ทำเนียบรัฐบาล--1 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการขออนุมัติงบประมาณสำหรับสนับสนุนโครงการพัฒนาบุคลากรสุขภาพจิต ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้ประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการจัดทำหลักสูตรจำนวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเวชศาสตร์ชุมชน หลักสูตรละ 5 รุ่น รุ่นละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 300 คน
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติอนุมัติตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ซึ่งสนับสนุนให้กรมสุขภาพจิตดำเนินการพัฒนาศักยภาพของบุคลาการด้านสุขภาพจิต ทั้ง 2 หลักสูตร โดยหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช จะได้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านจิตเวช จึงเห็นควรสนับสนุนในด้านทุนการศึกษา ในระดับปริญญาโท ซึ่งแตกต่างไปจากหลักสูตรสาขาเวชศาสตร์ชุมชน ที่เป็นการพัฒนาความรู้ทั่วไป ซึ่งสามารถกำหนดหลักสูตรเป็นแผนอบรมระยะสั้นในแต่ละปีได้ โดยรัฐไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุนให้การศึกษาจนถึงระดับปริญญาโท
สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการตามโครงการพัฒนาบุคลากรสุขภาพจิตเพื่อเป็นทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ให้มีเป้าหมายเพียงสาขาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชเท่านั้น ตามเป้าหมายที่กำหนด 150 คน วงเงินประมาณ 24,060,000 บาท ตลอดระยะเวลา 6 ปี สำหรับภาระด้านงบประมาณนั้น เนื่องจากโครงการดังกล่าวมีระยะเริ่มต้นตั้งแต่ปีงบประมาณ 2543 จึงเห็นสมควรให้กรมสุขภาพจิตเจียดจ่ายจากงบประมาณปี 2543 ของกรมเอง และบรรจุวงเงินค่าใช้จ่ายในปีต่อไปในคำขอตั้งงบประมาณประจำปีตลอดระยะเวลาของโครงการ เพื่อสำนักงบประมาณจะได้พิจารณาตามความเหมาะสมและจำเป็นต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการขออนุมัติงบประมาณสำหรับสนับสนุนโครงการพัฒนาบุคลากรสุขภาพจิต ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้ประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการจัดทำหลักสูตรจำนวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเวชศาสตร์ชุมชน หลักสูตรละ 5 รุ่น รุ่นละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 300 คน
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติอนุมัติตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ซึ่งสนับสนุนให้กรมสุขภาพจิตดำเนินการพัฒนาศักยภาพของบุคลาการด้านสุขภาพจิต ทั้ง 2 หลักสูตร โดยหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช จะได้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านจิตเวช จึงเห็นควรสนับสนุนในด้านทุนการศึกษา ในระดับปริญญาโท ซึ่งแตกต่างไปจากหลักสูตรสาขาเวชศาสตร์ชุมชน ที่เป็นการพัฒนาความรู้ทั่วไป ซึ่งสามารถกำหนดหลักสูตรเป็นแผนอบรมระยะสั้นในแต่ละปีได้ โดยรัฐไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุนให้การศึกษาจนถึงระดับปริญญาโท
สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการตามโครงการพัฒนาบุคลากรสุขภาพจิตเพื่อเป็นทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ให้มีเป้าหมายเพียงสาขาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชเท่านั้น ตามเป้าหมายที่กำหนด 150 คน วงเงินประมาณ 24,060,000 บาท ตลอดระยะเวลา 6 ปี สำหรับภาระด้านงบประมาณนั้น เนื่องจากโครงการดังกล่าวมีระยะเริ่มต้นตั้งแต่ปีงบประมาณ 2543 จึงเห็นสมควรให้กรมสุขภาพจิตเจียดจ่ายจากงบประมาณปี 2543 ของกรมเอง และบรรจุวงเงินค่าใช้จ่ายในปีต่อไปในคำขอตั้งงบประมาณประจำปีตลอดระยะเวลาของโครงการ เพื่อสำนักงบประมาณจะได้พิจารณาตามความเหมาะสมและจำเป็นต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543--