ทำเนียบรัฐบาล--26 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
เหตุผลความจำเป็นที่จะต้องมีพระราชบัญญัติวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฉบับนี้ เนื่องจากเพื่อเป็นการจัดตั้งสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมการศึกษาและวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานของวิชาชีพ ตลอดจนกำหนดจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยสภาวิชาชีพดังกล่าวอาจจะเสนอแนะ แต่จะไม่ก้าวล่วงหน้าเข้าไปเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรสาขาวิชาการด้านต่าง ๆ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษา
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็วและวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้พัฒนาและขยายสาขาออกไปมากมาย พระราชบัญญัติต่าง ๆ ของไทยที่เกี่ยวกับวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีอยู่ ยังไม่สามารถครอบคลุมอาชีพใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น อีกทั้งพระราชบัญญัติที่มีอยู่เดิมเน้นการควบคุมแทนการส่งเสริม นอกจากนี้วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการสร้างรายได้และความมั่นคงของชาติ จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพและให้ได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ เพื่อให้นักวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก รัฐจึงสมควรที่จะมีการส่งเสริมและสนับสนุนนักวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เจริญก้าวหน้า รวมทั้งมีคุณภาพและขีดความสามารถในการปฏิบัติงานและมีความรับผิดชอบในการประกอบอาชีพเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์และการบริการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ตลอดจนมุ่งเน้นความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของสาธารณชน
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมรักษาการตามร่างพระราชบัญญัตินี้
2. ให้จัดตั้งสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นนิติบุคคล โดยกำหนดให้มีสำนักงานสภา และมีผู้อำนวยการสำนักงานเป็นผู้บริหารงาน โดยมีวาระครั้งละ 4 ปี
3. กำหนดวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
4. กำหนดรายได้ของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
5. กำหนดสิทธิและหน้าที่การเข้าเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
6. กำหนดให้มีคณะกรรมการฯ ประกอบด้วย นายกสภา กรรมการโดยตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิและวาระการดำรงตำแหน่ง
7. กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลในการจัดตั้งและเงินอุดหนุนรายปีตามความเหมาะสม
8. กำหนดให้มีการตรวจสอบทางการเงินการบัญชี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
เหตุผลความจำเป็นที่จะต้องมีพระราชบัญญัติวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฉบับนี้ เนื่องจากเพื่อเป็นการจัดตั้งสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมการศึกษาและวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานของวิชาชีพ ตลอดจนกำหนดจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยสภาวิชาชีพดังกล่าวอาจจะเสนอแนะ แต่จะไม่ก้าวล่วงหน้าเข้าไปเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรสาขาวิชาการด้านต่าง ๆ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษา
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็วและวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้พัฒนาและขยายสาขาออกไปมากมาย พระราชบัญญัติต่าง ๆ ของไทยที่เกี่ยวกับวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีอยู่ ยังไม่สามารถครอบคลุมอาชีพใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น อีกทั้งพระราชบัญญัติที่มีอยู่เดิมเน้นการควบคุมแทนการส่งเสริม นอกจากนี้วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการสร้างรายได้และความมั่นคงของชาติ จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพและให้ได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ เพื่อให้นักวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก รัฐจึงสมควรที่จะมีการส่งเสริมและสนับสนุนนักวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เจริญก้าวหน้า รวมทั้งมีคุณภาพและขีดความสามารถในการปฏิบัติงานและมีความรับผิดชอบในการประกอบอาชีพเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์และการบริการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ตลอดจนมุ่งเน้นความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของสาธารณชน
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมรักษาการตามร่างพระราชบัญญัตินี้
2. ให้จัดตั้งสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นนิติบุคคล โดยกำหนดให้มีสำนักงานสภา และมีผู้อำนวยการสำนักงานเป็นผู้บริหารงาน โดยมีวาระครั้งละ 4 ปี
3. กำหนดวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
4. กำหนดรายได้ของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
5. กำหนดสิทธิและหน้าที่การเข้าเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
6. กำหนดให้มีคณะกรรมการฯ ประกอบด้วย นายกสภา กรรมการโดยตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิและวาระการดำรงตำแหน่ง
7. กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลในการจัดตั้งและเงินอุดหนุนรายปีตามความเหมาะสม
8. กำหนดให้มีการตรวจสอบทางการเงินการบัญชี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 ก.ย. 2543--
-สส-