แท็ก
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ร่างพระราชบัญญัติ
สุวิทย์ คุณกิตติ
ทบวงมหาวิทยาลัย
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. …. ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ แล้วมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เป็นประธาน และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 และข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณา แล้วให้เสนอคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
นอกจากนี้ ให้กระทรวงการคลังรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาต่อไป และให้ทบวงมหาวิทยาลัยรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 และข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป
ทั้งนี้ ทบวงมหาวิทยาลัยรายงานว่า เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้มหาวิทยาลัยของรัฐทั้งหมดที่เป็นส่วนราชการมาแต่เดิม ได้ปรับเปลี่ยนสภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับของรัฐบาล เพื่อการบริหารวิชาการได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นภายใน พ.ศ. 2545 นอกจากนั้นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการศึกษาทุกระดับของประเทศได้กำหนดว่าให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคลโดยจัดเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐบาลซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติรวม 2 ฉบับ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. …. ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1.1 ปรับเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการไปเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ แต่อยู่ในการกำกับของรัฐ
1.2 กิจการของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่บุคลากรต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
1.3 มหาวิทยาลัยสามารถถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้ทุกประเภททั้งสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ โดยสามารถซื้อ สร้าง จัดหา รับโอน เช่า ให้เช่าซื้อ แลกเปลี่ยนและจำหน่ายทรัพย์สินทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุดหนุนหรืออุทิศให้ การจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ให้กระทำได้เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยที่ได้มาจากการให้หรือซื้อด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย หรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย และอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มาจากการให้หรือซื้อด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยหรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย
1.4 รัฐบาลต้องจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปให้แก่มหาวิทยาลัยโดยตรงเป็นรายปีในจำนวนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการของมหาวิทยาลัย และรายได้ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
1.5 การดำเนินการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้ได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมและค่าภาษีอากรตามกฎหมายว่าด้วยการจัดเก็บภาษีอากรและประมวลกฎหมายที่ดิน
1.6 ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และบุคคลใดจะยกอายุความหรือระยะเวลาในการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยในเรื่องทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่ได้ และการดำเนินการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ
1.7 ให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมีฐานะเป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ
1.8 สภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรบริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย การดำเนินการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยจะสิ้นสุดที่สภามหาวิทยาลัยทั้งด้านบริหารงานบุคคล การเงินและวิชาการ องค์ประกอบเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยมากกว่าบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
1.9 อธิการบดี หัวหน้าส่วนงาน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
1.10 มหาวิทยาลัยต้องจัดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษา กระทำโดยคณะกรรมการและทำรายงานประจำปีเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
1.11 ข้าราชการและลูกจ้างของมหาวิทยาลัยก่อนวันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับยังคงเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการต่อไป โดยให้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างผ่านมหาวิทยาลัย โดยเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดินหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง ถ้าตำแหน่งใดว่างลงให้ยุบเลิกตำแหน่งนั้น และให้โอนเงินงบประมาณแผ่นดินหมวดเงินเดือนและค่าจ้างที่ตั้งไว้สำหรับตำแหน่งนั้นไปเป็นของมหาวิทยาลัย ผู้สมัครเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยต้องได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ไม่น้อยกว่าที่เคยรับอยู่
2. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. …. มีหลักการสำคัญคือ ปรับเปลี่ยนสถานภาพของมหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการไปเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายอื่น แต่อยู่ในกำกับดูแลของรัฐ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
2.1 ปรับเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการไปเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ แต่อยู่ในการกำกับของรัฐบาล
2.2 กิจการของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่ผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินค่าทดแทน
2.3 มหาวิทยาลัยสามารถถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้ทุกประเภททั้งสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ โดยสามารถซื้อ สร้าง จัดหา รับโอน เช่า ให้เช่าซื้อ แลกเปลี่ยน ฯลฯ และจำหน่ายทรัพย์สินทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุดหนุนหรืออุทิศให้ การจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ให้กระทำได้เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยที่ได้มาจากการให้หรือซื้อด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย หรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย และอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มาจากการให้หรือซื้อด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยหรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย
2.4 รัฐบาลต้องจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปให้แก่มหาวิทยาลัยโดยตรงเป็นรายปีในจำนวนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการของมหาวิทยาลัย และรายได้ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
2.5 ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยในเรื่องทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่ได้
2.6 การดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัย บุคคลที่อุทิศทรัพย์สินให้แก่มหาวิทยาลัยได้รับการยกเว้นภาษี และค่าฤชาธรรมเนียมที่รัฐเรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรหรือตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
3.7 สภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรบริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย การดำเนินการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยจะสิ้นสุดที่สภามหาวิทยาลัยทั้งด้านบริหารงานบุคคล การเงินและวิชาการ องค์ประกอบเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยมากกว่าบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
2.8 อธิการบดี มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
2.9 ให้มีการประเมินคุณภาพของส่วนงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยทุกสี่ปี โดยผู้ประเมินอิสระซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกของมหาวิทยาลัย
2.10 มหาวิทยาลัยต้องจัดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาและการวิจัยโดยต้องจัดให้มีการประเมินหลักสูตรเมื่อครบหนึ่งปีหลังจากครบกำหนดเวลาการศึกษาตามหลักสูตรใด โดยผู้ประเมินอิสระซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกของมหาวิทยาลัย และให้มีการประเมินครั้งต่อไปเป็นระยะตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด แต่ต้องไม่เกิน5 ปี
2.11 ข้าราชการและลูกจ้างของมหาวิทยาลัยก่อนวันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับยังคงเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการต่อไป แต่ถ้าสมัครเข้าเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยภายใน 120 วัน นับแต่พระราชบัญญัติใช้บังคับให้ถือว่าเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยโดยไม่ต้องประเมิน และได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ไม่น้อยกว่าที่เคยรับอยู่
2.12 เพื่อประโยชน์แห่งการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้ถือว่าบุคลากรของมหาวิทยาลัยเป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-
นอกจากนี้ ให้กระทรวงการคลังรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาต่อไป และให้ทบวงมหาวิทยาลัยรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 และข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป
ทั้งนี้ ทบวงมหาวิทยาลัยรายงานว่า เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้มหาวิทยาลัยของรัฐทั้งหมดที่เป็นส่วนราชการมาแต่เดิม ได้ปรับเปลี่ยนสภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับของรัฐบาล เพื่อการบริหารวิชาการได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นภายใน พ.ศ. 2545 นอกจากนั้นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการศึกษาทุกระดับของประเทศได้กำหนดว่าให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคลโดยจัดเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐบาลซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติรวม 2 ฉบับ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. …. ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1.1 ปรับเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการไปเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ แต่อยู่ในการกำกับของรัฐ
1.2 กิจการของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่บุคลากรต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
1.3 มหาวิทยาลัยสามารถถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้ทุกประเภททั้งสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ โดยสามารถซื้อ สร้าง จัดหา รับโอน เช่า ให้เช่าซื้อ แลกเปลี่ยนและจำหน่ายทรัพย์สินทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุดหนุนหรืออุทิศให้ การจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ให้กระทำได้เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยที่ได้มาจากการให้หรือซื้อด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย หรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย และอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มาจากการให้หรือซื้อด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยหรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย
1.4 รัฐบาลต้องจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปให้แก่มหาวิทยาลัยโดยตรงเป็นรายปีในจำนวนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการของมหาวิทยาลัย และรายได้ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
1.5 การดำเนินการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้ได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมและค่าภาษีอากรตามกฎหมายว่าด้วยการจัดเก็บภาษีอากรและประมวลกฎหมายที่ดิน
