แท็ก
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
คณะรัฐมนตรี
รัฐธรรมนูญ
ทำเนียบรัฐบาล--15 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. …. ตามที่คณะกรรม
การนโยบายและประสานงานการดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจ
พิจารณา โดยให้รับผลการดำเนินการรับฟังความเห็นประชาชน และความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายฯ รวมทั้ง
กรอบระยะเวลาการนำเสนอรัฐสภาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ทันในสมัยประชุมนี้ต่อไป
สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. …. ดังนี้
1. กำหนดความหมายของคำจำกัดความคำว่า "คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" "จังหวัด"
"ผู้ว่าราชการจังหวัด" และ "สาขาความรู้และภูมิปัญญา" โดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
2. องค์ประกอบและที่มา
1) ให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีสมาชิกจำนวนหนึ่งร้อยคน เป็นสมาชิกประเภทผู้แทนกลุ่มพื้น
ที่จำนวนสี่สิบคน ประเภทผู้แทนกลุ่มอาชีพและกิจการจำนวนสี่สิบคน และสมาชิกประเภทผู้แทนสาขาความรู้และภูมิปัญญาจำนวนยี่สิบ
คน
2) กำหนดวิธีการเลือกสมาชิกที่ปรึกษาฯ ประเภทผู้แทนกลุ่มพื้นที่
3) กำหนดวิธีการเลือกและองค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ประเภทผู้แทนกลุ่มอาชีพและกิจการ
4) กำหนดวิธีการเลือกสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ประเภทสาขาความรู้และภูมิปัญญา
5) การลงคะแนนเสียงในการเลือกสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ให้กระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ
6) กำหนดคุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ
3. อำนาจหน้าที่
กำหนดอำนาจหน้าที่ การเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะแก่คณะรัฐมนตรีซึ่งไม่ผูกพันคณะรัฐมนตรีให้ต้องปฏิบัติ
ตาม อำนาจตราข้อบังคับการประชุมเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของสภาที่ปรึกษาฯ
4. การดำเนินงาน
1) ให้สภาที่ปรึกษาฯ เลือกประธานหนึ่งคน และรองประธานสองคน โดยเป็นชายหนึ่งและหญิงหนึ่ง กำหนดให้
หัวหน้าสำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ เป็นเลขาธิการสภาที่ปรึกษาฯ
2) การประชุมสภาที่ปรึกษาฯ ต้องกระทำโดยเปิดเผย เว้นแต่คณะรัฐมนตรีจะขอให้ประชุมลับ หรือสมาชิกร้อง
ขอตามข้อบังคับ และการประชุมต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ การมีมติให้ถือเสียงข้างมาก
ของผู้เข้าประชุม
3) สภาที่ปรึกษาฯ อาจเชิญผู้แทนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมาให้
ข้อเท็จจริงความเห็น ได้ตามสมควร
4) ให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ได้รับค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์อื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
5) ให้มีสำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ ซึ่งจัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกา
5. บทเฉพาะกาล
1) ให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการเพื่อให้มีการเลือกสมาชิกสภาฯ ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระ
ราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
2) ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งจะต้องทำภายในห้า
ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
3) ให้เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในสำนักงานคณะกรรม
การพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งจัดสรร
งบประมาณตามความจำเป็น จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ
สรุปสาระสำคัญของความเห็นประชาชน
1. ผลการสำรวจความเห็นประชาชน
1) ประชาชนให้เร่งรัดจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
2) อำนาจหน้าที่ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ โดยให้ "กำหนดกรอบงานให้ชัดเจน"
3) ลักษณะองค์กร องค์ประกอบ ที่มาของสภาที่ปรึกษาฯ
