คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ดังนี้
1. กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์จัดทำดัชนีชี้วัดที่อยู่อาศัย 7 ตัว ซึ่งสามารถจัดได้ 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
1.1 ดัชนีด้านอุปทาน
- ที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดิน และที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง (Housing Permits)
- การเริ่มก่อสร้างที่อยู่อาศัย (Housing Starts)
- ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จและจดทะเบียน (Housing Completion)
1.2 ดัชนีด้านอุปสงค์
- ยอดขายที่อยู่อาศัย (Home sales)
- ที่อยู่อาศัยโอนกรรมสิทธิ์ (Housing Transfer)
1.3 ดัชนีการตลาด
- ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย (Housing Price Index) โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยรับผิดชอบดำเนินการร่วมกับธนาคารอาคารสงเคราะห์
1.4 ดัชนีด้านสินเชื่อ
- สินเชื่อที่อยู่อาศัย (Housing Finance) ทั้งสินเชื่อโครงการและสินเชื่อรายย่อย
2. ศูนย์รับข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้ดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายโดยมีผลการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้
2.1 งานที่ดำเนินการเสร็จแล้ว
2.1.1 ดัชนีด้านอุปทาน ของอสังหาริทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย ได้แก่ ที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดิน ที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง และที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จและจดทะเบียนและอสังหาริมทรัพย์อีก 5 ประเภท ได้แก่ อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า โรงแรม นิคมอุตสาหกรรม สนามกอล์ฟ ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 11 จังหวัดหัวเมืองใหญ่
2.1.2 ดัชนีด้านอุปสงค์ ได้แก่ ของอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย โรงแรม นิคมอุตสาหกรรม ครอบคลุมทั่วประเทศ
2.1.3 ดัชนีการตลาด ได้แก่ ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยของประเภทที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยใช้ข้อมูลราคาประเมินที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นโครงการนำร่องก่อนขยายให้ครอบคลุมข้อมูลราคาประเมินของธนาคารพาณิชย์ต่อไป
2.1.4 ดัชนีด้านสินเชื่อ ได้แก่ สินเชื่อผู้ประกอบการ สินเชื่อรายย่อยและหุ้นกู้ของอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยที่ครอบคลุมทั่วประเทศ
ทั้งนี้ จะมีการปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันทุกไตรมาส และเผยแพร่ภายใน 2 เดือน หลังจากจบไตรมาสนั้น ๆ
2.2 งานที่ดำเนินการแล้วแต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์
2.2.1 ดัชนีด้านอุปทาน ได้แก่
- การเริ่มก่อสร้างที่อยู่อาศัย (Housing Starts/Hard Starts)
ปัญหา : ที่ผ่านมายังไม่มีเคยมีหน่วยงานใดจัดเก็บมาก่อน
แนวทางแก้ไข : ศูนย์ข้อมูล ฯ จะทำการสำรวจภาคสนามแยกเป็นโซนขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2548
2.2.2 ดัชนีด้านอุปสงค์ ได้แก่
- ยอดขาย (Home Sales)
ปัญหา : เนื่องจากยังไม่สามาถจัดเก็บข้อมูลยอดขายได้มากเพียงพอ ซึ่งขณะนี้ได้ข้อมูลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพียง 6 บริษัท จากทั้งหมด 27 บริษัทและบริษัท ฯ นอก ตลท. 13 จาก 19 บริษัทขนาดใหญ่ ทำให้ยังไม่สามารถแสดงตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยในภาพรวมได้
แนวทางแก้ไข : ศูนย์ข้อมูล ฯ จะทำการสำรวจภาคสนามแยกเป็นโซนขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2548
- ที่อยู่อาศัยโอนกรรมสิทธิ์ (Housing Transfer)
ปัญหา : การจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบกระดาษ และขาดบุคลากร และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการดำเนินงาน
แนวทางแก้ไข : ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้ให้การสนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมทำงานและสนับสนุนเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล เพื่อจัดเก็บข้อมูลทั่วประเทศจากระบบกระดาษสู่ระบบคอมพิวเตอร์ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2549
2.2.3 ดัชนีความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัย (Housing Affordability Index) เป็นดัชนีแสดงอุปสงค์ของที่อยู่อาศัยที่สำคัญอีกดัชนีหนึ่ง ที่ได้พิจารณาจัดทำเพิ่มเติม ขณะนี้ อยู่ระหว่างจ้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติและกรมสรรพากร คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2548
