คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการจัดตั้งคณะกรรมการประสานการดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง - แม่น้ำโขง (ฝ่ายไทย) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เพื่อให้การดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์แห่งความตกลงที่ได้ลงนามร่วมกันในการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกทางการค้าและการท่องเที่ยว และเพื่อประโยชน์ในการเจรจาและประสานงานระหว่างประเทศให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งคณะกรรมการประสานการดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง - แม่น้ำโขง (ฝ่ายไทย) มีอธิบดีกรมเจ้าท่าเป็นประธานกรรมการ รองอธิบดีกรมเจ้าท่าที่ได้รับมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ ผู้แทนกรมเจ้าท่า เป็นกรรมการและเลขานุการ และมีกรรมการอื่นอีก 5 คน โดยมีอำนาจหน้าที่หลัก คือ กำหนดมาตรการสำหรับการป้องกันข้อขัดแย้งและข้อพิพาทที่เป็นไปได้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยการ เดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง - แม่น้ำโขง ข้อ 9
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า จากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2543 เห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง - แม่น้ำโขง ระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า และราชอาณาจักรไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า และไทย ได้ร่วมกันลงนามในความตกลงดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2543 ณ ท่าขี้เหล็ก สหภาพพม่า ซึ่งความตกลงฯ จะมีผลให้ทั้ง 4 ประเทศเปิดการเดินเรือโดยเสรี 1 ปีนับจากวันลงนาม โดยให้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของความตกลงฯ และระเบียบที่ยอมรับร่วมกัน และในระหว่าง 1 ปี ก่อนเปิดให้มีการเดินเรือในแม่น้ำโขงตอนบน สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับมอบหมายให้เป็นประเทศผู้ประสานงานในการจัดประชุมคณะทำงานด้านเทคนิคเพื่อจัดทำระเบียบปฏิบัติการเดินเรือร่วมกัน
กระทรวงคมนาคมของจีนได้จัดประชุมคณะทำงานด้านเทคนิคฯ ไปแล้ว 3 ครั้ง ณ เมืองจิงหง ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม 2543 - 1 มิถุนายน 2543 ณ เมืองคุนหมิง ระหว่างวันที่ 18 - 22 กันยายน 2543 ณ กรุงปักกิ่งระหว่างวันที่ 12 - 15 มีนาคม 2544 ซึ่งที่ประชุมคณะทำงานฯ ได้พิจารณาและให้การรับรองระเบียบการเดินเรือร่วมกันจำนวน 6 ฉบับ และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 เห็นชอบร่างระเบียบเดินเรือดังกล่าวตามข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมแล้ว
ที่ประชุมคณะทำงานด้านเทคนิคฯ ครั้งที่ 3 และการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ผู้แทนกระทรวงการคลังของทั้ง 4 ประเทศ ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันให้จัดตั้งกลไกการประสานงานซึ่งเป็นการดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้างและแม่น้ำโขง ข้อ 9, 21 และ 22 โดยจัดตั้งเป็นคณะกรรมการร่วมสี่ฝ่ายและให้ใช้ชื่อว่า "The Joint Committee on Coordination of Commercial Navigation on the Lancang-Mekong Riveramong China, Laos, Myanmar and Thailand" (JCCCN) และให้มีองค์ประกอบประเทศละ 8 คน ประกอบด้วยหัวหน้าคณะ (Chief Member) รองหัวหน้าคณะ (Deputy Chief Member) และสมาชิกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีก 6 คน ทั้งนี้ JCCCN จะมีการประชุมปีละ 1 ครั้ง หรืออาจมากกว่าหากมีประเทศใดร้องขอ โดยแต่ละประเทศจะหมุนเวียนกันทำหน้าที่เป็นประธาน JCCCN ตามลำดับตัวอักษรคราวละ 2 ปี นับจากวันที่จัดตั้ง ทั้งนี้ JCCCN จะมีหน้าที่ในการปรึกษาหารือและส่งเสริมความร่วมมือในเรื่องที่ได้กำหนดไว้ในความตกลงฯ ข้อ 9 และ 21 หรือข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ส.ค.44--
-สส-
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า จากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2543 เห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง - แม่น้ำโขง ระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า และราชอาณาจักรไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า และไทย ได้ร่วมกันลงนามในความตกลงดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2543 ณ ท่าขี้เหล็ก สหภาพพม่า ซึ่งความตกลงฯ จะมีผลให้ทั้ง 4 ประเทศเปิดการเดินเรือโดยเสรี 1 ปีนับจากวันลงนาม โดยให้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของความตกลงฯ และระเบียบที่ยอมรับร่วมกัน และในระหว่าง 1 ปี ก่อนเปิดให้มีการเดินเรือในแม่น้ำโขงตอนบน สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับมอบหมายให้เป็นประเทศผู้ประสานงานในการจัดประชุมคณะทำงานด้านเทคนิคเพื่อจัดทำระเบียบปฏิบัติการเดินเรือร่วมกัน
กระทรวงคมนาคมของจีนได้จัดประชุมคณะทำงานด้านเทคนิคฯ ไปแล้ว 3 ครั้ง ณ เมืองจิงหง ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม 2543 - 1 มิถุนายน 2543 ณ เมืองคุนหมิง ระหว่างวันที่ 18 - 22 กันยายน 2543 ณ กรุงปักกิ่งระหว่างวันที่ 12 - 15 มีนาคม 2544 ซึ่งที่ประชุมคณะทำงานฯ ได้พิจารณาและให้การรับรองระเบียบการเดินเรือร่วมกันจำนวน 6 ฉบับ และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 เห็นชอบร่างระเบียบเดินเรือดังกล่าวตามข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมแล้ว
ที่ประชุมคณะทำงานด้านเทคนิคฯ ครั้งที่ 3 และการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ผู้แทนกระทรวงการคลังของทั้ง 4 ประเทศ ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันให้จัดตั้งกลไกการประสานงานซึ่งเป็นการดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้างและแม่น้ำโขง ข้อ 9, 21 และ 22 โดยจัดตั้งเป็นคณะกรรมการร่วมสี่ฝ่ายและให้ใช้ชื่อว่า "The Joint Committee on Coordination of Commercial Navigation on the Lancang-Mekong Riveramong China, Laos, Myanmar and Thailand" (JCCCN) และให้มีองค์ประกอบประเทศละ 8 คน ประกอบด้วยหัวหน้าคณะ (Chief Member) รองหัวหน้าคณะ (Deputy Chief Member) และสมาชิกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีก 6 คน ทั้งนี้ JCCCN จะมีการประชุมปีละ 1 ครั้ง หรืออาจมากกว่าหากมีประเทศใดร้องขอ โดยแต่ละประเทศจะหมุนเวียนกันทำหน้าที่เป็นประธาน JCCCN ตามลำดับตัวอักษรคราวละ 2 ปี นับจากวันที่จัดตั้ง ทั้งนี้ JCCCN จะมีหน้าที่ในการปรึกษาหารือและส่งเสริมความร่วมมือในเรื่องที่ได้กำหนดไว้ในความตกลงฯ ข้อ 9 และ 21 หรือข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ส.ค.44--
-สส-