แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงอุตสาหกรรม
ทบวงมหาวิทยาลัย
กระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม
ทำเนียบรัฐบาล--27 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนหลักการพานิชยนาวี พ.ศ. 2542 - 2549 เพื่อให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบนโยบายในการพัฒนาการขนส่งของประเทศ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลในด้านการขนส่งแล้ว
สาระสำคัญของแผนหลักการพานิชยนาวี มีดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนหลักการพานิชยนาวี โดยสรุปมี ดังนี้
1.1 เพื่อให้การพานิชยนาวีของประเทศเป็นปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สนับสนุนการค้า การส่งออก สนับสนุนด้านความมั่นคง ผลประโยชน์แห่งชาติ และการป้องกันประเทศ
1.2 เพื่อให้ระบบพานิชยนาวีมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ มีบริการที่เพียงพอ ราคาเป็นธรรม รวมทั้งมีการพัฒนากำลังคน และกิจการพานิชยนาวีให้เจริญก้าวหน้า
2. แนวทางและมาตรการการพัฒนากิจการพานิชยนาวี ได้จำแนกแผนการพัฒนาเรื่องต่าง ๆ ออกเป็น 8 ด้าน โดยเน้นการส่งเสริมบทบาทของเอกชนผู้ประกอบการ ส่วนรัฐจะมีบทบาทในการจัดหาโครงสร้างพื้นฐาน และมาตรการสนับสนุนทั้งทางด้านการเงิน การคลัง ปรับปรุงกฎระเบียบ กฎหมาย ตลอดจนแสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศด้านพานิชยนาวี ดังนี้
2.1 การพัฒนากองเรือพาณิชย์
2.2 การพัฒนากิจการท่าเรือ
2.3 การพัฒนากิจการอู่ต่อและซ่อมเรือ
2.4 การพัฒนาการขนส่งชายฝั่งให้เป็นทางเลือกหนึ่งของการขนส่งภายในประเทศ และสนับสนุนการขนส่งทางทะเล
2.5 การพัฒนาบริการนอกท่า พัฒนาบริการท่าเรือบก (ICD) ตลอดจนพัฒนากิจการรับจัดการขนส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนาเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบต่อไป
2.6 การพัฒนาการขนส่งเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือกับดินแดนหลังท่าและประเทศเพื่อนบ้าน
2.7 การพัฒนากำลังคนด้านพานิชยนาวี ทั้งบนเรือ ในอู่เรือ และบนฝั่ง
2.8 การปรับปรุงโครงสร้างองค์การด้านพานิชยนาวีเพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบในส่วนของภาครัฐให้ชัดเจนตั้งแต่ระดับการกำหนดนโยบาย การวางแผน การกำกับดูแล และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
3. แผนปฏิบัติการ
แผนปฏิบัติการ โครงการ และมาตรการ แบ่งออกเป็น 8 เรื่อง คือ การพัฒนาองค์กรด้านพานิชยนาวีการพัฒนากิจการการเดินเรือระหว่างประเทศ การพัฒนากิจการท่าเรือ การพัฒนากิจการอู่เรือ การพัฒนาการขนส่งชายฝั่งการพัฒนาการบริการนอกท่า การบริการการขนส่งเชื่อมโยง และการพัฒนากำลังคนด้านพานิชยนาวี โดยแผนปฏิบัติการโครงการ และมาตรการในแต่ละเรื่องยังแบ่งออกเป็นการดำเนินงาน โครงการ การใช้นโยบายและมาตรการ การศึกษาวิจัยสำหรับการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ ได้มีการกำหนดว่าส่วนราชการใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหลัก และส่วนราชการใดจะต้องร่วมรับผิดชอบประมาณการค่าใช้จ่าย รวมทั้งกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการตามโครงการ และมาตรการต่าง ๆ จนถึงปีงบประมาณ 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 มิ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนหลักการพานิชยนาวี พ.ศ. 2542 - 2549 เพื่อให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบนโยบายในการพัฒนาการขนส่งของประเทศ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลในด้านการขนส่งแล้ว
สาระสำคัญของแผนหลักการพานิชยนาวี มีดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนหลักการพานิชยนาวี โดยสรุปมี ดังนี้
1.1 เพื่อให้การพานิชยนาวีของประเทศเป็นปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สนับสนุนการค้า การส่งออก สนับสนุนด้านความมั่นคง ผลประโยชน์แห่งชาติ และการป้องกันประเทศ
1.2 เพื่อให้ระบบพานิชยนาวีมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ มีบริการที่เพียงพอ ราคาเป็นธรรม รวมทั้งมีการพัฒนากำลังคน และกิจการพานิชยนาวีให้เจริญก้าวหน้า
2. แนวทางและมาตรการการพัฒนากิจการพานิชยนาวี ได้จำแนกแผนการพัฒนาเรื่องต่าง ๆ ออกเป็น 8 ด้าน โดยเน้นการส่งเสริมบทบาทของเอกชนผู้ประกอบการ ส่วนรัฐจะมีบทบาทในการจัดหาโครงสร้างพื้นฐาน และมาตรการสนับสนุนทั้งทางด้านการเงิน การคลัง ปรับปรุงกฎระเบียบ กฎหมาย ตลอดจนแสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศด้านพานิชยนาวี ดังนี้
2.1 การพัฒนากองเรือพาณิชย์
2.2 การพัฒนากิจการท่าเรือ
2.3 การพัฒนากิจการอู่ต่อและซ่อมเรือ
2.4 การพัฒนาการขนส่งชายฝั่งให้เป็นทางเลือกหนึ่งของการขนส่งภายในประเทศ และสนับสนุนการขนส่งทางทะเล
2.5 การพัฒนาบริการนอกท่า พัฒนาบริการท่าเรือบก (ICD) ตลอดจนพัฒนากิจการรับจัดการขนส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนาเป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบต่อไป
2.6 การพัฒนาการขนส่งเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือกับดินแดนหลังท่าและประเทศเพื่อนบ้าน
2.7 การพัฒนากำลังคนด้านพานิชยนาวี ทั้งบนเรือ ในอู่เรือ และบนฝั่ง
2.8 การปรับปรุงโครงสร้างองค์การด้านพานิชยนาวีเพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบในส่วนของภาครัฐให้ชัดเจนตั้งแต่ระดับการกำหนดนโยบาย การวางแผน การกำกับดูแล และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
3. แผนปฏิบัติการ
แผนปฏิบัติการ โครงการ และมาตรการ แบ่งออกเป็น 8 เรื่อง คือ การพัฒนาองค์กรด้านพานิชยนาวีการพัฒนากิจการการเดินเรือระหว่างประเทศ การพัฒนากิจการท่าเรือ การพัฒนากิจการอู่เรือ การพัฒนาการขนส่งชายฝั่งการพัฒนาการบริการนอกท่า การบริการการขนส่งเชื่อมโยง และการพัฒนากำลังคนด้านพานิชยนาวี โดยแผนปฏิบัติการโครงการ และมาตรการในแต่ละเรื่องยังแบ่งออกเป็นการดำเนินงาน โครงการ การใช้นโยบายและมาตรการ การศึกษาวิจัยสำหรับการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ ได้มีการกำหนดว่าส่วนราชการใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหลัก และส่วนราชการใดจะต้องร่วมรับผิดชอบประมาณการค่าใช้จ่าย รวมทั้งกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการตามโครงการ และมาตรการต่าง ๆ จนถึงปีงบประมาณ 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 มิ.ย. 2543--
-สส-