คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ มติของสภาความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ดังนี้
1. เห็นชอบกับแนวทางการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ ดังนี้
1.1 ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรับไปดำเนินการให้แรงงานต่างชาติผิดกฎหมายที่ทำงานอยู่กับนายจ้างในประเทศมารายงานตัว ขึ้นทะเบียน และขออนุญาตทำงานกับทางราชการ ทั้งนี้ ให้การดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 29 กันยายน 2544
1.2 การดำเนินการในปี 2544 ให้ใช้จ่ายจากงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเท่าที่จำเป็น ส่วนปีต่อ ๆ ไปเห็นชอบในหลักการให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้จำนวนเท่ากับร้อยละ 50 ของค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่จัดเก็บได้ ทั้งนี้ ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประสานงานในรายละเอียดกับกระทรวงการคลังและกรมบัญชีกลางต่อไป
1.3 เมื่อพ้นกำหนดการรายงานตัวและขออนุญาตทำงานแล้ว ให้ทำการจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดและจริงจัง ทั้งต่อตัวแรงงาน นายจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้อง
1.4 ให้ดำเนินการสกัดกั้น และป้องกันการอพยพเข้ามาใหม่อย่างเข้มงวดจริงจัง โดยการผนึกกำลังทุกฝ่ายร่วมกันปฏิบัติงาน
1.5 ดำเนินการอื่น ๆ ตามความเหมาะสมตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้บรรลุผล เช่น การเจรจา และขอความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้าน การให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมมือในการแก้ไขปัญหา การประชาสัมพันธ์ และการจัดตั้งสำนักงานรับผิดชอบในการบริหารแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายขึ้นในกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นต้น
1.6 ให้ส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ ให้ความร่วมมือในการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างเต็มที่
ทั้งนี้ ที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติมีความเห็นและข้อสังเกตประกอบการดำเนินการ ดังนี้
1) การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายในระยะยาว สมควรมองภาพในเชิงยุทธศาสตร์ทั้งระบบของปัญหา มีการวางระบบการจัดการและแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมในทุกเรื่องอย่างเป็นเอกภาพ ทั้งการจดทะเบียน การอนุญาตให้ทำงาน การป้องกัน สกัดกั้น และปราบปรามจับกุม การเจรจากับต่างประเทศ การควบคุมด้านสาธารณสุขการประชาสัมพันธ์ และอื่น ๆ และมีการเชื่อมต่อทั้งมาตรการระยะสั้นและระยะยาวอย่างสอดคล้องและเหมาะสม เพื่อนำเข้าสู่ระบบการนำเข้าและจ้างงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และควบคุมได้ต่อไปในอนาคต
2) ในการบริหารจัดการต่อปัญหานี้ในระยะยาว ควรดำเนินการภายใต้องค์กรที่เป็นศูนย์ประสานงานซึ่งรวมเอางานทุกด้านมาไว้ที่เดียวกันอย่างเป็นเอกภาพ
3) ควรให้ความสำคัญกับการสกัดกั้น และป้องกันการเข้ามาใหม่อย่างจริงจังของแรงงานเหล่านี้ตามแนวชายแดน รวมทั้งหลังการดำเนินการจดทะเบียนแล้ว ให้มีการจับกุม ปราบปรามอย่างจริงจังและต่อเนื่องในส่วนที่ไม่มาจดทะเบียนกับทางราชการ และการปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่ทางราชการอนุญาต โดยให้ดำเนินการกับทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. มอบหมายการปฏิบัติ ดังนี้
2.1 ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม นำเสนอแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ที่สภาความมั่นคงแห่งชาติเห็นชอบไว้ต่อคณะรัฐมนตรีโดยด่วนต่อไป ทั้งนี้ ให้รับข้อสังเกตและความเห็นของสภาความมั่นคงแห่งชาติข้างต้นไปประกอบการพิจารณาด้วย รวมทั้งประสานงานกับกระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อซักซ้อมการปฏิบัติงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันต่อไป
2.2 ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับไปประสานกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ในเรื่องแผนสกัดกั้น ป้องกันการเข้ามาใหม่ ตลอดจนแผนปราบปรามจับกุมหลังสิ้นสุดการผ่อนผันการจดทะเบียนและรายงานตัวให้มีผลในทางปฏิบัติต่อไป
2.3 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับไปพิจารณาระบบทะเบียนประวัติอาชญากรรมเพื่อให้สามารถรองรับทะเบียนประวัติของผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศต่อไป
2.4 เมื่อมีการดำเนินการไปแล้วระยะหนึ่ง ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมปรับแผนการปฏิบัติในเรื่องนี้เพื่อให้เป็นไปตามข้อสังเกตของสภาความมั่นคงแห่งชาติข้างต้น เพื่อให้เป็นแผนที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว และเกิดเอกภาพในการแก้ไขปัญหาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ส.ค.44--
