1. คณะกรรมการพิจารณาจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรรมเสนอ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรม โดยมี นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ร้อยตำรวจเอกปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการ มีกรรมการประกอบด้วย นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม อัยการสุงสุด เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นายกสภาทนายความ ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองศาสตราจารย์ธงทอง จันทรางศุ รองศาสตราจารย์ประธาน วัฒนวาณิชย์ นายโสภณ เพชรสว่าง นายเสรี สุวรรณภานนท์ นายบัณฑิต รชตะนันทน์ นายมานิตย์ สุธาพร และพลตำรวจตรี วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมและผู้อำนวยการกองวิชาการ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
คณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. ศึกษาพิจารณารูปแบบและรายละเอียดในการจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรมให้เหมาะสม ทันสมัย และสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ตลอดจนวิธีปฏิบัติในนานาประเทศ
2. ดำเนินการเพื่อปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2534 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดทำกฎหมายเพื่อให้การจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สอดคล้องกับแนวทางตามข้อ 1
3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานตามที่มอบหมาย
4. เชิญเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ตลอดจนขอเอกสารต่าง ๆ อันจำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ให้คณะกรรมการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แล้วจัดทำรายงาน พร้อมทั้งเสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า บัดนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล จึงทำให้บุคคลตามโครงสร้างของคณะกรรมการพิจารณาจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรมตามมติของคณะรัฐมนตรีวันที่ 5 พฤษภาคม 2542, 2 พฤษภาคม 2543 และ 23 มกราคม 2544 เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างของกระทรวงยุติธรรมตามนโยบายรัฐบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงยุติธรรมจึงเห็นสมควรยกเลิกคณะกรรมการพิจารณาจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรมตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว และให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรมขึ้นใหม่
2. คณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 50/2544 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2544 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลโดยเร็ว นายกรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน โดยมี นายปองพล อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ มีกรรมการประกอบด้วย นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบปัญหากลุ่มเขื่อนที่เกี่ยวกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบปัญหากลุ่มเขื่อนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รับผิดชอบปัญหากรณีเกี่ยวกับการดำเนินคดี นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบปัญหากลุ่มเขื่อนที่เกี่ยวข้องกับกรมชลประทาน การประมง และการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ปัญหาของสมัชชาคนจน กรณีป่าไม้ และกรณีเกษตรกรรมทางเลือก นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบปัญหากรณีชุมชนแออัด นายสมบัติ อุทัยสาง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบปัญหากรณีที่ดินของรัฐ (ยกเว้นพื้นที่ป่าไม้) นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบปัญหากรณีผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานุการ พลโทปรีชา วรรณรัตน์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองและพลเอกชัยศึก เกตุทัต เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
มีอำนาจหน้าที่สำคัญในการสรุปความเป็นมา สาเหตุของปัญหา และร่วมปรึกษาหารือกับตัวแทนสมัชชาคนจน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าให้ได้ข้อยุติ และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ สำหรับปัญหาที่ต้องใช้ระยะเวลา ในการแก้ไขให้นำแนวทางการแก้ไขปัญหาเข้าขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ภายใน 2 สัปดาห์ นับแต่มีคำสั่งนี้ เร่งรัดติดตามผลการดำเนินการของหน่วยงานราชการและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามมติที่ประชุมหรือมติคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานตามความจำเป็น เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาที่มีความเร่งด่วนได้
3. คณะกรรมการต่าง ๆ ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอเกี่ยวกับการขอคงคณะกรรมการต่าง ๆ ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง จำนวน 27 คณะ จากที่แต่งตั้งไว้ 45 คณะ คือ
1. คณะกรรมการการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ
2. คณะกรรมการอำนวยการโครงการเงินกู้และเงินยืมเพื่อพัฒนาการศึกษา
3. คณะกรรมการฝ่ายการศึกษาของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
4. คณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรมของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
5. คณะกรรมการฝ่ายสื่อสารมวลชนของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
6. คณะกรรมการฝ่ายสังคมศาสตร์ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
7. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO)
8. คณะกรรมการก่อสร้างวัดไทยที่ลุมพินี ประเทศเนปาล
9. คณะกรรมการอำนวยการและควบคุมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
10. คณะกรรมการควบคุมอนุรักษ์โบราณสถานแห่ง
11. คณะกรรมการว่าด้วยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ
12. คณะกรรมการอำนวยการจัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
13. คณะกรรมการจดหมายเหตุแห่งชาติ
14. คณะกรรมการอำนวยการและประสานงานระบบสารนิเทศทางวิชาแห่งชาติ (กอ.สช.)
15. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดตั้งสถานศึกษาเอกชน
16. คณะกรรมการประสานงานฝ่ายไทยว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศอาเซียน
17. คณะกรรมการกำหนดนโยบายการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
18. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
19. คณะกรรมการฝ่ายวิทยาศาสตร์ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
20. คณะกรรมการพิจารณายกเว้นอากรนำเข้าวัสดุการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ
21. คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล (คณะกรรมการอำนวยการฝ่ายสงฆ์
22. คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล (คณะกรรมการอำนวยการฝ่ายฆราวาส)
23. คณะกรรมการอำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
24. คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อพัฒนาการศึกษาเพื่ออาชีพ (กรอ.พอ.)
25. คณะกรรมการโครงการชำระและจัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือชุดประชุมพงศาวดาร
26. คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดก
27.คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4. ผู้แทนทางการค้าของไทย (Thailand Trade Representative)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการพิจารณาการแต่งตั้งผู้แทนทางการค้าของไทย (Thailand Trade Representative) ตามข้อเสนอของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ดังนี้
1. นายกรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้แทนทางการค้าของไทย (Thailand Trade Representative เรียกโดยย่อว่า TTR) ได้ และเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ
2. ผู้แทนทางการค้าของไทย หรือ TTR มีอำนาจหน้าที่ในการเจรจาทางการค้า ภาษีอากร การนำเข้า การส่งออก การส่งเสริมการลงทุนและการท่องเที่ยวกับต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ การให้ข้อมูลทางการค้าและการลงทุนเกี่ยวกับประเทศไทย และการชี้แจงทำความเข้าใจ ในกรณีมีผู้แทนทางการค้าของไทยหลายคน ให้นายกรัฐมนตรีกำหนดเขตพื้นที่หรือประเด็นรับผิดชอบของแต่ละคน
3. ผู้แทนทางการค้าของไทยมีวาระสองปี
4. ให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อำนวยความสะดวกในการเดินทาง การปฏิบัติหน้าที่การขอข้อมูลจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่บังเกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ
5. ให้ผู้แทนทางการค้าของไทยรายงานผลการปฏิบัติภารกิจต่อนายกรัฐมนตรีทุกครั้งที่ปฏิบัติภารกิจเสร็จสิ้น และเมื่อครบวาระ
5. ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน3 ราย ดังนี้
1. นายรุ่งเรือง จุลชาต ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์)
3. นายกนกศักดิ์ ปิ่นแสง ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(นายนที ขลิบทอง)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป
6. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จำนวน 7 คน แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดปัจจุบันที่ได้ดำรงตำแหน่งมาครบกำหนด 2 ปี ตามวาระในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 แล้ว โดยเป็นกรรมการเดิมทั้งหมด ดังนี้ 1) นายอารี วัลยะเสวี 2) นายไพโรจน์นิงสานนท์ 3) นายประเวศ วะสี 4) นายจรัส สุวรรณเวลา 5) นายโสภณ สุภาพงษ์ 6) นายอัมมาร สยามวาลา และ7) นายวิจารณ์ พานิช ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2544 เป็นต้นไป
7. กรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 49/2544 เรื่อง แต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วย นายพนัส สิมะเสถียร เป็นประธานกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายทนงพิทยะ เป็นรองประธานกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายบดีจุณณานนท์ นายกอบศักดิ์ ชุติกุล นายพจน์ วิเทศยนตรกิจ นายนิมิตร นนทพันธาวาทย์ นายวิชัย พันธุ์โภคานายวิศาล บุปผเวส นายศุภวัฒน์ สายเชื้อ เป็นกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีและเลขานุการ เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีตามที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. ศึกษาและเสนอมาตรการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศหรือแนวทางการพัฒนาหรือเร่งรัดความเจริญและการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อนายกรัฐมนตรี
2. พิจารณาปัญหาเศรษฐกิจและมาตรการป้องกันหรือแก้ไขตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
