ทำเนียบรัฐบาล--29 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบทิศทางและวงเงินการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ทิศทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จะยังคงให้ความสำคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจให้สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากวงเงินงบประมาณรายจ่ายในปี 2544 มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี 2543 ไม่มากนัก ในขณะที่ขนาดของรายจ่ายลงทุนจะมีสัดส่วนลดลง ดังนั้น เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม และสามารถใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงกำหนดทิศทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 โดยให้ความสำคัญใน 3 เรื่องดังนี้
ก. การกระตุ้นเศรษฐกิจ การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้เศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวเข้าสู่เสถียรภาพ ด้วยการมุ่งเน้นให้เกิดการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าและเร่งรัดการส่งออกเพื่อเพิ่มรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ โดย
1) การส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพในด้านการพาณิชย์และด้านผลประโยชน์ในต่างประเทศเพื่อการส่งออก
2) การปรับโครงสร้างด้านการเกษตรและด้านการอุตสาหกรรม
3) การวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4) การส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวและบริการ
ข. การพัฒนาศักยภาพคน สังคม ชุมชน และคุณภาพชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการมุ่งเน้นให้คนได้มีการปรับตัวให้ทันกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ ได้เพิ่มทักษะ มีความรู้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้อยู่ในชุมชนสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย
1) การพัฒนาด้านการศึกษา
2) การพัฒนาด้านการสาธารณสุขเพื่อสุขภาพและอนามัย
3) การพัฒนาด้านบริการสังคม ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในและด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิต
ค. การปรับปรุงระบบการบริหารและการจัดการภาครัฐ ด้วยการมุ่งเน้นปรับเปลี่ยนระบบราชการให้มีขนาดเล็ก กะทัดรัด มีประสิทธิภาพและโปร่งใส รวมทั้งการปรับลดบทบาทขององค์การภาครัฐและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์การเอกชน โดย
1) การปรับปรุงด้านการบริหารงานทั่วไปของรัฐเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการ
2) การส่งเสริมการมอบอำนาจ การแบ่งปันอำนาจและการกระจายอำนาจไปสู่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
2. วงเงินและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544
การกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 พิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1) สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ซึ่งคาดว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 4.5 และอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 3.0
2) ประมาณการรายได้สุทธิจำนวน 805,000.0 ล้านบาท
3) ภาระผูกพันงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 82,412.0 ล้านบาท เทียบกับภาระผูกพันงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 จำนวน 85,567.3 ล้านบาท ลดลงจำนวน 3,155.3 ล้านบาท
4) จำนวนการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อฐานะการคลังของประเทศในระยะยาว นอกจากนี้การกู้เงินดังกล่าวจะต้องไม่กระทบต่อการขยายตัวของสินเชื่อภาคเอกชน ซึ่งคาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวที่สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวม และการฟื้นตัวของภาคการเงิน
จากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสถานะทางการเงินการคลังของประเทศดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้การใช้จ่ายภาครัฐมีจำนวนเหมาะสมที่จะสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง จึงเห็นควรจัดทำงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 เป็นงบประมาณแบบขาดดุล โดยกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 910,000.0 ล้านบาท และมีรายรับประกอบด้วย รายได้จำนวน 805,000.0 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวน 105,000.0 ล้านบาท โดยมีโครงสร้างงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ดังนี้
(1) งบประมาณรายจ่าย จำนวน 910,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 จำนวน 50,000.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ประกอบด้วย
> รายจ่ายลงทุน จำนวน 223,700.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 จำนวน 6,602.4 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.6 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับร้อยละ 25.2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2543
