรมการฯ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2542 และมีมติเพิ่มเติม ดังนี้
3.1 การผลิต
1) ไม่ยินยอมให้มีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ (seed) GMOs มาเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์จนกว่าจะมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่ามีความปลอดภัยทั้งด้านชีวภาพและด้านอาหาร (bio safety และ food safety)
2) ยินยอมให้มีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ GMOs เพื่อทำการวิจัยเท่านั้น
3) ให้กรมวิชาการเกษตรดูแลการรั่วไหลของเมล็ดพันธุ์ GMOs ไปสู่แปลงเพาะปลูก โดยใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507
3.2 การส่งออก มีมาตรการ 2 ด้านที่เกี่ยวกับสินค้าส่งออกของไทย คือ
1) ใช้ความตกลงโดยสมัครใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายภาคเอกชนในการออกมาตรการด้านใบรับรอง (certificate) หรือติดฉลาก (labelling)
2) หากประเทศผู้นำเข้าต้องการการตรวจสอบและออกใบรับรองจากภาครัฐให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลอยู่แล้ว เช่น กรมประมง กรมปศุสัตว์ เป็นผู้ออกใบรับรองโดยให้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติเป็นผู้ตรวจสอบ
3.3 การนำเข้า
1) เมล็ดพันธุ์ (seed) ที่เป็น GMOs ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำกับดูแลตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ซึ่งให้นำเข้าเฉพาะเพื่อการทดลองและวิจัยเท่านั้น
2) การนำเข้าเมล็ดพืข (grain)
- ให้กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าต่างประเทศซึ่งมีอำนาจตามพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ใช้อำนาจกำกับการนำเข้าสินค้า GMOs ในกรณีที่เห็นว่ามีผลกระทบต่อผู้บริโภค
- เนื่องจากยังไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่ามีความเสียหายจากสินค้าที่ผลิตหรือใช้ GMOs และยังไม่มีประเทศใดใช้มาตรการควบคุมหรือห้ามนำเข้าสินค้าที่มี GMOs ดังนั้นจึงยังไม่จำเป็นต้องออกมาตรการกำกับดูแลการนำเข้าสินค้าที่มี GMOs เป็นพิเศษ
- ให้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติควบคุมดูแลตรวจสอบว่า สินค้านำเข้าใดเป็นสินค้าตัดแต่งพันธุกรรม ซึ่งจะต้องมีการลงทุนพัฒนาด้านบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องมือตรวจสอบต่อไปในอนาคต
- ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ติดตามข้อมูลข่าวสารการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ทั้งจากต่างประเทศและภายในประเทศ เพื่อดูแลอย่างใกล้ชิดว่าสินค้า GMOs ใดจะมีผลกระทบต่อสุขอนามัยและความปลอดภัยของผู้บริโภค และรายงานต่อคณะอนุกรรมการนโยบายสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อดำเนินการต่อไป
3.4 การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชนให้มากที่สุด
นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการฯ ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2543 ได้มีมติเพิ่มเติมด้านการส่งออก โดยให้เพิ่มหน่วยงานตรวจสอบสินค้า GMOs ได้ตามความสามารถ เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ นอกเหนือจากศูนย์พันธุวิศวกรรมฯ อย่างไรก็ตาม การออกใบรับรองให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่หน่วยงานดูแลอยู่แล้วตามกฎหมาย และเป็นหน่วยงานที่ประเทศคู่ค้าให้การยอมรับ (Competent Authority) ซึ่งคณะกรรมการ กนศ. ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2543 ได้มีมติรับทราบ และขณะนี้คณะอนุกรรมการฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างนโยบายและแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพของไทยที่คณะทำงานกำหนดมาตรการทางด้านการผลิตและการค้าสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ ภายใต้คณะอนุกรรมการฯ จัดทำเพื่อนำเสนอ กนศ. ต่อไป
4. การดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
