แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ
ทำเนียบรัฐบาล--22 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบโครงการเมืองสุขภาพปลอดสารพิษเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการด้วย และให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า กระทรวงมหาดไทยได้ร่วมกับจังหวัดนำร่องในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 9 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดอุบลราชธานี มุกดาหาร อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครราชสีมา และขอนแก่น จัดทำแผนเมืองสุขภาพปลอดสารพิษเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ปี 2542 - 2549 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนได้ตระหนักถึงภัยอันตรายจากการใช้สารพิษและสารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ผลิตและประชาชนผู้บริโภค และจากการดำเนินงานพบว่าประชาชนทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก โดยมีการนำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ มาใช้ในการเพาะปลูกแทนการใช้ปุ๋ยเคมีที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตลงได้กว่าร้อยละ 30 ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาแล้วจึงเห็นสมควรที่จะขยายผลการดำเนินงานตามโครงการเมืองสุขภาพปลอดสารพิษเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ครอบคลุมในทุกภาคและทุกจังหวัดทั่วทั้งประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนา "เมืองสุขภาพปลอดสารพิษเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน" ครอบคลุมในทุกจังหวัด จึงได้กำหนดมาตรการที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. การสร้างความตระหนักในปัญหาสุขภาพและภัยอันตรายจากสารพิษในการใช้สารเคมีปลูกพืชและยากำจัดศัตรูพืช
2. การส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพในชุมชน
3. การส่งเสริมปลูกพืชผักผลไม้ที่ปลอดจากสารพิษและการแปรรูป
4. การส่งเสริมการตลาดพืชผักผลไม้ที่ปลอดสารพิษ
5. การควบคุมมาตรฐานการผลิตพืชผักผลไม้และการคุ้มครองผู้บริโภค
ทั้งนี้ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สนับสนุนด้านการผลิตพืช ผัก ผลไม้ปลอดสารพิษและการฟื้นฟูสภาพดิน กระทรวงอุตสาหกรรมสนับสนุนสินเชื่อการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษ และจัดตั้งโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ กระทรวงพาณิชย์สนับสนุนด้านการตลาด กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมสนับสนุนการจัดตั้งโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ กระทรวงมหาดไทยสนับสนุนการสร้างเครือข่ายชุมชน และการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกและการประสานงาน กระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึก กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนการควบคุมคุณภาพอาหาร และการฝึกอบรม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมและกระทรวงกลาโหมสนับสนุนการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึก การส่งเสริมอาชีพ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสินสนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อการผลิต การแปรรูป การจัดตั้งโรงงานปุ๋ย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรม ชมรมธนาคารพาณิชย์ สนับสนุนในด้านการตลาด สินค้าปลอดสารพิษ การผลิตและการแปรรูป และเงินทุน และองค์การพัฒนาเอกชนให้ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกรและประชาชนในด้านการผลิตและการแปรรูป การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และการตลาด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 ส.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบโครงการเมืองสุขภาพปลอดสารพิษเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการด้วย และให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า กระทรวงมหาดไทยได้ร่วมกับจังหวัดนำร่องในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 9 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดอุบลราชธานี มุกดาหาร อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครราชสีมา และขอนแก่น จัดทำแผนเมืองสุขภาพปลอดสารพิษเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ปี 2542 - 2549 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนได้ตระหนักถึงภัยอันตรายจากการใช้สารพิษและสารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ผลิตและประชาชนผู้บริโภค และจากการดำเนินงานพบว่าประชาชนทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก โดยมีการนำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ มาใช้ในการเพาะปลูกแทนการใช้ปุ๋ยเคมีที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตลงได้กว่าร้อยละ 30 ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาแล้วจึงเห็นสมควรที่จะขยายผลการดำเนินงานตามโครงการเมืองสุขภาพปลอดสารพิษเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ครอบคลุมในทุกภาคและทุกจังหวัดทั่วทั้งประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนา "เมืองสุขภาพปลอดสารพิษเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน" ครอบคลุมในทุกจังหวัด จึงได้กำหนดมาตรการที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. การสร้างความตระหนักในปัญหาสุขภาพและภัยอันตรายจากสารพิษในการใช้สารเคมีปลูกพืชและยากำจัดศัตรูพืช
2. การส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพในชุมชน
3. การส่งเสริมปลูกพืชผักผลไม้ที่ปลอดจากสารพิษและการแปรรูป
4. การส่งเสริมการตลาดพืชผักผลไม้ที่ปลอดสารพิษ
5. การควบคุมมาตรฐานการผลิตพืชผักผลไม้และการคุ้มครองผู้บริโภค
ทั้งนี้ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สนับสนุนด้านการผลิตพืช ผัก ผลไม้ปลอดสารพิษและการฟื้นฟูสภาพดิน กระทรวงอุตสาหกรรมสนับสนุนสินเชื่อการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษ และจัดตั้งโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ กระทรวงพาณิชย์สนับสนุนด้านการตลาด กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมสนับสนุนการจัดตั้งโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ กระทรวงมหาดไทยสนับสนุนการสร้างเครือข่ายชุมชน และการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกและการประสานงาน กระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึก กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนการควบคุมคุณภาพอาหาร และการฝึกอบรม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมและกระทรวงกลาโหมสนับสนุนการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึก การส่งเสริมอาชีพ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสินสนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อการผลิต การแปรรูป การจัดตั้งโรงงานปุ๋ย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรม ชมรมธนาคารพาณิชย์ สนับสนุนในด้านการตลาด สินค้าปลอดสารพิษ การผลิตและการแปรรูป และเงินทุน และองค์การพัฒนาเอกชนให้ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกรและประชาชนในด้านการผลิตและการแปรรูป การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และการตลาด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 ส.ค. 2543--
-สส-