ทำเนียบรัฐบาล--28 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาเรื่องการจัดทำแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและแผนปฏิบัติการระหว่างไทย กัมพูชา ตามที่คณะกรรมการประสานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (กพบ.) เสนอ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการประสานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ครั้งที่ 2/2543 ซึ่งได้ประชุมเมื่อวันพุธที่ 9 สิงหาคม 2543 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแนวทางสู่การปฏิบัติในการจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-กัมพูชา และความร่วมมืออื่น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2543 สรุปว่า
1) เห็นควรให้จัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-กัมพูชาในลักษณะแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-กัมพูชา ระยะ 10 ปี เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและกัมพูชาได้อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมในระยะยาว โดยเฉพาะรูปแบบการพัฒนาเขตเศรษฐกิจร่วมทั้งด้านการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวภายใต้ขอบเขตการศึกษา (Terms of Reference) ด้วยดังนี้
- ศึกษาทบทวนศักยภาพการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจเฉพาะ และพื้นที่ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านทั่วประเทศระยะก่อนและหลังจากเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ
- จัดทำภาพรวมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-กัมพูชา ระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และระยะยาว ยึดหลักการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นเขตการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวร่วมกัน โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณชายแดน โดยภาครัฐให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาโครงข่ายบริการพื้นฐานทั้งในรูปแบบรัฐลงทุนเองหรือการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกฎระเบียบ ข้อบังคับขั้นตอนการปฏิบัติการผ่านแดน เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถประกอบธุรกิจการค้า การลงทุน การผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม
กำหนดเขตพื้นที่เศรษฐกิจร่วมตามแนวชายแดนหรือพื้นทีตอนในของไทยและกัมพูชา พร้อมทั้งจัดทำรายละเอียดแผนปฏิบัติการความร่วมมือรายสาขาในแต่ละพื้นที่เศรษฐกิจ ในลักษณะแผนงานแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive Plan) โดยเฉพาะระบบโครงสร้างพื้นฐานหลักเชื่อมโยงกฎระเบียบ ข้อบังคับ และขั้นตอนการปฏิบัติตามศักยภาพและความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของแต่ละพื้นที่
- ศึกษาความเหมาะสมโครงการลงทุนเชิงธุรกิจที่มีลำดับความสำคัญสูง และโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนหลัก พร้อมทั้งเสนอแนะองค์กร แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่เขตเศรษฐกิจร่วมให้สามารถดำเนินการพัฒนาความร่วมมือฯ ได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
2) เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยประสานงานหลักในการจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในรูปแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-กัมพูชา และแผนเชิงปฏิบัติการ โดยให้จัดประชุมหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตการจัดทำแผนความร่วมมือฯ กับฝ่ายกัมพูชาต่อไป
3) โดยที่ขณะนี้การจัดทำแผนความร่วมมือฯ ไทย-ลาว ยังไม่มีความก้าวหน้าจากฝ่ายลาวในการพิจารณาขอบเขตการศึกษา และคาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการทันในปีงบประมาณ 2543 เห็นควรอนุมัติเปลี่ยนแปลงเงินงบกลางปี 2543 จำนวน 20 ล้านบาท ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติสำหรับการจัดทำแผนความร่วมมือฯไทย-ลาว ไว้แล้ว สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาเพื่อจัดทำแผนความร่วมมือฯ ไทย-กัมพูชา โดยให้เร่งรัดดำเนินการจัดจ้างสถาบันการศึกษาของรัฐร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เฉพาะด้านจากต่างประเทศให้เป็นผู้ดำเนินการศึกษาให้ทันภายในปีงบประมาณ 2543 ต่อไป
