ทำเนียบรัฐบาล--12 ธ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานว่า ตามที่ได้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมภาคใต้ในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล พัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรัง และนครศรีธรรมราช ในช่งเดือนพฤศจิกายน 2543 ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหาย รวมทั้งลูกค้าของสถาบันการเงินของรัฐด้วย กระทรวงการคลังจึงได้ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันการเงินพาณิชย์ของรัฐ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด สรุปความเสียหายในเบื้องต้น และดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือ สรุปได้ดังนี้
1. สรุปความเสียหายเบื้องต้น ปรากฏว่า สถาบันการเงินดังกล่าวข้างต้นมีจำนวนลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่ความเสียหาย จำนวน 106,784 ราย จากการสำรวจลูกค้าที่ประสบความเสียหายจริง ๆ สถาบันการเงินได้ทำการประเมินความเสียหายในขณะนี้ มูลค่ามีความเสียหายเท่ากับประมาณ 9,541.77 ล้านบาท
2. มาตรการให้ความช่วยเหลือ
2.1 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
1) การให้ความช่วยเหลือโดยตรงจาก ธ.ก.ส.
(1) เกษตรกรรายคน
หนี้เดิม ผัดผ่อนไม่คิดดอกเบี้ยปรับ ยืดกำหนดชำระคืนหนี้เงินกู้ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้
กู้ใหม่ ให้เงินกู้เพื่อฟื้นฟูการผลิต โดยเป็นการใช้จ่ายและการลงทุน โดยลดหย่อนหลักเกณฑ์การให้กู้ยืม เช่น การให้หลักประกันเดิมเพื่อกู้ในวงเงินที่เพิ่มขึ้น
(2) สถาบันเกษตรกร ให้เงินกู้สัญญาใหม่เป็นกรณีพิเศษเพื่อให้สถาบันเกษตรกรใช้เงินทุนให้กู้แก่สมาชิกที่ประสบภัย โดยลดหย่อนหลักเกณฑ์การให้กู้
2) การให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษจากรัฐบาล เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรและสมาชิกสถาบันเกษตรกรที่ประสบภัยภาคใต้ ควรที่จะงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้จากเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรเป็นเวลา 2 ปี เริ่มตั้งแต่ปีที่เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. หรือสมาชิกสถาบันเกษตรกรประสบภัย ซึ่งความช่วยเหลือดังกล่าวรัฐบาลจะต้องจัดสรรเงินเพื่อชดเชยให้แก่ ธ.ก.ส. จำนวน 982 ล้านบาท
2.2 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
ธอส. ได้จัดทำโครงการให้สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ ทั้งที่เป็นลูกค้าเดิมของธนาคาร และประชาชนทั่วไปผู้ได้รับความเสียหาย โดยให้สินเชื่อเพื่อการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และผ่อนปรนภาระการผ่อนชำระรายเดือนแก่ลูกค้าเดิมของธนาคารฯ ตามความจำเป็นของแต่ละราย ได้แก่ ผ่อนระยะเวลาชำระ งดเบี้ยปรับ ทั้งนี้จะพิจารณาอนุมัติให้โดยเร็วกว่าปกติ
2.3 ธนาคาออมสิน
ธนาคารฯ ได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยน้ำท่วม ดังนี้
1) การให้เงินกู้แก่ลูกค้าผู้ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยน้ำท่วม ซึ่งเป็นลูกค้าสินเชื่อเคหะ สินเชื่อสวัสดิการ สินเชื่อ SMEs สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทและลูกค้าเงินฝาก โดยมีเงื่อนไขการคิดอัตราดอกเบี้ยเป็นกรณีไปในแต่ละประเภทของสินเชื่อ
2) การผ่อนปรนการชำระหนี้
(1) ลดเงินงวดที่ชำระหนี้ตามความเหมาะสมเป็นระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดนัด
(2) งดการชำระหนี้ชั่วคราวไม่เกิน 6 เดือน ตามความเหมาะสมโดยไม่ถือเป็นการผิดนัด
ทั้งนี้ จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไปขึ้นอยู่กับประเภทของลูกหนี้และสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
