คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถิติการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยเดือนมกราคม 2544 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. เปรียบเทียบเดือนมกราคม 2544 กับเดือนมกราคม 2543
1.1 สินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่มสินค้า มีมูลค่านำเข้ารวม 41.18 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 5.00 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 13.65 และปรากฏว่ามีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นจำนวน 13 รายการตั้งแต่ร้อยละ 16.32 (นาฬิกาและอุปกรณ์) ถึงร้อยละ 902.60 (ดอกไม้) และมี 4 รายการที่มีมูลค่านำเข้าลดลงตั้งแต่ร้อยละ 0.95 (ผลไม้) ถึงร้อยละ 21.23 (ปากกาและอุปกรณ์)
1.2 มูลค่าการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่านำเข้ารวมของสินค้าทุกชนิดในเดือนมกราคม 2544 (239,991,319,526 บาท) แล้ว มูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ0.74 ของมูลค่านำเข้าทั้งหมด
1.3 สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
1) สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 6.79 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 1.45ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 17.65
2) กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 5.85 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 1.26 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 27.45
3) น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 5.27 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 1.70 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 47.49
1.4 สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีอัตราการนำเข้าลดลงของเดือนมกราคม 2544 เปรียบเทียบกับเดือนมกราคม2543 ได้แก่
1) ปากกาและอุปกรณ์ มีอัตราการนำเข้าลดลงร้อยละ 21.23
2) สุราต่างประเทศ มีอัตราการนำเข้าลดลงร้อยละ 17.65
3) เครื่องแก้วชนิดใช้บนโต๊ะอาหารหรือใช้ตกแต่งภายในที่ทำด้วยคริสตัล มีอัตราการนำเข้าลดลงร้อยละ 3.92
2. เปรียบเทียบตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 - มกราคม 2544 กับเดือนตุลาคม 2542 - มกราคม 2543
2.1 มูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2544 (ตุลาคม 2543 - มกราคม 2544) มีมูลค่านำเข้ารวม 200.69 ล้านเหรียญสหรัฐ เปรียบเทียบกับต้นปีงบประมาณ 2543 (ตุลาคม 2542 - มกราคม 2543)มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 39 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 24.12
2.2 สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรกตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2544 (ตุลาคม 2543 -มกราคม 2544) ได้แก่
1) สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 36.50 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว6.10 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 20.05
2) กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 26.22 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 8.46 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 47.63
3) ผลไม้ มีมูลค่านำเข้า 25.34 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 2.13 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 9.17
2.3 สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าลดลง ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2544 (ตุลาคม 2543 - มกราคม2544) เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2543 (ตุลาคม 2542 - มกราคม 2543) ได้แก่
1) ไฟแช็คและอุปกรณ์ มีอัตราการนำเข้าลดลงร้อยละ 25.33
2) เครื่องแก้วชนิดใช้บนโต๊ะอาหารหรือใช้ตกแต่งภายในที่ทำด้วยคริสตัล มีอัตราการนำเข้าลดลงร้อยละ 24.98
3) น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีอัตราการนำเข้าลดลงร้อยละ 19.28
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 15 พ.ค.2544
-สส-
1. เปรียบเทียบเดือนมกราคม 2544 กับเดือนมกราคม 2543
1.1 สินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่มสินค้า มีมูลค่านำเข้ารวม 41.18 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 5.00 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 13.65 และปรากฏว่ามีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นจำนวน 13 รายการตั้งแต่ร้อยละ 16.32 (นาฬิกาและอุปกรณ์) ถึงร้อยละ 902.60 (ดอกไม้) และมี 4 รายการที่มีมูลค่านำเข้าลดลงตั้งแต่ร้อยละ 0.95 (ผลไม้) ถึงร้อยละ 21.23 (ปากกาและอุปกรณ์)
1.2 มูลค่าการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่านำเข้ารวมของสินค้าทุกชนิดในเดือนมกราคม 2544 (239,991,319,526 บาท) แล้ว มูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ0.74 ของมูลค่านำเข้าทั้งหมด
1.3 สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
1) สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 6.79 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 1.45ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 17.65
2) กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 5.85 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 1.26 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 27.45
3) น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 5.27 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 1.70 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 47.49
1.4 สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีอัตราการนำเข้าลดลงของเดือนมกราคม 2544 เปรียบเทียบกับเดือนมกราคม2543 ได้แก่
1) ปากกาและอุปกรณ์ มีอัตราการนำเข้าลดลงร้อยละ 21.23
2) สุราต่างประเทศ มีอัตราการนำเข้าลดลงร้อยละ 17.65
3) เครื่องแก้วชนิดใช้บนโต๊ะอาหารหรือใช้ตกแต่งภายในที่ทำด้วยคริสตัล มีอัตราการนำเข้าลดลงร้อยละ 3.92
2. เปรียบเทียบตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 - มกราคม 2544 กับเดือนตุลาคม 2542 - มกราคม 2543
2.1 มูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2544 (ตุลาคม 2543 - มกราคม 2544) มีมูลค่านำเข้ารวม 200.69 ล้านเหรียญสหรัฐ เปรียบเทียบกับต้นปีงบประมาณ 2543 (ตุลาคม 2542 - มกราคม 2543)มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 39 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 24.12
2.2 สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรกตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2544 (ตุลาคม 2543 -มกราคม 2544) ได้แก่
1) สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 36.50 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว6.10 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 20.05
2) กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 26.22 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 8.46 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 47.63
3) ผลไม้ มีมูลค่านำเข้า 25.34 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 2.13 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 9.17
2.3 สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าลดลง ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2544 (ตุลาคม 2543 - มกราคม2544) เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2543 (ตุลาคม 2542 - มกราคม 2543) ได้แก่
1) ไฟแช็คและอุปกรณ์ มีอัตราการนำเข้าลดลงร้อยละ 25.33
2) เครื่องแก้วชนิดใช้บนโต๊ะอาหารหรือใช้ตกแต่งภายในที่ทำด้วยคริสตัล มีอัตราการนำเข้าลดลงร้อยละ 24.98
3) น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีอัตราการนำเข้าลดลงร้อยละ 19.28
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 15 พ.ค.2544
-สส-