1. การแต่งตั้งผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของรัฐมนตรีประจำสำนัก
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ รายนามผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ และนายเนวิน ชิดชอบ) ดังนี้
ที่ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รายนาม ปคร.
1 นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ นายกณพ เกตุชาติ
เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2 นายเนวิน ชิดชอบ นายเกษม รุ่งธนเกียรติ
เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2. แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการ กปร. (สำนักงานคณะกรรมการ
พิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริเสนอ ให้แต่งตั้งนายสมพล พันธุ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (นักบริหาร 10) ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (นักบริหาร 11) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548
3. แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. องค์ประกอบคณะกรรมการ คณะกรรมการที่ปรึกษาประกอบด้วย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ นายอดุล วิเชียรเจริญ โดยมีคุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายประเสริฐ ณ นคร นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ หม่อมราชวงศ์รุจยา อาภากร นางสาวก่องแก้ว วีระประจักษ์ นายเทิม มีเต็ม นางสาวขนิษฐา วงศ์พานิช ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร หรือผู้แทน ผู้แทนสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ
2. อำนาจหน้าที่
2.1 กำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ และเกณฑ์มาตรฐานในการคัดเลือกเอกสารเพื่อเสนอองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติให้ขึ้นทะเบียนเอกสารมรดกภูมิปัญญาแห่งโลก
2.2 ประสานงานกับหน่วยราชการและองค์กรเอกชน ซึ่งมีเอกสารในครอบครอง เพื่อดำเนินงานเป็นเครือข่ายของประเทศไทย
2.3 ร่วมมือกับหน่วยราชการและองค์กรเอกชนในข้อ 2.2 เพื่อคัดเลือกเอกสารที่มีคุณภาพตามเกณฑ์กำหนดขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ และเกณฑ์กำหนดของประเทศไทย
2.4 จัดทำบัญชีเอกสารที่ได้รับการคัดเลือกแล้ว เพื่อเสนอองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
2.5 จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักในคุณค่าของเอกสาร ความจำเป็นที่ต้องอนุรักษ์และเผยแพร่ให้มีการเข้าถึงอย่างกว้างขวาง
2.6 ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับคณะกรรมการที่ปรึกษาระหว่างประเทศ และคณะกรรมการระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก
2.7 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจตามความจำเป็น
2.8 ดำเนินการอื่นใดที่สอดคล้องกับแผนงานนี้
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการชี้แจงว่า ยูเนสโกได้แจ้งให้ประเทศสมาชิกจัดทำทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งชาติ รวมทั้งให้ประเทศสมาชิกจัดส่งข้อเสนอมรดกความทรงจำของแต่ละประเทศเข้ารับการพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลกก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2549 โดยให้แต่ละประเทศเสนอมรดกภูมิปัญญาได้ไม่เกิน 2 ชิ้น ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญกับโครงการมรดกภูมิปัญญาแห่งโลก จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 และคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้เสนอศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ 1 ต่อยูเนสโก และได้รับการพิจารณาอนุมัติจากยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำเมื่อปี พ.ศ. 2546 และโดยที่คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกได้หมดวาระเมื่อปี พ.ศ. 2547 กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาเห็นความจำเป็นด้านการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาไทยจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกดังกล่าว
4. เรื่อง การปรับปรุงคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ การปรับปรุงคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ดังนี้
1. องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยที่ปรับปรุงใหม่
2. บทบาทและอำนาจหน้าที่ของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย
3. องค์ประกอบของคณะผู้แทนไทยในคณะมนตรีและคณะกรรมการร่วมในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย (Thai National Mekong Committee : TNMC) ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Member of the MRC Council for Thailand) เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Member of the MRC Joint Committee for Thailand) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรน้ำในแผ่นดิน (Alternate Member of the MRC Joint Committee for Thailand) ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ผู้แทนกรมชลประทาน ผู้แทนกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ผู้แทนกรมประมง ผู้แทนกรมอุตุนิยมวิทยา ผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง นายอภิชาต อนุกูลอำไพ ศาสตราจารย์ ยุวัฒน์ วุฒิเมธี นายชัยยุทธ สุขศรี โดยมีอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ (Alternate Member of the MRC Joint Committee for Thailand) เป็นกรรมการและเลขานุการ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำที่รับผิดชอบงานคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และผู้อำนวยการสำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมทรัพยากรน้ำเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย
1. ตัดสิน กำหนดแนวนโยบาย ท่าทีและบทบาทของประเทศไทยที่เกี่ยวกับพันธกรณีและโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง
2. พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงานด้านต่าง ๆ รวมทั้งแผนด้านการเงินที่สอดคล้องกับการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
3. ประสานนโยบาย กำกับและประเมินผล พิจารณาปัญหา/อุปสรรค และกำหนดแนวทางแก้ไขสำหรับการดำเนินการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
4. ส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับประเทศภาคี องค์กร/ประเทศผู้อุปถัมภ์ เพื่อไปสู่การพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
