คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2544 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. การเบิกจ่ายในภาพรวม
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายเงินจากคลังแล้ว จำนวน 714,808 ล้านบาท หรือร้อยละ 78.55 ของวงเงินงบประมาณ (910,000 ล้านบาท) เปรียบเทียบกับอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อนจะสูงกว่าร้อยละ 0.34
2. การเบิกจ่ายงบลงทุน
2.1 ผลการเบิกจ่ายงบลงทุน จำแนกตามกระทรวง
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายงบลงทุนแล้วทั้งสิ้น 119,870 ล้านบาท หรือร้อยละ 54.38 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุน (220,429 ล้านบาท) โดยกระทรวงที่มีอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม และสำนักนายกรัฐมนตรี มีอัตราการเบิกจ่ายต่อวงเงินงบประมาณเท่ากับร้อยละ 17.20 22,30 และ 23.50 ตามลำดับ
2.2 ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 32 แห่ง
หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 32 แห่ง มีการเบิกจ่ายงบลงทุนแล้วจำนวน 105,572 ล้านบาท หรือร้อยละ 56,02 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุนในกลุ่มนี้ (188,463 ล้านบาท) โดยหน่วยงานที่มีอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กองทัพบก และสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย มีอัตราการเบิกจ่ายต่อวงเงินงบประมาณเท่ากับร้อยละ 10.00 19.05 และ 24.16 ตามลำดับ
2.3 ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของโครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 มีการจัดสรรเงินงบประมาณให้แก่โครงการถ่ายโอน 32,374 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2544 มีการเบิกจ่ายเงินจากคลังแล้ว 17,888 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 55.25 ของวงเงินงบประมาณ แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 11,848 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.93 ของงบประมาณรายจ่ายประจำ (12,350 ล้านบาท) และรายจ่ายลงทุน 6,040 ล้านบาท หรือร้อยละ 30.16 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุน (20,024 ล้านบาท) โดยหน่วยงานที่มีอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนโครงการถ่ายโอนฯ ต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กรมพัฒนาที่ดิน กรมทางหลวง และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีอัตราการเบิกจ่ายต่อวงเงินงบประมาณ เท่ากับร้อยละ 0.45 3.45 และ 20.59 ตามลำดับ
3. ประมาณการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2544กระทรวงการคลังได้ติดตามความสามารถในการเบิกจ่ายเงินของหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 11 กันยายน 2544 มีการเบิกจ่ายไปแล้วจำนวน 728,178 ล้านบาท หรือร้อยละ 80.02 ของวงเงินงบประมาณ และคาดว่า ณ สิ้นปีงบประมาณจะมีการเบิกจ่ายประมาณ 812,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 89.23 ของวงเงินงบประมาณ ซึ่งใกล้เคียงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 90
สำหรับสาเหตุที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไม่สามารถเบิกจ่ายเงินได้ทันภายในปีงบประมาณ เนื่องจากมีปัจจัยสำคัญหลายประการ กล่าวคือ
1. มาตรการปรับลดราคากลางสิ่งก่อสร้างของหน่วยงานภาครัฐลงร้อยละ 10 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม - 2543 ทำให้การดำเนินงานของส่วนราชการต้องล่าช้าไปประมาณ 2 เดือน เนื่องจากส่วนราชการต้องใช้เวลาในขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแม้ว่าส่วนราชการจะสามารถก่อหนี้ผูกพันได้ทันภายในปีงบประมาณ แต่จะต้องกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี
2. มาตรการปรับลดงบประมาณปี 2544 จำนวน 2 ครั้ง วงเงิน 11,844.3 ล้านบาท ทำให้หน่วยงานที่ถูกปรับลดงบประมาณต้องชะลอการดำเนินงานในหลายโครงการในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2544
3. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 มีการจัดสรรงบประมาณให้กับโครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรมบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเงินถึง 32,374 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 28,541 ล้านบาท แต่การจัดสรรงบประมาณเป็นการจัดสรรโดยใช้เกณฑ์พื้นที่เพียงอย่างเดียว ไม่ได้คำนึงถึงศักยะภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้การดำเนินงานตามโครงการถ่ายโอนฯ ในช่วงที่ผ่านมาไม่เป็นไปตามแผน
สำหรับเงินงบประมาณในส่วนที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในปีงบประมาณ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจะสามารถเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณดังกล่าวได้ในไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ทั้งนี้เนื่องจากงบประมาณส่วนใหญ่ได้มีการก่อหนี้ผูกพันไว้แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-