1.6 ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และบุคคลใดจะยกอายุความหรือระยะเวลาในการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยในเรื่องทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่ได้ และการดำเนินการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ
1.7 ให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมีฐานะเป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ
1.8 สภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรบริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย การดำเนินการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยจะสิ้นสุดที่สภามหาวิทยาลัยทั้งด้านบริหารงานบุคคล การเงินและวิชาการ องค์ประกอบเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยมากกว่าบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
1.9 อธิการบดี หัวหน้าส่วนงาน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
1.10 มหาวิทยาลัยต้องจัดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษา กระทำโดยคณะกรรมการและทำรายงานประจำปีเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
1.11 ข้าราชการและลูกจ้างของมหาวิทยาลัยก่อนวันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับยังคงเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการต่อไป โดยให้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างผ่านมหาวิทยาลัย โดยเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดินหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง ถ้าตำแหน่งใดว่างลงให้ยุบเลิกตำแหน่งนั้น และให้โอนเงินงบประมาณแผ่นดินหมวดเงินเดือนและค่าจ้างที่ตั้งไว้สำหรับตำแหน่งนั้นไปเป็นของมหาวิทยาลัย ผู้สมัครเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยต้องได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ไม่น้อยกว่าที่เคยรับอยู่
2. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. …. มีหลักการสำคัญคือ ปรับเปลี่ยนสถานภาพของมหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการไปเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายอื่น แต่อยู่ในกำกับดูแลของรัฐ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
2.1 ปรับเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการไปเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ แต่อยู่ในการกำกับของรัฐบาล
2.2 กิจการของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่ผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินค่าทดแทน
2.3 มหาวิทยาลัยสามารถถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้ทุกประเภททั้งสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ โดยสามารถซื้อ สร้าง จัดหา รับโอน เช่า ให้เช่าซื้อ แลกเปลี่ยน ฯลฯ และจำหน่ายทรัพย์สินทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุดหนุนหรืออุทิศให้ การจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ให้กระทำได้เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยที่ได้มาจากการให้หรือซื้อด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย หรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย และอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มาจากการให้หรือซื้อด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยหรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย
2.4 รัฐบาลต้องจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปให้แก่มหาวิทยาลัยโดยตรงเป็นรายปีในจำนวนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการของมหาวิทยาลัย และรายได้ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
2.5 ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยในเรื่องทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่ได้
2.6 การดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัย บุคคลที่อุทิศทรัพย์สินให้แก่มหาวิทยาลัยได้รับการยกเว้นภาษี และค่าฤชาธรรมเนียมที่รัฐเรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรหรือตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
3.7 สภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรบริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย การดำเนินการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยจะสิ้นสุดที่สภามหาวิทยาลัยทั้งด้านบริหารงานบุคคล การเงินและวิชาการ องค์ประกอบเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยมากกว่าบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
2.8 อธิการบดี มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
2.9 ให้มีการประเมินคุณภาพของส่วนงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยทุกสี่ปี โดยผู้ประเมินอิสระซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกของมหาวิทยาลัย
2.10 มหาวิทยาลัยต้องจัดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาและการวิจัยโดยต้องจัดให้มีการประเมินหลักสูตรเมื่อครบหนึ่งปีหลังจากครบกำหนดเวลาการศึกษาตามหลักสูตรใด โดยผู้ประเมินอิสระซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกของมหาวิทยาลัย และให้มีการประเมินครั้งต่อไปเป็นระยะตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด แต่ต้องไม่เกิน5 ปี
2.11 ข้าราชการและลูกจ้างของมหาวิทยาลัยก่อนวันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับยังคงเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการต่อไป แต่ถ้าสมัครเข้าเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยภายใน 120 วัน นับแต่พระราชบัญญัติใช้บังคับให้ถือว่าเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยโดยไม่ต้องประเมิน และได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ไม่น้อยกว่าที่เคยรับอยู่
2.12 เพื่อประโยชน์แห่งการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้ถือว่าบุคลากรของมหาวิทยาลัยเป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-