5. เสริมสร้างสมรรถนะและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้องของไทย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
6. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน เพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยมอบหมาย
7. สำหรับค่าเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการให้เบิกได้ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องจากกรมทรัพยากรน้ำ
บทบาทและอำนาจหน้าที่ของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย
1. ให้กรมทรัพยากรน้ำ ทำหน้าที่สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย (Thai National Mekong Committee Secretariat : TNMCS) โดยให้อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำเป็นเลขาธิการ และรองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำที่รับผิดชอบงานคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยเป็นรองเลขาธิการ โดยตำแหน่งตามลำดับ
2. ให้สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
2.1 ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางฝ่ายไทย (Focal Point) ในการประสานงานกับสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติประเทศภาคี รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย เพื่อให้งานโครงการพัฒนาลุ่มน้ำโขงสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
2.2 ดำเนินงานด้านเลขานุการของคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย
2.3 เสนอแนะแนวทางและข้อคิดเห็นในประเด็นเชิงนโยบายให้แก่คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทำงานต่าง ๆ ภายใต้คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย
2.4 เสนอแนะกลไก (Mechanism) เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินการแผนงานและโครงการต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
2.5 ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำระบบข้อมูล ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในการพัฒนาลุ่ม แม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
2.6 ให้อำนาจในการขอยืมบุคคลของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นใดของรัฐ ให้มาช่วยปฏิบัติงานยังสำนักงานได้ตามความจำเป็น โดยความเห็นชอบของประธานคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย และให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการขอยืมตัวบุคคลไปช่วยปฏิบัติงานได้ตามที่ร้องขอ
2.7 ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
2.8 สำหรับค่าใช้จ่ายสำนักงาน รวมตลอดทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องใช้สำนักงานต่าง ๆ ให้เบิกจ่ายจากกรมทรัพยากรน้ำ
องค์ประกอบของคณะผู้แทนไทยในคณะมนตรีและคณะกรรมการร่วมในคณะกรรมาธิการลุ่มแม่น้ำโขง
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนไทยในคณะมนตรีในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Minister , Ministry of Natural Resources and Environment , Member of the MRC Council for Thailand)
2. ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนไทยในคณะกรรมการร่วมในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Permanent Secretary, Ministry of Natural Resources and Environment, Member of the MRC Joint Committee for Thailand)
3. รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรน้ำในแผ่นดิน ผู้แทนไทยสำรองในคณะกรรมการร่วมในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Deputy Permanent Secretary, Ministry of Natural Resources and Environment ,Alternate Member of the MRC Joint Committee for Thailand)
4. อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ผู้แทนไทยสำรองในคณะกรรมการร่วมในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง(Director General , Department of Water Resources, Alternate Member of the MRC Joint Committee for Thailand)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานว่า ประเทศไทยร่วมกับประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง 3 ประเทศ คือ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้ลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนในปี 2538 มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission : MRC) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจากประเทศภาคี 4 ประเทศ เพื่อดำเนินการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง โดยความตกลงดังกล่าวกำหนดให้ประเทศภาคีแต่ละประเทศแต่งตั้งผู้แทนระดับรัฐมนตรี เป็นคณะมนตรีในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission : Council) และผู้แทนระดับหัวหน้าส่วนราชการหรือสูงกว่านั้น เป็นคณะกรรมการร่วมในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission Joint Committee) เพื่อเข้าร่วมประชุมตัดสินนโยบายและพิจารณาดำเนินการตามนโยบายกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ปัจจุบัน สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงตั้งอยู่ ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวและประเทศภาคีแต่ละประเทศได้แต่งตั้งคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติเป็นผู้บริหารงาน และโดยที่ การดำเนินงานเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน ภายใต้ความตกลงฯ ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง มีแผนงานและกิจกรรมครอบคลุมงานหลายสาขา ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศริมฝั่งแม่น้ำโขง ที่มี ความแตกต่างกันทั้งทางด้านที่ตั้งภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผลตามวัตถุประสงค์จำเป็นที่คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยจะต้องประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้เชี่ยวชาญที่มีศักยภาพ มีความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงในด้านต่าง ๆ ตลอดจนสามารถเข้าร่วมในการประชุมและเจรจาในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานความร่วมมือกับประเทศภาคีในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน และรักษาผลประโยชน์ของประเทศในขณะเดียวกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ตุลาคม 2548--จบ--
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ รายนามผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ และนายเนวิน ชิดชอบ) ดังนี้
ที่ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รายนาม ปคร.
