คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เชิญประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อชี้แจงนโยบายของรัฐบาล
2. กำหนดยุทธศาสตร์ 9 ประการ ในการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด ดังนี้
1) จัดโครงการ "ครอบครัวเข้มแข็ง - โรงเรียนอบอุ่น" เพื่อเชื่อมและหลอมรวมพลังระหว่างบ้านและโรงเรียนให้เป็นที่พึ่งแก่เด็กและเยาวชนอย่างแท้จริง
2) นำศาสนธรรมสู่เด็กและเยาวชนเพื่อเป็นหลักในการดำรงชีวิตด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันทางศาสนาและโรงเรียน
3) สร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ดี และเคารพในประโยชน์สาธารณะเหนือประโยชน์ส่วนตน ด้วยการเข้าร่วมในกิจกรรมตามหลักสูตรและแนวทางของลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และการฝึกตามหลักสูตรของนักศึกษาวิชาทหาร
4) ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ออกกำลังกาย และเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัยเพื่อพัฒนาสุขภาพกายและใจ เสริมสร้างวินัยในตนเองและสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีม
5) ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้เล่นดนตรีเพื่อกล่อมเกลาจิตใจและเสริมสร้างสุนทรีภาพ
6) ส่งเสริมกิจกรรมด้านศิลปะเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ค้นพบความสามารถของตนเองที่ช่องทางในการแสดงออกและสื่อสารที่หลากหลาย และสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับโลกแห่งอนาคต
7) ให้ความสำคัญแก่การเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น และวัฒนธรรมไทย เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความภาคภูมิใจ และผูกพันต่อรากฐานทางวัฒนธรรมและสามารถเผชิญความเปลี่ยนแปลงด้วยความมั่นคงและรู้เท่าทัน
8) ถือเป็นหน้าที่สำคัญที่โรงเรียนจะต้องจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ความรู้เสริมสร้างจิตสำนึก ทักษะชีวิตและภูมิต้านทานต่อยาเสพติดและอบายมุข และจัดระบบดูแลนักเรียนทุกคนให้ทั่วถึง โดยสร้างเครือข่ายแนะแนวภายในโรงเรียน
9) วางแนวทางที่จะร่วมมือกับผู้ปกครอง เพื่อบำบัดรักษาและฟื้นฟูเด็กและเยาวชนผู้หลงติดยาเสพติด
3. กำหนดให้มีคณะกรรมการ/อนุกรรมการ/คณะทำงาน ระดับต่าง ๆ ดังนี้
1) ระดับกระทรวง แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กับปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธาน อธิบดีกรมต่าง ๆ ในกระทรวงศึกษาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมเป็นกรรมการ มีหน้าที่กำหนดนโยบายและมาตรการในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดของกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนร่วมมือและประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานต่าง ๆ
2) ระดับกรม/หน่วยงานระดับกรม แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด ระดับกรม มีหน้าที่กำหนดมาตรการเฉพาะ
3) ระดับจังหวัด มอบหมายให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจัดตั้งหน่วยงานกลางประสานความร่วมมือด้านข้อมูล ข่าวสาร วิชาการ เพื่อเชื่อมโยงกับหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ
4) ระดับสถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา
5) แต่งตั้งคณะทำงานป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด กระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ
4. มอบหมายให้สำนักงานกิจการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานประสานการปฏิบัติ
5. มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการจัดทำแผนการตรวจราชการเกี่ยวกับการดำเนินการตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด ตลอดจนให้ศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จ และความล้มเหลวของการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา5. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด ของกระทรวงศึกษาธิการ
คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เชิญประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อชี้แจงนโยบายของรัฐบาล
2. กำหนดยุทธศาสตร์ 9 ประการ ในการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด ดังนี้
