ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
(โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ของ
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ วงเงิน 5,077,119,790 บาท ตามที่คณะกรรมการ
กลั่นกรองโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเสนอ
ทั้งนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเห็นว่า โครงการนี้จะช่วยบรรเทา
ปัญหาการว่างงาน และช่วยให้การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการยกระดับฐานะ
การศึกษา เพิ่มทักษะในการทำงานของบัณฑิต ซึ่งจะสามารถสร้างโอกาสการจ้างงานและการศึกษาต่อในอนาคตมากขึ้น
สำหรับรายละเอียดประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการนั้น เนื่องจากได้ใช้อัตราของทางราชการ และต้องเบิกจ่ายตามที่จ่ายจริงอยู่แล้ว
สรุปสาระสำคัญของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง มีดังนี้
1. โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยจะคัดเลือกบัณฑิตว่างงานในท้องถิ่น จำนวน 74,881 คน เข้ารับการอบรมหลักสูตร
"การศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการโครงการ" และส่งเข้าไปปฏิบัติงานในทุกกองทุนหมู่บ้าน
และชุมชนเมืองทั่วประเทศ
2. สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จัดทำหลักสูตร "การศึกษาระดับ
ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการโครงการ" ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (สภาสถาบันราชภัฏ สถาบัน
เทคโนโลยีราชมงคล กรมอาชีวศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน) และทบวงมหาวิทยาลัย และภายหลังจากจัดปฐมนิเทศก์
และฝึกอบรมบัณฑิตผู้ที่ได้รับการคัดเลือกแล้ว จะจัดส่งเข้าช่วยการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชน
เมือง โดยจะปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ 5 วันต่อสัปดาห์ มีอาจารย์มาสอนเสริมเดือนละ 2 วัน และมีอาจารย์มานิเทศก์ติดตาม
งานเดือนละ 4 ครั้ง รวม 4 วัน
3. การคัดเลือกบัณฑิต จำนวน 74,881 คน จะให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เป็นผู้คัดเลือกจากบัณฑิตที่ด้อยโอกาสและยากจนในท้องถิ่น ให้ได้รับทุนการศึกษาเป็นรายเดือน เดือนละ 6,360 บาท
ระยะเวลา 10 เดือน แต่จะต้องจ่ายค่าเรียนเดือนละ 600 บาท โดยสถาบันการศึกษาในพื้นที่จะเป็นผู้จ่ายทุนการศึกษาให้
บัณฑิตในแต่ละเดือน
4. บัณฑิตผู้รับทุนต้องรายงานผลการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในการปฏิบัติงานทุกราย 15 วัน รายเดือน
และรายไตรมาส โดยมีคณาจารย์ผู้สอนและคณาจารย์นิเทศก์คอยช่วยเหลือบัณฑิตในพื้นที่ปฏิบัติงาน
และติดตามประเมินผลเป็นระยะ ๆ รวมทั้งมีการประชุมสัมมนาทุก 3 เดือน ทั้งนี้จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล
โครงการนี้ ทั้งในระดับส่วนกลาง (ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน) และคณะกรรมการระดับจังหวัด (ผู้ว่าราชการ
จังหวัด เป็นประธาน) ด้วย
ระยะเวลาดำเนินการและค่าใช้จ่าย มีระยะเวลาดำเนินการ 10 เดือน ค่าใช้จ่ายประมาณ 5,077,119,790 บาท ประกอบด้วย
ค่าใช้จ่าย รวม (บาท)
1. เงินสนับสนุนให้ทุนการศึกษา (จำนวน 74,881 คน x 6,360 บาท x 10 เดือน) 4,762,431,600
2. การจัดทำหลักสูตร 1,095,000
3. การปฐมนิเทศก์บัณฑิต 115,316,740
4. การทำความเข้าใจแก่คณาจารย์ 21,750,000
5. จัดพิมพ์คู่มือ 37,071,450
6. การจัดสัมมนารายไตรมาส 9,855,000
7. การติดตามและนิเทศก์ของคณาจารย์ 129,600,000
รวมทั้งสิ้น 5,077,119,790
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 ต.ค. 44--
