ทำเนียบรัฐบาล--14 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยรายงานภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 ค่อนข้างซบเซา โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 ระดับดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) ปิดที่ระดับ 323.29 จุด ลดลงร้อยละ 32.9เทียบกับระดับ 481.92 จุด ณ สิ้นปี 2542 ทั้งนี้ในช่วง 5 เดือนแรกของปี SET Index สูงสุดที่ระดับ 498.46 จุด ในวันที่4 มกราคม 2543 และต่ำสุดที่ระดับ 307.23 จุด ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2543
2. ส่วนมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ก็ได้ปรับตัวลดลง โดยในช่วงระหว่างเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2543 มีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 5,106.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.45 เทียบกับมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในปี2542 ซึ่งเท่ากับ 6,570.56 ล้านบาท และลดลงร้อยละ 10.57 เทียบกับมูลค่าการซื้อขายในช่วงเดียวกันของปีก่อน(มกราคม - พฤษภาคม 2542) ที่ระดับ 5,710.87 ล้านบาท
สาเหตุของความซบเซาของภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่
1. ปัจจัยภายนอกประเทศ
1.1 การปรับลดน้ำหนักตลาดหุ้นไทยในการคำนวณ MSCI Index โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ Morgan Stanley Capital International (MSCI) ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงน้ำหนักในการคำนวณ MSCI Index หลายครั้งโดยในช่วงต้นปีได้ประกาศปรับเพิ่มน้ำหนักในการคำนวณ MSCI Index ของตลาดหุ้นจีน ไต้หวัน มาเลเซีย ซึ่งส่งผลให้น้ำหนักของตลาดหุ้นไทยใน MSCI Index ลดลงโดยอัตโนมัติ และในวันที่ 17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา MSCI ก็ได้ประกาศปรับลดน้ำหนักตลาดหุ้นไทย จากร้อยละ 2.52 เหลือร้อยละ 2.08
1.2 การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ แนวโน้มการปรับขั้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ นับเป็นสาเหตุหลักที่สำคัญประการหนึ่งที่ส่งผลต่อภาวะความซบเซาของตลาดหุ้นทั่วโลก โดยปัจจัยดังกล่าวมีผลกระทบในทางลบต่อภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทยใน 2 ด้านด้วยกัน คือ
1) ผลกระทบทางจิตวิทยาต่อตลาดหุ้นทั่วโลกรวมทั้งตลาด หุ้นไทย ซึ่งปรับลดลงตามภาวะตลาดหุ้นสหรัฐฯ จากการที่ผู้ลงทุนได้ทำการเทขายหุ้นโดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี สื่อ และโทรคมนาคม ของตลาดหุ้น Nasaq ซึ่งเป็นผลจากการคาดการณ์ของผู้ลงทุนต่อแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ
2) แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะนำไปสู่กระแสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายประเทศในเวลาต่อมา ทั้งนี้เพื่อป้องกันภาวะเงินทุนไหลออกและการอ่อนตัวลงของค่าเงินของประเทศนั้น ๆ เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในขณะที่ประเทศต่าง ๆ มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามธนาคารกลางสหรัฐฯ แต่ประเทศไทยยังจำเป็นต้องคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ เป็นผลให้อัตราผลตอบแทนการลงทุนในตลาดการเงินต่างประเทศเมื่อเทียบกับการลงทุนในประเทศไทยมีค่าสูงขึ้น จึงเกิดภาวะเงินทุนไหลออกเพื่อไปลงทุนในตลาดเงินต่างประเทศ ซึ่งนับเป็นผลกระทบในด้านลบต่อภาวะตลาดหลักทรัพย์ของไทย