4.1 การนำเข้า GMOs เพื่อการวิจัย ตั้งแต่ได้ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2537 และตั้งแต่ปี 2538 ได้มีการอนุญาตให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนนำเข้าพืช GMOs เพื่อทำการทดลองวิจัย จำนวน 11 ครั้ง ได้แก่ เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ ฝ้าย ข้าวโพด พืชตระกูลแตง มะละกอ ข้าว ฝ้ายบีที ประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงค่อนข้างมากคือบริษัทมอนซานโต้ จำกัด ได้ขอนำเข้าฝ้ายบีที ซึ่งเป็นฝ้ายตัดต่อสารพันธุกรรม มีคุณสมบัติในการต่อต้านหนอนเจาะสมอฝ้ายซึ่งแมลงศัตรูพืชในแหล่งผลิตฝ้ายที่สำคัญของไทย ตั้งแต่ปี 2538 ต่อมาได้มีการอนุญาตให้นำเข้ามาทดสอบภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการความปลอดภัยด้านการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และคำแนะนำปรึกษาทางวิชาการจากคณะกรรมการกลางความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งผลการทดสอบภาคสนามเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 3 ปี ปรากฏผลว่ามีความปลอดภัยที่จะเพาะปลูกในประเทศไทย เนื่องจากไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น แมลงที่เป็นประโยชน์ เป็นต้น แต่ยังไม่มีข้อยุติและยอมรับจากองค์กรพัฒนาเอกชนและผู้บริโภคจำนวนหนึ่ง ปัจจุบันฝ้ายบีทีจึงยังอยู่ในสิ่งต้องห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
4.2 การยกเลิกรายการเมล็ดข้าวโพดและถั่วเหลืองตัดต่อสารพันธุกรรมจากการเป็นสิ่งต้องห้าม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศเรื่องกำหนดพืชจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้ามข้อยกเว้นและเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2543 โดยยกเว้นเฉพาะข้าวโพดและถั่วเหลืองที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมให้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์หรืออาหารสำหรับมนุษย์ หรือใช้เพื่อการอุตสาหกรรมไม่อยู่ในรายการสิ่งต้องห้าม
4.3 การจัดสรรเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร (ASPL) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2542 อนุมัติแผนงาน/โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร จำนวน 6 แผนงาน 20 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (2543 - 2546) โดยมีโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร ซึ่งได้รับการจัดสรรวงเงิน 1,150 ล้านบาท เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรในด้านต่าง ๆ ทั้งพืช ปศุสัตว์ ประมง และอื่น ๆ เช่น การจัดตั้งห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพ การจัดตั้ง Gene bank เป็นต้น
4.4 การแต่งตั้งคณะทำงานกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบและออกใบรับรองสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอนุกรรมการนโยบายสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ ได้จัดตั้งคณะทำงานกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบและออกใบรับรองสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ มีอำนาจหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์เพื่อกำหนดมาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจสอบสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ (GMOs) และกระบวนการตรวจสอบและออกใบรับรองของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้มาตรฐานสากล ตลอดจนให้มีกลไกในการประสานงานเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาห้องปฏิบัติการให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงใน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 มิ.ย. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานเรื่องนโยบายและยุทธศาสตร์สินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์โลก
1.1 การปลูกพืชตัดต่อสารพันธุกรรมเชิงการค้าได้มีการริเริ่มตั้งแต่ต้นทศวรรษนี้ ปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกพืชตัดแต่งพันธุกรรมขยายตัวเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2542 พื้นที่เพาะปลูกพืชตัดแต่งสารพันธุกรรมมี 249.38 ล้านไร่ โดยมีอัตราการขยายตัวในระยะ 3 ปี เฉลี่ยปีละประมาณ 1 เท่าตัว
