คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานช่วยเหลือฟื้นฟูอาชีพของจังหวัด รวมทุกภาคมี 4,348 ตำบล ที่ได้รับการฟื้นฟู เกษตรกรที่ยื่นความจำนง 128,247 ราย เกษตรกรที่จัดทำแผนฟื้นฟูแล้ว 40,733 ราย และเกษตรกรได้รับการช่วยเหลือแล้ว 6,260 ราย
2. คณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินงานตามนโยบายและผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีข้อสังเกตและปัญหาอุปสรรค ดังนี้
2.1 ธ.ก.ส. จะต้องนำแฟ้มประวัติลูกค้า ธ.ก.ส. ร่วมปฏิบัติงานที่ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในพื้นที่เป้าหมาย ประจำตำบลที่ละตำบลตามปฏิทิน ซึ่งในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. ผู้ปฏิบัติงานภาคสนามระดับอำเภอ/ตำบลควรสร้างความเข้าใจวิธีการทำงานร่วมกันในระดับตำบลเพิ่มขึ้น และดำเนินงานตรวจสอบ/วิเคราะห์ความจำเป็นและความต้องการของเกษตรกรจากข้อมูลและการสัมภาษณ์เกษตรกรรายบุคคล
2.2 การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ ระดับจังหวัด ขาดความพร้อมในการเตรียมการตั้งศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีตำบลเป้าหมาย และขาดการสร้างความเข้าใจร่วมกันในการปฏิบัติงานตามกรอบแนวทางการดำเนินงาน
2.3 การดำเนินงานของศูนย์บริการแลถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล เกษตรกรและองค์กรท้องถิ่นยังขาดความเข้าใจและความพร้อมในการเตรียมการและจัดตั้งศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล เพื่อรองรับโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ และเกษตรกรยังมีทัศนะคติและความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการช่วยเหลือในลักษณะขอรับการแจกปัจจัยเช่นเดียวกับโครงการอื่น ๆ ทำให้ต้องอาศัยการเสริมสร้างความเข้าใจและการเรียนรู้ให้กับเกษตรกร
2.4 เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม ระดับอำเภอ ขาดทักษะและประสบการณ์ในการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมกับองค์กรท้องถิ่นและผู้นำอาชีพ ในการเสวนาเพื่อสร้างความเข้าใจในการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้
2.5 ขณะนี้ยังไม่มีความก้าวหน้าการจัดทำคำขอและสนับสนุนกิจกรรมทางเลือกอาชีพจากจังหวัด
3. การดำเนินงานปี 2545 ประกอบด้วย
3.1 กรอบงบประมาณดำเนินงานปี 2545 คณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามการดำเนินการตามนโยบายพักการชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เป็นประธาน ได้เห็นควรให้ส่วนราชการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ในลักษณะบูรณาการแผนงาน งบประมาณและการบริหารจัดการ โดยให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ ระดับจังหวัด จัดสรรตามความต้องการของเกษตรกร โดยปรับลดงบประมาณปี 2545 ของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาตั้งไว้ที่สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมวงเงิน 1,534,512,000 บาท
3.2 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ยังใช้ขั้นตอนเดิมที่ได้ปฏิบัติในปี 2544 คือ รวบรวมข้อมูลประวัติเกษตรกร ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้และการยื่นความจำนงขอรับความช่วยเหลือของเกษตรกร เป็นต้น
3.3 การเร่งรัดจัดทำคำขอสนับสนุนงบประมาณปี 2545
1) ในระดับจังหวัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานคณะกรรมการฯ มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะคณะอนุกรรมการฯ ระดับจังหวัด เร่งรัดดำเนินการและพิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดกิจกรรมทางเลือกที่เกษตรกรต้องการ สำหรับเกษตรกรที่ได้รับการจัดลำดับให้ได้รับความช่วยเหลือในปี 2545ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2544
2) ในระดับส่วนราชการ ส่วนราชการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการช่วยเหลือให้แก่กลุ่มอาชีพเดิม กลุ่มอาชีพเสริม และกลุ่มอาชีพใหม่ พร้อมทั้งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรพิจารณาเกี่ยวกับการจัดทำทะเบียนเกษตรกรร่วมโครงการ
3.4 ขั้นตอนการจัดทำคำขอสนับสนุนงบประมาณปี 2545 ประกอบด้วย
1) ขั้นตอนที่ 1 การประชุมเร่งรัดเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
2) ขั้นตอนที่ 2 จัดทำคำของบปี 2545
3) ขั้นตอนที่ 3 พิจารณาแผนฟื้นฟูรายจังหวัดเพื่อจัดทำแผนจัดสรรปี 2545
4) ขั้นตอนที่ 4 สำนักบริหารโครงการตามนโยบายจัดสรรงบประมาณให้จังหวัดตามคำขอ
5) ขั้นตอนที่ 5 ดำเนินการช่วยเหลือ
6) ขั้นตอนที่ 6 การติดตามการช่วยเหลือ
7) ขั้นตอนที่ 7 การประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 ต.ค. 44--