1 นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ นายกณพ เกตุชาติ
เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2 นายเนวิน ชิดชอบ นายเกษม รุ่งธนเกียรติ
เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2. แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการ กปร. (สำนักงานคณะกรรมการ
พิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริเสนอ ให้แต่งตั้งนายสมพล พันธุ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (นักบริหาร 10) ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (นักบริหาร 11) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548
3. แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. องค์ประกอบคณะกรรมการ คณะกรรมการที่ปรึกษาประกอบด้วย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ นายอดุล วิเชียรเจริญ โดยมีคุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายประเสริฐ ณ นคร นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ หม่อมราชวงศ์รุจยา อาภากร นางสาวก่องแก้ว วีระประจักษ์ นายเทิม มีเต็ม นางสาวขนิษฐา วงศ์พานิช ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร หรือผู้แทน ผู้แทนสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ
2. อำนาจหน้าที่
2.1 กำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ และเกณฑ์มาตรฐานในการคัดเลือกเอกสารเพื่อเสนอองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติให้ขึ้นทะเบียนเอกสารมรดกภูมิปัญญาแห่งโลก
2.2 ประสานงานกับหน่วยราชการและองค์กรเอกชน ซึ่งมีเอกสารในครอบครอง เพื่อดำเนินงานเป็นเครือข่ายของประเทศไทย
2.3 ร่วมมือกับหน่วยราชการและองค์กรเอกชนในข้อ 2.2 เพื่อคัดเลือกเอกสารที่มีคุณภาพตามเกณฑ์กำหนดขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ และเกณฑ์กำหนดของประเทศไทย
2.4 จัดทำบัญชีเอกสารที่ได้รับการคัดเลือกแล้ว เพื่อเสนอองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
2.5 จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักในคุณค่าของเอกสาร ความจำเป็นที่ต้องอนุรักษ์และเผยแพร่ให้มีการเข้าถึงอย่างกว้างขวาง
2.6 ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับคณะกรรมการที่ปรึกษาระหว่างประเทศ และคณะกรรมการระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก
2.7 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจตามความจำเป็น
2.8 ดำเนินการอื่นใดที่สอดคล้องกับแผนงานนี้
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการชี้แจงว่า ยูเนสโกได้แจ้งให้ประเทศสมาชิกจัดทำทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งชาติ รวมทั้งให้ประเทศสมาชิกจัดส่งข้อเสนอมรดกความทรงจำของแต่ละประเทศเข้ารับการพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลกก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2549 โดยให้แต่ละประเทศเสนอมรดกภูมิปัญญาได้ไม่เกิน 2 ชิ้น ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญกับโครงการมรดกภูมิปัญญาแห่งโลก จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 และคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้เสนอศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ 1 ต่อยูเนสโก และได้รับการพิจารณาอนุมัติจากยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำเมื่อปี พ.ศ. 2546 และโดยที่คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกได้หมดวาระเมื่อปี พ.ศ. 2547 กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาเห็นความจำเป็นด้านการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาไทยจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกดังกล่าว
4. เรื่อง การปรับปรุงคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ การปรับปรุงคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ดังนี้
1. องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยที่ปรับปรุงใหม่
2. บทบาทและอำนาจหน้าที่ของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย
3. องค์ประกอบของคณะผู้แทนไทยในคณะมนตรีและคณะกรรมการร่วมในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย (Thai National Mekong Committee : TNMC) ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Member of the MRC Council for Thailand) เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Member of the MRC Joint Committee for Thailand) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรน้ำในแผ่นดิน (Alternate Member of the MRC Joint Committee for Thailand) ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ผู้แทนกรมชลประทาน ผู้แทนกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ผู้แทนกรมประมง ผู้แทนกรมอุตุนิยมวิทยา ผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง นายอภิชาต อนุกูลอำไพ ศาสตราจารย์ ยุวัฒน์ วุฒิเมธี นายชัยยุทธ สุขศรี โดยมีอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ (Alternate Member of the MRC Joint Committee for Thailand) เป็นกรรมการและเลขานุการ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำที่รับผิดชอบงานคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และผู้อำนวยการสำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมทรัพยากรน้ำเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย
1. ตัดสิน กำหนดแนวนโยบาย ท่าทีและบทบาทของประเทศไทยที่เกี่ยวกับพันธกรณีและโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง
2. พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงานด้านต่าง ๆ รวมทั้งแผนด้านการเงินที่สอดคล้องกับการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
3. ประสานนโยบาย กำกับและประเมินผล พิจารณาปัญหา/อุปสรรค และกำหนดแนวทางแก้ไขสำหรับการดำเนินการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
4. ส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับประเทศภาคี องค์กร/ประเทศผู้อุปถัมภ์ เพื่อไปสู่การพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
5. เสริมสร้างสมรรถนะและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้องของไทย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
6. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน เพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยมอบหมาย
7. สำหรับค่าเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการให้เบิกได้ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องจากกรมทรัพยากรน้ำ
บทบาทและอำนาจหน้าที่ของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย
1. ให้กรมทรัพยากรน้ำ ทำหน้าที่สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย (Thai National Mekong Committee Secretariat : TNMCS) โดยให้อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำเป็นเลขาธิการ และรองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำที่รับผิดชอบงานคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยเป็นรองเลขาธิการ โดยตำแหน่งตามลำดับ
2. ให้สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
2.1 ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางฝ่ายไทย (Focal Point) ในการประสานงานกับสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติประเทศภาคี รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย เพื่อให้งานโครงการพัฒนาลุ่มน้ำโขงสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
2.2 ดำเนินงานด้านเลขานุการของคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย
2.3 เสนอแนะแนวทางและข้อคิดเห็นในประเด็นเชิงนโยบายให้แก่คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทำงานต่าง ๆ ภายใต้คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย
2.4 เสนอแนะกลไก (Mechanism) เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินการแผนงานและโครงการต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
2.5 ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำระบบข้อมูล ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในการพัฒนาลุ่ม แม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
2.6 ให้อำนาจในการขอยืมบุคคลของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นใดของรัฐ ให้มาช่วยปฏิบัติงานยังสำนักงานได้ตามความจำเป็น โดยความเห็นชอบของประธานคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย และให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการขอยืมตัวบุคคลไปช่วยปฏิบัติงานได้ตามที่ร้องขอ
2.7 ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
2.8 สำหรับค่าใช้จ่ายสำนักงาน รวมตลอดทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องใช้สำนักงานต่าง ๆ ให้เบิกจ่ายจากกรมทรัพยากรน้ำ
องค์ประกอบของคณะผู้แทนไทยในคณะมนตรีและคณะกรรมการร่วมในคณะกรรมาธิการลุ่มแม่น้ำโขง
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนไทยในคณะมนตรีในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Minister , Ministry of Natural Resources and Environment , Member of the MRC Council for Thailand)
2. ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนไทยในคณะกรรมการร่วมในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Permanent Secretary, Ministry of Natural Resources and Environment, Member of the MRC Joint Committee for Thailand)
3. รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรน้ำในแผ่นดิน ผู้แทนไทยสำรองในคณะกรรมการร่วมในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Deputy Permanent Secretary, Ministry of Natural Resources and Environment ,Alternate Member of the MRC Joint Committee for Thailand)
4. อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ผู้แทนไทยสำรองในคณะกรรมการร่วมในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง(Director General , Department of Water Resources, Alternate Member of the MRC Joint Committee for Thailand)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานว่า ประเทศไทยร่วมกับประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง 3 ประเทศ คือ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้ลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนในปี 2538 มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission : MRC) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจากประเทศภาคี 4 ประเทศ เพื่อดำเนินการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง โดยความตกลงดังกล่าวกำหนดให้ประเทศภาคีแต่ละประเทศแต่งตั้งผู้แทนระดับรัฐมนตรี เป็นคณะมนตรีในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission : Council) และผู้แทนระดับหัวหน้าส่วนราชการหรือสูงกว่านั้น เป็นคณะกรรมการร่วมในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission Joint Committee) เพื่อเข้าร่วมประชุมตัดสินนโยบายและพิจารณาดำเนินการตามนโยบายกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ปัจจุบัน สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงตั้งอยู่ ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวและประเทศภาคีแต่ละประเทศได้แต่งตั้งคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติเป็นผู้บริหารงาน และโดยที่ การดำเนินงานเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน ภายใต้ความตกลงฯ ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง มีแผนงานและกิจกรรมครอบคลุมงานหลายสาขา ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศริมฝั่งแม่น้ำโขง ที่มี ความแตกต่างกันทั้งทางด้านที่ตั้งภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผลตามวัตถุประสงค์จำเป็นที่คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยจะต้องประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้เชี่ยวชาญที่มีศักยภาพ มีความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงในด้านต่าง ๆ ตลอดจนสามารถเข้าร่วมในการประชุมและเจรจาในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานความร่วมมือกับประเทศภาคีในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน และรักษาผลประโยชน์ของประเทศในขณะเดียวกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ตุลาคม 2548--จบ--