ทำเนียบรัฐบาล--8 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจรับทราบการดำเนินงานด้านการปรับบทบาท ภารกิจและวิธีการบริหารภาครัฐ ตามที่คณะอนุกรรมการปรับปรุงบทบาท ภารกิจและวิธีการบริหารภาครัฐ คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการเสนอ ดังนี้
1. ทิศทางการปรับบทบาทภารกิจภาครัฐ ได้แก่ เป้าหมายหลักการพัฒนาประเทศที่มั่นคง อันเกิดจากองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1) การพัฒนาสู่การพึ่งตนเอง เน้นประชาชนและชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ นำไปสู่การลดการพึ่งพาภาครัฐ
2) ความมั่นคงในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว โดยอาศัยความสมดุลระหว่างการแข่งขันกับความร่วมมือ
3) ความมั่นคงทางสังคม จากการมีระบบที่เอื้ออาทรต่อกัน เสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาความร่วมมือ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โดยใช้เครือข่ายภาคีการพัฒนา
4) การพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งในการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจ สังคม มีระบบภูมิคุ้มกัน ผลกระทบจากภายนอกเพื่อลดความเสี่ยง
2. บทบาทของภาครัฐ จำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือการเป็นผู้กำหนดนโยบายหรือการชี้นำนโยบาย การเป็นผู้ปฏิบัติโดยตรง การเป็นผู้จัดให้มีและการสนับสนุนอำนวยความสะดวก รวมถึงการเป็นผู้กำหนดกฎกติกา กำกับดูแล และตรวจสอบเพื่อความเป็นธรรม ทั่วถึง และความสงบสุขในสังคม
3. ข้อเสนอการกำหนดภารกิจด้านเศรษฐกิจ สังคม และการบริหารจัดการ จะนำไปสู่การเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนประชาชน ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น ประกอบด้วย
กลุ่มภารกิจด้านเศรษฐกิจ
1) การบริหารจัดการนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
2) การหาเงินทุนในการพัฒนาประเทศประกอบด้วยภารกิจที่สำคัญอันก่อให้เกิดการเพิ่มรายได้ของประเทศ
3) การเสริมสร้างฐานเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งและมั่นคง กลุ่มภารกิจด้านสังคม
4) การเสริมสร้างศักยภาพของคน
- ด้านสติปัญญา ให้ความสำคัญกับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับคนในระดับต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาทักษะของแรงงานที่สอดคล้องกับตลาดแรงงาน - ด้านร่างกาย ให้ความสำคัญกับการจัดการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการรักษาสุขภาพ การป้องกันโรค และการบริการที่มีคุณภาพ เสมอภาค การกระจายอำนาจ และความโปร่งใสตรวจสอบได้
- ด้านจิตใจและจริยธรรม ปลูกฝัง พัฒนา สร้างค่านิยม ทัศนคติ ให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม รักษาระเบียบวินัยและวัฒนธรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม
5) การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ
6) การสร้างระบบคุ้มครองและหลักประกันแก่ประชาชน
7) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มภารกิจด้านการบริหารจัดการ
8) การบริหารจัดการของหน่วยงานกลางระดับนโยบาย
9) การดำเนินการด้านการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
10) เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคเอกชนในระดับต่าง ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจรับทราบการดำเนินงานด้านการปรับบทบาท ภารกิจและวิธีการบริหารภาครัฐ ตามที่คณะอนุกรรมการปรับปรุงบทบาท ภารกิจและวิธีการบริหารภาครัฐ คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการเสนอ ดังนี้
1. ทิศทางการปรับบทบาทภารกิจภาครัฐ ได้แก่ เป้าหมายหลักการพัฒนาประเทศที่มั่นคง อันเกิดจากองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1) การพัฒนาสู่การพึ่งตนเอง เน้นประชาชนและชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ นำไปสู่การลดการพึ่งพาภาครัฐ
2) ความมั่นคงในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว โดยอาศัยความสมดุลระหว่างการแข่งขันกับความร่วมมือ
3) ความมั่นคงทางสังคม จากการมีระบบที่เอื้ออาทรต่อกัน เสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาความร่วมมือ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โดยใช้เครือข่ายภาคีการพัฒนา
4) การพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งในการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจ สังคม มีระบบภูมิคุ้มกัน ผลกระทบจากภายนอกเพื่อลดความเสี่ยง
2. บทบาทของภาครัฐ จำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือการเป็นผู้กำหนดนโยบายหรือการชี้นำนโยบาย การเป็นผู้ปฏิบัติโดยตรง การเป็นผู้จัดให้มีและการสนับสนุนอำนวยความสะดวก รวมถึงการเป็นผู้กำหนดกฎกติกา กำกับดูแล และตรวจสอบเพื่อความเป็นธรรม ทั่วถึง และความสงบสุขในสังคม
3. ข้อเสนอการกำหนดภารกิจด้านเศรษฐกิจ สังคม และการบริหารจัดการ จะนำไปสู่การเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนประชาชน ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น ประกอบด้วย
กลุ่มภารกิจด้านเศรษฐกิจ
1) การบริหารจัดการนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
2) การหาเงินทุนในการพัฒนาประเทศประกอบด้วยภารกิจที่สำคัญอันก่อให้เกิดการเพิ่มรายได้ของประเทศ
3) การเสริมสร้างฐานเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งและมั่นคง กลุ่มภารกิจด้านสังคม
4) การเสริมสร้างศักยภาพของคน
- ด้านสติปัญญา ให้ความสำคัญกับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับคนในระดับต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาทักษะของแรงงานที่สอดคล้องกับตลาดแรงงาน - ด้านร่างกาย ให้ความสำคัญกับการจัดการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการรักษาสุขภาพ การป้องกันโรค และการบริการที่มีคุณภาพ เสมอภาค การกระจายอำนาจ และความโปร่งใสตรวจสอบได้
- ด้านจิตใจและจริยธรรม ปลูกฝัง พัฒนา สร้างค่านิยม ทัศนคติ ให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม รักษาระเบียบวินัยและวัฒนธรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม
5) การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ
6) การสร้างระบบคุ้มครองและหลักประกันแก่ประชาชน
7) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มภารกิจด้านการบริหารจัดการ
8) การบริหารจัดการของหน่วยงานกลางระดับนโยบาย
9) การดำเนินการด้านการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
10) เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคเอกชนในระดับต่าง ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543--