1) จัดโครงการ "ครอบครัวเข้มแข็ง - โรงเรียนอบอุ่น" เพื่อเชื่อมและหลอมรวมพลังระหว่างบ้านและโรงเรียนให้เป็นที่พึ่งแก่เด็กและเยาวชนอย่างแท้จริง
2) นำศาสนธรรมสู่เด็กและเยาวชนเพื่อเป็นหลักในการดำรงชีวิตด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันทางศาสนาและโรงเรียน
3) สร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ดี และเคารพในประโยชน์สาธารณะเหนือประโยชน์ส่วนตน ด้วยการเข้าร่วมในกิจกรรมตามหลักสูตรและแนวทางของลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และการฝึกตามหลักสูตรของนักศึกษาวิชาทหาร
4) ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ออกกำลังกาย และเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัยเพื่อพัฒนาสุขภาพกายและใจ เสริมสร้างวินัยในตนเองและสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีม
5) ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้เล่นดนตรีเพื่อกล่อมเกลาจิตใจและเสริมสร้างสุนทรีภาพ
6) ส่งเสริมกิจกรรมด้านศิลปะเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ค้นพบความสามารถของตนเองที่ช่องทางในการแสดงออกและสื่อสารที่หลากหลาย และสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับโลกแห่งอนาคต
7) ให้ความสำคัญแก่การเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น และวัฒนธรรมไทย เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความภาคภูมิใจ และผูกพันต่อรากฐานทางวัฒนธรรมและสามารถเผชิญความเปลี่ยนแปลงด้วยความมั่นคงและรู้เท่าทัน
8) ถือเป็นหน้าที่สำคัญที่โรงเรียนจะต้องจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ความรู้เสริมสร้างจิตสำนึก ทักษะชีวิตและภูมิต้านทานต่อยาเสพติดและอบายมุข และจัดระบบดูแลนักเรียนทุกคนให้ทั่วถึง โดยสร้างเครือข่ายแนะแนวภายในโรงเรียน
9) วางแนวทางที่จะร่วมมือกับผู้ปกครอง เพื่อบำบัดรักษาและฟื้นฟูเด็กและเยาวชนผู้หลงติดยาเสพติด
3. กำหนดให้มีคณะกรรมการ/อนุกรรมการ/คณะทำงาน ระดับต่าง ๆ ดังนี้
1) ระดับกระทรวง แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กับปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธาน อธิบดีกรมต่าง ๆ ในกระทรวงศึกษาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมเป็นกรรมการ มีหน้าที่กำหนดนโยบายและมาตรการในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดของกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนร่วมมือและประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานต่าง ๆ
2) ระดับกรม/หน่วยงานระดับกรม แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด ระดับกรม มีหน้าที่กำหนดมาตรการเฉพาะ
3) ระดับจังหวัด มอบหมายให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจัดตั้งหน่วยงานกลางประสานความร่วมมือด้านข้อมูล ข่าวสาร วิชาการ เพื่อเชื่อมโยงกับหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ
4) ระดับสถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา
5) แต่งตั้งคณะทำงานป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด กระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ
4. มอบหมายให้สำนักงานกิจการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานประสานการปฏิบัติ
5. มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการจัดทำแผนการตรวจราชการเกี่ยวกับการดำเนินการตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด ตลอดจนให้ศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จ และความล้มเหลวของการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา
6. กำหนดแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด ของกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2544 - 2545 และแผนปฏิบัติการของแต่ละกรม/หน่วยงานเรียบร้อยแล้ว ซึ่งแผนฯ นี้ ประกอบด้วยแนวทางสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่
- การรณรงค์และประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความตระหนัก
- การเสริมสร้างความเข้มแข็งและพลังทางสังคม เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือของภาคีต่าง ๆ
- การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและการเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ยังไม่ใช้ยาเสพติด มิให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
- การลดปัจจัยเงื่อนไขการก่อปัญหาและการแพร่ระบาดของยาเสพติดเพื่อสกัดกั้นปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสู่ปัญหายาเสพติด
7. ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
7.1 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ขอความร่วมมือจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา รวม 4 เรื่อง คือ
1) จัดกำลังตำรวจประจำสถานศึกษาทุกแห่ง ๆ ละ 1 นาย ทั่วประเทศ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา
2) ขอตำรวจร่วมเป็นวิทยากรในกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการจัดการฝึกอบรมครู - อาจารย์ เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา
3) ขอความอนุเคราะห์จัดกำลังตำรวจไปเฝ้าระวังเป็นกรณีพิเศษ ในกรณีที่สถานศึกษาพบว่ามีเด็กติดสารเสพติดจำนวนมาก ตลอดจนมีความเสี่ยงต่อผู้มีอิทธิพล
4) ขอความร่วมมือในการยกย่องเชิดชูตำรวจ ครู หรือบุคลากร/หน่วยงานที่มีผลงานดีเด่นในด้านการป้องกันแก้ไขปัญหาและปราบปรามยาเสพติด
7.2 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ร่วมประสานแผนงานโครงการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด และร่วมจัดทำแบบสำรวจการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา ซึ่งจะทำการสำรวจภาคเรียนละ 1 ครั้ง
7.3 กระทรวงสาธารณสุข ประสานการดำเนินงาน
1) เกี่ยวกับการเฝ้าระวังพฤติกรรมเด็ก 4 กลุ่ม และความชัดเจนของการตรวจปัสสาวะเด็กในการตรวจหาสารเสพติด เพื่อป้องกันผลกระทบอันจะเกิดกับเด็กที่บริสุทธิ์
2) พัฒนาศักยภาพครูที่ปรึกษา/ครูแนะแนวระดับมัธยม เพื่อเฝ้าระวังป้องกัน/คัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน การสร้างทักษะชีวิต
7.4 กระทรวงกลาโหม
1) กรมการรักษาดินแดน กำลังประสานเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาทหารในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยจะจัดเป็นวิชาเลือก นับหน่วยกิต และการรับนักศึกษาวิชาทหาร (รด.) เพิ่มในปีการศึกษา 2544
2) ร่วมโครงการค่ายยุวชนต้านภัยเสพติด "ค่ายเพื่อนรักเพื่อน" รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 1 - 7 พฤษภาคม 2544 จำนวน 40 ค่ายใน 32 จังหวัด โดยมีกองทัพบกเป็นผู้ประสานงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ
6. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่ค้างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรชุดก่อน ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้เทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. เพิ่มจำนวนกรรมการอื่นในคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ที่คณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยแต่งตั้ง จากจำนวนหกคนเป็นสิบคน โดยให้แต่งตั้งผู้แทนของสมาคมผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวสามคน สมาคมมัคคุเทศก์สามคน สมาคมผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสองคน ผู้ทรงคุณวุฒิสองคน
2. กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการวางหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การคืนหลักประกัน การหักหลักประกัน การจัดการเกี่ยวกับดอกผลของหลักประกัน วิธีการจ่ายเงินจากหลักประกัน และกำหนดหลักเกณฑ์การใช้สิทธิร้องเรียนและการอุทธรณ์
3. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรายการนำเที่ยวของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวให้มีความเหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น
4. การต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ การอุทธรณ์คำสั่ง ระยะเวลาการส่งคืนใบอนุญาต แก้ไขหลักเกณฑ์การส่งคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต การทุเลาการบังคับตามคำสั่งเพิกถอน การออกและรับใบอนุญาต ใบอนุญาตชำรุดหรือสูญหาย อายุความของใบอนุญาต การขอใบอนุญาต
5. กำหนดโทษของมัคคุเทศก์ที่ไม่ส่งคืนใบอนุญาตต่อนายทะเบียน เนื่องจากใบอนุญาตสิ้นอายุเพราะไม่ได้ขอต่ออายุหรือถูกเพิกถอน
6. แก้ไขอัตราค่าธรรมเนียม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 มิ.ย.44--
-สส-