2.3 งานที่ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้รับมอบหมายเพิ่มเติม
2.3.1 โครงการจัดงานส่งเสริมการตลาดเรื่องบ้านมือสอง ได้แก่ การจัดงานมหกรรมบ้านมือสองแห่งชาติ การจัดตลาดนัดบ้านมือสอง และการจัด Mini มหกรรมบ้านมือสอง 4 มุมเมือง
2.3.2 โครงการฐานข้อมูลบ้านมือสองแห่งชาติ (National MLS) คาดว่าแล้วเสร็จปลายปี 2548
2.3.3 โครงการสำรวจพฤติกรรมและความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนพฤศจิกายน 2548
2.3.4 โครงการสำรวจการเปลี่ยนแปลงอาคารขนาดใหญ่ที่ยุติการก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนกุมภาพันธ์ 2549
2.3.5 โครงการรับส่งข้อมูลการขออนุญาตก่อสร้าง ต่อเติม ดัดแปลง รื้อถอน อาคารทั่วประเทศ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ เทศบาล 62 แห่ง และ อบต. 253 แห่ง ในปริมณฑล (ประมาณร้อยละ 31 ของประเทศ) ภายในเดือนธันวาคม 2548 และเทศบาล 980 แห่ง และ อบต. 6,744 แห่ง ทั่วประเทศที่เหลือ (ประมาณร้อยละ 69) ภายในเดือนธันวาคม 2549
3. กระทรวงการคลังพิจารณาผลการดำเนินงานของศูนย์อสังหาริมทรัพย์แล้วมีความเห็นดังนี้
3.1 ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์สามารถดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นที่น่าพอใจ เมื่อพิจารณาในแง่ประโยชน์ที่เกิดกับภาพรวมด้านเศรษฐกิจมหภาค ที่สามารถนำมาใช้ในการกำหนดนโยบาย รวมทั้งสามารถจัดทำโครงการพิเศษเพิ่มเติมร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น เรื่องการส่งเสริมตลาดบ้านมือสอง เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนสามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ด้วยดีเช่นกัน
3.2 กระทรวงการคลังจะได้สนับสนุนและเร่งดำเนินการในภารกิจหลักและโครงการที่จะสร้างระบบฐานข้อมูลให้มีขนาดที่ใหญ่และสมบูรณ์ เช่น โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูลอสังหาริมทรัพย์เพื่อเอื้ออำนวยในการจัดเก็บเผยแพร่ข้อมูลเชิงลึก เนื่องจากจะช่วยแก้ไขปัญหาการจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลของภาครัฐและเอกชน เพื่อให้การจัดทำข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ของประเทศมีความสมบูรณ์และใช้ประโยชน์ได้สูงสุดต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ตุลาคม 2548--จบ--
1. กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์จัดทำดัชนีชี้วัดที่อยู่อาศัย 7 ตัว ซึ่งสามารถจัดได้ 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
1.1 ดัชนีด้านอุปทาน
- ที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดิน และที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง (Housing Permits)
- การเริ่มก่อสร้างที่อยู่อาศัย (Housing Starts)
- ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จและจดทะเบียน (Housing Completion)
1.2 ดัชนีด้านอุปสงค์
- ยอดขายที่อยู่อาศัย (Home sales)
- ที่อยู่อาศัยโอนกรรมสิทธิ์ (Housing Transfer)
1.3 ดัชนีการตลาด
- ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย (Housing Price Index) โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยรับผิดชอบดำเนินการร่วมกับธนาคารอาคารสงเคราะห์
1.4 ดัชนีด้านสินเชื่อ
- สินเชื่อที่อยู่อาศัย (Housing Finance) ทั้งสินเชื่อโครงการและสินเชื่อรายย่อย
2. ศูนย์รับข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้ดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายโดยมีผลการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้
2.1 งานที่ดำเนินการเสร็จแล้ว
2.1.1 ดัชนีด้านอุปทาน ของอสังหาริทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย ได้แก่ ที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดิน ที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง และที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จและจดทะเบียนและอสังหาริมทรัพย์อีก 5 ประเภท ได้แก่ อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า โรงแรม นิคมอุตสาหกรรม สนามกอล์ฟ ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 11 จังหวัดหัวเมืองใหญ่
2.1.2 ดัชนีด้านอุปสงค์ ได้แก่ ของอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย โรงแรม นิคมอุตสาหกรรม ครอบคลุมทั่วประเทศ
2.1.3 ดัชนีการตลาด ได้แก่ ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยของประเภทที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยใช้ข้อมูลราคาประเมินที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นโครงการนำร่องก่อนขยายให้ครอบคลุมข้อมูลราคาประเมินของธนาคารพาณิชย์ต่อไป
