คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการประกันภัย ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเพิ่มเติมในเรื่องการจ่ายเงินผลประโยชน์ และค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยอย่างเป็นธรรมและรวดเร็วเป็นกรณีพิเศษ สรุปได้ดังนี้
1. ด้านการประกันชีวิตและประกันวินาศภัยที่ให้ความคุ้มครองบุคคล ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยสูญหายจากภัยพิบัติ โดยยังไม่สามารถพบศพได้จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2548 (ประมาณ 3 เดือนนับจากวันที่เกิดเหตุอันตรายแก่ชีวิต) ให้บริษัทประกันภัยจ่ายเงินผลประโยชน์ โดยมีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) ผู้เอาประกันภัยมีรายชื่อปรากฎอยู่ในประกาศรายชื่อผู้สูญหายของทางราชการ
(2) มีสำเนาบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองที่ได้รับ แจ้งว่าบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลสูญหาย
(3) มีพยานหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดแสดงว่าบุคคลดังกล่าวอยู่ในบริเวณที่เกิดภัยพิบัติหรือในบริเวณใกล้เคียง พยานบุคคล หรือพยานเอกสาร หรือพยานวัตถุ เช่น หลักฐานการเข้าพักในโรงแรม หลักฐานการเดินทาง หลักฐานการใช้โทรศัพท์มือถือหรือบัตรเครดิต เป็นต้น
(4) ในกรณีที่ทำประกันภัยโดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป หรือในกรณีที่มีเหตุสงสัย ให้บริษัทประกันภัยตรวจสอบหลักฐานเพิ่มเติมได้
2 ด้านการประกันวินาศภัย
(1) บริษัทประกันภัยจะให้ความคุ้มครองสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่มีการซื้อความคุ้มครองภัยที่มีการระบุความคุ้มครองรวมถึงภัยจากแผ่นดินไหวไว้ด้วย ความเสียหายทั้งหมดที่เกิดจากเหตุการณ์นี้ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่เสียหายจากแผ่นดินไหว คลื่นใต้น้ำ หรือน้ำท่วมก็จะได้รับความคุ้มครองทั้งหมด
(2) หากกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยซื้อไว้ไม่มีความคุ้มครองรวมถึงภัยแผ่นดินไหว แต่ได้ซื้อความคุ้มครองไว้เฉพาะภัยน้ำท่วม ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครอง เฉพาะในส่วนของความเสียหายที่เป็นผลจากน้ำท่วมเท่านั้น สำหรับกรณีที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นมีความก้ำกึ่งว่าเป็นผลจากน้ำท่วม หรือถูกคลื่นใต้น้ำอันเป็นผลจากแผ่นดินไหวซัด ให้บริษัทประกันภัยพิจารณาโดยยึดประโยชน์ให้ผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้รับรายงานเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัยเพิ่มเติมรวม 51 บริษัท ณ วันที่ 6 มกราคม 2548 มีจำนวนทรัพย์สิน/คนที่ได้รับความคุ้มครอง 21,057 กรมธรรม์ จำนวน 34,115 ราย จำนวนเงินเอาประกันภัย 63,056 ล้านบาท ค่าเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นประมาณ 2,548 ล้านบาท ซึ่งค่าเสียหายที่บริษัทประกันภัยได้จ่ายเรียบร้อยแล้วมีจำนวน 253 ล้านบาท โดยแยกเป็นจากบริษัทประกันชีวิต 67 ล้านบาท และบริษัทประกันวินาศภัย 186 ล้านบาท ดังนี้
1. การประกันชีวิต มีผู้เอาประกันภัยที่เสียชีวิตซึ่งสามารถระบุรายชื่อได้ในขณะนี้จำนวน 124 ราย จำนวนเงินเอาประกันภัย 67 ล้านบาท จำนวนบริษัทประกันชีวิตที่รับประกันภัยมี 11 บริษัท และได้จ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ทั้งหมดแล้ว
2. การประกันวินาศภัย
2.1 การประกันวินาศภัยแบ่งเป็น
(1) การประกันภัยบุคคล ซึ่งได้แก่ การประกันภัยอุบัติเหตุ การประกันภัยอุบัติเหตุเดินทาง การประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทร การประกันภัยสำหรับผู้โดยสารเรือโดยสารรับจ้างและการประกันภัยสุขภาพ จำนวนกรมธรรม์ประกันภัยรวมทั้งสิ้น 643 กรมธรรม์ จำนวนคนที่ได้รับความคุ้มครอง 17,219 ราย และจำนวนเงินเอาประกันภัย 1,750 ล้านบาท
