คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ แล้วมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เป็นประธานกรรมการฯ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานศาลยุติธรรม และข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 ไปประกอบการพิจารณา และให้เชิญผู้แทนกระทรวงยุติธรรม และผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรมไปร่วมพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มีความไม่เหมาะสมหลายประการ เป็นเหตุให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งดำเนินไปด้วยความล่าช้า ไม่คุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาอย่างเพียงพอ ประกอบกับค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งสูงเกินไป จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดี และตาราง 5ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญของการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนี้
1. เพิ่มเติมบทนิยามคำว่า "เจ้าพนักงานบังคับคดี" เพื่อให้บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติงานแทนเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1 (14))
2. เพิ่มราคาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เพื่อให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาสามารถดำรงชีพได้ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 285 (1) และ (2))
3. กำหนดจำนวนสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เป็นเงินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 286 (1) และ (3))
4. กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ในกรณีที่ยึดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 290 วรรคสี่)
5. ให้สิทธิแก่ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการขับไล่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารที่อาศัยอยู่ในอสังหาริมทรัพย์นั้นได้โดยไม่ต้องฟ้องขับไล่เป็นคดีใหม่ (เพิ่มมาตรา 309 ตรี)
6. ลดจำนวนค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เหมาะสม (แก้ไขเพิ่มเติมตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง)
สำหรับข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 มีดังนี้
1. ร่างมาตรา 3 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (14) ของมาตรา 1 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยบัญญัติให้ "เจ้าพนักงานบังคับคดี" หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ปฏิบัติการแทน ซึ่งสำนักงานศาลยุติธรรมเห็นว่า เป็นการเปิดกว้างให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถมอบหมายให้บุคคลซึ่งอาจเป็นเอกชนปฏิบัติการแทนได้ น่าจะไม่เหมาะสมนั้น กระทรวงยุติธรรมเห็นว่า ในชั้นนี้มีเจตนารมณ์จะมอบหมายลูกจ้างของกรมบังคับคดีเท่านั้น การเขียนบัญญัตินิยามคำว่า "เจ้าพนักงานบังคับคดี" ให้มีขอบเขตจำกัดหมายความรวมถึงเฉพาะข้าราชการหรือลูกจ้างของกรมบังคับคดีเท่านั้นอาจเป็นการไม่เหมาะสม เพราะการเขียนกฎหมายต้องมองถึงอนาคตด้วยซึ่งรูปแบบและระบบราชการคงต้องเปลี่ยนเพื่อรองรับปริมาณงานที่มากขึ้น ในขณะที่ภาคราชการมีข้อจำกัดด้านงบประมาณและอัตรากำลัง ภาคเอกชนคงเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ เพราะมีความพร้อมทั้งในด้านการเงินและกำลังคน อย่างไรก็ตามเพื่อความรอบคอบ สมควรมอบให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปพิจารณาโดยเชิญผู้แทนกระทรวงยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรมพิจารณาด้วย
2. ร่างมาตรา 8 ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 309 ตรี แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยบัญญัติให้ศาลออกคำบังคับสั่งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ เพราะหากไม่บัญญัติให้ครอบคลุมถึงบริวาร ในทางปฏิบัติอาจจะเกิดปัญหาได้ หากมีการบังคับคดีตามคำพิพากษาให้ลูกหนี้ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์แต่บริวารที่อาศัยอยู่ไม่ยอมออกไปด้วย ก็จะต้องมีการฟ้องร้องกันอีกคดีหนึ่ง ทำให้การบังคับคดีเดิมล่าช้าออกไปอีก แต่อย่างไรก็ตามอาจมีปัญหาในข้อกฎหมายได้ว่า เป็นการบัญญัติกระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ สมควรมอบให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปพิจารณาด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 ต.ค. 44--
-สส-
ทั้งนี้ เนื่องจากตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มีความไม่เหมาะสมหลายประการ เป็นเหตุให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งดำเนินไปด้วยความล่าช้า ไม่คุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาอย่างเพียงพอ ประกอบกับค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งสูงเกินไป จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดี และตาราง 5ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญของการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนี้
1. เพิ่มเติมบทนิยามคำว่า "เจ้าพนักงานบังคับคดี" เพื่อให้บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติงานแทนเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1 (14))
2. เพิ่มราคาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เพื่อให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาสามารถดำรงชีพได้ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 285 (1) และ (2))
3. กำหนดจำนวนสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เป็นเงินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 286 (1) และ (3))
4. กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ในกรณีที่ยึดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 290 วรรคสี่)
5. ให้สิทธิแก่ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการขับไล่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารที่อาศัยอยู่ในอสังหาริมทรัพย์นั้นได้โดยไม่ต้องฟ้องขับไล่เป็นคดีใหม่ (เพิ่มมาตรา 309 ตรี)
6. ลดจำนวนค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เหมาะสม (แก้ไขเพิ่มเติมตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง)
สำหรับข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 มีดังนี้
1. ร่างมาตรา 3 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (14) ของมาตรา 1 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยบัญญัติให้ "เจ้าพนักงานบังคับคดี" หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ปฏิบัติการแทน ซึ่งสำนักงานศาลยุติธรรมเห็นว่า เป็นการเปิดกว้างให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถมอบหมายให้บุคคลซึ่งอาจเป็นเอกชนปฏิบัติการแทนได้ น่าจะไม่เหมาะสมนั้น กระทรวงยุติธรรมเห็นว่า ในชั้นนี้มีเจตนารมณ์จะมอบหมายลูกจ้างของกรมบังคับคดีเท่านั้น การเขียนบัญญัตินิยามคำว่า "เจ้าพนักงานบังคับคดี" ให้มีขอบเขตจำกัดหมายความรวมถึงเฉพาะข้าราชการหรือลูกจ้างของกรมบังคับคดีเท่านั้นอาจเป็นการไม่เหมาะสม เพราะการเขียนกฎหมายต้องมองถึงอนาคตด้วยซึ่งรูปแบบและระบบราชการคงต้องเปลี่ยนเพื่อรองรับปริมาณงานที่มากขึ้น ในขณะที่ภาคราชการมีข้อจำกัดด้านงบประมาณและอัตรากำลัง ภาคเอกชนคงเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ เพราะมีความพร้อมทั้งในด้านการเงินและกำลังคน อย่างไรก็ตามเพื่อความรอบคอบ สมควรมอบให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปพิจารณาโดยเชิญผู้แทนกระทรวงยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรมพิจารณาด้วย
2. ร่างมาตรา 8 ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 309 ตรี แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยบัญญัติให้ศาลออกคำบังคับสั่งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ เพราะหากไม่บัญญัติให้ครอบคลุมถึงบริวาร ในทางปฏิบัติอาจจะเกิดปัญหาได้ หากมีการบังคับคดีตามคำพิพากษาให้ลูกหนี้ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์แต่บริวารที่อาศัยอยู่ไม่ยอมออกไปด้วย ก็จะต้องมีการฟ้องร้องกันอีกคดีหนึ่ง ทำให้การบังคับคดีเดิมล่าช้าออกไปอีก แต่อย่างไรก็ตามอาจมีปัญหาในข้อกฎหมายได้ว่า เป็นการบัญญัติกระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ สมควรมอบให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปพิจารณาด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 ต.ค. 44--
-สส-