3. เชิญเจ้าหน้าที่ของรัฐมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นหรือเรียกให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือส่วนราชการส่งเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นให้คณะกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ข้างต้น
4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือผู้รับผิดชอบ ให้ศึกษาหรือตรวจสอบปัญหาเฉพาะเรื่องได้ตามความจำเป็น
8. ปรับปรุงคณะกรรมการกำหนดราคาแทรกแซงตลาดยางพารา
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้ปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการกำหนดราคาแทรกแซงตลาดยางพาราใหม่ ประกอบด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายนที ขลิบทอง) ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ผู้อำนวยการองค์การสวนยางผู้แทนกระทรวงการคลัง
9. ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการจัดการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ให้แต่งตั้ง นายกล้า สมตระกูล รองอธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการจัดการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2543 เป็นต้นไป
10. การมอบหมายให้รักษาราชการแทน
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ให้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไม่อยู่และไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และให้การมอบหมายดังกล่าวมีผลครอบคลุมถึงกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมด้วย
11. เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สลร. 232/2544 เรื่อง แต่งตั้งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ให้แต่งตั้ง นายชาตรี พิริยะกิจไพบูลย์ เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544 เป็นต้นไป
12. ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 3 ราย ดังนี้ 1) พลอากาศเอก จรูญ วุฒิกาญจน์ 2) นายไพฑูรย์ บุญญวัฒน์ 3) นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 20 มี.ค.2544
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรรมเสนอ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรม โดยมี นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ร้อยตำรวจเอกปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการ มีกรรมการประกอบด้วย นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม อัยการสุงสุด เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นายกสภาทนายความ ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองศาสตราจารย์ธงทอง จันทรางศุ รองศาสตราจารย์ประธาน วัฒนวาณิชย์ นายโสภณ เพชรสว่าง นายเสรี สุวรรณภานนท์ นายบัณฑิต รชตะนันทน์ นายมานิตย์ สุธาพร และพลตำรวจตรี วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมและผู้อำนวยการกองวิชาการ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
คณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. ศึกษาพิจารณารูปแบบและรายละเอียดในการจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรมให้เหมาะสม ทันสมัย และสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ตลอดจนวิธีปฏิบัติในนานาประเทศ
2. ดำเนินการเพื่อปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2534 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดทำกฎหมายเพื่อให้การจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สอดคล้องกับแนวทางตามข้อ 1
3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานตามที่มอบหมาย
4. เชิญเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ตลอดจนขอเอกสารต่าง ๆ อันจำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ให้คณะกรรมการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แล้วจัดทำรายงาน พร้อมทั้งเสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า บัดนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล จึงทำให้บุคคลตามโครงสร้างของคณะกรรมการพิจารณาจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรมตามมติของคณะรัฐมนตรีวันที่ 5 พฤษภาคม 2542, 2 พฤษภาคม 2543 และ 23 มกราคม 2544 เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างของกระทรวงยุติธรรมตามนโยบายรัฐบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงยุติธรรมจึงเห็นสมควรยกเลิกคณะกรรมการพิจารณาจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรมตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว และให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรมขึ้นใหม่
2. คณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 50/2544 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2544 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลโดยเร็ว นายกรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน โดยมี นายปองพล อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ มีกรรมการประกอบด้วย นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบปัญหากลุ่มเขื่อนที่เกี่ยวกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบปัญหากลุ่มเขื่อนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รับผิดชอบปัญหากรณีเกี่ยวกับการดำเนินคดี นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบปัญหากลุ่มเขื่อนที่เกี่ยวข้องกับกรมชลประทาน การประมง และการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ปัญหาของสมัชชาคนจน กรณีป่าไม้ และกรณีเกษตรกรรมทางเลือก นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบปัญหากรณีชุมชนแออัด นายสมบัติ อุทัยสาง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบปัญหากรณีที่ดินของรัฐ (ยกเว้นพื้นที่ป่าไม้) นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบปัญหากรณีผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานุการ พลโทปรีชา วรรณรัตน์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองและพลเอกชัยศึก เกตุทัต เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
มีอำนาจหน้าที่สำคัญในการสรุปความเป็นมา สาเหตุของปัญหา และร่วมปรึกษาหารือกับตัวแทนสมัชชาคนจน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าให้ได้ข้อยุติ และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ สำหรับปัญหาที่ต้องใช้ระยะเวลา ในการแก้ไขให้นำแนวทางการแก้ไขปัญหาเข้าขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ภายใน 2 สัปดาห์ นับแต่มีคำสั่งนี้ เร่งรัดติดตามผลการดำเนินการของหน่วยงานราชการและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามมติที่ประชุมหรือมติคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานตามความจำเป็น เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาที่มีความเร่งด่วนได้
3. คณะกรรมการต่าง ๆ ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอเกี่ยวกับการขอคงคณะกรรมการต่าง ๆ ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง จำนวน 27 คณะ จากที่แต่งตั้งไว้ 45 คณะ คือ
1. คณะกรรมการการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ
2. คณะกรรมการอำนวยการโครงการเงินกู้และเงินยืมเพื่อพัฒนาการศึกษา
3. คณะกรรมการฝ่ายการศึกษาของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
4. คณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรมของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
5. คณะกรรมการฝ่ายสื่อสารมวลชนของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
6. คณะกรรมการฝ่ายสังคมศาสตร์ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
7. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO)
8. คณะกรรมการก่อสร้างวัดไทยที่ลุมพินี ประเทศเนปาล
9. คณะกรรมการอำนวยการและควบคุมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
10. คณะกรรมการควบคุมอนุรักษ์โบราณสถานแห่ง
11. คณะกรรมการว่าด้วยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ
12. คณะกรรมการอำนวยการจัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
13. คณะกรรมการจดหมายเหตุแห่งชาติ
14. คณะกรรมการอำนวยการและประสานงานระบบสารนิเทศทางวิชาแห่งชาติ (กอ.สช.)
15. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดตั้งสถานศึกษาเอกชน
16. คณะกรรมการประสานงานฝ่ายไทยว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศอาเซียน
17. คณะกรรมการกำหนดนโยบายการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
18. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
19. คณะกรรมการฝ่ายวิทยาศาสตร์ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
20. คณะกรรมการพิจารณายกเว้นอากรนำเข้าวัสดุการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ
21. คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล (คณะกรรมการอำนวยการฝ่ายสงฆ์
22. คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล (คณะกรรมการอำนวยการฝ่ายฆราวาส)
23. คณะกรรมการอำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
24. คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อพัฒนาการศึกษาเพื่ออาชีพ (กรอ.พอ.)
25. คณะกรรมการโครงการชำระและจัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือชุดประชุมพงศาวดาร
26. คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดก
27.คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4. ผู้แทนทางการค้าของไทย (Thailand Trade Representative)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการพิจารณาการแต่งตั้งผู้แทนทางการค้าของไทย (Thailand Trade Representative) ตามข้อเสนอของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ดังนี้
1. นายกรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้แทนทางการค้าของไทย (Thailand Trade Representative เรียกโดยย่อว่า TTR) ได้ และเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ
2. ผู้แทนทางการค้าของไทย หรือ TTR มีอำนาจหน้าที่ในการเจรจาทางการค้า ภาษีอากร การนำเข้า การส่งออก การส่งเสริมการลงทุนและการท่องเที่ยวกับต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ การให้ข้อมูลทางการค้าและการลงทุนเกี่ยวกับประเทศไทย และการชี้แจงทำความเข้าใจ ในกรณีมีผู้แทนทางการค้าของไทยหลายคน ให้นายกรัฐมนตรีกำหนดเขตพื้นที่หรือประเด็นรับผิดชอบของแต่ละคน
3. ผู้แทนทางการค้าของไทยมีวาระสองปี
4. ให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อำนวยความสะดวกในการเดินทาง การปฏิบัติหน้าที่การขอข้อมูลจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่บังเกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ
5. ให้ผู้แทนทางการค้าของไทยรายงานผลการปฏิบัติภารกิจต่อนายกรัฐมนตรีทุกครั้งที่ปฏิบัติภารกิจเสร็จสิ้น และเมื่อครบวาระ
5. ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน3 ราย ดังนี้
1. นายรุ่งเรือง จุลชาต ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์)
3. นายกนกศักดิ์ ปิ่นแสง ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(นายนที ขลิบทอง)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป
6. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จำนวน 7 คน แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดปัจจุบันที่ได้ดำรงตำแหน่งมาครบกำหนด 2 ปี ตามวาระในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 แล้ว โดยเป็นกรรมการเดิมทั้งหมด ดังนี้ 1) นายอารี วัลยะเสวี 2) นายไพโรจน์นิงสานนท์ 3) นายประเวศ วะสี 4) นายจรัส สุวรรณเวลา 5) นายโสภณ สุภาพงษ์ 6) นายอัมมาร สยามวาลา และ7) นายวิจารณ์ พานิช ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2544 เป็นต้นไป
7. กรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 49/2544 เรื่อง แต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วย นายพนัส สิมะเสถียร เป็นประธานกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายทนงพิทยะ เป็นรองประธานกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายบดีจุณณานนท์ นายกอบศักดิ์ ชุติกุล นายพจน์ วิเทศยนตรกิจ นายนิมิตร นนทพันธาวาทย์ นายวิชัย พันธุ์โภคานายวิศาล บุปผเวส นายศุภวัฒน์ สายเชื้อ เป็นกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีและเลขานุการ เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีตามที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. ศึกษาและเสนอมาตรการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศหรือแนวทางการพัฒนาหรือเร่งรัดความเจริญและการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อนายกรัฐมนตรี
2. พิจารณาปัญหาเศรษฐกิจและมาตรการป้องกันหรือแก้ไขตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
3. เชิญเจ้าหน้าที่ของรัฐมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นหรือเรียกให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือส่วนราชการส่งเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นให้คณะกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ข้างต้น
4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือผู้รับผิดชอบ ให้ศึกษาหรือตรวจสอบปัญหาเฉพาะเรื่องได้ตามความจำเป็น
8. ปรับปรุงคณะกรรมการกำหนดราคาแทรกแซงตลาดยางพารา
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้ปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการกำหนดราคาแทรกแซงตลาดยางพาราใหม่ ประกอบด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายนที ขลิบทอง) ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ผู้อำนวยการองค์การสวนยางผู้แทนกระทรวงการคลัง
9. ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการจัดการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ให้แต่งตั้ง นายกล้า สมตระกูล รองอธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการจัดการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2543 เป็นต้นไป
10. การมอบหมายให้รักษาราชการแทน
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ให้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไม่อยู่และไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และให้การมอบหมายดังกล่าวมีผลครอบคลุมถึงกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมด้วย
11. เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สลร. 232/2544 เรื่อง แต่งตั้งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ให้แต่งตั้ง นายชาตรี พิริยะกิจไพบูลย์ เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544 เป็นต้นไป
12. ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 3 ราย ดังนี้ 1) พลอากาศเอก จรูญ วุฒิกาญจน์ 2) นายไพฑูรย์ บุญญวัฒน์ 3) นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 20 มี.ค.2544
-สส-