(2) การประกันภัยทรัพย์สิน ซึ่งได้แก่ การประกันอัคคีภัย การประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันภัยรถยนต์ จำนวนกรมธรรม์ประกันภัยรวมทั้งสิ้น 20,290 กรมธรรม์ และจำนวนเงินเอาประกันภัย 61,240 ล้านบาท
2.2 การจ่ายค่าสินไหมทดแทน
(1) ค่าสินไหมทดแทนในส่วนความคุ้มครองทรัพย์สินที่คาดว่าจะเกิดขึ้นมีทั้งสิ้น 2,478 ล้านบาท
(2) ค่าสินไหมทดแทนที่ได้ทำการจ่ายแล้ว มีทั้งสิ้น 186 ล้านบาท
2.3 บริษัทประกันวินาศภัยที่ได้รับประกันภัยบุคคลและทรัพย์สินตามข้อ 2.1 (1) และ 2.1 (2) มีจำนวนทั้งสิ้น 51 บริษัท คิดเป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยทั้งสิ้น 62,990 ล้านบาท แต่บริษัทประกันภัยมีการจัดทำประกันภัยต่อไว้กับบริษัทประกันภัยในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ คงเหลือการรับเสี่ยงภัยไว้เอง (Net Retention) ประมาณไม่เกิน 3,000 ล้านบาท นอกจากนี้บริษัทประกันวินาศภัยยังมีสัญญาประกันภัยต่อที่จำกัดความรับผิดของแต่ละบริษัทไว้ในรูปแบบสัญญา Excess of Loss หรือ Stop Loss Ratio อีกด้วย ซึ่งจำกัดความรับผิดในวงเงินหรืออัตราค่าเสียหายขั้นสูงของบริษัทประกันภัย ส่วนเกินนั้นบริษัทประกันภัยต่อเป็นผู้รับผิดชอบ อย่างไรก็ตาม คาดว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงของทรัพย์สินและบุคคลที่มีการทำประกันภัยไว้ จะเป็นความเสียหายเพียงบางส่วน (Partial Loss) ไม่ใช่ความเสียหายถึง 62,990 ล้านบาท ขณะนี้ยังไม่สามารถประมาณความเสียหายที่แท้จริงได้ คาดว่าบริษัทประกันภัยในประเทศไทยจะรับผิดชอบจริงไม่เกิน 1,200 ล้านบาท ความเสียหายที่เกิดขึ้นในส่วนที่บริษัทประกันภัยในประเทศต้องรับผิดชอบนั้นส่วนใหญ่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่ที่มีขนาดเงินกองทุนเพียงพอ ดังนั้น เหตุการณ์ธรณีพิบัติดังกล่าว บริษัทประกันภัยต่างๆ จะสามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้อย่างแน่นอน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--
1. ด้านการประกันชีวิตและประกันวินาศภัยที่ให้ความคุ้มครองบุคคล ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยสูญหายจากภัยพิบัติ โดยยังไม่สามารถพบศพได้จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2548 (ประมาณ 3 เดือนนับจากวันที่เกิดเหตุอันตรายแก่ชีวิต) ให้บริษัทประกันภัยจ่ายเงินผลประโยชน์ โดยมีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) ผู้เอาประกันภัยมีรายชื่อปรากฎอยู่ในประกาศรายชื่อผู้สูญหายของทางราชการ
(2) มีสำเนาบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองที่ได้รับ แจ้งว่าบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลสูญหาย
(3) มีพยานหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดแสดงว่าบุคคลดังกล่าวอยู่ในบริเวณที่เกิดภัยพิบัติหรือในบริเวณใกล้เคียง พยานบุคคล หรือพยานเอกสาร หรือพยานวัตถุ เช่น หลักฐานการเข้าพักในโรงแรม หลักฐานการเดินทาง หลักฐานการใช้โทรศัพท์มือถือหรือบัตรเครดิต เป็นต้น
(4) ในกรณีที่ทำประกันภัยโดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป หรือในกรณีที่มีเหตุสงสัย ให้บริษัทประกันภัยตรวจสอบหลักฐานเพิ่มเติมได้
2 ด้านการประกันวินาศภัย
(1) บริษัทประกันภัยจะให้ความคุ้มครองสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่มีการซื้อความคุ้มครองภัยที่มีการระบุความคุ้มครองรวมถึงภัยจากแผ่นดินไหวไว้ด้วย ความเสียหายทั้งหมดที่เกิดจากเหตุการณ์นี้ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่เสียหายจากแผ่นดินไหว คลื่นใต้น้ำ หรือน้ำท่วมก็จะได้รับความคุ้มครองทั้งหมด