2.4 ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
เนื่องจากลูกค้าของ ธสน. ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่บนที่ดอน น้ำจึงท่วมไม่ถึง และนอกจากนี้เป็นธุรกิจเฉพาะ คือ ยางพาราเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่ได้รับความเสียหาย ดังนั้น ลูกค้าจึงมีความเสียหายเพียง 9 ราย สำหรับมาตรการที่ ธสน. จะให้ความช่วยเหลือลูกค้านั้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างการตรวจเยี่ยมลูกค้าที่ได้ประสบปัญหาน้ำท่วมเพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป
2.5 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทสไทย (IFCT)
IFCT ได้จัดทีมงานพิเศษจากสำนักงานใหญ่ตรวจเยี่ยมลูกค้าในพื้นที่ โดยมีมาตรการช่วยเหลือ ดังนี้
1) การผ่อนผันในเรื่องการชำระหนี้ต้นเงินที่กู้ไปแล้วและดอกเบี้ยที่จะถึงกำหนดชำระ จะพิจารณาผ่อนผันให้เลื่อนกำหนดชำระหรือผ่อนชำระ โดยงดคิดเบี้ยปรับ ทั้งนี้ระยะเวลาในการให้เลื่อนหรือผ่อนชำระจะขึ้นอยู่กับขนาดของความเสียหาย และระยะเวลาที่จะใช้ในกาารปรับปรุงแก้ไขจนกิจการกลับสู่สถานการณ์ปกติ
2) การให้ความช่วยเหลือเงินกู้เพื่อซ่อมแซม ปรับปรุง หรือจัดซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ในกาารผลิตจะพิจารณาจัดสรรเงินกู้อัตราดอกเบี้ยพิเศษ โดยจะพิจารณาจากความจำเป็นในการใช้เงินกู้ของลูกค้าแต่ละรายเป็นกรณี ๆ ไปในส่วนของหลักประกันเงินกู้จะพิจารณาช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษโดยจะพิจารณาจากหลักประกันเงินกู้ที่มีอยู่เดิมเป็นหลัก
3) การให้ความช่วยเหลือเงินกู้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน จะพิจารณาการให้ความช่วยเหลือในลักษณะเดียวกันกับการให้ความช่วยเหลือในข้อ 2)
4) กรณีที่ลูกค้ามีการประกันภัยที่ครอบคลุมความเสียหาย ในช่วงระหว่างที่รอการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยหรือช่วงที่ลูกค้าอยู่ระหว่างการเรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้หรือต้องมีการทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นการชั่วคราวจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือโดยการ Bridging Finance ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ
2.6 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดังนี้
1) ลูกหนี้ NPL
(1) เร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยเร็ว ทั้ง NPL ที่แก้ไขแล้ว และที่ยังไม่แก้ไข
(2) ผ่อนปรนเงื่อนไขให้ดีที่สุดภายใต้กรอบระเบียบปฏิบัติ
(3) ให้กู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อฟื้นฟูธุรกิจโดยให้เงื่อนไขผ่อนปรนตามความเหมาะสม
2) ลูกหนี้ปกติ
(1) ต้องทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยเร็ว โดยให้เงื่อนไขที่ผ่อนปรนพิเศษภายใต้กรอบระเบียบปฏิบัติ
(2) ให้กู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อฟื้นฟูธุรกิจ ซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหาย
(3) ผ่อนปรนเงื่อนไขต่าง ๆ เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย จำนวนเงินที่ผ่อนชำระและระยะเวลาที่ผ่อนชำระ
2.7 บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด
ลูกหนี้ของบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิทฯ เป็นลูกค้าที่มีปัญหาอยู่แล้ว ดังนั้น จึงแบ่งการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
1) ลูกหนี้ที่ยังไม่ได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ปกติบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิทฯ จะดำเนินการในลักษณะที่ผ่อนปรนเท่าที่ระเบียบปฏิบัติจะเอื้ออำนวย
2) ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จแล้ว (มีสัญญาใหม่) ก็จะพิจารณาว่าหากไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญาใหม่ก็อาจจะไม่ถือว่าเป็นลูกหนี้ผิดนัด (Call default)
2.8 ธนาคารไทยธนาคาร
ธนาคารฯ ได้จัดทำมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกค้า ดังนี้
1) ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมลงร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน แก่ลูกค้าในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2543 และสำหรับลูกค้าที่อยู่ในเขตที่ได้รับความเสียหายอื่น ๆ กำลังพิจารณาให้ความช่วยเหลือในลักษณะเดียวกัน
2) พิจารณาผ่อนปรนระยะเวลาและเงื่อนไขการชำระหนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานของธุรกิจในปัจจุบัน
นอกจากการให้ความช่วยเหลือลูกค้าธนาคารดังกล่าวข้างต้นแล้ว ธนาคารยังได้อนุมัติเงินเพื่อซื้อเครื่องมือแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงจลา เป็นจำนวนเงินประมาณ 220,000 บาท
2.9 ธนาคารนครหลวงไทย
ธนาคารฯ ได้จัดทำมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้า ดังนี้
1) ลดอัตราดอกเบี้ยชั่วคราวให้แก่ลูกค้าสินเชื่อประมาณ 2% เป็นระยะเวลา 6 - 12 เดือน
2) เพิ่มวงเงินสินเชื่อให้กับลูกค้าสินเชื่อที่ได้รับผลกระทบและมีประวัติการติดต่อที่ดี
3) ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ หรือลดยอดการชำระต่อเดือนตามกำลังความสามารถใหม่
อนึ่ง เพื่อให้การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมภาคใต้ได้รับความช่วยเหลืออย่างทั่วถึงสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ได้จัดทำแผนการประชาสัมพันธ์ตามความเหมาะสมของแต่ละสถาบันการเงินทุกแห่ง เช่นจัดให้พนักงานสาขาออกตรวจเยี่ยมลูกค้าและประชาชนผู้ที่ได้รับความเสียหาย เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ พร้อมประชาสัมพันธ์มาตรการให้ทราบเพื่อมาใช้บริการต่อไป รวมทั้งมีหนังสือไปถึงลูกค้าที่ได้รับความเดือดร้อนโดยตรง
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังได้ขอความร่วมมือจากสมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารต่างประเทศเพื่อให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสมต่อไปด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 ธ.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานว่า ตามที่ได้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมภาคใต้ในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล พัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรัง และนครศรีธรรมราช ในช่งเดือนพฤศจิกายน 2543 ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหาย รวมทั้งลูกค้าของสถาบันการเงินของรัฐด้วย กระทรวงการคลังจึงได้ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันการเงินพาณิชย์ของรัฐ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด สรุปความเสียหายในเบื้องต้น และดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือ สรุปได้ดังนี้
1. สรุปความเสียหายเบื้องต้น ปรากฏว่า สถาบันการเงินดังกล่าวข้างต้นมีจำนวนลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่ความเสียหาย จำนวน 106,784 ราย จากการสำรวจลูกค้าที่ประสบความเสียหายจริง ๆ สถาบันการเงินได้ทำการประเมินความเสียหายในขณะนี้ มูลค่ามีความเสียหายเท่ากับประมาณ 9,541.77 ล้านบาท
2. มาตรการให้ความช่วยเหลือ
2.1 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
1) การให้ความช่วยเหลือโดยตรงจาก ธ.ก.ส.
