คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับรัฐมนตรีการค้าของประเทศสมาชิกเอเปค จำนวน 4 ประเทศ ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 17 - 18 ตุลาคม 2544 ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน สรุปได้ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับนาย Hsin-I Lin รัฐมนตรีเศรษฐกิจไต้หวัน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม2544 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 การลดอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะมาตรการทางด้านสุขอนามัยและมาตรการทุ่มตลาดของไต้หวัน
1.2 ความร่วมมือในการพัฒนา SMEs ของไทย
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับนาย Luis Ernesto Derbez รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและพัฒนาอุตสาหกรรมเม็กซิโก เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2544 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 ขอให้แก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่อการนำเข้าสินค้าข้าวและสับปะรดจากไทย
2.2 ได้เสนอให้ขยายความร่วมมือระหว่างกันโดยใช้ไทยและเม็กซิโกเป็น gateway สำหรับการค้าและการลงทุนของแต่ละฝ่ายสู่ประเทศใกล้เคียง
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับนาย Hwang Doo-Yun รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศและการค้าเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2544 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 ขอให้แก้ไขปัญหาและอุปสรรคเพื่อขยายการนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยให้มากขึ้น
3.2 ขอให้ขยายโควต้าข้าว โดยเพิ่มสัดส่วนโควต้าของข้าวเมล็ดยาวให้เพิ่มขึ้น
3.3 ขอให้พิจารณาซื้อข้าวจากไทย เมื่อเกาหลีใต้มีโครงการให้ความช่วยเหลือส่งข้าวให้เกาหลีเหนือ
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับนาย Robert B. Zoellick ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2544 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
4.1 ได้เสนอให้มีการประชุมทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ USTR เป็นประจำทุกปี
4.2 ได้เสนอให้สหรัฐฯ ร่วมมือกับไทยและเวียดนามในการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว และไม่ให้ราคาข้าวต่ำกว่าต้นทุน
4.3 ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการที่นักวิจัยสหรัฐฯ นำพันธุ์ข้าวหอมมะลิของไทยไปพัฒนา ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้อง และขอให้หน่วยงานของรัฐระงับการสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว
4.4 ขอให้เลิกเก็บภาษีทุ่มตลาด (AD) สินค้าสับปะรดกระป๋องของไทย ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออกสู่ตลาดสหรัฐฯ
4.5 ขอให้ถอดถอนชื่อประเทศไทยออกจากบัญชี Watch list เนื่องจากรัฐบาลไทยได้ดำเนินการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจัง
4.6 ขอให้ทบทวนเพื่อคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ของไทยที่ถูกเพิกถอนไป 12 รายการ
4.7 คัดค้านการออกกฎหมายที่จะขยายการให้สิทธิพิเศษยกเว้นภาษีนำเข้าจากประเทศ ADEAN ให้ครอบคลุมสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทย
4.8 ขอให้สหรัฐฯ ช่วยผ่อนคลายความเข้มงวดทางด้านมาตรฐานสุขอนามัยในการนำเข้าสินค้าอาหารโดยเฉพาะไก่ ซึ่งไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 4 ของโลก และสามารถส่งออกไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งมีมาตรฐานสูง เช่นสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และแคนาดาได้
ทั้งนี้ ภายหลังการประชุมรัฐมนตรีเอเปค กระทรวงพาณิชย์ได้มีหนังสือยืนยันประเด็นการหารือไปถึงรัฐมนตรีของไต้หวัน เม็กซิโก เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่หารือ พร้อมกับแนบ Aide Memoires ในเรื่องสำคัญที่ได้ยกขึ้นหารือ โดยมีสาระรายละเอียดเพื่อประกอบการพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าที่ได้เสนอด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับนาย Hsin-I Lin รัฐมนตรีเศรษฐกิจไต้หวัน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม2544 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 การลดอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะมาตรการทางด้านสุขอนามัยและมาตรการทุ่มตลาดของไต้หวัน
1.2 ความร่วมมือในการพัฒนา SMEs ของไทย
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับนาย Luis Ernesto Derbez รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและพัฒนาอุตสาหกรรมเม็กซิโก เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2544 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 ขอให้แก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่อการนำเข้าสินค้าข้าวและสับปะรดจากไทย
2.2 ได้เสนอให้ขยายความร่วมมือระหว่างกันโดยใช้ไทยและเม็กซิโกเป็น gateway สำหรับการค้าและการลงทุนของแต่ละฝ่ายสู่ประเทศใกล้เคียง
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับนาย Hwang Doo-Yun รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศและการค้าเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2544 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 ขอให้แก้ไขปัญหาและอุปสรรคเพื่อขยายการนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยให้มากขึ้น
3.2 ขอให้ขยายโควต้าข้าว โดยเพิ่มสัดส่วนโควต้าของข้าวเมล็ดยาวให้เพิ่มขึ้น
3.3 ขอให้พิจารณาซื้อข้าวจากไทย เมื่อเกาหลีใต้มีโครงการให้ความช่วยเหลือส่งข้าวให้เกาหลีเหนือ
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับนาย Robert B. Zoellick ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2544 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
4.1 ได้เสนอให้มีการประชุมทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ USTR เป็นประจำทุกปี
4.2 ได้เสนอให้สหรัฐฯ ร่วมมือกับไทยและเวียดนามในการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว และไม่ให้ราคาข้าวต่ำกว่าต้นทุน
4.3 ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการที่นักวิจัยสหรัฐฯ นำพันธุ์ข้าวหอมมะลิของไทยไปพัฒนา ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้อง และขอให้หน่วยงานของรัฐระงับการสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว
4.4 ขอให้เลิกเก็บภาษีทุ่มตลาด (AD) สินค้าสับปะรดกระป๋องของไทย ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออกสู่ตลาดสหรัฐฯ
4.5 ขอให้ถอดถอนชื่อประเทศไทยออกจากบัญชี Watch list เนื่องจากรัฐบาลไทยได้ดำเนินการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจัง
4.6 ขอให้ทบทวนเพื่อคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ของไทยที่ถูกเพิกถอนไป 12 รายการ
4.7 คัดค้านการออกกฎหมายที่จะขยายการให้สิทธิพิเศษยกเว้นภาษีนำเข้าจากประเทศ ADEAN ให้ครอบคลุมสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทย
4.8 ขอให้สหรัฐฯ ช่วยผ่อนคลายความเข้มงวดทางด้านมาตรฐานสุขอนามัยในการนำเข้าสินค้าอาหารโดยเฉพาะไก่ ซึ่งไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 4 ของโลก และสามารถส่งออกไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งมีมาตรฐานสูง เช่นสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และแคนาดาได้
ทั้งนี้ ภายหลังการประชุมรัฐมนตรีเอเปค กระทรวงพาณิชย์ได้มีหนังสือยืนยันประเด็นการหารือไปถึงรัฐมนตรีของไต้หวัน เม็กซิโก เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่หารือ พร้อมกับแนบ Aide Memoires ในเรื่องสำคัญที่ได้ยกขึ้นหารือ โดยมีสาระรายละเอียดเพื่อประกอบการพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าที่ได้เสนอด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-