(1) เป็นองค์กรอิสระ เป็นกระบวนการสะท้อนปัญหาเศรษฐกิจและสังคม และความเห็นของสังคมต่อแผน
พัฒนาฯ
(2) องค์ประกอบสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ เห็นชอบตามข้อเสนอในร่างพระราชบัญญัติ แต่ให้ลดจำนวนสมาชิก
ให้น้อยกว่า 100 คน โดยให้ลดจากกลุ่มพื้นที่ เพราะเห็นว่าค่อนข้างซ้ำซ้อนกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
(3) ที่มาของสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ คัดเลือกโดยองค์กรประชาชน โดยมีขั้นตอนความเป็นราชการน้อยที่สุด
ด้วยวิธีไม่ตายตัวนัก
(4) สำนักเลขานุการฯ ควรตั้งอย่างถาวรมีกฎหมายระบุหน้าที่ และการดำเนินงานมีข้อเสนอ 2 ทางเลือก
คือปรับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้ดำเนินการ 2 บทบาท คือ เป็นสำนักเลขานุการ
ของสภาที่ปรึกษา และสำนักเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างถาวร หรือตามข้อเสนอในร่าง
พระราชบัญญัติให้อยู่ในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติชั่วคราว แล้วแยกเป็นอิสระภายใน 5 ปี
4) การดำเนินการโปร่งใสผ่านสื่อมวลชน ลักษณะแนวราบร่วมเครือข่าย
2. ข้อเสนอการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
จากการวิเคราะห์ความเห็นประชาชนต่อการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาฯ และประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติแล้ว เห็น
ควรให้องค์กรสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีรูปแบบและแนวทางจัดตั้ง ดังนี้
1) องค์ประกอบ ที่มา และขั้นตอนการได้มา
- สมาชิกจำนวน 60 - 70 คน ด้วยเหตุผลเพื่อประสิทธิภาพการประชุมหารือ และเป็นจำนวนที่เพียงพอครอบ
คลุมทุกกิจกรรมได้หลากหลาย ทั้งนี้ สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ไม่มีฐานะเป็นข้าราชการหรือพนักงานองค์การของรัฐ
- ที่มา จากกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม 52 กลุ่ม มีคุณสมบัติเพียงพอสำหรับเป็นที่ปรึกษา
- ขั้นตอนการสรรหาและการได้มา ยึดหลักการสรรหาโดยกลุ่มกิจกรรมและผู้ได้รับการเสนอชื่อเลือกกันเอง
- สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ จะประชุมและเลือกกันเอง เพื่อสรรหาผู้เป็นประธาน รองประธาน เลขานุกาารและ
ตำแหน่งอื่น ๆ ตามที่จะกำหนด
2) อำนาจหน้าที่ การกำหนดอำนาจหน้าที่ ได้ยึดหลักการสนองต่อบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯพ.ศ.
2540 หลักการปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของประชาชนและหลักการประสิทธิภาพประสิทธิผลต่อการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ
และการดำเนินการตามแผนพัฒนาฯ หน้าที่จึงประกอบด้วย
- ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจและสังคม หรือเรื่องอื่นใด
ตามที่คณะรัฐมนตรีขอคำปรึกษา
- ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนอื่น ๆ ตามที่บัญญัติใน
กฎหมายนี้และกฎหมายอื่น
3) โครงสร้างองค์กร
- สภาที่ปรึกษาฯ เป็นองค์กรอิสระ มีลักษณะเป็นสภากระบวนการสะท้อนสังคมจากความเป็นจริงของอาชีพ และ
กิจกรรมอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นคนละองค์กรกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี และดำเนินการตามพระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521
- หน่วยธุรการของสภาที่ปรึกษาฯ เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัด
เจ้าหน้าที่กลุ่มหนึ่งในลักษณะสำนักงานเลขานุการทำหน้าที่ธุรการและวิชาการให้กับสภาที่ปรึกษาฯ เป็นการเฉพาะ และหลังจาก
ดำเนินการเป็นระยะเวลา 5 ปีแล้ว ให้รัฐสภาพิจารณาว่าหน่วยงานธุรการดังกล่าวจะยังคงอยู่ในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป หรือสมควรโอนเป็นองค์กรอิสระ แต่ให้เพิ่มเติมด้วยว่าภายในระยะเวลาดังกล่าว หาก
สภาที่ปรึกษาฯ พิจารณาเห็นว่าหน่วยงานธุรการ สมควรแยกออกไปต่างหากก็ให้สภาที่ปรึกษาฯ เสนอเรื่องผ่านรัฐบาลเพื่อนำ
เสนอรัฐสภาพิจารณาต่อไป 4) การดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาฯ
- การดำเนินงานภายใน ประธาน รองประธาน และเลขานุการของสภาที่ปรึกษาฯ ให้มาจากการเลือกตั้ง
ภายในของสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ โดยสภาที่ปรึกษาฯ เป็นผู้กำหนดระเบียบวิธีการประชุมสภาที่ปรึกษาฯ และควรได้กำหนดไว้
ในร่างพระราช-บัญญัติฯ ด้วยว่าสภาที่ปรึกษาฯ ต้องจัดประชุมใหญ่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และคำปรึกษาที่ให้กับคณะรัฐมนตรีต้อง
มาจากผลการประชุมสภาที่ปรึกษาฯ ไม่ใช่ข้อเสนอโดยตรงจากคณะทำงานฯ หรือคณะกรรมาธิการฯ
- การดำเนินงานระหว่างสภาที่ปรึกษาฯ กับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สภาที่ปรึกษาฯ ต้องจัดระบบการดำเนินงานของตนเองโดยไม่มีอำนาจสั่งการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นอกจากการขอข้อมูลเช่นเดียวกับการขอข้อมูลจากหน่วยงานอื่น
สรุปสาระสำคัญของกรอบระยะเวลาการนำเสนอรัฐสภา มีดังนี้
1. ขั้นตอนก่อนเสนอรัฐสภา :
1) เสนอคณะรัฐมนตรี
2) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาและปรับปรุงแก้ไขร่างพระราช- 8 กุมภาพันธ์ 2543
บัญญัติของคณะกรรมการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาฯ (ประมาณเวลา 1 เดือน) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2543
2. ขั้นตอนรัฐสภา : ต้นมีนาคม — กันยายน 2543
1) เสนอคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ต้นมีนาคม 2543
2) เสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อลงมติรับหลักการ ต้นมีนาคม 2543
3) กรรมาธิการวิสามัญสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
4) ดำเนินการภายในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ ระหว่างมิถุนายน — ตุลาคม 2543
- เสนอสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 2 และวาระที่ 3
- เสนอวุฒิสภาในวาระที่ 1 เพื่อลงมติรับหลักการ
- กรรมาธิการวิสามัญวุฒิสภาพิจารณา
- เสนอสมาชิกวุฒิสภาในวาระที่ 2 และวาระที่ 3
3. ขั้นตอนสุดท้าย
เสนอทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. …. ตามที่คณะกรรม
การนโยบายและประสานงานการดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจ
พิจารณา โดยให้รับผลการดำเนินการรับฟังความเห็นประชาชน และความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายฯ รวมทั้ง
กรอบระยะเวลาการนำเสนอรัฐสภาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ทันในสมัยประชุมนี้ต่อไป
สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. …. ดังนี้
1. กำหนดความหมายของคำจำกัดความคำว่า "คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" "จังหวัด"
"ผู้ว่าราชการจังหวัด" และ "สาขาความรู้และภูมิปัญญา" โดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
2. องค์ประกอบและที่มา
1) ให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีสมาชิกจำนวนหนึ่งร้อยคน เป็นสมาชิกประเภทผู้แทนกลุ่มพื้น
ที่จำนวนสี่สิบคน ประเภทผู้แทนกลุ่มอาชีพและกิจการจำนวนสี่สิบคน และสมาชิกประเภทผู้แทนสาขาความรู้และภูมิปัญญาจำนวนยี่สิบ
คน
2) กำหนดวิธีการเลือกสมาชิกที่ปรึกษาฯ ประเภทผู้แทนกลุ่มพื้นที่
3) กำหนดวิธีการเลือกและองค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ประเภทผู้แทนกลุ่มอาชีพและกิจการ
4) กำหนดวิธีการเลือกสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ประเภทสาขาความรู้และภูมิปัญญา
5) การลงคะแนนเสียงในการเลือกสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ให้กระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ
6) กำหนดคุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ
3. อำนาจหน้าที่
กำหนดอำนาจหน้าที่ การเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะแก่คณะรัฐมนตรีซึ่งไม่ผูกพันคณะรัฐมนตรีให้ต้องปฏิบัติ
ตาม อำนาจตราข้อบังคับการประชุมเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของสภาที่ปรึกษาฯ
4. การดำเนินงาน
1) ให้สภาที่ปรึกษาฯ เลือกประธานหนึ่งคน และรองประธานสองคน โดยเป็นชายหนึ่งและหญิงหนึ่ง กำหนดให้
หัวหน้าสำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ เป็นเลขาธิการสภาที่ปรึกษาฯ
2) การประชุมสภาที่ปรึกษาฯ ต้องกระทำโดยเปิดเผย เว้นแต่คณะรัฐมนตรีจะขอให้ประชุมลับ หรือสมาชิกร้อง
