คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ) ซึ่งสำนักงานศาลปกครองเสนอทบทวน และคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติได้เห็นชอบด้วยแล้ว และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) รายงานว่า
1. สำนักงานศาลปกครองแจ้งว่า หลักจากที่ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองกลางได้เปิดทำการแล้วตุลาการในศาลปกครองชั้นต้นและที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาทบทวนเรื่องดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งเห็นสมควรปรับปรุงโครงสร้างอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของตุลาการในศาลปกครองชั้นต้นให้เหมาะสมและเป็นธรรมยิ่งขึ้น จึงเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาเพื่อพิจารณา
2. กงช. ได้พิจารณาเห็นว่า ในหลักการควรกำหนดอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตุลาการศาลปกครองสูงสุดและตุลาการศาลปกครองชั้นต้นเทียบเคียงกับอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของตุลาการศาลฎีกาและตุลาการศาลอุทธรณ์ และโดยที่เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตุลาการศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้กำหนดโดยเทียบเคียงกับอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเดิมของตุลาการศาลยุติธรรม ดังนั้น เมื่อมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนฯ ของตุลาการศาลยุติธรรมใหม่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 จึงควรปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของตุลาการศาลปกครองด้วยเช่นเดียวกัน ประกอบกับตุลาการศาลปกครองชั้นต้นไม่สามารถปรับเลื่อนให้ดำรงตำแหน่งในศาลปกครองสูงสุดได้ ซึ่งแตกต่างจากผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ของศาลยุติธรรมที่สามารถปรับเลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาและตำแหน่งต่าง ๆ ที่สูงขึ้นได้ จึงมีมติเห็นชอบตามร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่แก้ไขเพิ่มเติมตามที่สำนักงานศาลปกครองเสนอทบทวน
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างมาตรา 3 แก้ไขมาตรา 30 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 กำหนดอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของตุลาการศาลปกครองให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ
1.2 ให้ตุลาการศาลปกครองในศาลชั้นต้นตำแหน่งรองอธิบดีศาลปกครองชั้นต้น ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้นให้ได้รับเงินเดือนชั้น 2 - 3 โดยให้เริ่มรับเงินดือนในชั้น 2 และเมื่ออยู่ในชั้น 2 มาครบเจ็ดปีแล้ว ให้เลื่อนชั้นเงินเดือนเป็นชั้น 3 สำหรับตุลาการศาลปกครองชั้นต้น ให้ได้รับเงินเดือนชั้น 1 - 3 โดยให้เริ่มรับเงินเดือนในชั้น 1 เมื่ออยู่ในชั้น 1 มาครบหนึ่งปีแล้ว ให้เลื่อนชั้นเงินเดือนเป็นชั้น 2 และเมื่ออยู่ในชั้น 2 มาครบเจ็ดปีแล้ว ให้เลื่อนชั้นเงินเดือนเป็นชั้น 3
2. ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งตุลาการศาลปกครอง และกำหนดให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งฯ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ แทน
3. ในวาระเริ่มแรก ให้ปรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตุลาการศาลปกครองซึ่งดำรงตำแหน่งใดอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตุลาการศาลปกครองท้ายพระราชบัญญัตินี้นับแต่วันที่ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองกลางเปิดทำการ เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีศาลปกครองชั้นต้น ให้ได้รับเงินเดือนชั้น 2 จนกว่าจะพ้นระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่ศาลปกครองกลางเปิดทำการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ส.ค.44--
-สส-
ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) รายงานว่า
1. สำนักงานศาลปกครองแจ้งว่า หลักจากที่ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองกลางได้เปิดทำการแล้วตุลาการในศาลปกครองชั้นต้นและที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาทบทวนเรื่องดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งเห็นสมควรปรับปรุงโครงสร้างอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของตุลาการในศาลปกครองชั้นต้นให้เหมาะสมและเป็นธรรมยิ่งขึ้น จึงเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาเพื่อพิจารณา
2. กงช. ได้พิจารณาเห็นว่า ในหลักการควรกำหนดอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตุลาการศาลปกครองสูงสุดและตุลาการศาลปกครองชั้นต้นเทียบเคียงกับอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของตุลาการศาลฎีกาและตุลาการศาลอุทธรณ์ และโดยที่เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตุลาการศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้กำหนดโดยเทียบเคียงกับอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเดิมของตุลาการศาลยุติธรรม ดังนั้น เมื่อมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนฯ ของตุลาการศาลยุติธรรมใหม่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 จึงควรปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของตุลาการศาลปกครองด้วยเช่นเดียวกัน ประกอบกับตุลาการศาลปกครองชั้นต้นไม่สามารถปรับเลื่อนให้ดำรงตำแหน่งในศาลปกครองสูงสุดได้ ซึ่งแตกต่างจากผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ของศาลยุติธรรมที่สามารถปรับเลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาและตำแหน่งต่าง ๆ ที่สูงขึ้นได้ จึงมีมติเห็นชอบตามร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่แก้ไขเพิ่มเติมตามที่สำนักงานศาลปกครองเสนอทบทวน
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างมาตรา 3 แก้ไขมาตรา 30 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 กำหนดอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของตุลาการศาลปกครองให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ
1.2 ให้ตุลาการศาลปกครองในศาลชั้นต้นตำแหน่งรองอธิบดีศาลปกครองชั้นต้น ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้นให้ได้รับเงินเดือนชั้น 2 - 3 โดยให้เริ่มรับเงินดือนในชั้น 2 และเมื่ออยู่ในชั้น 2 มาครบเจ็ดปีแล้ว ให้เลื่อนชั้นเงินเดือนเป็นชั้น 3 สำหรับตุลาการศาลปกครองชั้นต้น ให้ได้รับเงินเดือนชั้น 1 - 3 โดยให้เริ่มรับเงินเดือนในชั้น 1 เมื่ออยู่ในชั้น 1 มาครบหนึ่งปีแล้ว ให้เลื่อนชั้นเงินเดือนเป็นชั้น 2 และเมื่ออยู่ในชั้น 2 มาครบเจ็ดปีแล้ว ให้เลื่อนชั้นเงินเดือนเป็นชั้น 3
2. ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งตุลาการศาลปกครอง และกำหนดให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งฯ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ แทน
3. ในวาระเริ่มแรก ให้ปรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตุลาการศาลปกครองซึ่งดำรงตำแหน่งใดอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตุลาการศาลปกครองท้ายพระราชบัญญัตินี้นับแต่วันที่ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองกลางเปิดทำการ เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีศาลปกครองชั้นต้น ให้ได้รับเงินเดือนชั้น 2 จนกว่าจะพ้นระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่ศาลปกครองกลางเปิดทำการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ส.ค.44--
-สส-