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เชิญประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อชี้แจงนโยบายของรัฐบาล
2. กำหนดยุทธศาสตร์ 9 ประการ ในการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด ดังนี้
1) จัดโครงการ "ครอบครัวเข้มแข็ง - โรงเรียนอบอุ่น" เพื่อเชื่อมและหลอมรวมพลังระหว่างบ้านและโรงเรียนให้เป็นที่พึ่งแก่เด็กและเยาวชนอย่างแท้จริง
2) นำศาสนธรรมสู่เด็กและเยาวชนเพื่อเป็นหลักในการดำรงชีวิตด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันทางศาสนาและโรงเรียน
3) สร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ดี และเคารพในประโยชน์สาธารณะเหนือประโยชน์ส่วนตน ด้วยการเข้าร่วมในกิจกรรมตามหลักสูตรและแนวทางของลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และการฝึกตามหลักสูตรของนักศึกษาวิชาทหาร
4) ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ออกกำลังกาย และเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัยเพื่อพัฒนาสุขภาพกายและใจ เสริมสร้างวินัยในตนเองและสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีม
5) ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้เล่นดนตรีเพื่อกล่อมเกลาจิตใจและเสริมสร้างสุนทรีภาพ
6) ส่งเสริมกิจกรรมด้านศิลปะเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ค้นพบความสามารถของตนเองที่ช่องทางในการแสดงออกและสื่อสารที่หลากหลาย และสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับโลกแห่งอนาคต
7) ให้ความสำคัญแก่การเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น และวัฒนธรรมไทย เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความภาคภูมิใจ และผูกพันต่อรากฐานทางวัฒนธรรมและสามารถเผชิญความเปลี่ยนแปลงด้วยความมั่นคงและรู้เท่าทัน
8) ถือเป็นหน้าที่สำคัญที่โรงเรียนจะต้องจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ความรู้เสริมสร้างจิตสำนึก ทักษะชีวิตและภูมิต้านทานต่อยาเสพติดและอบายมุข และจัดระบบดูแลนักเรียนทุกคนให้ทั่วถึง โดยสร้างเครือข่ายแนะแนวภายในโรงเรียน
9) วางแนวทางที่จะร่วมมือกับผู้ปกครอง เพื่อบำบัดรักษาและฟื้นฟูเด็กและเยาวชนผู้หลงติดยาเสพติด
3. กำหนดให้มีคณะกรรมการ/อนุกรรมการ/คณะทำงาน ระดับต่าง ๆ ดังนี้
1) ระดับกระทรวง แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กับปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธาน อธิบดีกรมต่าง ๆ ในกระทรวงศึกษาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมเป็นกรรมการ มีหน้าที่กำหนดนโยบายและมาตรการในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดของกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนร่วมมือและประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานต่าง ๆ
2) ระดับกรม/หน่วยงานระดับกรม แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด ระดับกรม มีหน้าที่กำหนดมาตรการเฉพาะ
3) ระดับจังหวัด มอบหมายให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจัดตั้งหน่วยงานกลางประสานความร่วมมือด้านข้อมูล ข่าวสาร วิชาการ เพื่อเชื่อมโยงกับหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ
4) ระดับสถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา
5) แต่งตั้งคณะทำงานป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด กระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ
4. มอบหมายให้สำนักงานกิจการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานประสานการปฏิบัติ
5. มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการจัดทำแผนการตรวจราชการเกี่ยวกับการดำเนินการตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด ตลอดจนให้ศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จ และความล้มเหลวของการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา5. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด ของกระทรวงศึกษาธิการ
คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เชิญประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อชี้แจงนโยบายของรัฐบาล
2. กำหนดยุทธศาสตร์ 9 ประการ ในการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด ดังนี้