ขอตามข้อบังคับ และการประชุมต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ การมีมติให้ถือเสียงข้างมาก
ของผู้เข้าประชุม
3) สภาที่ปรึกษาฯ อาจเชิญผู้แทนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมาให้
ข้อเท็จจริงความเห็น ได้ตามสมควร
4) ให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ได้รับค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์อื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
5) ให้มีสำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ ซึ่งจัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกา
5. บทเฉพาะกาล
1) ให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการเพื่อให้มีการเลือกสมาชิกสภาฯ ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระ
ราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
2) ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งจะต้องทำภายในห้า
ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
3) ให้เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในสำนักงานคณะกรรม
การพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งจัดสรร
งบประมาณตามความจำเป็น จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ
สรุปสาระสำคัญของความเห็นประชาชน
1. ผลการสำรวจความเห็นประชาชน
1) ประชาชนให้เร่งรัดจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
2) อำนาจหน้าที่ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ โดยให้ "กำหนดกรอบงานให้ชัดเจน"
3) ลักษณะองค์กร องค์ประกอบ ที่มาของสภาที่ปรึกษาฯ
(1) เป็นองค์กรอิสระ เป็นกระบวนการสะท้อนปัญหาเศรษฐกิจและสังคม และความเห็นของสังคมต่อแผน
พัฒนาฯ
(2) องค์ประกอบสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ เห็นชอบตามข้อเสนอในร่างพระราชบัญญัติ แต่ให้ลดจำนวนสมาชิก
ให้น้อยกว่า 100 คน โดยให้ลดจากกลุ่มพื้นที่ เพราะเห็นว่าค่อนข้างซ้ำซ้อนกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
(3) ที่มาของสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ คัดเลือกโดยองค์กรประชาชน โดยมีขั้นตอนความเป็นราชการน้อยที่สุด
ด้วยวิธีไม่ตายตัวนัก
(4) สำนักเลขานุการฯ ควรตั้งอย่างถาวรมีกฎหมายระบุหน้าที่ และการดำเนินงานมีข้อเสนอ 2 ทางเลือก
คือปรับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้ดำเนินการ 2 บทบาท คือ เป็นสำนักเลขานุการ
ของสภาที่ปรึกษา และสำนักเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างถาวร หรือตามข้อเสนอในร่าง
พระราชบัญญัติให้อยู่ในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติชั่วคราว แล้วแยกเป็นอิสระภายใน 5 ปี
4) การดำเนินการโปร่งใสผ่านสื่อมวลชน ลักษณะแนวราบร่วมเครือข่าย
2. ข้อเสนอการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
จากการวิเคราะห์ความเห็นประชาชนต่อการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาฯ และประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติแล้ว เห็น
ควรให้องค์กรสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีรูปแบบและแนวทางจัดตั้ง ดังนี้
1) องค์ประกอบ ที่มา และขั้นตอนการได้มา
- สมาชิกจำนวน 60 - 70 คน ด้วยเหตุผลเพื่อประสิทธิภาพการประชุมหารือ และเป็นจำนวนที่เพียงพอครอบ
คลุมทุกกิจกรรมได้หลากหลาย ทั้งนี้ สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ไม่มีฐานะเป็นข้าราชการหรือพนักงานองค์การของรัฐ
- ที่มา จากกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม 52 กลุ่ม มีคุณสมบัติเพียงพอสำหรับเป็นที่ปรึกษา
- ขั้นตอนการสรรหาและการได้มา ยึดหลักการสรรหาโดยกลุ่มกิจกรรมและผู้ได้รับการเสนอชื่อเลือกกันเอง
- สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ จะประชุมและเลือกกันเอง เพื่อสรรหาผู้เป็นประธาน รองประธาน เลขานุกาารและ
ตำแหน่งอื่น ๆ ตามที่จะกำหนด
2) อำนาจหน้าที่ การกำหนดอำนาจหน้าที่ ได้ยึดหลักการสนองต่อบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯพ.ศ.