-สส-
(โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ของ
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ วงเงิน 5,077,119,790 บาท ตามที่คณะกรรมการ
กลั่นกรองโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเสนอ
ทั้งนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเห็นว่า โครงการนี้จะช่วยบรรเทา
ปัญหาการว่างงาน และช่วยให้การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการยกระดับฐานะ
การศึกษา เพิ่มทักษะในการทำงานของบัณฑิต ซึ่งจะสามารถสร้างโอกาสการจ้างงานและการศึกษาต่อในอนาคตมากขึ้น
สำหรับรายละเอียดประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการนั้น เนื่องจากได้ใช้อัตราของทางราชการ และต้องเบิกจ่ายตามที่จ่ายจริงอยู่แล้ว
สรุปสาระสำคัญของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง มีดังนี้
1. โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยจะคัดเลือกบัณฑิตว่างงานในท้องถิ่น จำนวน 74,881 คน เข้ารับการอบรมหลักสูตร
"การศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการโครงการ" และส่งเข้าไปปฏิบัติงานในทุกกองทุนหมู่บ้าน
และชุมชนเมืองทั่วประเทศ
2. สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จัดทำหลักสูตร "การศึกษาระดับ
ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการโครงการ" ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (สภาสถาบันราชภัฏ สถาบัน
เทคโนโลยีราชมงคล กรมอาชีวศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน) และทบวงมหาวิทยาลัย และภายหลังจากจัดปฐมนิเทศก์
และฝึกอบรมบัณฑิตผู้ที่ได้รับการคัดเลือกแล้ว จะจัดส่งเข้าช่วยการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชน
เมือง โดยจะปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ 5 วันต่อสัปดาห์ มีอาจารย์มาสอนเสริมเดือนละ 2 วัน และมีอาจารย์มานิเทศก์ติดตาม
งานเดือนละ 4 ครั้ง รวม 4 วัน
3. การคัดเลือกบัณฑิต จำนวน 74,881 คน จะให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เป็นผู้คัดเลือกจากบัณฑิตที่ด้อยโอกาสและยากจนในท้องถิ่น ให้ได้รับทุนการศึกษาเป็นรายเดือน เดือนละ 6,360 บาท
ระยะเวลา 10 เดือน แต่จะต้องจ่ายค่าเรียนเดือนละ 600 บาท โดยสถาบันการศึกษาในพื้นที่จะเป็นผู้จ่ายทุนการศึกษาให้
บัณฑิตในแต่ละเดือน
4. บัณฑิตผู้รับทุนต้องรายงานผลการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในการปฏิบัติงานทุกราย 15 วัน รายเดือน
และรายไตรมาส โดยมีคณาจารย์ผู้สอนและคณาจารย์นิเทศก์คอยช่วยเหลือบัณฑิตในพื้นที่ปฏิบัติงาน
และติดตามประเมินผลเป็นระยะ ๆ รวมทั้งมีการประชุมสัมมนาทุก 3 เดือน ทั้งนี้จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล
โครงการนี้ ทั้งในระดับส่วนกลาง (ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน) และคณะกรรมการระดับจังหวัด (ผู้ว่าราชการ
จังหวัด เป็นประธาน) ด้วย
ระยะเวลาดำเนินการและค่าใช้จ่าย มีระยะเวลาดำเนินการ 10 เดือน ค่าใช้จ่ายประมาณ 5,077,119,790 บาท ประกอบด้วย
ค่าใช้จ่าย รวม (บาท)
1. เงินสนับสนุนให้ทุนการศึกษา (จำนวน 74,881 คน x 6,360 บาท x 10 เดือน) 4,762,431,600
2. การจัดทำหลักสูตร 1,095,000
3. การปฐมนิเทศก์บัณฑิต 115,316,740
4. การทำความเข้าใจแก่คณาจารย์ 21,750,000
5. จัดพิมพ์คู่มือ 37,071,450
6. การจัดสัมมนารายไตรมาส 9,855,000
7. การติดตามและนิเทศก์ของคณาจารย์ 129,600,000
รวมทั้งสิ้น 5,077,119,790
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 ต.ค. 44--
-สส-