-สส-
1. เห็นชอบกับแนวทางการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ ดังนี้
1.1 ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรับไปดำเนินการให้แรงงานต่างชาติผิดกฎหมายที่ทำงานอยู่กับนายจ้างในประเทศมารายงานตัว ขึ้นทะเบียน และขออนุญาตทำงานกับทางราชการ ทั้งนี้ ให้การดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 29 กันยายน 2544
1.2 การดำเนินการในปี 2544 ให้ใช้จ่ายจากงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเท่าที่จำเป็น ส่วนปีต่อ ๆ ไปเห็นชอบในหลักการให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้จำนวนเท่ากับร้อยละ 50 ของค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่จัดเก็บได้ ทั้งนี้ ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประสานงานในรายละเอียดกับกระทรวงการคลังและกรมบัญชีกลางต่อไป
1.3 เมื่อพ้นกำหนดการรายงานตัวและขออนุญาตทำงานแล้ว ให้ทำการจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดและจริงจัง ทั้งต่อตัวแรงงาน นายจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้อง
1.4 ให้ดำเนินการสกัดกั้น และป้องกันการอพยพเข้ามาใหม่อย่างเข้มงวดจริงจัง โดยการผนึกกำลังทุกฝ่ายร่วมกันปฏิบัติงาน
1.5 ดำเนินการอื่น ๆ ตามความเหมาะสมตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้บรรลุผล เช่น การเจรจา และขอความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้าน การให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมมือในการแก้ไขปัญหา การประชาสัมพันธ์ และการจัดตั้งสำนักงานรับผิดชอบในการบริหารแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายขึ้นในกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นต้น
1.6 ให้ส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ ให้ความร่วมมือในการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างเต็มที่
ทั้งนี้ ที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติมีความเห็นและข้อสังเกตประกอบการดำเนินการ ดังนี้
1) การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายในระยะยาว สมควรมองภาพในเชิงยุทธศาสตร์ทั้งระบบของปัญหา มีการวางระบบการจัดการและแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมในทุกเรื่องอย่างเป็นเอกภาพ ทั้งการจดทะเบียน การอนุญาตให้ทำงาน การป้องกัน สกัดกั้น และปราบปรามจับกุม การเจรจากับต่างประเทศ การควบคุมด้านสาธารณสุขการประชาสัมพันธ์ และอื่น ๆ และมีการเชื่อมต่อทั้งมาตรการระยะสั้นและระยะยาวอย่างสอดคล้องและเหมาะสม เพื่อนำเข้าสู่ระบบการนำเข้าและจ้างงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และควบคุมได้ต่อไปในอนาคต
2) ในการบริหารจัดการต่อปัญหานี้ในระยะยาว ควรดำเนินการภายใต้องค์กรที่เป็นศูนย์ประสานงานซึ่งรวมเอางานทุกด้านมาไว้ที่เดียวกันอย่างเป็นเอกภาพ
3) ควรให้ความสำคัญกับการสกัดกั้น และป้องกันการเข้ามาใหม่อย่างจริงจังของแรงงานเหล่านี้ตามแนวชายแดน รวมทั้งหลังการดำเนินการจดทะเบียนแล้ว ให้มีการจับกุม ปราบปรามอย่างจริงจังและต่อเนื่องในส่วนที่ไม่มาจดทะเบียนกับทางราชการ และการปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่ทางราชการอนุญาต โดยให้ดำเนินการกับทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. มอบหมายการปฏิบัติ ดังนี้
2.1 ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม นำเสนอแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ที่สภาความมั่นคงแห่งชาติเห็นชอบไว้ต่อคณะรัฐมนตรีโดยด่วนต่อไป ทั้งนี้ ให้รับข้อสังเกตและความเห็นของสภาความมั่นคงแห่งชาติข้างต้นไปประกอบการพิจารณาด้วย รวมทั้งประสานงานกับกระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อซักซ้อมการปฏิบัติงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันต่อไป
2.2 ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับไปประสานกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ในเรื่องแผนสกัดกั้น ป้องกันการเข้ามาใหม่ ตลอดจนแผนปราบปรามจับกุมหลังสิ้นสุดการผ่อนผันการจดทะเบียนและรายงานตัวให้มีผลในทางปฏิบัติต่อไป
2.3 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับไปพิจารณาระบบทะเบียนประวัติอาชญากรรมเพื่อให้สามารถรองรับทะเบียนประวัติของผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศต่อไป
2.4 เมื่อมีการดำเนินการไปแล้วระยะหนึ่ง ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมปรับแผนการปฏิบัติในเรื่องนี้เพื่อให้เป็นไปตามข้อสังเกตของสภาความมั่นคงแห่งชาติข้างต้น เพื่อให้เป็นแผนที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว และเกิดเอกภาพในการแก้ไขปัญหาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ส.ค.44--
-สส-