คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง การปรับโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ครั้งที่ 8 (ณ เดือนมีนาคม 2544) สรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินการปรับโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย
1.1 กระทรวงคมนาคมได้นำเสนอคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) เพื่อพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1) รายละเอียดเบื้องต้นในการดำเนินการปรับโครงสร้างของ รฟท. โดยแยกกิจการรถไฟเป็น 4 ส่วน ได้แก่
(1) รฟท. มีหน้าที่ในการสร้างและดูแลงานรักษาทางรถไฟระบบอาณัติสัญญาณ
(2) ส่วนการเดินรถ จัดตั้งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจขนส่งผู้โดยสารและสินค้าบนรางรถไฟ
(3) ส่วนซ่อมบำรุงล้อเลื่อนรถไฟ จัดตั้งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจซ่อมบำรุงล้อเลื่อนรถไฟ
(4) ส่วนทรัพย์สิน จัดตั้งเป็นบริษัททำหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินให้มีรายได้โดยบริษัทที่จัดตั้งตามข้อ (2) - (4) กระทรวงการคลังถือหุ้น 100% ในระยะแรก และมีฐานะเป็นวิสาหกิจของรัฐบาล
2) ให้ดำเนินการปรับโครงสร้าง รฟท. โดยดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542
1.2 กนร. ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ
1.3 คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ (กนท.) ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2543 ให้ความเห็นชอบตามที่ กนร. เสนอ
1.4 คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักการปรับโครงสร้างของ รฟท. ตามที่ กนร. และ กนท. เสนอ
1.5 สถานะปัจจุบัน
1) การปรับโครงสร้างของ รฟท. อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทของ รฟท. ซึ่งมีปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า ผู้อำนวยการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้บริหารสูงสุดของ รฟท. ผู้แทนพนักงาน รฟท. ผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 3 คน และผู้แทนกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) กำหนดกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิดชอบ และสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจส่วนที่จะโอนให้แก่บริษัทที่จะจัดตั้งขึ้น และส่วนที่จะให้ตกเป็นของกระทรวงการคลัง
(2) กำหนดพนักงานที่จะให้เป็นลูกจ้างของบริษัท
(3) กำหนดทุนเรือนหุ้นหรือทุนจดทะเบียนสำหรับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จำนวนหุ้นและมูลค่าของหุ้นแต่ละหุ้น ตลอดจนรายการต่าง ๆ ที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้น
(4) กำหนดชื่อของบริษัท
(5) กำหนดโครงสร้างการบริหารงานบริษัท รายชื่อกรรมการบริษัท และผู้สอบบัญชีในวาระเริ่มแรก
(6) จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท
(7) จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 26
(8) จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อกำหนดเงื่อนเวลายุบเลิกรัฐวิสาหกิจ ในกรณีมีการโอนกิจการของรัฐวิสาหกิจไปทั้งหมด
(9) จัดให้มีการรับฟังความเห็นของประชาชนตามระเบียบที่คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีการรับฟังความคิดเห็นในเรื่องตาม (1) (2) (7)และ (8)
(10) พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจมอบหมาย
2) คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทของ รฟท. ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2544 เมื่อวันที่ 26มกราคม 2544 โดยมีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารเปลี่ยนผ่าน เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทฯ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการ
2. เรื่องอื่น ๆ
รฟท. ได้รายงานผลการดำเนินงานตามความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ และ คณะรัฐมนตรี ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ 1) การว่าจ้างที่ปรึกษา 2) การจัดทำแผนปฏิรูปเพื่อปรับปรุงและพัฒนาบุคลากร 3) การทำความเข้าใจกับพนักงานเรื่อง การปรับโครงสร้าง รฟท. 4) การให้บริการขนส่งสินค้า 5) การปรับปรุงด้านบริการ 6) การปรับปรุงด้านความสะอาด 7) การปรับปรุงด้านความปลอดภัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 15 พ.ค.2544