> รายจ่ายประจำ จำนวน 674,187.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 จำนวน 38,602.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 74.1 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับร้อยละ 73.9 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2543
> รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 12,112.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 จำนวน 4,795.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.5 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.3 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับร้อยละ 0.9 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2543
(2) รายได้สุทธิจำนวน 805,000.0 ล้านบาท
(3) ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน 105,000.0 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 จำนวน 5,000.0 ล้านบาท หรือขาดดุลลดลงร้อยละ 4.5
สำหรับโครงสร้างงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 สรุปได้ดังตารางต่อไปนี้
ปีงบประมาณ พ.ศ.2543 ปีงบประมาณ พ.ศ.2544
รายการ วงเงิน + เพิ่ม/-ลด วงเงิน + เพิ่ม/-ลด
จำนวน % จำนวน %
1. วงเงินงบประมาณ 860,000.0 35,000.0 4.2 910,000.0 50,000 5.8
(สัดส่วนต่อ GDP) (16.7) (16.5)
ก. รายจ่ายลงทุน 217,097.6 -16,437.1 -7.0 223,700.0 6,602.4 3.0
(สัดส่วนต่องบประมาณ)(25.2) (24.6)
ข. รายจ่ายประจำ 635,585.1 49,470.0 8.4 674,187.7 38,602.6 6.1
(สัดส่วนต่องบประมาณ) (74.1)
- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร 366,315.1 17,244.9 4.9 375,138.5 8,823.4 2.4
- ภาระผูกพันงบประมาณ 9,292.7 -4,343.0 -31.9 6,268.0 -3,024.7-32.5
- รายจ่ายประจำอื่นๆ 189,120.5 35,562.6 23.2 200,578.5 11,458.0 6.1
- ดอกเบี้ย/ค่าธรรมเนียมเงินกู้ 70,856.8 1,005.5 1.4 92,202.7 21,345.9 30.1
ค.ชำระคืนต้นเงินกู้ 7,317.3 1,967.1 36.8 12,112.3 4,795.0 65.5
(สัดส่วนต่องบประมาณ) (0.9) (1.3)
2. รายได้ 750,000.0 -50,000.0 -6.3 805,000.0 55,000.0 7.3
(สัดส่วนต่อ GDP) (14.6)
3. ดุลงบประมาณ -110,000.0 -85,000.0 340.0 -105,000.0 5,000.0 4.5
3.1 เงินกู้เพื่อชดเชยการ
ขาดดุล 110,000.0 105,000.0
4. ผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ
(GDP) 5,137,000.0 354,000.0 7.4 5,522,000.0 385,000.0 7.5
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบทิศทางและวงเงินการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ทิศทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จะยังคงให้ความสำคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจให้สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากวงเงินงบประมาณรายจ่ายในปี 2544 มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี 2543 ไม่มากนัก ในขณะที่ขนาดของรายจ่ายลงทุนจะมีสัดส่วนลดลง ดังนั้น เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม และสามารถใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงกำหนดทิศทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 โดยให้ความสำคัญใน 3 เรื่องดังนี้
ก. การกระตุ้นเศรษฐกิจ การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้เศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวเข้าสู่เสถียรภาพ ด้วยการมุ่งเน้นให้เกิดการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าและเร่งรัดการส่งออกเพื่อเพิ่มรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ โดย
1) การส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพในด้านการพาณิชย์และด้านผลประโยชน์ในต่างประเทศเพื่อการส่งออก
2) การปรับโครงสร้างด้านการเกษตรและด้านการอุตสาหกรรม
3) การวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4) การส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวและบริการ
ข. การพัฒนาศักยภาพคน สังคม ชุมชน และคุณภาพชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการมุ่งเน้นให้คนได้มีการปรับตัวให้ทันกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ ได้เพิ่มทักษะ มีความรู้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้อยู่ในชุมชนสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย
1) การพัฒนาด้านการศึกษา
2) การพัฒนาด้านการสาธารณสุขเพื่อสุขภาพและอนามัย
3) การพัฒนาด้านบริการสังคม ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในและด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิต
ค. การปรับปรุงระบบการบริหารและการจัดการภาครัฐ ด้วยการมุ่งเน้นปรับเปลี่ยนระบบราชการให้มีขนาดเล็ก กะทัดรัด มีประสิทธิภาพและโปร่งใส รวมทั้งการปรับลดบทบาทขององค์การภาครัฐและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์การเอกชน โดย
1) การปรับปรุงด้านการบริหารงานทั่วไปของรัฐเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการ
2) การส่งเสริมการมอบอำนาจ การแบ่งปันอำนาจและการกระจายอำนาจไปสู่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
2. วงเงินและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544
การกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 พิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1) สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ซึ่งคาดว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 4.5 และอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 3.0
2) ประมาณการรายได้สุทธิจำนวน 805,000.0 ล้านบาท
3) ภาระผูกพันงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 82,412.0 ล้านบาท เทียบกับภาระผูกพันงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 จำนวน 85,567.3 ล้านบาท ลดลงจำนวน 3,155.3 ล้านบาท
4) จำนวนการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อฐานะการคลังของประเทศในระยะยาว นอกจากนี้การกู้เงินดังกล่าวจะต้องไม่กระทบต่อการขยายตัวของสินเชื่อภาคเอกชน ซึ่งคาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวที่สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวม และการฟื้นตัวของภาคการเงิน
จากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสถานะทางการเงินการคลังของประเทศดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้การใช้จ่ายภาครัฐมีจำนวนเหมาะสมที่จะสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง จึงเห็นควรจัดทำงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 เป็นงบประมาณแบบขาดดุล โดยกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 910,000.0 ล้านบาท และมีรายรับประกอบด้วย รายได้จำนวน 805,000.0 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวน 105,000.0 ล้านบาท โดยมีโครงสร้างงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ดังนี้
(1) งบประมาณรายจ่าย จำนวน 910,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 จำนวน 50,000.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ประกอบด้วย
> รายจ่ายลงทุน จำนวน 223,700.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 จำนวน 6,602.4 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.6 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับร้อยละ 25.2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2543
> รายจ่ายประจำ จำนวน 674,187.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 จำนวน 38,602.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 74.1 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับร้อยละ 73.9 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2543
> รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 12,112.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 จำนวน 4,795.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.5 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.3 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับร้อยละ 0.9 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2543
(2) รายได้สุทธิจำนวน 805,000.0 ล้านบาท
(3) ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน 105,000.0 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 จำนวน 5,000.0 ล้านบาท หรือขาดดุลลดลงร้อยละ 4.5
สำหรับโครงสร้างงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 สรุปได้ดังตารางต่อไปนี้
ปีงบประมาณ พ.ศ.2543 ปีงบประมาณ พ.ศ.2544
รายการ วงเงิน + เพิ่ม/-ลด วงเงิน + เพิ่ม/-ลด
จำนวน % จำนวน %
1. วงเงินงบประมาณ 860,000.0 35,000.0 4.2 910,000.0 50,000 5.8
(สัดส่วนต่อ GDP) (16.7) (16.5)
ก. รายจ่ายลงทุน 217,097.6 -16,437.1 -7.0 223,700.0 6,602.4 3.0
(สัดส่วนต่องบประมาณ)(25.2) (24.6)
ข. รายจ่ายประจำ 635,585.1 49,470.0 8.4 674,187.7 38,602.6 6.1
(สัดส่วนต่องบประมาณ) (74.1)
- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร 366,315.1 17,244.9 4.9 375,138.5 8,823.4 2.4
- ภาระผูกพันงบประมาณ 9,292.7 -4,343.0 -31.9 6,268.0 -3,024.7-32.5
- รายจ่ายประจำอื่นๆ 189,120.5 35,562.6 23.2 200,578.5 11,458.0 6.1
- ดอกเบี้ย/ค่าธรรมเนียมเงินกู้ 70,856.8 1,005.5 1.4 92,202.7 21,345.9 30.1
ค.ชำระคืนต้นเงินกู้ 7,317.3 1,967.1 36.8 12,112.3 4,795.0 65.5
(สัดส่วนต่องบประมาณ) (0.9) (1.3)
2. รายได้ 750,000.0 -50,000.0 -6.3 805,000.0 55,000.0 7.3
(สัดส่วนต่อ GDP) (14.6)
3. ดุลงบประมาณ -110,000.0 -85,000.0 340.0 -105,000.0 5,000.0 4.5
3.1 เงินกู้เพื่อชดเชยการ
ขาดดุล 110,000.0 105,000.0
4. ผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ
(GDP) 5,137,000.0 354,000.0 7.4 5,522,000.0 385,000.0 7.5
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543--