ทำเนียบรัฐบาล--25 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) กับสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เพื่อแก้ปัญหาเงินทุนไม่เพียงพอในการให้การสงเคราะห์ปลูกยางพารา และแก้ปัญหาการขาดแคลนไม้ยางพาราในการส่งออก
หลักการ
1. เกษตรกรชาวสวนยางที่รอขอทุนสงเคราะห์จาก สกย. มีทางเลือกที่จะได้รับทุนสงเคราะห์จาก สกย.ได้เร็วขึ้น ถ้าเข้าร่วมโครงการฯ โดยมีเงื่อนไขเมื่อผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ ตกลงซื้อไม้ยางพารากับเกษตรกรชาวสวนยางรายหนึ่งรายใดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เกษตรกรรายนั้นจะได้รับทุนสงเคราะห์จาก สกย.ทันที โดยผู้ประกอบการจะจ่ายเงินให้ สกย. เท่ากับอัตราการสงเคราะห์ไร่ละ 6,800 บาท ตามเนื้อที่สวนยางที่ สกย.ให้การสงเคราะห์ โดยจ่ายให้ สกย. เต็มจำนวนก่อนที่ สกย. จะอนุมัติการสงเคราะห์ให้เกษตรกร
2. เกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่เข้าร่วมโครงการก็ยังมีสิทธิ์ขอทุนสงเคราะห์จาก สกย.ได้ตามปกติ ส่วนจะได้รับทุนสงเคราะห์เมื่อใดขึ้นกับเงินสงเคราะห์ของ สกย.ที่เก็บได้ในแต่ละปี
วิธีการ
1. เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว สกย.จะจัดทำบันทึกข้อตกลงกับสมาคมฯ และดำเนินการตามขั้นตอน ตามวิธีการสงเคราะห์ของ สกย.
2. แต่งตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ผู้แทน สกย. ผู้แทนสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย และผู้แทนเกษตรกร เพื่อร่วมกันกำหนดราคากลางไม้ยางพารา กำหนดจำนวนเนื้อที่ที่เหมาะสมในการเข้าร่วมโครงการ และพิจารณากลั่นกรองผู้เข้าร่วมโครงการก่อนอนุมัติการให้ทุนสงเคราะห์
3. จัดระบบข้อมูลการซื้อขายไม้ยางพาราให้เป็นปัจจุบันและแจ้งให้เกษตรกรทราบ
4. ประชาสัมพันธ์โครงการให้เกษตรกรชาวสวนยางทราบอย่างทั่วถึง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) กับสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เพื่อแก้ปัญหาเงินทุนไม่เพียงพอในการให้การสงเคราะห์ปลูกยางพารา และแก้ปัญหาการขาดแคลนไม้ยางพาราในการส่งออก
หลักการ
1. เกษตรกรชาวสวนยางที่รอขอทุนสงเคราะห์จาก สกย. มีทางเลือกที่จะได้รับทุนสงเคราะห์จาก สกย.ได้เร็วขึ้น ถ้าเข้าร่วมโครงการฯ โดยมีเงื่อนไขเมื่อผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ ตกลงซื้อไม้ยางพารากับเกษตรกรชาวสวนยางรายหนึ่งรายใดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เกษตรกรรายนั้นจะได้รับทุนสงเคราะห์จาก สกย.ทันที โดยผู้ประกอบการจะจ่ายเงินให้ สกย. เท่ากับอัตราการสงเคราะห์ไร่ละ 6,800 บาท ตามเนื้อที่สวนยางที่ สกย.ให้การสงเคราะห์ โดยจ่ายให้ สกย. เต็มจำนวนก่อนที่ สกย. จะอนุมัติการสงเคราะห์ให้เกษตรกร
2. เกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่เข้าร่วมโครงการก็ยังมีสิทธิ์ขอทุนสงเคราะห์จาก สกย.ได้ตามปกติ ส่วนจะได้รับทุนสงเคราะห์เมื่อใดขึ้นกับเงินสงเคราะห์ของ สกย.ที่เก็บได้ในแต่ละปี
วิธีการ
1. เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว สกย.จะจัดทำบันทึกข้อตกลงกับสมาคมฯ และดำเนินการตามขั้นตอน ตามวิธีการสงเคราะห์ของ สกย.
2. แต่งตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ผู้แทน สกย. ผู้แทนสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย และผู้แทนเกษตรกร เพื่อร่วมกันกำหนดราคากลางไม้ยางพารา กำหนดจำนวนเนื้อที่ที่เหมาะสมในการเข้าร่วมโครงการ และพิจารณากลั่นกรองผู้เข้าร่วมโครงการก่อนอนุมัติการให้ทุนสงเคราะห์
3. จัดระบบข้อมูลการซื้อขายไม้ยางพาราให้เป็นปัจจุบันและแจ้งให้เกษตรกรทราบ
4. ประชาสัมพันธ์โครงการให้เกษตรกรชาวสวนยางทราบอย่างทั่วถึง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-