ทำเนียบรัฐบาล--28 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจอนุมัติโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ตามที่คณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรได้พิจารณาอนุมัติแล้วใน 3 โครงการใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย 10 โครงการย่อย จำนวนเงิน 8,188.15 ล้านบาท ดังนี้
1. แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพในเขตชลประทานและแหล่งน้ำธรรมชาติ ประกอบด้วย โครงการปรับปรุงระบบชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลาง จำนวน 3 โครงการย่อย คือ
1) โครงการห้วยหลวง จ.อุดรธานี วงเงิน 430 ล้านบาท
2) โครงการทุ่งสัมฤทธิ์ จ.นครราชสีมา วงเงิน 370 ล้านบาท
3) โครงการลุ่มน้ำปิงตอนล่าง จ.กำแพงเพชร และ จ.นครสวรรค์ วงเงิน 847.43 ล้านบาท
2. แผนงานพัฒนาคุณภาพสินค้าและการจัดการผลผลิตของสถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย โครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการจัดการผลผลิตของสถาบันเกษตรกร จำนวน 6 โครงการย่อย คือ
1) โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ วงเงิน 40 ล้านบาท
2) โครงการก่อสร้างโรงงานศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ วงเงิน 12 ล้านบาท
3) โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตยางแท่ง วงเงิน 220 ล้านบาท
4) โครงการขยายโรงงานผลิตยางแผ่นรมควัน วงเงิน 40.7 ล้านบาท
5) โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตอาหารสัตว์ วงเงิน 205 ล้านบาท
6) โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตน้ำแข็งซอง วงเงิน 18 ล้านบาท
3. แผนงานวิจัยและพัฒนางานเทคโนโลยีเกษตร จำนวน 1 โครงการย่อยคือ โครงการกองทุนพัฒนางานวิจัยการเกษตรและบุคลากร วงเงิน 3,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบขั้นตอนการดำเนินการโครงการที่สำคัญ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. โครงการปรับปรุงระบบชบประทานขนาดใหญ่และขนาดกลาง ควรดำเนินการในเรื่องการจัดทำแผนประสานงานการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ดำเนินการให้ชัดเจน ในการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพของเกษตรกร โดยให้มีการจัดทำแผนการตลาดรองรับผลผลิตสินค้าทางการเกษตรให้สามารถรองรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการส่งเสริมให้มีการผลิตในโครงการด้วย รวมทั้งควรจัดเตรียมความพร้อมของชุมชนและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นให้สามารถดูแลรักษาระบบชลประทานในระยะยาวได้อย่างต่อเนื่อง
2. โครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการจัดการผลผลิตของสถาบันเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะต้องให้การสนับสนุนและติดตามการดำเนินการของสหกรณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง โดยการให้ความรู้ด้านวิชาการและเทคนิค รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและการตลาดอย่างครบวงจร เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์
3. โครงการลงทุนพัฒนางานวิจัยการเกษตรและบุคลากร ควรเน้นการวิจัยที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรและภูมปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งควรมีการประสานและร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อให้นำผลงานวิจัยไปใช้ให้เกิดเป็นรูปธรรมในเชิงพาณิชย์ได้อย่างคุ้มค่า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 ส.ค. 2543--
-รก/สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจอนุมัติโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ตามที่คณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรได้พิจารณาอนุมัติแล้วใน 3 โครงการใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย 10 โครงการย่อย จำนวนเงิน 8,188.15 ล้านบาท ดังนี้
1. แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพในเขตชลประทานและแหล่งน้ำธรรมชาติ ประกอบด้วย โครงการปรับปรุงระบบชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลาง จำนวน 3 โครงการย่อย คือ
1) โครงการห้วยหลวง จ.อุดรธานี วงเงิน 430 ล้านบาท
2) โครงการทุ่งสัมฤทธิ์ จ.นครราชสีมา วงเงิน 370 ล้านบาท
3) โครงการลุ่มน้ำปิงตอนล่าง จ.กำแพงเพชร และ จ.นครสวรรค์ วงเงิน 847.43 ล้านบาท
2. แผนงานพัฒนาคุณภาพสินค้าและการจัดการผลผลิตของสถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย โครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการจัดการผลผลิตของสถาบันเกษตรกร จำนวน 6 โครงการย่อย คือ
1) โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ วงเงิน 40 ล้านบาท
2) โครงการก่อสร้างโรงงานศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ วงเงิน 12 ล้านบาท
3) โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตยางแท่ง วงเงิน 220 ล้านบาท
4) โครงการขยายโรงงานผลิตยางแผ่นรมควัน วงเงิน 40.7 ล้านบาท
5) โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตอาหารสัตว์ วงเงิน 205 ล้านบาท
6) โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตน้ำแข็งซอง วงเงิน 18 ล้านบาท
3. แผนงานวิจัยและพัฒนางานเทคโนโลยีเกษตร จำนวน 1 โครงการย่อยคือ โครงการกองทุนพัฒนางานวิจัยการเกษตรและบุคลากร วงเงิน 3,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบขั้นตอนการดำเนินการโครงการที่สำคัญ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. โครงการปรับปรุงระบบชบประทานขนาดใหญ่และขนาดกลาง ควรดำเนินการในเรื่องการจัดทำแผนประสานงานการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ดำเนินการให้ชัดเจน ในการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพของเกษตรกร โดยให้มีการจัดทำแผนการตลาดรองรับผลผลิตสินค้าทางการเกษตรให้สามารถรองรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการส่งเสริมให้มีการผลิตในโครงการด้วย รวมทั้งควรจัดเตรียมความพร้อมของชุมชนและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นให้สามารถดูแลรักษาระบบชลประทานในระยะยาวได้อย่างต่อเนื่อง
2. โครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการจัดการผลผลิตของสถาบันเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะต้องให้การสนับสนุนและติดตามการดำเนินการของสหกรณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง โดยการให้ความรู้ด้านวิชาการและเทคนิค รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและการตลาดอย่างครบวงจร เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์
3. โครงการลงทุนพัฒนางานวิจัยการเกษตรและบุคลากร ควรเน้นการวิจัยที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรและภูมปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งควรมีการประสานและร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อให้นำผลงานวิจัยไปใช้ให้เกิดเป็นรูปธรรมในเชิงพาณิชย์ได้อย่างคุ้มค่า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 ส.ค. 2543--
-รก/สส-