-สส-
1. ผลการดำเนินงานช่วยเหลือฟื้นฟูอาชีพของจังหวัด รวมทุกภาคมี 4,348 ตำบล ที่ได้รับการฟื้นฟู เกษตรกรที่ยื่นความจำนง 128,247 ราย เกษตรกรที่จัดทำแผนฟื้นฟูแล้ว 40,733 ราย และเกษตรกรได้รับการช่วยเหลือแล้ว 6,260 ราย
2. คณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินงานตามนโยบายและผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีข้อสังเกตและปัญหาอุปสรรค ดังนี้
2.1 ธ.ก.ส. จะต้องนำแฟ้มประวัติลูกค้า ธ.ก.ส. ร่วมปฏิบัติงานที่ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในพื้นที่เป้าหมาย ประจำตำบลที่ละตำบลตามปฏิทิน ซึ่งในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. ผู้ปฏิบัติงานภาคสนามระดับอำเภอ/ตำบลควรสร้างความเข้าใจวิธีการทำงานร่วมกันในระดับตำบลเพิ่มขึ้น และดำเนินงานตรวจสอบ/วิเคราะห์ความจำเป็นและความต้องการของเกษตรกรจากข้อมูลและการสัมภาษณ์เกษตรกรรายบุคคล
2.2 การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ ระดับจังหวัด ขาดความพร้อมในการเตรียมการตั้งศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีตำบลเป้าหมาย และขาดการสร้างความเข้าใจร่วมกันในการปฏิบัติงานตามกรอบแนวทางการดำเนินงาน
2.3 การดำเนินงานของศูนย์บริการแลถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล เกษตรกรและองค์กรท้องถิ่นยังขาดความเข้าใจและความพร้อมในการเตรียมการและจัดตั้งศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล เพื่อรองรับโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ และเกษตรกรยังมีทัศนะคติและความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการช่วยเหลือในลักษณะขอรับการแจกปัจจัยเช่นเดียวกับโครงการอื่น ๆ ทำให้ต้องอาศัยการเสริมสร้างความเข้าใจและการเรียนรู้ให้กับเกษตรกร
2.4 เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม ระดับอำเภอ ขาดทักษะและประสบการณ์ในการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมกับองค์กรท้องถิ่นและผู้นำอาชีพ ในการเสวนาเพื่อสร้างความเข้าใจในการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้
2.5 ขณะนี้ยังไม่มีความก้าวหน้าการจัดทำคำขอและสนับสนุนกิจกรรมทางเลือกอาชีพจากจังหวัด
3. การดำเนินงานปี 2545 ประกอบด้วย
3.1 กรอบงบประมาณดำเนินงานปี 2545 คณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามการดำเนินการตามนโยบายพักการชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เป็นประธาน ได้เห็นควรให้ส่วนราชการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ในลักษณะบูรณาการแผนงาน งบประมาณและการบริหารจัดการ โดยให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ ระดับจังหวัด จัดสรรตามความต้องการของเกษตรกร โดยปรับลดงบประมาณปี 2545 ของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาตั้งไว้ที่สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมวงเงิน 1,534,512,000 บาท
3.2 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ยังใช้ขั้นตอนเดิมที่ได้ปฏิบัติในปี 2544 คือ รวบรวมข้อมูลประวัติเกษตรกร ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้และการยื่นความจำนงขอรับความช่วยเหลือของเกษตรกร เป็นต้น
3.3 การเร่งรัดจัดทำคำขอสนับสนุนงบประมาณปี 2545
1) ในระดับจังหวัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานคณะกรรมการฯ มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะคณะอนุกรรมการฯ ระดับจังหวัด เร่งรัดดำเนินการและพิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดกิจกรรมทางเลือกที่เกษตรกรต้องการ สำหรับเกษตรกรที่ได้รับการจัดลำดับให้ได้รับความช่วยเหลือในปี 2545ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2544
2) ในระดับส่วนราชการ ส่วนราชการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการช่วยเหลือให้แก่กลุ่มอาชีพเดิม กลุ่มอาชีพเสริม และกลุ่มอาชีพใหม่ พร้อมทั้งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรพิจารณาเกี่ยวกับการจัดทำทะเบียนเกษตรกรร่วมโครงการ
3.4 ขั้นตอนการจัดทำคำขอสนับสนุนงบประมาณปี 2545 ประกอบด้วย
1) ขั้นตอนที่ 1 การประชุมเร่งรัดเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
2) ขั้นตอนที่ 2 จัดทำคำของบปี 2545
3) ขั้นตอนที่ 3 พิจารณาแผนฟื้นฟูรายจังหวัดเพื่อจัดทำแผนจัดสรรปี 2545
4) ขั้นตอนที่ 4 สำนักบริหารโครงการตามนโยบายจัดสรรงบประมาณให้จังหวัดตามคำขอ
5) ขั้นตอนที่ 5 ดำเนินการช่วยเหลือ
6) ขั้นตอนที่ 6 การติดตามการช่วยเหลือ
7) ขั้นตอนที่ 7 การประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 ต.ค. 44--
-สส-