(1) เกษตรกรรายคน
หนี้เดิม ผัดผ่อนไม่คิดดอกเบี้ยปรับ ยืดกำหนดชำระคืนหนี้เงินกู้ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้
กู้ใหม่ ให้เงินกู้เพื่อฟื้นฟูการผลิต โดยเป็นการใช้จ่ายและการลงทุน โดยลดหย่อนหลักเกณฑ์การให้กู้ยืม เช่น การให้หลักประกันเดิมเพื่อกู้ในวงเงินที่เพิ่มขึ้น
(2) สถาบันเกษตรกร ให้เงินกู้สัญญาใหม่เป็นกรณีพิเศษเพื่อให้สถาบันเกษตรกรใช้เงินทุนให้กู้แก่สมาชิกที่ประสบภัย โดยลดหย่อนหลักเกณฑ์การให้กู้
2) การให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษจากรัฐบาล เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรและสมาชิกสถาบันเกษตรกรที่ประสบภัยภาคใต้ ควรที่จะงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้จากเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรเป็นเวลา 2 ปี เริ่มตั้งแต่ปีที่เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. หรือสมาชิกสถาบันเกษตรกรประสบภัย ซึ่งความช่วยเหลือดังกล่าวรัฐบาลจะต้องจัดสรรเงินเพื่อชดเชยให้แก่ ธ.ก.ส. จำนวน 982 ล้านบาท
2.2 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
ธอส. ได้จัดทำโครงการให้สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ ทั้งที่เป็นลูกค้าเดิมของธนาคาร และประชาชนทั่วไปผู้ได้รับความเสียหาย โดยให้สินเชื่อเพื่อการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และผ่อนปรนภาระการผ่อนชำระรายเดือนแก่ลูกค้าเดิมของธนาคารฯ ตามความจำเป็นของแต่ละราย ได้แก่ ผ่อนระยะเวลาชำระ งดเบี้ยปรับ ทั้งนี้จะพิจารณาอนุมัติให้โดยเร็วกว่าปกติ
2.3 ธนาคาออมสิน
ธนาคารฯ ได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยน้ำท่วม ดังนี้
1) การให้เงินกู้แก่ลูกค้าผู้ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยน้ำท่วม ซึ่งเป็นลูกค้าสินเชื่อเคหะ สินเชื่อสวัสดิการ สินเชื่อ SMEs สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทและลูกค้าเงินฝาก โดยมีเงื่อนไขการคิดอัตราดอกเบี้ยเป็นกรณีไปในแต่ละประเภทของสินเชื่อ
2) การผ่อนปรนการชำระหนี้
(1) ลดเงินงวดที่ชำระหนี้ตามความเหมาะสมเป็นระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดนัด
(2) งดการชำระหนี้ชั่วคราวไม่เกิน 6 เดือน ตามความเหมาะสมโดยไม่ถือเป็นการผิดนัด
ทั้งนี้ จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไปขึ้นอยู่กับประเภทของลูกหนี้และสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
2.4 ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
เนื่องจากลูกค้าของ ธสน. ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่บนที่ดอน น้ำจึงท่วมไม่ถึง และนอกจากนี้เป็นธุรกิจเฉพาะ คือ ยางพาราเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่ได้รับความเสียหาย ดังนั้น ลูกค้าจึงมีความเสียหายเพียง 9 ราย สำหรับมาตรการที่ ธสน. จะให้ความช่วยเหลือลูกค้านั้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างการตรวจเยี่ยมลูกค้าที่ได้ประสบปัญหาน้ำท่วมเพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป
2.5 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทสไทย (IFCT)
IFCT ได้จัดทีมงานพิเศษจากสำนักงานใหญ่ตรวจเยี่ยมลูกค้าในพื้นที่ โดยมีมาตรการช่วยเหลือ ดังนี้
1) การผ่อนผันในเรื่องการชำระหนี้ต้นเงินที่กู้ไปแล้วและดอกเบี้ยที่จะถึงกำหนดชำระ จะพิจารณาผ่อนผันให้เลื่อนกำหนดชำระหรือผ่อนชำระ โดยงดคิดเบี้ยปรับ ทั้งนี้ระยะเวลาในการให้เลื่อนหรือผ่อนชำระจะขึ้นอยู่กับขนาดของความเสียหาย และระยะเวลาที่จะใช้ในกาารปรับปรุงแก้ไขจนกิจการกลับสู่สถานการณ์ปกติ
2) การให้ความช่วยเหลือเงินกู้เพื่อซ่อมแซม ปรับปรุง หรือจัดซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ในกาารผลิตจะพิจารณาจัดสรรเงินกู้อัตราดอกเบี้ยพิเศษ โดยจะพิจารณาจากความจำเป็นในการใช้เงินกู้ของลูกค้าแต่ละรายเป็นกรณี ๆ ไปในส่วนของหลักประกันเงินกู้จะพิจารณาช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษโดยจะพิจารณาจากหลักประกันเงินกู้ที่มีอยู่เดิมเป็นหลัก
3) การให้ความช่วยเหลือเงินกู้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน จะพิจารณาการให้ความช่วยเหลือในลักษณะเดียวกันกับการให้ความช่วยเหลือในข้อ 2)