1.3 การปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก ดัชนีตลาดต่างประเทศส่วนใหญ่ปรับลดลง โดยดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลดลงจาก 11,497.12 จุด ณ สิ้นปี 2542 มาอยู่ที่ 10,522.23 จุด ณ สิ้นพฤษภาคม 2543 หรือลดลง8.48% และดัชนีตลาดหุ้น NASDAQ ปรับตัวลดลง 4,069.31 จุด ณ สิ้นปี 2542 มาอยู่ที่ 3,400.91 จุด ณ สิ้นพฤษภาคม 2543 หรือลดลง 16.42% และหากเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นในภูมิภาค พบว่าดัชนีของตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ดัชนีราคาหุ้นของประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็น 32.92% 32.88% และ30.99%
2. ปัจจัยภายในประเทศ
2.1 ความล่าช้าในการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
2.2 การเพิ่มทุนของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน
2.3 การอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท
2.4 การขายหุ้นอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างประเทศ
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และบริษัทหลักทรัพย์ได้ริเริ่มมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหา ดังนี้
1. ปัญหาด้านอุปทาน (supply) แก้ไขปัญหาโดยการจัดตั้งตลาดอนุพันธ์ (Derivatives) ปรับปรุงระบบซื้อขาย อำนวยความสะดวกในการลงทุนแก่นักลงทุนต่างชาติ
2. ปริมาณการลงทุนโดยนักลงทุนรายย่อยต่ำ แก้ไขปัญหาโดยการจัดตั้ง Exchange Traded Fund (ETF)ของหลักทรัพย์ในประเทศ และจัดตั้ง Exchange Traded Fund (ETF) ของหลักทรัพย์ต่างประเทศ ส่งเสริมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ปรับโครงสร้างของบริษัทหลักทรัพย์ ลดค่าใช้จ่ายของบริษัทหลักทรัพย์ในการดำเนินธุรกิจ
3. ปัญหาทางโครงสร้างของตลาด แก้ไขปัญหาโดยการเปลี่ยนรูปแบบการบริหารและการดำเนินงานของตลาดฯ ปรับโครงสร้างการกำกับดูแลตลาดทุน
นอกจากนี้การสนับสนุนจากรัฐบาลจะช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูของตลาดทุนของไทย ดังนี้
1. ปัญหาด้านอุปทาน (supply) ดำเนินการกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจให้แก่นักลงทุนรายย่อย อำนวยความสะดวกในการลงทุนแก่นักลงทุนต่างชาติ การจดทะเบียนของบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนจาก BOI การลดหย่อนอัตราภาษีให้แก่บริษัทจดทะเบียน
2. ปริมาณการลงทุนโดยนักลงทุนรายย่อยต่ำ ดำเนินการลดหย่อนภาษีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จัดตั้ง Exchange Traded Fund (ETF) ของหลักทรัพย์ต่างประเทศ การลดหย่อนภาษีสำหรับการลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้น
3. ปัญหาทางโครงสร้างของตลาด ดำเนินการเปลี่ยนรูปแบบการบริหารและการดำเนินงานของตลาดฯ การรวมตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ปรับโครงสร้างการกำกับดูแลตลาดทุน
การฟื้นฟูตลาดทุนจะส่งผลดีต่อประเทศชาติ คือ
การเพิ่มสัดส่วนของเงินออมในการเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จะช่วยให้ นักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากเงินออมมากขึ้น ส่งเสริมให้มีการออมทรัพย์มากขึ้น ประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงของการลงทุน (portfoliodiversification) เพิ่มขึ้น
ตลาดทุนที่มีขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องสูงจะช่วย เพิ่มทางเลือกในการระดมทุนให้แก่บริษัทไทย ลดภาระหนี้สินในการกู้ยืมของบริษัทไทย เพิ่มปริมาณการลงทุนจากต่างประเทศ