สำหรับการจัดทำแผนความร่วมมือฯ ไทย-ลาว นั้น จะขออนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง เมื่อมีความพร้อมในการดำเนินการ
2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ของประเทศไทย ได้ประชุมปรึกษาหารือกับท่านจอมประสิทธิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา นายซกเจนดา โสพี เลขาธิการสภาเพื่อการพัฒนาประเทศกัมพูชา (Council for the Development of Cambodia: CDC) อย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 เกี่ยวกับขอบเขตการศึกษาจัดทำแผนความร่วมมือฯ ในรายละเอียด ซึ่งได้ข้อสรุปว่า
1) ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันในการจัดทำแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภาพรวม และแผนปฏิบัติในรายละเอียด โดยสภาเพื่อการพัฒนาประเทศกัมพูชา (CDC) จะมีหนังสือเชิญคณะผู้แทนฝ่ายไทยเดินทางไปกัมพูชาเพื่อประชุมปรึกษาหารืออย่างเป็นทางการต่อไป (คาดว่าอาจประมาณกลางเดือนสิงหาคม 2543)
2) โดยที่แผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและแผนปฏิบัติการระหว่างไทย-กัมพูชา เป็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพร้อมแผนงาน/โครงการพัฒนาความร่วมมือรายสาขา เช่น ด้านคมนาคม พลังงาน การค้า การลงทุน การผลิต ทั้งเกษตรและอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวที่มีความสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและกัมพูชาทั้งในระยะสั้น (1-3 ปี) ระยะปานกลาง (3-5 ปี) และระยะยาว (5-10 ปี) ควรดำเนินการผ่านกระทรวงการต่างประเทศภายใต้คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission : JC) ว่าด้วยความร่วมมือไทย - กัมพูชา
ที่ประชุมคณะกรรมการ กพบ. มีข้อสังเกตว่า
1) โดยที่ขณะนี้ประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกัมพูชาในหลายด้านอยู่แล้ว เช่น การเกษตร การศึกษา สาธารณสุข และคมนาคม โดยเฉพาะที่ผ่านกรมวิเทศสหการในช่วงปี 2537-2543 เป็นวงเงินประมาณ 213 ล้านบาท และกัมพูชาได้เสนอโครงการขอความช่วยเหลือต่อรัฐบาลไทยในลักษณะค่อนข้างซ้ำซ้อนกันโดยผ่านในหลายกรอบความร่วมมือ (Forum) เช่น คณะกรรมาธิการความร่วมมือไทย-กัมพูชา (JC) คณะกรรมธิการร่วมทางการค้าไทย-กัมพูชา (JTC) และคณะกรรมการด้านคมนาคม เป็นต้น จึงควรกำหนดแนวทางและรูปแบบโครงการความช่วยเหลือทั้งที่อยู่ระหว่างดำเนินการ และที่จะให้ความช่วยเหลือใหม่ในลักษณะแผนความช่วยเหลือที่สอดคล้องและประสานกับแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และแผนปฏิบัติการระหว่างไทย-กัมพูชา และควรเน้นการให้ความช่วยเหลือที่จะเป็นกลไกสนับสนุน/ส่งเสริมภาคเอกชนไทย ด้านการค้า การลงทุน การผลิต และการท่องเที่ยวร่วมกันอย่างเป็นระบบ
2) ควรศึกษาในรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางการสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีโอกาสเพิ่มขึ้นในการเข้าร่วมลงทุนพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน และหรือการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจบริกาต่างๆ ร่วมกับนักลงทุนกัมพูชาหรือนักลงทุนจากประเทศที่สาม
3) ที่ประชุม กพบ.ได้มีมติเห็นชอบ "ข้อกำหนดการศึกษาแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและแผนปฏิบัติการระหว่างไทย-กัมพูชา" ตามข้อ 1 และแนวทางการจัดทำแผนความร่วมมือฯ ตามข้อ 2 โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเปลี่ยนแปลงเงินงบกลางปี 2543 ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้ว สำหรับการจัดทำแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและแผนปฏิบัติการระหว่างไทย-กัมพูชา โดยให้พิจารณาจัดจ้างสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เฉพาะด้านจากต่างประเทศให้เป็นผู้ดำเนินการศึกษาภายในเวลา 12 เดือน โดยวิธีตกลงตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2555 พร้อมทั้งได้รับข้อสังเกตของที่ประชุมพิจารณาดำเนินการในรายละเอียดของการจัดทำแผนความร่วมมือฯ ไทย-กัมพูชา ต่อไป
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาแล้วให้ความเห็นชอบตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการ กพบ.ดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 ส.ค. 2543--