4) กรณีที่ลูกค้ามีการประกันภัยที่ครอบคลุมความเสียหาย ในช่วงระหว่างที่รอการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยหรือช่วงที่ลูกค้าอยู่ระหว่างการเรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้หรือต้องมีการทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นการชั่วคราวจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือโดยการ Bridging Finance ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ
2.6 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดังนี้
1) ลูกหนี้ NPL
(1) เร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยเร็ว ทั้ง NPL ที่แก้ไขแล้ว และที่ยังไม่แก้ไข
(2) ผ่อนปรนเงื่อนไขให้ดีที่สุดภายใต้กรอบระเบียบปฏิบัติ
(3) ให้กู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อฟื้นฟูธุรกิจโดยให้เงื่อนไขผ่อนปรนตามความเหมาะสม
2) ลูกหนี้ปกติ
(1) ต้องทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยเร็ว โดยให้เงื่อนไขที่ผ่อนปรนพิเศษภายใต้กรอบระเบียบปฏิบัติ
(2) ให้กู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อฟื้นฟูธุรกิจ ซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหาย
(3) ผ่อนปรนเงื่อนไขต่าง ๆ เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย จำนวนเงินที่ผ่อนชำระและระยะเวลาที่ผ่อนชำระ
2.7 บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด
ลูกหนี้ของบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิทฯ เป็นลูกค้าที่มีปัญหาอยู่แล้ว ดังนั้น จึงแบ่งการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
1) ลูกหนี้ที่ยังไม่ได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ปกติบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิทฯ จะดำเนินการในลักษณะที่ผ่อนปรนเท่าที่ระเบียบปฏิบัติจะเอื้ออำนวย
2) ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จแล้ว (มีสัญญาใหม่) ก็จะพิจารณาว่าหากไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญาใหม่ก็อาจจะไม่ถือว่าเป็นลูกหนี้ผิดนัด (Call default)
2.8 ธนาคารไทยธนาคาร
ธนาคารฯ ได้จัดทำมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกค้า ดังนี้
1) ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมลงร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน แก่ลูกค้าในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2543 และสำหรับลูกค้าที่อยู่ในเขตที่ได้รับความเสียหายอื่น ๆ กำลังพิจารณาให้ความช่วยเหลือในลักษณะเดียวกัน
2) พิจารณาผ่อนปรนระยะเวลาและเงื่อนไขการชำระหนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานของธุรกิจในปัจจุบัน
นอกจากการให้ความช่วยเหลือลูกค้าธนาคารดังกล่าวข้างต้นแล้ว ธนาคารยังได้อนุมัติเงินเพื่อซื้อเครื่องมือแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงจลา เป็นจำนวนเงินประมาณ 220,000 บาท
2.9 ธนาคารนครหลวงไทย
ธนาคารฯ ได้จัดทำมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้า ดังนี้
1) ลดอัตราดอกเบี้ยชั่วคราวให้แก่ลูกค้าสินเชื่อประมาณ 2% เป็นระยะเวลา 6 - 12 เดือน
2) เพิ่มวงเงินสินเชื่อให้กับลูกค้าสินเชื่อที่ได้รับผลกระทบและมีประวัติการติดต่อที่ดี
3) ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ หรือลดยอดการชำระต่อเดือนตามกำลังความสามารถใหม่
อนึ่ง เพื่อให้การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมภาคใต้ได้รับความช่วยเหลืออย่างทั่วถึงสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ได้จัดทำแผนการประชาสัมพันธ์ตามความเหมาะสมของแต่ละสถาบันการเงินทุกแห่ง เช่นจัดให้พนักงานสาขาออกตรวจเยี่ยมลูกค้าและประชาชนผู้ที่ได้รับความเสียหาย เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ พร้อมประชาสัมพันธ์มาตรการให้ทราบเพื่อมาใช้บริการต่อไป รวมทั้งมีหนังสือไปถึงลูกค้าที่ได้รับความเดือดร้อนโดยตรง
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังได้ขอความร่วมมือจากสมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารต่างประเทศเพื่อให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสมต่อไปด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 ธ.ค. 2543--
-สส-