นอกจากนี้การฟื้นฟูตลาดทุนจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการเงิน ซึ่งจะยกระดับมาตรฐานและประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมวาณิชธนกิจ ส่งเสริมมาตรฐานของธุรกิจการจัดการการลงทุน เพิ่มความสนใจจาก Rating Agency และสถาบันวิจัยต่างประเทศในบริษัทไทย ส่งเสริมอุตสาหกรรมประกันภัยโดยการเพิ่มช่องทางในการลงทุนของบริษัทประกันภัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 มิ.ย. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยรายงานภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 ค่อนข้างซบเซา โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 ระดับดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) ปิดที่ระดับ 323.29 จุด ลดลงร้อยละ 32.9เทียบกับระดับ 481.92 จุด ณ สิ้นปี 2542 ทั้งนี้ในช่วง 5 เดือนแรกของปี SET Index สูงสุดที่ระดับ 498.46 จุด ในวันที่4 มกราคม 2543 และต่ำสุดที่ระดับ 307.23 จุด ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2543
2. ส่วนมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ก็ได้ปรับตัวลดลง โดยในช่วงระหว่างเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2543 มีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 5,106.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.45 เทียบกับมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในปี2542 ซึ่งเท่ากับ 6,570.56 ล้านบาท และลดลงร้อยละ 10.57 เทียบกับมูลค่าการซื้อขายในช่วงเดียวกันของปีก่อน(มกราคม - พฤษภาคม 2542) ที่ระดับ 5,710.87 ล้านบาท
สาเหตุของความซบเซาของภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่
1. ปัจจัยภายนอกประเทศ
1.1 การปรับลดน้ำหนักตลาดหุ้นไทยในการคำนวณ MSCI Index โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ Morgan Stanley Capital International (MSCI) ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงน้ำหนักในการคำนวณ MSCI Index หลายครั้งโดยในช่วงต้นปีได้ประกาศปรับเพิ่มน้ำหนักในการคำนวณ MSCI Index ของตลาดหุ้นจีน ไต้หวัน มาเลเซีย ซึ่งส่งผลให้น้ำหนักของตลาดหุ้นไทยใน MSCI Index ลดลงโดยอัตโนมัติ และในวันที่ 17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา MSCI ก็ได้ประกาศปรับลดน้ำหนักตลาดหุ้นไทย จากร้อยละ 2.52 เหลือร้อยละ 2.08
1.2 การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ แนวโน้มการปรับขั้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ นับเป็นสาเหตุหลักที่สำคัญประการหนึ่งที่ส่งผลต่อภาวะความซบเซาของตลาดหุ้นทั่วโลก โดยปัจจัยดังกล่าวมีผลกระทบในทางลบต่อภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทยใน 2 ด้านด้วยกัน คือ
1) ผลกระทบทางจิตวิทยาต่อตลาดหุ้นทั่วโลกรวมทั้งตลาด หุ้นไทย ซึ่งปรับลดลงตามภาวะตลาดหุ้นสหรัฐฯ จากการที่ผู้ลงทุนได้ทำการเทขายหุ้นโดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี สื่อ และโทรคมนาคม ของตลาดหุ้น Nasaq ซึ่งเป็นผลจากการคาดการณ์ของผู้ลงทุนต่อแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ
2) แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะนำไปสู่กระแสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายประเทศในเวลาต่อมา ทั้งนี้เพื่อป้องกันภาวะเงินทุนไหลออกและการอ่อนตัวลงของค่าเงินของประเทศนั้น ๆ เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในขณะที่ประเทศต่าง ๆ มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามธนาคารกลางสหรัฐฯ แต่ประเทศไทยยังจำเป็นต้องคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ เป็นผลให้อัตราผลตอบแทนการลงทุนในตลาดการเงินต่างประเทศเมื่อเทียบกับการลงทุนในประเทศไทยมีค่าสูงขึ้น จึงเกิดภาวะเงินทุนไหลออกเพื่อไปลงทุนในตลาดเงินต่างประเทศ ซึ่งนับเป็นผลกระทบในด้านลบต่อภาวะตลาดหลักทรัพย์ของไทย