1) จัดโครงการ "ครอบครัวเข้มแข็ง - โรงเรียนอบอุ่น" เพื่อเชื่อมและหลอมรวมพลังระหว่างบ้านและโรงเรียนให้เป็นที่พึ่งแก่เด็กและเยาวชนอย่างแท้จริง
2) นำศาสนธรรมสู่เด็กและเยาวชนเพื่อเป็นหลักในการดำรงชีวิตด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันทางศาสนาและโรงเรียน
3) สร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ดี และเคารพในประโยชน์สาธารณะเหนือประโยชน์ส่วนตน ด้วยการเข้าร่วมในกิจกรรมตามหลักสูตรและแนวทางของลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และการฝึกตามหลักสูตรของนักศึกษาวิชาทหาร
4) ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ออกกำลังกาย และเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัยเพื่อพัฒนาสุขภาพกายและใจ เสริมสร้างวินัยในตนเองและสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีม
5) ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้เล่นดนตรีเพื่อกล่อมเกลาจิตใจและเสริมสร้างสุนทรีภาพ
6) ส่งเสริมกิจกรรมด้านศิลปะเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ค้นพบความสามารถของตนเองที่ช่องทางในการแสดงออกและสื่อสารที่หลากหลาย และสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับโลกแห่งอนาคต
7) ให้ความสำคัญแก่การเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น และวัฒนธรรมไทย เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความภาคภูมิใจ และผูกพันต่อรากฐานทางวัฒนธรรมและสามารถเผชิญความเปลี่ยนแปลงด้วยความมั่นคงและรู้เท่าทัน
8) ถือเป็นหน้าที่สำคัญที่โรงเรียนจะต้องจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ความรู้เสริมสร้างจิตสำนึก ทักษะชีวิตและภูมิต้านทานต่อยาเสพติดและอบายมุข และจัดระบบดูแลนักเรียนทุกคนให้ทั่วถึง โดยสร้างเครือข่ายแนะแนวภายในโรงเรียน
9) วางแนวทางที่จะร่วมมือกับผู้ปกครอง เพื่อบำบัดรักษาและฟื้นฟูเด็กและเยาวชนผู้หลงติดยาเสพติด
3. กำหนดให้มีคณะกรรมการ/อนุกรรมการ/คณะทำงาน ระดับต่าง ๆ ดังนี้
1) ระดับกระทรวง แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กับปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธาน อธิบดีกรมต่าง ๆ ในกระทรวงศึกษาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมเป็นกรรมการ มีหน้าที่กำหนดนโยบายและมาตรการในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดของกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนร่วมมือและประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานต่าง ๆ
2) ระดับกรม/หน่วยงานระดับกรม แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด ระดับกรม มีหน้าที่กำหนดมาตรการเฉพาะ
3) ระดับจังหวัด มอบหมายให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจัดตั้งหน่วยงานกลางประสานความร่วมมือด้านข้อมูล ข่าวสาร วิชาการ เพื่อเชื่อมโยงกับหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ
4) ระดับสถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา
5) แต่งตั้งคณะทำงานป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด กระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ
4. มอบหมายให้สำนักงานกิจการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานประสานการปฏิบัติ
5. มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการจัดทำแผนการตรวจราชการเกี่ยวกับการดำเนินการตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด ตลอดจนให้ศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จ และความล้มเหลวของการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา
6. กำหนดแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด ของกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2544 - 2545 และแผนปฏิบัติการของแต่ละกรม/หน่วยงานเรียบร้อยแล้ว ซึ่งแผนฯ นี้ ประกอบด้วยแนวทางสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่
- การรณรงค์และประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความตระหนัก
- การเสริมสร้างความเข้มแข็งและพลังทางสังคม เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือของภาคีต่าง ๆ
- การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและการเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ยังไม่ใช้ยาเสพติด มิให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
- การลดปัจจัยเงื่อนไขการก่อปัญหาและการแพร่ระบาดของยาเสพติดเพื่อสกัดกั้นปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสู่ปัญหายาเสพติด
7. ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
7.1 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ขอความร่วมมือจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา รวม 4 เรื่อง คือ
1) จัดกำลังตำรวจประจำสถานศึกษาทุกแห่ง ๆ ละ 1 นาย ทั่วประเทศ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา
2) ขอตำรวจร่วมเป็นวิทยากรในกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการจัดการฝึกอบรมครู - อาจารย์ เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา
3) ขอความอนุเคราะห์จัดกำลังตำรวจไปเฝ้าระวังเป็นกรณีพิเศษ ในกรณีที่สถานศึกษาพบว่ามีเด็กติดสารเสพติดจำนวนมาก ตลอดจนมีความเสี่ยงต่อผู้มีอิทธิพล
4) ขอความร่วมมือในการยกย่องเชิดชูตำรวจ ครู หรือบุคลากร/หน่วยงานที่มีผลงานดีเด่นในด้านการป้องกันแก้ไขปัญหาและปราบปรามยาเสพติด
7.2 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ร่วมประสานแผนงานโครงการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด และร่วมจัดทำแบบสำรวจการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา ซึ่งจะทำการสำรวจภาคเรียนละ 1 ครั้ง
7.3 กระทรวงสาธารณสุข ประสานการดำเนินงาน
1) เกี่ยวกับการเฝ้าระวังพฤติกรรมเด็ก 4 กลุ่ม และความชัดเจนของการตรวจปัสสาวะเด็กในการตรวจหาสารเสพติด เพื่อป้องกันผลกระทบอันจะเกิดกับเด็กที่บริสุทธิ์
2) พัฒนาศักยภาพครูที่ปรึกษา/ครูแนะแนวระดับมัธยม เพื่อเฝ้าระวังป้องกัน/คัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน การสร้างทักษะชีวิต
7.4 กระทรวงกลาโหม
1) กรมการรักษาดินแดน กำลังประสานเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาทหารในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยจะจัดเป็นวิชาเลือก นับหน่วยกิต และการรับนักศึกษาวิชาทหาร (รด.) เพิ่มในปีการศึกษา 2544
2) ร่วมโครงการค่ายยุวชนต้านภัยเสพติด "ค่ายเพื่อนรักเพื่อน" รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 1 - 7 พฤษภาคม 2544 จำนวน 40 ค่ายใน 32 จังหวัด โดยมีกองทัพบกเป็นผู้ประสานงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ
6. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่ค้างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรชุดก่อน ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้เทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. เพิ่มจำนวนกรรมการอื่นในคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ที่คณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยแต่งตั้ง จากจำนวนหกคนเป็นสิบคน โดยให้แต่งตั้งผู้แทนของสมาคมผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวสามคน สมาคมมัคคุเทศก์สามคน สมาคมผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสองคน ผู้ทรงคุณวุฒิสองคน
2. กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการวางหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การคืนหลักประกัน การหักหลักประกัน การจัดการเกี่ยวกับดอกผลของหลักประกัน วิธีการจ่ายเงินจากหลักประกัน และกำหนดหลักเกณฑ์การใช้สิทธิร้องเรียนและการอุทธรณ์
3. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรายการนำเที่ยวของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวให้มีความเหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น
4. การต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ การอุทธรณ์คำสั่ง ระยะเวลาการส่งคืนใบอนุญาต แก้ไขหลักเกณฑ์การส่งคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต การทุเลาการบังคับตามคำสั่งเพิกถอน การออกและรับใบอนุญาต ใบอนุญาตชำรุดหรือสูญหาย อายุความของใบอนุญาต การขอใบอนุญาต
5. กำหนดโทษของมัคคุเทศก์ที่ไม่ส่งคืนใบอนุญาตต่อนายทะเบียน เนื่องจากใบอนุญาตสิ้นอายุเพราะไม่ได้ขอต่ออายุหรือถูกเพิกถอน
6. แก้ไขอัตราค่าธรรมเนียม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 มิ.ย.44--
-สส-