-กม/สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาเรื่องการจัดทำแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและแผนปฏิบัติการระหว่างไทย กัมพูชา ตามที่คณะกรรมการประสานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (กพบ.) เสนอ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการประสานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ครั้งที่ 2/2543 ซึ่งได้ประชุมเมื่อวันพุธที่ 9 สิงหาคม 2543 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแนวทางสู่การปฏิบัติในการจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-กัมพูชา และความร่วมมืออื่น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2543 สรุปว่า
1) เห็นควรให้จัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-กัมพูชาในลักษณะแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-กัมพูชา ระยะ 10 ปี เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและกัมพูชาได้อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมในระยะยาว โดยเฉพาะรูปแบบการพัฒนาเขตเศรษฐกิจร่วมทั้งด้านการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวภายใต้ขอบเขตการศึกษา (Terms of Reference) ด้วยดังนี้
- ศึกษาทบทวนศักยภาพการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจเฉพาะ และพื้นที่ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านทั่วประเทศระยะก่อนและหลังจากเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ
- จัดทำภาพรวมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-กัมพูชา ระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และระยะยาว ยึดหลักการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นเขตการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวร่วมกัน โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณชายแดน โดยภาครัฐให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาโครงข่ายบริการพื้นฐานทั้งในรูปแบบรัฐลงทุนเองหรือการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกฎระเบียบ ข้อบังคับขั้นตอนการปฏิบัติการผ่านแดน เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถประกอบธุรกิจการค้า การลงทุน การผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม
กำหนดเขตพื้นที่เศรษฐกิจร่วมตามแนวชายแดนหรือพื้นทีตอนในของไทยและกัมพูชา พร้อมทั้งจัดทำรายละเอียดแผนปฏิบัติการความร่วมมือรายสาขาในแต่ละพื้นที่เศรษฐกิจ ในลักษณะแผนงานแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive Plan) โดยเฉพาะระบบโครงสร้างพื้นฐานหลักเชื่อมโยงกฎระเบียบ ข้อบังคับ และขั้นตอนการปฏิบัติตามศักยภาพและความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของแต่ละพื้นที่
- ศึกษาความเหมาะสมโครงการลงทุนเชิงธุรกิจที่มีลำดับความสำคัญสูง และโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนหลัก พร้อมทั้งเสนอแนะองค์กร แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่เขตเศรษฐกิจร่วมให้สามารถดำเนินการพัฒนาความร่วมมือฯ ได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
2) เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยประสานงานหลักในการจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในรูปแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-กัมพูชา และแผนเชิงปฏิบัติการ โดยให้จัดประชุมหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตการจัดทำแผนความร่วมมือฯ กับฝ่ายกัมพูชาต่อไป
3) โดยที่ขณะนี้การจัดทำแผนความร่วมมือฯ ไทย-ลาว ยังไม่มีความก้าวหน้าจากฝ่ายลาวในการพิจารณาขอบเขตการศึกษา และคาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการทันในปีงบประมาณ 2543 เห็นควรอนุมัติเปลี่ยนแปลงเงินงบกลางปี 2543 จำนวน 20 ล้านบาท ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติสำหรับการจัดทำแผนความร่วมมือฯไทย-ลาว ไว้แล้ว สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาเพื่อจัดทำแผนความร่วมมือฯ ไทย-กัมพูชา โดยให้เร่งรัดดำเนินการจัดจ้างสถาบันการศึกษาของรัฐร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เฉพาะด้านจากต่างประเทศให้เป็นผู้ดำเนินการศึกษาให้ทันภายในปีงบประมาณ 2543 ต่อไป