1.3 การปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก ดัชนีตลาดต่างประเทศส่วนใหญ่ปรับลดลง โดยดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลดลงจาก 11,497.12 จุด ณ สิ้นปี 2542 มาอยู่ที่ 10,522.23 จุด ณ สิ้นพฤษภาคม 2543 หรือลดลง8.48% และดัชนีตลาดหุ้น NASDAQ ปรับตัวลดลง 4,069.31 จุด ณ สิ้นปี 2542 มาอยู่ที่ 3,400.91 จุด ณ สิ้นพฤษภาคม 2543 หรือลดลง 16.42% และหากเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นในภูมิภาค พบว่าดัชนีของตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ดัชนีราคาหุ้นของประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็น 32.92% 32.88% และ30.99%
2. ปัจจัยภายในประเทศ
2.1 ความล่าช้าในการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
2.2 การเพิ่มทุนของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน
2.3 การอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท
2.4 การขายหุ้นอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างประเทศ
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และบริษัทหลักทรัพย์ได้ริเริ่มมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหา ดังนี้
1. ปัญหาด้านอุปทาน (supply) แก้ไขปัญหาโดยการจัดตั้งตลาดอนุพันธ์ (Derivatives) ปรับปรุงระบบซื้อขาย อำนวยความสะดวกในการลงทุนแก่นักลงทุนต่างชาติ
2. ปริมาณการลงทุนโดยนักลงทุนรายย่อยต่ำ แก้ไขปัญหาโดยการจัดตั้ง Exchange Traded Fund (ETF)ของหลักทรัพย์ในประเทศ และจัดตั้ง Exchange Traded Fund (ETF) ของหลักทรัพย์ต่างประเทศ ส่งเสริมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ปรับโครงสร้างของบริษัทหลักทรัพย์ ลดค่าใช้จ่ายของบริษัทหลักทรัพย์ในการดำเนินธุรกิจ
3. ปัญหาทางโครงสร้างของตลาด แก้ไขปัญหาโดยการเปลี่ยนรูปแบบการบริหารและการดำเนินงานของตลาดฯ ปรับโครงสร้างการกำกับดูแลตลาดทุน
นอกจากนี้การสนับสนุนจากรัฐบาลจะช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูของตลาดทุนของไทย ดังนี้
1. ปัญหาด้านอุปทาน (supply) ดำเนินการกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจให้แก่นักลงทุนรายย่อย อำนวยความสะดวกในการลงทุนแก่นักลงทุนต่างชาติ การจดทะเบียนของบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนจาก BOI การลดหย่อนอัตราภาษีให้แก่บริษัทจดทะเบียน
2. ปริมาณการลงทุนโดยนักลงทุนรายย่อยต่ำ ดำเนินการลดหย่อนภาษีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จัดตั้ง Exchange Traded Fund (ETF) ของหลักทรัพย์ต่างประเทศ การลดหย่อนภาษีสำหรับการลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้น
3. ปัญหาทางโครงสร้างของตลาด ดำเนินการเปลี่ยนรูปแบบการบริหารและการดำเนินงานของตลาดฯ การรวมตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ปรับโครงสร้างการกำกับดูแลตลาดทุน
การฟื้นฟูตลาดทุนจะส่งผลดีต่อประเทศชาติ คือ
การเพิ่มสัดส่วนของเงินออมในการเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จะช่วยให้ นักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากเงินออมมากขึ้น ส่งเสริมให้มีการออมทรัพย์มากขึ้น ประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงของการลงทุน (portfoliodiversification) เพิ่มขึ้น
ตลาดทุนที่มีขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องสูงจะช่วย เพิ่มทางเลือกในการระดมทุนให้แก่บริษัทไทย ลดภาระหนี้สินในการกู้ยืมของบริษัทไทย เพิ่มปริมาณการลงทุนจากต่างประเทศ
นอกจากนี้การฟื้นฟูตลาดทุนจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการเงิน ซึ่งจะยกระดับมาตรฐานและประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมวาณิชธนกิจ ส่งเสริมมาตรฐานของธุรกิจการจัดการการลงทุน เพิ่มความสนใจจาก Rating Agency และสถาบันวิจัยต่างประเทศในบริษัทไทย ส่งเสริมอุตสาหกรรมประกันภัยโดยการเพิ่มช่องทางในการลงทุนของบริษัทประกันภัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 มิ.ย. 2543--
-สส-