คณรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการขอกู้เงินจากธนาคารออมสิน ตามที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติอนุมัติหลักการและเงื่อนไขในการขอกู้เงินจากธนาคารออมสิน ดังนี้1
1. จำนวนเงินขอกู้ไม่เกิน 80,000 ล้านบาท
1.1 ในปีแรกจะให้ธนาคารออมสินคิดดอกเบี้ยผ่อนปรนเป็นอัตราลอยตัวเท่ากับอัตราเงินฝากประเภทประจำ 12 เดือน เฉลี่ย 7 วัน ของ 5 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่บวกร้อยละ 2.00 ต่อปี ซึ่งปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 5.00 ต่อปี เนื่องจากธนาคารออมสินมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนเกี่ยวกับระบบและบุคลากรเพิ่มขึ้น ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ในปีต่อ ๆ ไป ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาตินำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นปี ๆ ไป
1.2 ให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นผู้กู้ และกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ตามมาตรา 32 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ.2544
1.3 ให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารออมสิน เป็นปี ๆ ไป
1.4 ให้คณะกรรมการกองทุนหม่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นผู้ประสานธนาคารออมสิน เพื่อขอกู้เงินตามหลักการและเงื่อนไขในข้อ 1-ข้อ 4
อนึ่ง ในเบื้องต้นคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติประมาณว่าภายในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2544 จะมีกองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมืองที่ผ่านการประเมินความพร้อม จำนวน 30,000 กองทุน
ทั้งนี้ รัฐบาลมีนโยบายให้มีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กองทุนละ 1 ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองนั้น ๆ กู้ยืมเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้ ตลอดจนเพื่อให้หมู่บ้านและชุมชนเมืองสามารถเสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองได้ ในการนี้รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ.2544 กำหนดให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกู้เงินจากธนาคารออมสิน เพื่อนำไปจัดสรรให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันและรัฐบาลจัดสรรงบประมาณชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 ก.ค.44--
-สส-
1. จำนวนเงินขอกู้ไม่เกิน 80,000 ล้านบาท
1.1 ในปีแรกจะให้ธนาคารออมสินคิดดอกเบี้ยผ่อนปรนเป็นอัตราลอยตัวเท่ากับอัตราเงินฝากประเภทประจำ 12 เดือน เฉลี่ย 7 วัน ของ 5 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่บวกร้อยละ 2.00 ต่อปี ซึ่งปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 5.00 ต่อปี เนื่องจากธนาคารออมสินมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนเกี่ยวกับระบบและบุคลากรเพิ่มขึ้น ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ในปีต่อ ๆ ไป ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาตินำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นปี ๆ ไป
1.2 ให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นผู้กู้ และกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ตามมาตรา 32 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ.2544
1.3 ให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารออมสิน เป็นปี ๆ ไป
1.4 ให้คณะกรรมการกองทุนหม่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นผู้ประสานธนาคารออมสิน เพื่อขอกู้เงินตามหลักการและเงื่อนไขในข้อ 1-ข้อ 4
อนึ่ง ในเบื้องต้นคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติประมาณว่าภายในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2544 จะมีกองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมืองที่ผ่านการประเมินความพร้อม จำนวน 30,000 กองทุน
ทั้งนี้ รัฐบาลมีนโยบายให้มีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กองทุนละ 1 ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองนั้น ๆ กู้ยืมเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้ ตลอดจนเพื่อให้หมู่บ้านและชุมชนเมืองสามารถเสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองได้ ในการนี้รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ.2544 กำหนดให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกู้เงินจากธนาคารออมสิน เพื่อนำไปจัดสรรให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันและรัฐบาลจัดสรรงบประมาณชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 ก.ค.44--
-สส-