สำหรับการจัดทำแผนความร่วมมือฯ ไทย-ลาว นั้น จะขออนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง เมื่อมีความพร้อมในการดำเนินการ
2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ของประเทศไทย ได้ประชุมปรึกษาหารือกับท่านจอมประสิทธิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา นายซกเจนดา โสพี เลขาธิการสภาเพื่อการพัฒนาประเทศกัมพูชา (Council for the Development of Cambodia: CDC) อย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 เกี่ยวกับขอบเขตการศึกษาจัดทำแผนความร่วมมือฯ ในรายละเอียด ซึ่งได้ข้อสรุปว่า
1) ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันในการจัดทำแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภาพรวม และแผนปฏิบัติในรายละเอียด โดยสภาเพื่อการพัฒนาประเทศกัมพูชา (CDC) จะมีหนังสือเชิญคณะผู้แทนฝ่ายไทยเดินทางไปกัมพูชาเพื่อประชุมปรึกษาหารืออย่างเป็นทางการต่อไป (คาดว่าอาจประมาณกลางเดือนสิงหาคม 2543)
2) โดยที่แผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและแผนปฏิบัติการระหว่างไทย-กัมพูชา เป็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพร้อมแผนงาน/โครงการพัฒนาความร่วมมือรายสาขา เช่น ด้านคมนาคม พลังงาน การค้า การลงทุน การผลิต ทั้งเกษตรและอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวที่มีความสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและกัมพูชาทั้งในระยะสั้น (1-3 ปี) ระยะปานกลาง (3-5 ปี) และระยะยาว (5-10 ปี) ควรดำเนินการผ่านกระทรวงการต่างประเทศภายใต้คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission : JC) ว่าด้วยความร่วมมือไทย - กัมพูชา
ที่ประชุมคณะกรรมการ กพบ. มีข้อสังเกตว่า
1) โดยที่ขณะนี้ประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกัมพูชาในหลายด้านอยู่แล้ว เช่น การเกษตร การศึกษา สาธารณสุข และคมนาคม โดยเฉพาะที่ผ่านกรมวิเทศสหการในช่วงปี 2537-2543 เป็นวงเงินประมาณ 213 ล้านบาท และกัมพูชาได้เสนอโครงการขอความช่วยเหลือต่อรัฐบาลไทยในลักษณะค่อนข้างซ้ำซ้อนกันโดยผ่านในหลายกรอบความร่วมมือ (Forum) เช่น คณะกรรมาธิการความร่วมมือไทย-กัมพูชา (JC) คณะกรรมธิการร่วมทางการค้าไทย-กัมพูชา (JTC) และคณะกรรมการด้านคมนาคม เป็นต้น จึงควรกำหนดแนวทางและรูปแบบโครงการความช่วยเหลือทั้งที่อยู่ระหว่างดำเนินการ และที่จะให้ความช่วยเหลือใหม่ในลักษณะแผนความช่วยเหลือที่สอดคล้องและประสานกับแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และแผนปฏิบัติการระหว่างไทย-กัมพูชา และควรเน้นการให้ความช่วยเหลือที่จะเป็นกลไกสนับสนุน/ส่งเสริมภาคเอกชนไทย ด้านการค้า การลงทุน การผลิต และการท่องเที่ยวร่วมกันอย่างเป็นระบบ
2) ควรศึกษาในรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางการสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีโอกาสเพิ่มขึ้นในการเข้าร่วมลงทุนพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน และหรือการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจบริกาต่างๆ ร่วมกับนักลงทุนกัมพูชาหรือนักลงทุนจากประเทศที่สาม
3) ที่ประชุม กพบ.ได้มีมติเห็นชอบ "ข้อกำหนดการศึกษาแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและแผนปฏิบัติการระหว่างไทย-กัมพูชา" ตามข้อ 1 และแนวทางการจัดทำแผนความร่วมมือฯ ตามข้อ 2 โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเปลี่ยนแปลงเงินงบกลางปี 2543 ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้ว สำหรับการจัดทำแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและแผนปฏิบัติการระหว่างไทย-กัมพูชา โดยให้พิจารณาจัดจ้างสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เฉพาะด้านจากต่างประเทศให้เป็นผู้ดำเนินการศึกษาภายในเวลา 12 เดือน โดยวิธีตกลงตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2555 พร้อมทั้งได้รับข้อสังเกตของที่ประชุมพิจารณาดำเนินการในรายละเอียดของการจัดทำแผนความร่วมมือฯ ไทย-กัมพูชา ต่อไป
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาแล้วให้ความเห็นชอบตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการ กพบ.ดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 ส.ค. 2543--
-กม/สส-