2.1.4 ดัชนีด้านสินเชื่อ ได้แก่ สินเชื่อผู้ประกอบการ สินเชื่อรายย่อยและหุ้นกู้ของอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยที่ครอบคลุมทั่วประเทศ
ทั้งนี้ จะมีการปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันทุกไตรมาส และเผยแพร่ภายใน 2 เดือน หลังจากจบไตรมาสนั้น ๆ
2.2 งานที่ดำเนินการแล้วแต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์
2.2.1 ดัชนีด้านอุปทาน ได้แก่
- การเริ่มก่อสร้างที่อยู่อาศัย (Housing Starts/Hard Starts)
ปัญหา : ที่ผ่านมายังไม่มีเคยมีหน่วยงานใดจัดเก็บมาก่อน
แนวทางแก้ไข : ศูนย์ข้อมูล ฯ จะทำการสำรวจภาคสนามแยกเป็นโซนขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2548
2.2.2 ดัชนีด้านอุปสงค์ ได้แก่
- ยอดขาย (Home Sales)
ปัญหา : เนื่องจากยังไม่สามาถจัดเก็บข้อมูลยอดขายได้มากเพียงพอ ซึ่งขณะนี้ได้ข้อมูลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพียง 6 บริษัท จากทั้งหมด 27 บริษัทและบริษัท ฯ นอก ตลท. 13 จาก 19 บริษัทขนาดใหญ่ ทำให้ยังไม่สามารถแสดงตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยในภาพรวมได้
แนวทางแก้ไข : ศูนย์ข้อมูล ฯ จะทำการสำรวจภาคสนามแยกเป็นโซนขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2548
- ที่อยู่อาศัยโอนกรรมสิทธิ์ (Housing Transfer)
ปัญหา : การจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบกระดาษ และขาดบุคลากร และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการดำเนินงาน
แนวทางแก้ไข : ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้ให้การสนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมทำงานและสนับสนุนเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล เพื่อจัดเก็บข้อมูลทั่วประเทศจากระบบกระดาษสู่ระบบคอมพิวเตอร์ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2549
2.2.3 ดัชนีความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัย (Housing Affordability Index) เป็นดัชนีแสดงอุปสงค์ของที่อยู่อาศัยที่สำคัญอีกดัชนีหนึ่ง ที่ได้พิจารณาจัดทำเพิ่มเติม ขณะนี้ อยู่ระหว่างจ้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติและกรมสรรพากร คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2548
2.3 งานที่ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้รับมอบหมายเพิ่มเติม
2.3.1 โครงการจัดงานส่งเสริมการตลาดเรื่องบ้านมือสอง ได้แก่ การจัดงานมหกรรมบ้านมือสองแห่งชาติ การจัดตลาดนัดบ้านมือสอง และการจัด Mini มหกรรมบ้านมือสอง 4 มุมเมือง
2.3.2 โครงการฐานข้อมูลบ้านมือสองแห่งชาติ (National MLS) คาดว่าแล้วเสร็จปลายปี 2548
2.3.3 โครงการสำรวจพฤติกรรมและความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนพฤศจิกายน 2548
2.3.4 โครงการสำรวจการเปลี่ยนแปลงอาคารขนาดใหญ่ที่ยุติการก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนกุมภาพันธ์ 2549
2.3.5 โครงการรับส่งข้อมูลการขออนุญาตก่อสร้าง ต่อเติม ดัดแปลง รื้อถอน อาคารทั่วประเทศ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ เทศบาล 62 แห่ง และ อบต. 253 แห่ง ในปริมณฑล (ประมาณร้อยละ 31 ของประเทศ) ภายในเดือนธันวาคม 2548 และเทศบาล 980 แห่ง และ อบต. 6,744 แห่ง ทั่วประเทศที่เหลือ (ประมาณร้อยละ 69) ภายในเดือนธันวาคม 2549
3. กระทรวงการคลังพิจารณาผลการดำเนินงานของศูนย์อสังหาริมทรัพย์แล้วมีความเห็นดังนี้
3.1 ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์สามารถดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นที่น่าพอใจ เมื่อพิจารณาในแง่ประโยชน์ที่เกิดกับภาพรวมด้านเศรษฐกิจมหภาค ที่สามารถนำมาใช้ในการกำหนดนโยบาย รวมทั้งสามารถจัดทำโครงการพิเศษเพิ่มเติมร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น เรื่องการส่งเสริมตลาดบ้านมือสอง เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนสามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ด้วยดีเช่นกัน
3.2 กระทรวงการคลังจะได้สนับสนุนและเร่งดำเนินการในภารกิจหลักและโครงการที่จะสร้างระบบฐานข้อมูลให้มีขนาดที่ใหญ่และสมบูรณ์ เช่น โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูลอสังหาริมทรัพย์เพื่อเอื้ออำนวยในการจัดเก็บเผยแพร่ข้อมูลเชิงลึก เนื่องจากจะช่วยแก้ไขปัญหาการจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลของภาครัฐและเอกชน เพื่อให้การจัดทำข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ของประเทศมีความสมบูรณ์และใช้ประโยชน์ได้สูงสุดต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ตุลาคม 2548--จบ--