ทำเนียบรัฐบาล--25 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ผลการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาล โดยวิธี Re-open พันธบัตรรุ่นเดิม รวม 2 รุ่น ในวงเงิน 19,836 ล้านบาท รวมกับพันธบัตรที่กระทรวงการคลังได้นำเงินจากกองทุนเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 164 ล้านบาท มาชำระคืนต้นเงินที่ได้กู้เบิกเกินบัญชีมาจากธนาคารออมสิน จำนวน 20,000 ล้านบาท ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ทำสัญญาเงินกู้เบิกเกินบัญชีจากธนาคารออมสิน ในวงเงิน 20,000 ล้านบาท ในวันที่ 31 สิงหาคม 2543 กำหนดเวลาการชำระคืนต้นเงินกู้ 1.5 เดือน เป็นการทยอยชำระคืนเริ่มตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2543 และไม่เกินวันที่ 8 ตุลาคม 2543 โดยมีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 3.25 ต่อปี ในการนี้ กระทรวงการคลังได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระคืนต้นเงินพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษในปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 ครั้งที่ 3/1 ชนิดดอกเบี้ยร้อยละ 10.75 ต่อปี ในวันที่ 31 สิงหาคม 2543 ทั้งจำนวน
2. จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธี Re-open พันธบัตรรุ่นเดิมรวม 2 รุ่น ดังนี้
2.1 พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ครั้งที่ 5/2 ชนิดดอกเบี้ยร้อยละ 8.00 ต่อปี ครบกำหนดชำระคืนวันที่ 8 ธันวาคม 2549 ออกจำหน่ายวันที่ 31 สิงหาคม 2543 จำนวนทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท
2.2 พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ครั้งที่ 6/3 ชนิดดอกเบี้ยร้อยละ 7.50 ต่อปี ครบกำหนดชำระคืนวันที่ 5 มีนาคม 2554 จำนวนทั้งสิ้น 14,836 ล้านบาท โดยแบ่งการออกจำหน่ายเป็น 3 ครั้ง ดังนี้ วันที่ 8 กันยายน 2543 จำนวน 5,000 ล้านบาท วันที่ 15 กันยายน 2543 จำนวน 5,000 ล้านบาท วันที่ 22 กันยายน 2543 จำนวน 4,836 ล้านบาท รวม 14,836 ล้านบาท เงินที่ได้จากการจำหน่ายพันธบัตรตามจำนวนข้างต้น กระทรวงการคลังได้นำไปชำระคืนต้นเงินที่ได้กู้มาจากธนาคารออมสินตามข้อ 1 ในวันที่จำหน่าย
3. นำเงินจากกองทุนเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ชำระคืนต้นเงินที่ได้กู้มาจากธนาคารออมสินตามข้อ 1 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2543 จำนวน 164 ล้านบาท
รวมพันธบัตรที่กระทรวงการคลังได้ออกเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ตามแนวทางที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ทั้งสิ้น 19,836 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับพันธบัตรที่กระทรวงการคลังได้นำเงินจากกองทุนเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ฯ เข้าชำระคืนต้นเงินจำนวน 164 ล้านบาท จะทำให้การปรับโครงสร้างหนี้ในครั้งนี้บรรลุตามเป้าหมาย 20,000 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ผลการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาล โดยวิธี Re-open พันธบัตรรุ่นเดิม รวม 2 รุ่น ในวงเงิน 19,836 ล้านบาท รวมกับพันธบัตรที่กระทรวงการคลังได้นำเงินจากกองทุนเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 164 ล้านบาท มาชำระคืนต้นเงินที่ได้กู้เบิกเกินบัญชีมาจากธนาคารออมสิน จำนวน 20,000 ล้านบาท ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ทำสัญญาเงินกู้เบิกเกินบัญชีจากธนาคารออมสิน ในวงเงิน 20,000 ล้านบาท ในวันที่ 31 สิงหาคม 2543 กำหนดเวลาการชำระคืนต้นเงินกู้ 1.5 เดือน เป็นการทยอยชำระคืนเริ่มตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2543 และไม่เกินวันที่ 8 ตุลาคม 2543 โดยมีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 3.25 ต่อปี ในการนี้ กระทรวงการคลังได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระคืนต้นเงินพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษในปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 ครั้งที่ 3/1 ชนิดดอกเบี้ยร้อยละ 10.75 ต่อปี ในวันที่ 31 สิงหาคม 2543 ทั้งจำนวน
2. จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธี Re-open พันธบัตรรุ่นเดิมรวม 2 รุ่น ดังนี้
2.1 พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ครั้งที่ 5/2 ชนิดดอกเบี้ยร้อยละ 8.00 ต่อปี ครบกำหนดชำระคืนวันที่ 8 ธันวาคม 2549 ออกจำหน่ายวันที่ 31 สิงหาคม 2543 จำนวนทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท
2.2 พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ครั้งที่ 6/3 ชนิดดอกเบี้ยร้อยละ 7.50 ต่อปี ครบกำหนดชำระคืนวันที่ 5 มีนาคม 2554 จำนวนทั้งสิ้น 14,836 ล้านบาท โดยแบ่งการออกจำหน่ายเป็น 3 ครั้ง ดังนี้ วันที่ 8 กันยายน 2543 จำนวน 5,000 ล้านบาท วันที่ 15 กันยายน 2543 จำนวน 5,000 ล้านบาท วันที่ 22 กันยายน 2543 จำนวน 4,836 ล้านบาท รวม 14,836 ล้านบาท เงินที่ได้จากการจำหน่ายพันธบัตรตามจำนวนข้างต้น กระทรวงการคลังได้นำไปชำระคืนต้นเงินที่ได้กู้มาจากธนาคารออมสินตามข้อ 1 ในวันที่จำหน่าย
3. นำเงินจากกองทุนเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ชำระคืนต้นเงินที่ได้กู้มาจากธนาคารออมสินตามข้อ 1 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2543 จำนวน 164 ล้านบาท
รวมพันธบัตรที่กระทรวงการคลังได้ออกเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ตามแนวทางที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ทั้งสิ้น 19,836 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับพันธบัตรที่กระทรวงการคลังได้นำเงินจากกองทุนเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ฯ เข้าชำระคืนต้นเงินจำนวน 164 ล้านบาท จะทำให้การปรับโครงสร้างหนี้ในครั้งนี้บรรลุตามเป้าหมาย 20,000 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-