คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานของกระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับการพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมมะลิของนักวิจัยอเมริกัน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การวิจัยดังกล่าวได้รับการสนับสนุนโดยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัย ฟลอริดา และอาร์คันซอวส์ ขณะนี้อยู่ในขั้นเริ่มต้นเพื่อพัฒนาข้าวหอมมะลิพันธุ์ใหม่ให้ผลผลิตในลักษณะเดียวกับข้าวหอมมะลิของไทยเมื่อสามารถยืนยันลักษณะพันธุ์เรียบร้อยแล้ว จะทำการผสมข้ามกับพันธุ์อื่นในอีก 2 - 3 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ดี การทดลองดังกล่าวจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 7 - 10 ปี จึงจะสามารถพัฒนาให้เพาะปลูกในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้ คงจะต้องเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตกับข้าวหอมมะลิของไทยด้วย ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
2. กระทรวงพาณิชย์อยู่ในระหว่างประสานกับสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองไมอามี่ เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตและผลผลิตต่อไร่ในกรณีที่ข้าวหอมมะลิพันธุ์ดังกล่าวสามารถเพาะปลูกได้ในเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับของไทย
3. ปัจจุบันนาย Chistopher W.Deren ยังไม่ได้ยื่นขอจดทะเบียนข้าวหอมมะลิพันธุ์ใหม่ เพื่อคุ้มครองพันธุ์พืชต่อ The Plant Variety Protection Office ของสหรัฐอเมริกา
4. ข้าวหอมมะลิเป็นพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป ไม่ใช่พันธุ์ใหม่ จึงไม่สามารถจะจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองเป็นพันธุ์พืชใหม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 แต่จะได้รับความคุ้มครองในฐานะเป็นพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้
5. คณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบการจารกรรมพันธุ์ข้าวหอมมะลิไทยในคณะกรรมาธิการการต่างประเทศวุฒิสภา ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปร่วมประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขในเรื่องนี้
ขณะนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ลงนามในสัญญาจ้างจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยในต่างประเทศกับบริษัทที่ปรึกษากฎหมายในประเทศไทยเพื่อจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยใน 6 ประเทศคือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ฮ่องกง สิงคโปร์ และมาเลเซีย และมีโครงการที่จะจดทะเบียนในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกอีกประมาณ 47 ประเทศในปี 2545
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ติดตามความคืบหน้าของผลการวิจัย และกระบวนการในการจดทะเบียนพันธุ์พืชของนักวิจัยดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เมื่อเจ้าของงานวิจัยยื่นคำร้องขอจดทะเบียน ณ ที่ใด สำนักงานฯ จะต้องรีบยื่นเรื่องคัดค้านในทุกโอกาสโดยเร็วที่สุด
กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศจะเร่งรัดการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาเพื่อให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่งขึ้นและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สำหรับโครงการในปี 2545 ในเบื้องต้นได้กำหนดกิจกรรมเผยแพร่ในรัฐฟลอริดาไว้ด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 พ.ย. 44--
-สส-
1. การวิจัยดังกล่าวได้รับการสนับสนุนโดยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัย ฟลอริดา และอาร์คันซอวส์ ขณะนี้อยู่ในขั้นเริ่มต้นเพื่อพัฒนาข้าวหอมมะลิพันธุ์ใหม่ให้ผลผลิตในลักษณะเดียวกับข้าวหอมมะลิของไทยเมื่อสามารถยืนยันลักษณะพันธุ์เรียบร้อยแล้ว จะทำการผสมข้ามกับพันธุ์อื่นในอีก 2 - 3 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ดี การทดลองดังกล่าวจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 7 - 10 ปี จึงจะสามารถพัฒนาให้เพาะปลูกในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้ คงจะต้องเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตกับข้าวหอมมะลิของไทยด้วย ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
2. กระทรวงพาณิชย์อยู่ในระหว่างประสานกับสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองไมอามี่ เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตและผลผลิตต่อไร่ในกรณีที่ข้าวหอมมะลิพันธุ์ดังกล่าวสามารถเพาะปลูกได้ในเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับของไทย
3. ปัจจุบันนาย Chistopher W.Deren ยังไม่ได้ยื่นขอจดทะเบียนข้าวหอมมะลิพันธุ์ใหม่ เพื่อคุ้มครองพันธุ์พืชต่อ The Plant Variety Protection Office ของสหรัฐอเมริกา
4. ข้าวหอมมะลิเป็นพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป ไม่ใช่พันธุ์ใหม่ จึงไม่สามารถจะจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองเป็นพันธุ์พืชใหม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 แต่จะได้รับความคุ้มครองในฐานะเป็นพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้
5. คณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบการจารกรรมพันธุ์ข้าวหอมมะลิไทยในคณะกรรมาธิการการต่างประเทศวุฒิสภา ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปร่วมประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขในเรื่องนี้
ขณะนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ลงนามในสัญญาจ้างจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยในต่างประเทศกับบริษัทที่ปรึกษากฎหมายในประเทศไทยเพื่อจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยใน 6 ประเทศคือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ฮ่องกง สิงคโปร์ และมาเลเซีย และมีโครงการที่จะจดทะเบียนในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกอีกประมาณ 47 ประเทศในปี 2545
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ติดตามความคืบหน้าของผลการวิจัย และกระบวนการในการจดทะเบียนพันธุ์พืชของนักวิจัยดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เมื่อเจ้าของงานวิจัยยื่นคำร้องขอจดทะเบียน ณ ที่ใด สำนักงานฯ จะต้องรีบยื่นเรื่องคัดค้านในทุกโอกาสโดยเร็วที่สุด
กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศจะเร่งรัดการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาเพื่อให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่งขึ้นและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สำหรับโครงการในปี 2545 ในเบื้องต้นได้กำหนดกิจกรรมเผยแพร่ในรัฐฟลอริดาไว้ด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 พ.ย. 44--
-สส-