1. การเบิกจ่ายในภาพรวม
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายเงินจากคลังแล้ว จำนวน 714,808 ล้านบาท หรือร้อยละ 78.55 ของวงเงินงบประมาณ (910,000 ล้านบาท) เปรียบเทียบกับอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อนจะสูงกว่าร้อยละ 0.34
2. การเบิกจ่ายงบลงทุน
2.1 ผลการเบิกจ่ายงบลงทุน จำแนกตามกระทรวง
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายงบลงทุนแล้วทั้งสิ้น 119,870 ล้านบาท หรือร้อยละ 54.38 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุน (220,429 ล้านบาท) โดยกระทรวงที่มีอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม และสำนักนายกรัฐมนตรี มีอัตราการเบิกจ่ายต่อวงเงินงบประมาณเท่ากับร้อยละ 17.20 22,30 และ 23.50 ตามลำดับ
2.2 ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 32 แห่ง
หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 32 แห่ง มีการเบิกจ่ายงบลงทุนแล้วจำนวน 105,572 ล้านบาท หรือร้อยละ 56,02 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุนในกลุ่มนี้ (188,463 ล้านบาท) โดยหน่วยงานที่มีอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กองทัพบก และสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย มีอัตราการเบิกจ่ายต่อวงเงินงบประมาณเท่ากับร้อยละ 10.00 19.05 และ 24.16 ตามลำดับ
2.3 ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของโครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 มีการจัดสรรเงินงบประมาณให้แก่โครงการถ่ายโอน 32,374 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2544 มีการเบิกจ่ายเงินจากคลังแล้ว 17,888 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 55.25 ของวงเงินงบประมาณ แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 11,848 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.93 ของงบประมาณรายจ่ายประจำ (12,350 ล้านบาท) และรายจ่ายลงทุน 6,040 ล้านบาท หรือร้อยละ 30.16 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุน (20,024 ล้านบาท) โดยหน่วยงานที่มีอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนโครงการถ่ายโอนฯ ต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กรมพัฒนาที่ดิน กรมทางหลวง และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีอัตราการเบิกจ่ายต่อวงเงินงบประมาณ เท่ากับร้อยละ 0.45 3.45 และ 20.59 ตามลำดับ
3. ประมาณการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2544กระทรวงการคลังได้ติดตามความสามารถในการเบิกจ่ายเงินของหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 11 กันยายน 2544 มีการเบิกจ่ายไปแล้วจำนวน 728,178 ล้านบาท หรือร้อยละ 80.02 ของวงเงินงบประมาณ และคาดว่า ณ สิ้นปีงบประมาณจะมีการเบิกจ่ายประมาณ 812,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 89.23 ของวงเงินงบประมาณ ซึ่งใกล้เคียงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 90
สำหรับสาเหตุที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไม่สามารถเบิกจ่ายเงินได้ทันภายในปีงบประมาณ เนื่องจากมีปัจจัยสำคัญหลายประการ กล่าวคือ
1. มาตรการปรับลดราคากลางสิ่งก่อสร้างของหน่วยงานภาครัฐลงร้อยละ 10 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม - 2543 ทำให้การดำเนินงานของส่วนราชการต้องล่าช้าไปประมาณ 2 เดือน เนื่องจากส่วนราชการต้องใช้เวลาในขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแม้ว่าส่วนราชการจะสามารถก่อหนี้ผูกพันได้ทันภายในปีงบประมาณ แต่จะต้องกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี
2. มาตรการปรับลดงบประมาณปี 2544 จำนวน 2 ครั้ง วงเงิน 11,844.3 ล้านบาท ทำให้หน่วยงานที่ถูกปรับลดงบประมาณต้องชะลอการดำเนินงานในหลายโครงการในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2544
3. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 มีการจัดสรรงบประมาณให้กับโครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรมบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเงินถึง 32,374 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 28,541 ล้านบาท แต่การจัดสรรงบประมาณเป็นการจัดสรรโดยใช้เกณฑ์พื้นที่เพียงอย่างเดียว ไม่ได้คำนึงถึงศักยะภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้การดำเนินงานตามโครงการถ่ายโอนฯ ในช่วงที่ผ่านมาไม่เป็นไปตามแผน
สำหรับเงินงบประมาณในส่วนที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในปีงบประมาณ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจะสามารถเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณดังกล่าวได้ในไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ทั้งนี้เนื่องจากงบประมาณส่วนใหญ่ได้มีการก่อหนี้ผูกพันไว้แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-