2540 หลักการปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของประชาชนและหลักการประสิทธิภาพประสิทธิผลต่อการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ
และการดำเนินการตามแผนพัฒนาฯ หน้าที่จึงประกอบด้วย
- ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจและสังคม หรือเรื่องอื่นใด
ตามที่คณะรัฐมนตรีขอคำปรึกษา
- ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนอื่น ๆ ตามที่บัญญัติใน
กฎหมายนี้และกฎหมายอื่น
3) โครงสร้างองค์กร
- สภาที่ปรึกษาฯ เป็นองค์กรอิสระ มีลักษณะเป็นสภากระบวนการสะท้อนสังคมจากความเป็นจริงของอาชีพ และ
กิจกรรมอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นคนละองค์กรกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี และดำเนินการตามพระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521
- หน่วยธุรการของสภาที่ปรึกษาฯ เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัด
เจ้าหน้าที่กลุ่มหนึ่งในลักษณะสำนักงานเลขานุการทำหน้าที่ธุรการและวิชาการให้กับสภาที่ปรึกษาฯ เป็นการเฉพาะ และหลังจาก
ดำเนินการเป็นระยะเวลา 5 ปีแล้ว ให้รัฐสภาพิจารณาว่าหน่วยงานธุรการดังกล่าวจะยังคงอยู่ในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป หรือสมควรโอนเป็นองค์กรอิสระ แต่ให้เพิ่มเติมด้วยว่าภายในระยะเวลาดังกล่าว หาก
สภาที่ปรึกษาฯ พิจารณาเห็นว่าหน่วยงานธุรการ สมควรแยกออกไปต่างหากก็ให้สภาที่ปรึกษาฯ เสนอเรื่องผ่านรัฐบาลเพื่อนำ
เสนอรัฐสภาพิจารณาต่อไป 4) การดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาฯ
- การดำเนินงานภายใน ประธาน รองประธาน และเลขานุการของสภาที่ปรึกษาฯ ให้มาจากการเลือกตั้ง
ภายในของสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ โดยสภาที่ปรึกษาฯ เป็นผู้กำหนดระเบียบวิธีการประชุมสภาที่ปรึกษาฯ และควรได้กำหนดไว้
ในร่างพระราช-บัญญัติฯ ด้วยว่าสภาที่ปรึกษาฯ ต้องจัดประชุมใหญ่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และคำปรึกษาที่ให้กับคณะรัฐมนตรีต้อง
มาจากผลการประชุมสภาที่ปรึกษาฯ ไม่ใช่ข้อเสนอโดยตรงจากคณะทำงานฯ หรือคณะกรรมาธิการฯ
- การดำเนินงานระหว่างสภาที่ปรึกษาฯ กับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สภาที่ปรึกษาฯ ต้องจัดระบบการดำเนินงานของตนเองโดยไม่มีอำนาจสั่งการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นอกจากการขอข้อมูลเช่นเดียวกับการขอข้อมูลจากหน่วยงานอื่น
สรุปสาระสำคัญของกรอบระยะเวลาการนำเสนอรัฐสภา มีดังนี้
1. ขั้นตอนก่อนเสนอรัฐสภา :
1) เสนอคณะรัฐมนตรี
2) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาและปรับปรุงแก้ไขร่างพระราช- 8 กุมภาพันธ์ 2543
บัญญัติของคณะกรรมการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาฯ (ประมาณเวลา 1 เดือน) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2543
2. ขั้นตอนรัฐสภา : ต้นมีนาคม — กันยายน 2543
1) เสนอคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ต้นมีนาคม 2543
2) เสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อลงมติรับหลักการ ต้นมีนาคม 2543
3) กรรมาธิการวิสามัญสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
4) ดำเนินการภายในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ ระหว่างมิถุนายน — ตุลาคม 2543
- เสนอสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 2 และวาระที่ 3
- เสนอวุฒิสภาในวาระที่ 1 เพื่อลงมติรับหลักการ
- กรรมาธิการวิสามัญวุฒิสภาพิจารณา
- เสนอสมาชิกวุฒิสภาในวาระที่ 2 และวาระที่ 3
3. ขั้นตอนสุดท้าย
เสนอทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543--