1.2 ประเทศผู้ผลิตพืชตัดต่อสารพันธุกรรมเชิงการค้าในปัจจุบันมีจำนวน 12 ประเทศ ประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา แคนาดา มีส่วนแบ่งในพื้นที่เพาะปลูกรวมพืชตัดต่อสารพันธุกรรมของโลก ประมาณร้อยละ 71 ร้อยละ 17 ร้อยละ 10 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส สเปน อาฟริกาใต้ เม็กซิโก โปรตุเกส รูมาเนีย ยูเครน ซึ่งปัจจุบันมีส่วนแบ่งพื้นที่เพาะปลูกประเทศละไม่เกินร้อยละ 1 นอกจากนี้ยังมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกในประเทศบราซิล ประเทศที่คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวสูงในระยะใกล้นี้ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน อาฟริการใต้ เป็นต้น
1.3 ชนิดผลผลิตพืชตัดต่อสารพันธุกรรมที่มีการเพาะปลูกเชิงการค้าในปัจจุบัน ได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฝ้าย คาโนลา พืชน้ำมัน มันฝรั่ง สค๊อตซ มะละกอ มะเขือเทศ โดยพืชสำคัญคือถั่วเหลืองและข้าวโพด ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกรวมกันมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ปลูกพืชตัดต่อสารพันธุกรรมของโลก
2. ประเด็นปัญหา
เนื่องจากได้มีความวิตกกังวลต่อความปลอดภัยของพืชตัดแต่งพันธุกรรม (GMO) ที่มีต่อสภาพแวดล้อมและผู้บริโภค ประเทศพัฒนาแล้วจึงได้มีการออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพและความปลอดภัยทางด้านอาหาร ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งในทางการค้า โดยเฉพาะสหภาพยุโรปกับสหรัฐอเมริกา สำหรับปัญหาของไทยเกี่ยวกับพืชตัดแต่งพันธุกรรมมี ดังนี้
2.1 สถานภาพของไทยในปัจจุบันยังไม่มีการเพาะปลูกพืชตัดต่อสารพันธุกรรม แต่ไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปหลายชนิดที่ต้องพึ่งพาผลผลิตเกษตรตัดต่อสารพันธุกรรมเพื่อนำเข้าเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และอาหารสำเร็จรูปของไทยเพื่อส่งออก เนื่องจากยังขาดศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตภายในประเทศได้พอเพียงความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถั่วเหลืองและข้าวโพด ซึ่งปัจจุบันต้องนำเข้าสูงถึง 1.9 ล้านตันต่อปี โดยแหล่งนำเข้าสำคัญเป็นแหล่งผลิตพืชตัดต่อสารพันธุกรรม กล่าวคือ ร้อยละ 70 ของผลผลิตถั่วเหลืองนำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา และบราซิล และร้อยละ 42 ของผลผลิตข้าวโพดนำเข้ามาจากอาร์เจนตินา สหรัฐอเมริกา และบราซิล การนำเข้าจากแหล่งอื่นยังมีข้อจำกัดทั้งปริมาณที่เพียงพอ สม่ำเสมอ และต้นทุน
2.2 มีแนวโน้มการนำเรื่องผลผลิตเกษตรจากการตัดต่อสารพันธุกรรมมาเป็นเรื่องกีดกันทางการค้าในตลาดส่งออกของไทยหลายตลาด โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดเป้าหมายการส่งออกที่สำคัญตลาดหนึ่งของไทย โดยได้มีการออกกฎระเบียบในการนำเข้าผลผลิตเกษตรจากการตัดแต่งพันธุกรรม รวมทั้งมีการร้องขอจากผู้นำเข้าให้ผู้ส่งออกไทยให้รับรอง (Certify) ซึ่งสินค้าที่สามารถให้การรับรองได้ว่าเป็นสินค้า Non - GMOs จะมีราคาสูงกว่าสินค้า GMOs (แต่ทั้งนี้อาจมีต้นทุนที่สูงกว่าในการจัดหาและรับรองวัตถุดิบปลอด GMOs) นอกจากนั้นผู้บริโภคในตลาดนี้ยังมีความอ่อนไหวในเรื่องการบริโภคสินค้า GMOs
2.3 ขาดความชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลเรื่องกฎระเบียบของประเทศคู่ค้าต่าง ๆ เช่น การเข้าใจว่ามีการห้ามนำเข้าสินค้าเกษตร ตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อจำหน่ายในตลาดสหภาพยุโรป หรือสหภาพยุโรปยังบังคับติดฉลากสินค้าที่ผลิตหรือใช้วัตถุดิบจากผลผลิตเกษตรตัดแต่งพันธุกรรมทุกชนิด เป็นต้น รวมทั้งการไม่ชัดเจนที่จะสามารถแยกแยะระหว่างกฎระเบียบของรัฐ (Regulation) กับรสนิยมผู้บริโภค (Consumer preference)
2.4 กลไกการดำเนินงานที่เหมาะสมของไทยเพื่อรองรับปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการส่งออกของไทย เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีจำนวนมาก ทำให้ไม่ชัดเจนเรื่องบทบาทและระบบการประสานงานที่ดี เช่น หน่วยงานตรวจสอบรับรอง เป็นต้น
2.5 ระดับในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้ของไทย ตลอดจนพื้นฐานความรู้ความเข้าใจของบุคลากรของภาครัฐ เอกชน และสาธารณชนเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังมีอยู่อย่างจำกัด
3. มติคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ)
คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้มีคำสั่งที่ 3/2542 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2542 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการ และมีองค์ประกอบคณะอนุกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่พิจารณาและกำหนดท่าทีกลยุทธ์ของไทยในการเจรจาภายใต้องค์การการค้าโลก รวมทั้งกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติเกี่ยวกับสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งคณะกรรมการ กนศ ได้พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบแนวนโยบายดังกล่าวของคณะอนุกรรมการฯ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2542 และมีมติเพิ่มเติม ดังนี้
3.1 การผลิต
1) ไม่ยินยอมให้มีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ (seed) GMOs มาเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์จนกว่าจะมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่ามีความปลอดภัยทั้งด้านชีวภาพและด้านอาหาร (bio safety และ food safety)
2) ยินยอมให้มีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ GMOs เพื่อทำการวิจัยเท่านั้น
3) ให้กรมวิชาการเกษตรดูแลการรั่วไหลของเมล็ดพันธุ์ GMOs ไปสู่แปลงเพาะปลูก โดยใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507
3.2 การส่งออก มีมาตรการ 2 ด้านที่เกี่ยวกับสินค้าส่งออกของไทย คือ
1) ใช้ความตกลงโดยสมัครใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายภาคเอกชนในการออกมาตรการด้านใบรับรอง (certificate) หรือติดฉลาก (labelling)
2) หากประเทศผู้นำเข้าต้องการการตรวจสอบและออกใบรับรองจากภาครัฐให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลอยู่แล้ว เช่น กรมประมง กรมปศุสัตว์ เป็นผู้ออกใบรับรองโดยให้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติเป็นผู้ตรวจสอบ
3.3 การนำเข้า
1) เมล็ดพันธุ์ (seed) ที่เป็น GMOs ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำกับดูแลตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ซึ่งให้นำเข้าเฉพาะเพื่อการทดลองและวิจัยเท่านั้น
2) การนำเข้าเมล็ดพืข (grain)
- ให้กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าต่างประเทศซึ่งมีอำนาจตามพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ใช้อำนาจกำกับการนำเข้าสินค้า GMOs ในกรณีที่เห็นว่ามีผลกระทบต่อผู้บริโภค
- เนื่องจากยังไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่ามีความเสียหายจากสินค้าที่ผลิตหรือใช้ GMOs และยังไม่มีประเทศใดใช้มาตรการควบคุมหรือห้ามนำเข้าสินค้าที่มี GMOs ดังนั้นจึงยังไม่จำเป็นต้องออกมาตรการกำกับดูแลการนำเข้าสินค้าที่มี GMOs เป็นพิเศษ
- ให้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติควบคุมดูแลตรวจสอบว่า สินค้านำเข้าใดเป็นสินค้าตัดแต่งพันธุกรรม ซึ่งจะต้องมีการลงทุนพัฒนาด้านบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องมือตรวจสอบต่อไปในอนาคต
- ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ติดตามข้อมูลข่าวสารการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ทั้งจากต่างประเทศและภายในประเทศ เพื่อดูแลอย่างใกล้ชิดว่าสินค้า GMOs ใดจะมีผลกระทบต่อสุขอนามัยและความปลอดภัยของผู้บริโภค และรายงานต่อคณะอนุกรรมการนโยบายสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อดำเนินการต่อไป
3.4 การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชนให้มากที่สุด
นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการฯ ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2543 ได้มีมติเพิ่มเติมด้านการส่งออก โดยให้เพิ่มหน่วยงานตรวจสอบสินค้า GMOs ได้ตามความสามารถ เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ นอกเหนือจากศูนย์พันธุวิศวกรรมฯ อย่างไรก็ตาม การออกใบรับรองให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่หน่วยงานดูแลอยู่แล้วตามกฎหมาย และเป็นหน่วยงานที่ประเทศคู่ค้าให้การยอมรับ (Competent Authority) ซึ่งคณะกรรมการ กนศ. ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2543 ได้มีมติรับทราบ และขณะนี้คณะอนุกรรมการฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างนโยบายและแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพของไทยที่คณะทำงานกำหนดมาตรการทางด้านการผลิตและการค้าสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ ภายใต้คณะอนุกรรมการฯ จัดทำเพื่อนำเสนอ กนศ. ต่อไป
4. การดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
4.1 การนำเข้า GMOs เพื่อการวิจัย ตั้งแต่ได้ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2537 และตั้งแต่ปี 2538 ได้มีการอนุญาตให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนนำเข้าพืช GMOs เพื่อทำการทดลองวิจัย จำนวน 11 ครั้ง ได้แก่ เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ ฝ้าย ข้าวโพด พืชตระกูลแตง มะละกอ ข้าว ฝ้ายบีที ประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงค่อนข้างมากคือบริษัทมอนซานโต้ จำกัด ได้ขอนำเข้าฝ้ายบีที ซึ่งเป็นฝ้ายตัดต่อสารพันธุกรรม มีคุณสมบัติในการต่อต้านหนอนเจาะสมอฝ้ายซึ่งแมลงศัตรูพืชในแหล่งผลิตฝ้ายที่สำคัญของไทย ตั้งแต่ปี 2538 ต่อมาได้มีการอนุญาตให้นำเข้ามาทดสอบภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการความปลอดภัยด้านการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และคำแนะนำปรึกษาทางวิชาการจากคณะกรรมการกลางความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งผลการทดสอบภาคสนามเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 3 ปี ปรากฏผลว่ามีความปลอดภัยที่จะเพาะปลูกในประเทศไทย เนื่องจากไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น แมลงที่เป็นประโยชน์ เป็นต้น แต่ยังไม่มีข้อยุติและยอมรับจากองค์กรพัฒนาเอกชนและผู้บริโภคจำนวนหนึ่ง ปัจจุบันฝ้ายบีทีจึงยังอยู่ในสิ่งต้องห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
4.2 การยกเลิกรายการเมล็ดข้าวโพดและถั่วเหลืองตัดต่อสารพันธุกรรมจากการเป็นสิ่งต้องห้าม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศเรื่องกำหนดพืชจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้ามข้อยกเว้นและเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2543 โดยยกเว้นเฉพาะข้าวโพดและถั่วเหลืองที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมให้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์หรืออาหารสำหรับมนุษย์ หรือใช้เพื่อการอุตสาหกรรมไม่อยู่ในรายการสิ่งต้องห้าม
4.3 การจัดสรรเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร (ASPL) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2542 อนุมัติแผนงาน/โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร จำนวน 6 แผนงาน 20 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (2543 - 2546) โดยมีโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร ซึ่งได้รับการจัดสรรวงเงิน 1,150 ล้านบาท เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรในด้านต่าง ๆ ทั้งพืช ปศุสัตว์ ประมง และอื่น ๆ เช่น การจัดตั้งห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพ การจัดตั้ง Gene bank เป็นต้น
4.4 การแต่งตั้งคณะทำงานกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบและออกใบรับรองสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอนุกรรมการนโยบายสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ ได้จัดตั้งคณะทำงานกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบและออกใบรับรองสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ มีอำนาจหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์เพื่อกำหนดมาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจสอบสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ (GMOs) และกระบวนการตรวจสอบและออกใบรับรองของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้มาตรฐานสากล ตลอดจนให้มีกลไกในการประสานงานเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาห้องปฏิบัติการให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงใน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 มิ.ย. 2543--
-สส-