คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการพิสูจน์เขื่อนลำคันฉูร้าว ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะประธานกรรมการช่วยเหลือประชาชน และเป็นผู้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจนได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อพิสูจน์เขื่อนลำคันฉูร้าว ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเขื่อนลำคันฉูประกอบกับข้อมูลการตรวจสอบภาคสนามแล้ว สรุปผลการตรวจสอบได้ดังนี้
1. เขื่อนลำคันฉูมีรอยร้าวบริเวณสันเขื่อนตามแนวยาวหลายสิบรอย และรอยร้าวตามแนวขวาง 4 รอยทุกรอยได้มีการซ่อมแซมอุดรอยแตกร้าวโดยกรมชลประทานแล้ว
2. รูโพรงด้านหน้าเขื่อนบริเวณรอยต่อระหว่างลาดหินทิ้งและดินสันเขื่อน 3 รู ที่ราษฎรพบ กรมชลประทานได้ดำเนินการอุดเรียบร้อยแล้ว
3. การทรุดตัวของลาดหินทิ้งด้านเหนือน้ำมีปรากฏให้เห็นเป็นช่วง ๆ ไปนับสิบแห่ง
4. การทรุดตัวของลาดคันดินด้านท้ายน้ำปรากฏอยู่บริเวณเหนือลำน้ำเดิม
5. พบการรั่วซึมของน้ำบริเวณสันเขื่อนด้านท้ายน้ำ 3 แห่ง คือ บริเวณ กม. 0+790 กม. 1+500บริเวณร่องลำคันฉูเดิม และบริเวณทางระบายน้ำล้น
6. ข้อมูลจากการเดินระดับของกรมชลประทานตามจุดที่ตั้ง surface settlement point 16 จุด บนสันเขื่อนแสดงว่าเขื่อนลำคันฉูทรุดตัวมากที่สุดบริเวณ SP5 0+920 U/S = 14 ซม. เหนือร่องลำน้ำเดิม ขนาดของการทรุดตัวมากที่สุดคือ 14 ซม. ในช่วงระยะเวลา 4 ปีครึ่ง
7. ข้อมูลระดับน้ำท้ายเขื่อนจากบ่อสังเกตการณ์ 6 บ่อ แสดงว่าการขึ้นลงของระดับน้ำท้ายเขื่อนไม่มีความสัมพันธ์กับระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำ
8. เนื่องจากไม่มีข้อมูลคุณสมบัติของดินสันเขื่อนและข้อมูลการตรวจวัดแรงดันน้ำในฐานรากและในตัวเขื่อนทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์เสถียรภาพของเขื่อนได้ แต่จากข้อมูลการเดินระดับของกรมชลประทานเท่าที่มีอยู่จะสรุปได้ในเบื้องต้นว่า ขณะนี้เสถียรภาพของเขื่อนลำคันฉูอยู่ในสภาพดี
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้เสนอให้กรมชลประทานพิจารณาติตตั้งเครื่องมือตรวจวัดแรงดันน้ำ (Piezometers) ภายในส่วนต่าง ๆ ของตัวเขื่อนและฐานรากของเขื่อนเพื่อดำเนินการวิเคราะห์เสถียรภาพของเขื่อนในรายละเอียด โดยเสนอไว้เป็นข้อมูลให้กรมชลประทานพิจารณาดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 27 มี.ค.2544
-สส-
1. เขื่อนลำคันฉูมีรอยร้าวบริเวณสันเขื่อนตามแนวยาวหลายสิบรอย และรอยร้าวตามแนวขวาง 4 รอยทุกรอยได้มีการซ่อมแซมอุดรอยแตกร้าวโดยกรมชลประทานแล้ว
2. รูโพรงด้านหน้าเขื่อนบริเวณรอยต่อระหว่างลาดหินทิ้งและดินสันเขื่อน 3 รู ที่ราษฎรพบ กรมชลประทานได้ดำเนินการอุดเรียบร้อยแล้ว
3. การทรุดตัวของลาดหินทิ้งด้านเหนือน้ำมีปรากฏให้เห็นเป็นช่วง ๆ ไปนับสิบแห่ง
4. การทรุดตัวของลาดคันดินด้านท้ายน้ำปรากฏอยู่บริเวณเหนือลำน้ำเดิม
5. พบการรั่วซึมของน้ำบริเวณสันเขื่อนด้านท้ายน้ำ 3 แห่ง คือ บริเวณ กม. 0+790 กม. 1+500บริเวณร่องลำคันฉูเดิม และบริเวณทางระบายน้ำล้น
6. ข้อมูลจากการเดินระดับของกรมชลประทานตามจุดที่ตั้ง surface settlement point 16 จุด บนสันเขื่อนแสดงว่าเขื่อนลำคันฉูทรุดตัวมากที่สุดบริเวณ SP5 0+920 U/S = 14 ซม. เหนือร่องลำน้ำเดิม ขนาดของการทรุดตัวมากที่สุดคือ 14 ซม. ในช่วงระยะเวลา 4 ปีครึ่ง
7. ข้อมูลระดับน้ำท้ายเขื่อนจากบ่อสังเกตการณ์ 6 บ่อ แสดงว่าการขึ้นลงของระดับน้ำท้ายเขื่อนไม่มีความสัมพันธ์กับระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำ
8. เนื่องจากไม่มีข้อมูลคุณสมบัติของดินสันเขื่อนและข้อมูลการตรวจวัดแรงดันน้ำในฐานรากและในตัวเขื่อนทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์เสถียรภาพของเขื่อนได้ แต่จากข้อมูลการเดินระดับของกรมชลประทานเท่าที่มีอยู่จะสรุปได้ในเบื้องต้นว่า ขณะนี้เสถียรภาพของเขื่อนลำคันฉูอยู่ในสภาพดี
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้เสนอให้กรมชลประทานพิจารณาติตตั้งเครื่องมือตรวจวัดแรงดันน้ำ (Piezometers) ภายในส่วนต่าง ๆ ของตัวเขื่อนและฐานรากของเขื่อนเพื่อดำเนินการวิเคราะห์เสถียรภาพของเขื่อนในรายละเอียด โดยเสนอไว้เป็นข้อมูลให้กรมชลประทานพิจารณาดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 27 มี.ค.2544
-สส-