-สส-
1. การดำเนินการปรับโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย
1.1 กระทรวงคมนาคมได้นำเสนอคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) เพื่อพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1) รายละเอียดเบื้องต้นในการดำเนินการปรับโครงสร้างของ รฟท. โดยแยกกิจการรถไฟเป็น 4 ส่วน ได้แก่
(1) รฟท. มีหน้าที่ในการสร้างและดูแลงานรักษาทางรถไฟระบบอาณัติสัญญาณ
(2) ส่วนการเดินรถ จัดตั้งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจขนส่งผู้โดยสารและสินค้าบนรางรถไฟ
(3) ส่วนซ่อมบำรุงล้อเลื่อนรถไฟ จัดตั้งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจซ่อมบำรุงล้อเลื่อนรถไฟ
(4) ส่วนทรัพย์สิน จัดตั้งเป็นบริษัททำหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินให้มีรายได้โดยบริษัทที่จัดตั้งตามข้อ (2) - (4) กระทรวงการคลังถือหุ้น 100% ในระยะแรก และมีฐานะเป็นวิสาหกิจของรัฐบาล
2) ให้ดำเนินการปรับโครงสร้าง รฟท. โดยดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542
1.2 กนร. ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ
1.3 คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ (กนท.) ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2543 ให้ความเห็นชอบตามที่ กนร. เสนอ
1.4 คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักการปรับโครงสร้างของ รฟท. ตามที่ กนร. และ กนท. เสนอ
1.5 สถานะปัจจุบัน
1) การปรับโครงสร้างของ รฟท. อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทของ รฟท. ซึ่งมีปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า ผู้อำนวยการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้บริหารสูงสุดของ รฟท. ผู้แทนพนักงาน รฟท. ผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 3 คน และผู้แทนกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) กำหนดกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิดชอบ และสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจส่วนที่จะโอนให้แก่บริษัทที่จะจัดตั้งขึ้น และส่วนที่จะให้ตกเป็นของกระทรวงการคลัง
(2) กำหนดพนักงานที่จะให้เป็นลูกจ้างของบริษัท
(3) กำหนดทุนเรือนหุ้นหรือทุนจดทะเบียนสำหรับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จำนวนหุ้นและมูลค่าของหุ้นแต่ละหุ้น ตลอดจนรายการต่าง ๆ ที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้น
(4) กำหนดชื่อของบริษัท
(5) กำหนดโครงสร้างการบริหารงานบริษัท รายชื่อกรรมการบริษัท และผู้สอบบัญชีในวาระเริ่มแรก
(6) จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท
(7) จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 26
(8) จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อกำหนดเงื่อนเวลายุบเลิกรัฐวิสาหกิจ ในกรณีมีการโอนกิจการของรัฐวิสาหกิจไปทั้งหมด
(9) จัดให้มีการรับฟังความเห็นของประชาชนตามระเบียบที่คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีการรับฟังความคิดเห็นในเรื่องตาม (1) (2) (7)และ (8)
(10) พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจมอบหมาย
2) คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทของ รฟท. ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2544 เมื่อวันที่ 26มกราคม 2544 โดยมีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารเปลี่ยนผ่าน เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทฯ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการ
2. เรื่องอื่น ๆ
รฟท. ได้รายงานผลการดำเนินงานตามความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ และ คณะรัฐมนตรี ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ 1) การว่าจ้างที่ปรึกษา 2) การจัดทำแผนปฏิรูปเพื่อปรับปรุงและพัฒนาบุคลากร 3) การทำความเข้าใจกับพนักงานเรื่อง การปรับโครงสร้าง รฟท. 4) การให้บริการขนส่งสินค้า 5) การปรับปรุงด้านบริการ 6) การปรับปรุงด้านความสะอาด 7) การปรับปรุงด้านความปลอดภัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 15 พ.ค.2544
-สส-