(2) หากกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยซื้อไว้ไม่มีความคุ้มครองรวมถึงภัยแผ่นดินไหว แต่ได้ซื้อความคุ้มครองไว้เฉพาะภัยน้ำท่วม ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครอง เฉพาะในส่วนของความเสียหายที่เป็นผลจากน้ำท่วมเท่านั้น สำหรับกรณีที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นมีความก้ำกึ่งว่าเป็นผลจากน้ำท่วม หรือถูกคลื่นใต้น้ำอันเป็นผลจากแผ่นดินไหวซัด ให้บริษัทประกันภัยพิจารณาโดยยึดประโยชน์ให้ผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้รับรายงานเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัยเพิ่มเติมรวม 51 บริษัท ณ วันที่ 6 มกราคม 2548 มีจำนวนทรัพย์สิน/คนที่ได้รับความคุ้มครอง 21,057 กรมธรรม์ จำนวน 34,115 ราย จำนวนเงินเอาประกันภัย 63,056 ล้านบาท ค่าเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นประมาณ 2,548 ล้านบาท ซึ่งค่าเสียหายที่บริษัทประกันภัยได้จ่ายเรียบร้อยแล้วมีจำนวน 253 ล้านบาท โดยแยกเป็นจากบริษัทประกันชีวิต 67 ล้านบาท และบริษัทประกันวินาศภัย 186 ล้านบาท ดังนี้
1. การประกันชีวิต มีผู้เอาประกันภัยที่เสียชีวิตซึ่งสามารถระบุรายชื่อได้ในขณะนี้จำนวน 124 ราย จำนวนเงินเอาประกันภัย 67 ล้านบาท จำนวนบริษัทประกันชีวิตที่รับประกันภัยมี 11 บริษัท และได้จ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ทั้งหมดแล้ว
2. การประกันวินาศภัย
2.1 การประกันวินาศภัยแบ่งเป็น
(1) การประกันภัยบุคคล ซึ่งได้แก่ การประกันภัยอุบัติเหตุ การประกันภัยอุบัติเหตุเดินทาง การประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทร การประกันภัยสำหรับผู้โดยสารเรือโดยสารรับจ้างและการประกันภัยสุขภาพ จำนวนกรมธรรม์ประกันภัยรวมทั้งสิ้น 643 กรมธรรม์ จำนวนคนที่ได้รับความคุ้มครอง 17,219 ราย และจำนวนเงินเอาประกันภัย 1,750 ล้านบาท
(2) การประกันภัยทรัพย์สิน ซึ่งได้แก่ การประกันอัคคีภัย การประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันภัยรถยนต์ จำนวนกรมธรรม์ประกันภัยรวมทั้งสิ้น 20,290 กรมธรรม์ และจำนวนเงินเอาประกันภัย 61,240 ล้านบาท
2.2 การจ่ายค่าสินไหมทดแทน
(1) ค่าสินไหมทดแทนในส่วนความคุ้มครองทรัพย์สินที่คาดว่าจะเกิดขึ้นมีทั้งสิ้น 2,478 ล้านบาท
(2) ค่าสินไหมทดแทนที่ได้ทำการจ่ายแล้ว มีทั้งสิ้น 186 ล้านบาท
2.3 บริษัทประกันวินาศภัยที่ได้รับประกันภัยบุคคลและทรัพย์สินตามข้อ 2.1 (1) และ 2.1 (2) มีจำนวนทั้งสิ้น 51 บริษัท คิดเป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยทั้งสิ้น 62,990 ล้านบาท แต่บริษัทประกันภัยมีการจัดทำประกันภัยต่อไว้กับบริษัทประกันภัยในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ คงเหลือการรับเสี่ยงภัยไว้เอง (Net Retention) ประมาณไม่เกิน 3,000 ล้านบาท นอกจากนี้บริษัทประกันวินาศภัยยังมีสัญญาประกันภัยต่อที่จำกัดความรับผิดของแต่ละบริษัทไว้ในรูปแบบสัญญา Excess of Loss หรือ Stop Loss Ratio อีกด้วย ซึ่งจำกัดความรับผิดในวงเงินหรืออัตราค่าเสียหายขั้นสูงของบริษัทประกันภัย ส่วนเกินนั้นบริษัทประกันภัยต่อเป็นผู้รับผิดชอบ อย่างไรก็ตาม คาดว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงของทรัพย์สินและบุคคลที่มีการทำประกันภัยไว้ จะเป็นความเสียหายเพียงบางส่วน (Partial Loss) ไม่ใช่ความเสียหายถึง 62,990 ล้านบาท ขณะนี้ยังไม่สามารถประมาณความเสียหายที่แท้จริงได้ คาดว่าบริษัทประกันภัยในประเทศไทยจะรับผิดชอบจริงไม่เกิน 1,200 ล้านบาท ความเสียหายที่เกิดขึ้นในส่วนที่บริษัทประกันภัยในประเทศต้องรับผิดชอบนั้นส่วนใหญ่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่ที่มีขนาดเงินกองทุนเพียงพอ ดังนั้น เหตุการณ์ธรณีพิบัติดังกล่าว บริษัทประกันภัยต่างๆ จะสามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้อย่างแน่นอน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--